“นายกสภา มมร” แต่งตั้งพระเทพวัชรเมธีเป็น “รองศาสตราจารย์” เป็นพระสงฆ์รูปแรกไม่ต้องใช้ตำราและงานวิจัยอ้างอิง

วันที่ 26 กรกฏาคม 2567  สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ พระสังฆราชส กลมหาสังฆปริณายก ในฐานะนายกสภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ได้ลงคำสั่งแต่งตั้ง “พระเทพวัชรเมธี” ให้ดำรงตำแหน่ง  “รองศาสตราจารย์” ด้านศาสนา ในสาขาวิชาปรัชญา อนุสาขาปรัชญาตะวันออก -พุทธปรัชญา ตั้งแต่วันที่ 22 กุมพาพันธ์ พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป ดังมีความว่า

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 19 (9) แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย พ.ศ. 2540 และข้อ 16 ของข้อบังคัญมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัยว่าด้วยตำแหน่งทางวิชาการ พงศ. 2565 ประกอบกับมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัยในคราวประชุมครั้งที่ 7/2567 เมื่อวันที่ 24 กรกฏาคม พ.ศ. 2567

จึงแต่งตั้งให้ พระเทพวัชรเมธี (สมคิด จินฺตามโย) ดำรงตำแหน่ง “รองศาสตราจารย์ด้านศาสนา” ในสาขาวิชาปรัชญา อนุสาขาวิชาปรัชญาตะวันออก- พุทธปรัชญา

ขณะที่เฟชบุ๊ค “เจ้าคุณหรรษา”  พระเมธีวัชรบัณฑิต ดร.ศ. ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ (IBSC) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ระบุว่า การแต่งตั้งตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ของ พระเทพวัชรเมธี อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัยในครั้งนี แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ด้านศาสนา

“การแต่งตั่งดำรงตำแหน่งทางวิชาการในคร้ังนี้ ไม่ใช้ตำราและงานวิจัย และเป็นพระสงฆ์รูปแรกของโลกที่ใช้เกณฑ์ในด้านนี้..”

ซึ่งหลักเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการโดยไม่จำเป็นต้องใช้ตำราและงานวิจัยอีกต่อไปนี้ถือว่าเป็น “หลักเกณฑ์ใหม่” ที่เคยเผยแพร่หลักเกณฑ์นี้เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2565 โดย นางสาวสุวดี เหมือนอ้น กลุ่มสื่อสารองค์กร (สอ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีความดังนี้

หลักเกณฑ์ 5 รูปแบบการขอตำแหน่งทางวิชาการเฉพาะด้าน ที่ อ.มหาลัย สามารถขอได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้แต่ตำราและงานวิจัยรูปแบบเดิมอีกต่อไป

อาจารย์มหาวิทยาลัย สามารถขอตำแหน่งทางวิชาการได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้แต่ตำราและงานวิจัยในรูปแบบเดิมอีกต่อไป! โดยเมื่อวันที่ 28 ธ.ค. 2564 ศ.พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้ลงนามในประกาศคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ) เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ (ผศ.) รองศาสตราจารย์ (รศ.) และศาสตราจารย์ (ศ.) พ.ศ.2564 แล้ว ซึ่งจะทำให้การขอตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยมีช่องทางเพิ่มมากขึ้น โดยเพิ่มรูปแบบการขอตำแหน่งทางวิชาการเฉพาะด้านอีก 5 ด้าน ประกอบด้วย

1. ผลงานด้านรับใช้ท้องถิ่นและสังคม
2. ผลงานด้านสร้างสรรค์สุนทรียะ ศิลปะ
3. ผลงานด้านการสอน
4. ผลงานด้านนวัตกรรม
5. ผลงานด้านศาสนา

ถือเป็นครั้งแรกของประเทศไทย เป็นนวัตกรรมอุดมศึกษาแท้จริง โดยในการขอตำแหน่งวิชาการแบบใหม่ทั้ง 5 แบบนี้ จะมีส่วนช่วยให้การทำงานวิชาการของอาจารย์ในมหาวิทยาลัย ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ มากขึ้น เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การพัฒนาสังคม และคุณภาพชีวิตของประชาชน..

Leave a Reply