มุทิตาสักการะ “พระพรหมบัณฑิต” เนื่องในวันอายุวัฒนมงคล 69 ปี วันที่ 17 กันยายน 267 เวลา 09.00 น. ณ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร มีพิธีบำเพ็ญกุศลทำบุญอายุวัฒนมงคล 69 ปี พระพรหมบัณฑิต ป.ธ.9,ดร.ศาสตราจารย์,ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์,อัครมหาบัณฑิต ตำแหน่งปัจจุบัน กรรมการมหาเถรสมาคม, เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส, อุปนายกสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ,ประธานศูนย์พระปริยัตินิเทศก์แห่งคณะสงฆ์, ประธานกรรมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ,ประธานสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานชาติ (IABU), ประธานสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก (ICDV) ประวัติโดยย่อบรรพชา สามเณร 2509 อุปสมบทนาคหลวง 2519 พรรษากาลนี้ พรรษาที่ 49 “พระพรหมบัณฑิต” (ประยูร ธมฺมจิตฺโต ป.ธ.๙) เป็นพระนักวิชาการ นักบริหาร นักการศึกษา นักเทศน์และนักเขียน ผู้มีผลงานมากมายทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เป็นพระสงฆ์ไทยรูปแรกที่ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัย ได้รับรางวัลและดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากหลายสถาบัน และเป็นราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญา ในฐานะเจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสได้บูรณปฏิสังขรณ์พระบรมธาตุมหาเจดีย์ของวัดจนได้รับรางวัลยอดเยี่ยม อันดับ 1 ด้านการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรรมจากองค์การยูเนสโก เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 5 สมัยได้ก่อสร้างสำนักงานใหญ่ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นประธานผู้ก่อตั้งสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติและประธานผู้ก่อตั้งสภาสากลวันวิสาขบูชาโลกที่ได้รับฐานะเป็นองค์กรที่ปรึกษาพิเศษขององค์การสหประชาชาติ พระพรหมบัณฑิต เดิมชื่อ ประยูร มีฤกษ์ เกิดเมื่อวันที่ 17 เดือนกันยายน พ.ศ. 2498 ณ ตำบลโพธิ์พระยา อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 11 ปี ต่อมาในปี พ.ศ. 2519 ท่านสำเร็จการศึกษาขั้นสูงสุดในด้านบาลีศึกษาของประเทศไทย คือสอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค ขณะเป็นสามเณรและได้รับการอุปสมบทที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมราชูปถัมภ์ของ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในฐานะนาคหลวงโดยมีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร) วัดสามพระยา เป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสโร) วัดชนะสงคราม ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระธรรมปิฎก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระธรรมธีรราชมหามุนี เป็นพระอนุสาวนาจารย์ สองปีต่อมา ท่านได้รับปริญญาตรีพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาปรัชญา เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หลังจากนั้น ท่านได้เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเดลี ประเทศอินเดีย ได้รับประกาศนียบัตรภาษาฝรั่งเศส ปริญญาโทและปริญญาเอก สาขาปรัชญา วิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาเอกของท่านซึ่งเขียนเป็นภาษาอังกฤษและได้รับการตีพิมพ์ในชื่อเรื่องว่า “อนัตตาในปรัชญาอัตถิภาวนิยมของซาตร์และในพุทธศาสนาดั้งเดิม” มีการพิมพ์ซ้ำหลายครั้ง หลังจากที่จบปริญญาเอก ท่านได้เป็นอาจารย์ประจำที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยระยะหนึ่ง ในปี 2529 ท่านได้รับอนุมัติจากมหาเถรสมาคมให้ไปเป็นพระธรรมทูต ประจำวัดธัมมาราม ชิคาโก สหรัฐอเมริกา และกลับมารับตำแหน่งผู้อำนวยการกองวิชาการ และเป็นคณบดีบัณฑิตวิทยาลัยท่านแรก และได้รับแต่งตั้งเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยจากสมเด็จพระสังฆราช เมื่อปี พ.ศ. 2540 และในปีถัดมาก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะภาค 2 รับผิดชอบเขตปกครองคณะสงฆ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดสระบุรี จังหวัดอ่างทอง นอกจากงานปกครองคณะสงฆ์แล้ว ท่านยังเป็นพระภิกษุผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิชาการของประเทศไทยรูปหนึ่ง ได้นิพนธ์หนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญากว่า 60 เล่ม งานพิมพ์ต่าง ๆ ของท่านทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมทั้งหนังสืออื่น ๆ เช่น ประวัติศาสตร์ปรัชญากรีก พุทธวิธีสร้างสันติภาพ จริยธรรมชาวพุทธ โลกทัศน์ของชาวพุทธ และ วันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ท่านได้รับเชิญให้กล่าวบรรยายธรรมทั้งทางวิทยุและโทรทัศน์ และได้รับเชิญให้บรรยายธรรมเป็นประจำทุกปีทั่วประเทศและทั่วโลกตั้งแต่ 20 ปีที่แล้วมา ซึ่งรวมทั้งการบรรยายธรรมเป็นชุดต่อเนื่องในสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2537 เป็นผู้แทนของประเทศไทยเสนอบทความทางวิชาการ ในที่ประชุมใหญ่ขององค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ที่กรุงเทพมหานคร และในที่ประชุมสัมมนาผู้นำทางศาสนาที่จัดเนื่องในการประชุมใหญ่ขององค์การสหประชาชาติ ณ กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2543 ท่านได้รับเชิญไปบรรยายเรื่อง “พุทธทัศนะสลายความขัดแย้ง” ในการประชุมสุดยอดผู้นำทางศาสนาและจิตวิญญาณเพื่อสันติภาพโลก ณ สหประชาชาติ นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา สามเดือนต่อมาท่านได้บรรยายพิเศษเรื่อง “การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพของโลก” ในการประชุมสุดยอดผู้นำชาวพุทธเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งโลกครั้งที่สอง ณ พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ประเทศไทย ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาท่านได้รับอาราธนาไปบรรยายธรรม และแสดงปาฐกถาเป็นภาษาอังกฤษจำนวนหลายครั้งในที่ประชุมนานาชาติในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งรวมทั้งสำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ ด้วยการเป็นที่ยอมรับในงานบทความด้านวิชาการและการสละอุทิศตน เพื่อสังคมในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของท่าน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของประเทศไทยจึงพระราชทานตำแหน่งศาสตราจารย์สาขาปรัชญาแก่ท่าน ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ท่านได้เป็นประธานคณะกรรมการจัดงานในการประชุมสุดยอดผู้นำชาวพุทธเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งโลก ครั้งที่สอง จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 9 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 นอกจากนี้ ท่านยังเป็นประธานคณะกรรมการจัดประชุมสภาผู้นำศาสนาแห่งโลก ณ พุทธมณฑล และศูนย์การประชุมสหประชาชาติ ระหว่างวันที่ 12 -14 มิถุนายน พ.ศ. 2545 สองปีต่อมา ท่านได้ทำหน้าที่เป็นประธานคณะกรรมการจัดงานการประชุมสภาผู้นำศาสนาแห่งโลก พร้อมกับการจัดการประชุมสุดยอดผู้นำเยาวชนเพื่อสันติภาพแห่งโลก ณ พุทธมณฑล ระหว่างวันที่ 24-29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 และเป็นประธานคณะกรรมการจัดงาน การประชุมการทำงานร่วมกันชาวพุทธนานาชาติ ครั้งที่หนึ่ง หัวข้อ “เอกภาพและความร่วมมือของชาวพุทธ” ณ พุทธมณฑล และศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 16-20 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 และจากนั้นเป็นต้นมาก็เป็นแกนหลัก และประธานการจัดงานเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลกที่ประเทศไทย และเป็นประธานคณะกรรมการการจัดงานประชุมนานาชาติ วันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ครั้งที่สอง และครั้งที่สาม อย่างต่อเนื่องในปี พ.ศ. 2548 และ พ.ศ. 2549 ตามลำดับ หลังจากการจัดประชุมวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลกครั้งที่ 2 พ.ศ. 2548 ประมุขสงฆ์และผู้นำชาวพุทธทั่วโลกได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วมรับรองให้พุทธมณฑลเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาของโลก ท่านเป็นประธานคณะกรรมการการจัดงานการประชุมนานาชาติ ครั้งที่สี่ วันวิสาขบูชาวันสำคัญสากลของโลก ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 -29 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ภายหลังการประชุมท่านได้รับเลือกเป็นนายกสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย แต่งตั้งให้พระพรหมบัณฑิต ผู้เคยดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นอุปนายกสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จำนวนผู้ชม : 3,261 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author คติธรรม “สมเด็จพระสังฆราช” เนื่องในวันวิสาขบูชา อุทัย มณี พ.ค. 22, 2024 วันที่ 22 พ.ค. 67 สำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช ได้เผยแผ่คติธรรมของ… คึกคัก!! สอบแข่งขันบรรจุแต่งตั้ง “ครูสอนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี” อุทัย มณี พ.ย. 28, 2024 วันที่ 28 พฤศจิกายน 2567 ณ วัดปากน้ำภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร พระพรหมโมลี… “วัดนายโรง” สร้างรูปเหมือนหลวงปู่รอด ประดิษฐานอุทยานธรรมโคกหนองนาสังขะสุรินทร์ อุทัย มณี ส.ค. 18, 2022 วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม 2565 เพจวัดนายโรง หลังเซ็นทรัลปิ่นเกล้า… รู้ไว้ใช่ว่า… การอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานล้านนา…การจัดเก็บด้วยระบบดิจิทัล โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อุทัย มณี ส.ค. 26, 2022 คัมภีร์ใบลาน เป็นมรดกทางวัฒนธรรมมีลักษณะเป็นลายลักษณ์อักษรที่บรรพชนไทยสร้างสรรค์ขึ้น… “หญิงหน่อย”หลบการเมืองร้อน! ร่วมเปิดงานสาธยายพระไตรปิฎกนานาชาติที่เนปาล อุทัย มณี พ.ย. 14, 2019 วันที่ 14 พ.ย.2562 เฟซบุ๊กวัดไทยลุมพินี ประเทศเนปาล Royal Thai Monastery ได้โพสต์ข้อความว่า… “สมุทรปราการ” แชมป์ “หมู่บ้านรักษาศีล 5” หนกลาง อุทัย มณี ก.ย. 24, 2024 วันที่ 24 กันยายน 2567 ณ ศาลาการเปรียญ วัดมหาจุฬาลงกรณราชูทิศ… พรรคประชาชาติ เปิดตัว “นายกสมาคมครูสอนศาสนาอิสลาม” ชูเป็น ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ อุทัย มณี ธ.ค. 31, 2021 วันพฤหัสบดีที่ 30 ธันวาคม 2564 ที่ ห้องประชุมสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลา… ชี้แจง “พระเทพพัชราภรณ์” วัดชูจิตธรรมาราม “ยังไม่ได้สึก” ยังคงดำรงเพศบรรพชิตตามปกติ ขอสื่อเสนอข่าวด้วยจริยธรรม อุทัย มณี ก.ค. 10, 2025 วันที่ 10 กรกฎาคม 2568 เฟชบุ๊คผู้ใช้นามว่า Phrakrupalad Surapon Jayabalo ได้โพสต์แจงว่า… “ธนกร” ยกสื่อเทศปีนรั้วรายงานข่าวเหตุกราดยิงหนองบัวลำภู แนะสื่อนำพุทธธรรมสื่อสารสร้างสันติสุข อุทัย มณี ต.ค. 10, 2022 "ธนกร" ยกสื่อเทศปีนรั้วรายงานข่าวเหตุกราดยิงหนองบัวลำภู… Related Articles From the same category วัดพระธรรมกายเข้มป้องไวรัสโคโรนา งานมาฆบูชานานาชาติ 8-9 ก.พ.นี้ วัดพระธรรมกายเชิญร่วมงานมาฆบูชานานาชาติ 8-9 ก.พ.นี้ พร้อมเตรียมหน้ากากอนามัยและเจลล้างมือป้องกันไวรัสโคโรนาแก่ผู้มาร่วมงาน… เปิดเกณฑ์การ “สึกพระ” ตามพ.ร.บ.คณะสงฆ์-กฎมหาเถรสมาคม หลังจากเกิดเหตุการณ์ อดีต "พระธรรมวชิรานุวัตร" ถูกจับข้อหายักยอกทรัพย์สินวัดกว่า… พระนักวิชาการชื่อดังเสนอ 3 แนวทาง ในการสืบสาน รักษา ต่อยอด พุทธวัฒนธรรม สู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน วันที่ 15 มีนาคม 2568 พระเมธีวัชรบัณฑิต ผอ.วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ… พระสังฆราชานุเคราะห์ พระสงฆ์วัดรัตนานุภาพ สมเด็จพระสังฆราช มีพระบัญชาโปรดให้รับการศพของพระครูประโชติรัตนานุรักษ์… ดาบนั้น..คืนสนอง ควันหลงจากการอภิปรายของ “มหานิยม” ว่าด้วยเรื่องศาสนาคงหนีไม่พ้นเรื่อง “ศาสนสมบัติกลาง” ย่านประตูน้ำที่มหานิยมแฉกลางสภาว่า “ส่อเอื้อประโยชน์บริษัทเอกชน” ซ้ำแย้มต่อว่ามี “ผู้หญิงเป็นนายหน้า” ทั้งทิ้งคำปริศนาต่อ…
Leave a Reply