พุทธอิสระ ฟาด!! ขอคิดต่าง “พระต้น” อีกดอก??

วันที่ 4 ตุลาคม 2567  นายสุวิทย์ ทองประเสริฐ หรืออดีต “พระพุทธะอิสระ” อดีตเจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม และอดีตพระนักเคลื่อนไหวทางสังคมชื่อดัง ได้เกาะติดคำสอนของ พระทวีวัฒน์ จารุวณฺโณ หรือ พระอาจารย์ต้น สำนักศึกษาธรรมดอยธรรมนาวา อ.เมือง จ.เชียงราย ซึ่งเป็นตอนที่3  โดยระบุว่า ขอคิดต่างจากโสดาต้นอีกสักหน่อยนะจ๊ะ  โดยมีความว่า  พระองค์จึงตรัสว่า

4. พระโสดาบัน ยังทำบาปกรรมทางกาย วาจา หรือใจ ไปบ้างเพราะ ความพลาดพลั้ง แต่ท่านก็ไม่ถือเอาภพที่แปด โทษเหล่านั้นก็ไม่มี

พุทธะอิสระสงสัยนะสงสัย

สงสัยว่า พระองค์จึงตรัสเอาไว้ในพระคัมภีร์บทใด สุตตันตปิฎก อภิธรรมปิฎก หรือวินัยปิฎก หรือพูดเองเออเอง ต้องหาที่มามายืนยันให้ได้นะโสดาต้น ไม่งั้นต้องเจออีกข้อหาหนึ่งแน่

พระอาจารย์ต้น : เราคิดว่า พระโสดาบันมีศีลบริบูรณ์ใช่มั้ย ศีลบริบูรณ์แบบเต็มร้อยเลยใช่มั้ย
พิธีกร : ค่ะ

พระอาจารย์ต้น : อันนั้นคือเราคิด แล้วพระโสดาบันมีศีลบริสุทธิ์หละ มันคือมีความบริสุทธิ์อยู่ ๒ แบบ
ถ้าเป็นปุถุชนคือ การบริสุทธิ์โดยการสมาทาน แต่ถ้าเป็นพระโสดาบัน บริสุทธิ์โดยไม่ต้องสมาทาน
คำว่า บริสุทธิ์โดยไม่ต้องสมาทาน คือ

5. (เมื่อผิดพลาดเกิดขึ้น เขาตั้งเจตนาที่จะไม่ทำผิดนั้นอีกได้) แต่ถ้าเป็นปุถุชนต้องตั้งเจตนางดเว้นอยู่เรื่อยๆ ตั้งเจตนางดเว้นอยู่บ่อยๆ ในกาลบางคราวบ้าง ในกาลเป็นระยะเวลาติดต่อเนื่องกันหลายๆ วัน แล้วก็ในนิจศีลตลอดชีวิตก็ได้  อันนั้นคือบริสุทธิ์โดยการสมาทาน

อันนี้พุทธะอิสระไม่อยากสงสัย เพราะไม่เกี่ยวอะไรกับความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับพระธรรมวินัยจากการมโน เมาน้ำลายของโสดาต้น แต่ที่ต้องเห็นต่างคิดต่าง ก็คือ คำต่อไปนี้

6.. พระโสดาบันไม่ต้องสมาทาน คืออะไรก็ตามที่เป็นความผิด บาปกรรมทางกาย วาจา หรือใจ ใดๆที่เป็นความผิดพลาดพลั้ง คือ เกิดจากการประมาท พลาดเผลอ มันมีอยู่ ท่านก็ถือเอาภพที่แปด จากการทำความผิดเหล่านั้น

 

 

พุทธะอิสระคิดต่างนะโสดาต้น

พระโสดาบัน แม้จะเป็นพระอริยบุคคลเบื้องต้น แต่ก็มีสติสำรวมกาย วาจา ใจ มีหิริความละอายชั่ว โอตัปปะเกรงกลัวบาป จึงทำให้รักษาศีล 5 ได้บริสุทธิ์บริบูรณ์ ทั้งยังมีคุณธรรมที่เกิดจากการละสังโยชน์เบื้องต้นต่ำ ๓ อย่าง ได้อย่างเด็ดขาด จนสามารถตั้งมั่นอยู่ในอริยมรรคทั้ง 8 ประการ

ไม่ต้องพูดถึงอริยมรรคทั้ง 8 ข้อ แค่สัมมาทิฐิ อริยมรรคข้อแรก คือ ความเห็นตรงถูกต้อง ซึ่งต้องประกอบด้วย เห็นกรรม เห็นว่าสัตว์โลกเป็นไปตามกรรม เห็นว่ากรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้ดี ชั่ว เลว หยาบ และเห็นอริยสัจ 4อีกทั้งเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ว่าเป็นธรรมชาติธรรมดาที่จักต้องเกิดขึ้นแก่สรรพสิ่ง สรรพชีวิต และสรรพวัตถุ

ด้วยคุณธรรมของพระโสดาบัน อันตั้งมั่นอยู่ในอริยมรรคเช่นนี้ แล้วจักทำความผิดบาปได้ไง แถมโสดาต้นยังบอก ยังสอนว่า พระโสดาบันเกิดความประมาท พลาดเผลอ

คำสอนเหล่านี้โสดาต้นคงจะไปรวบรัดตัดตอนเอามาจาก พระไตรปิฎกเล่มที่ 25 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 17รัตนสูตร ในขุททกปาฐะ

พระพุทธเจ้ากล่าวกับเหล่าภูตทั้งหลายว่า  ดูกรภูตทั้งปวง เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายจงตั้งใจฟัง ขอจงแผ่เมตตาจิต ในหมู่มนุษย์ มนุษย์เหล่าใด นำพลีกรรมไปทั้งกลางวัน ทั้งกลางคืน เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาทรักษามนุษย์เหล่านั้น ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้ หรือในโลกอื่น หรือรัตนะใดอันประณีตในสวรรค์ ทรัพย์และรัตนะนั้น เสมอด้วยพระตถาคตไม่มีเลย พุทธรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต

ด้วยสัจจวาจานี้ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้ พระศากยมุนีมีพระหฤทัย ดำรงมั่น ได้บรรลุธรรมอันใดเป็นที่สิ้นกิเลส เป็นที่สำรอกกิเลส เป็นอมฤตธรรมอันประณีต ธรรมชาติอะไรๆ เสมอด้วยพระธรรมนั้นย่อมไม่มี ธรรมรัตนะ แม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต

ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้ พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ทรงสรรเสริญแล้วซึ่งสมาธิใด ว่าเป็นธรรมอันสะอาด บัณฑิตทั้งหลายกล่าว ซึ่งสมาธิใด ว่าให้ผลในลำดับ สมาธิอื่นเสมอด้วยสมาธินั้นย่อมไม่มี ธรรมรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต

ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้ บุคคล 8 จำพวก 4 คู่ อันสัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญแล้ว บุคคลเหล่านั้นควรแก่ทักษิณาทาน เป็นสาวกของพระตถาคต ทานที่บุคคลถวายแล้วในท่านเหล่านั้น ย่อมมีผลมาก สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต

ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้ พระอริยบุคคลเหล่าใด ในศาสนาของพระโคดม ประกอบดีแล้ว [ด้วยกายประโยคและวจีประโยคอันบริสุทธิ์] มีใจมั่นคง เป็นผู้ไม่มีความห่วงใย [ในกายและชีวิต] พระอริยบุคคลเหล่านั้น บรรลุอรหัตผลที่ควรบรรลุหยั่งลงสู่อมตนิพพาน ได้ซึ่งความดับกิเลสโดยเปล่า เสวยผลอยู่ สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต

ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้ เสาเขื่อนที่ฝังลงดินไม่หวั่นไหวเพราะลมทั้งสี่ทิศ ฉันใด ผู้ใดพิจารณาเห็นอริยสัจทั้งหลาย เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นสัตบุรุษ ผู้ไม่หวั่นไหวเพราะโลกธรรมมีอุปมาฉันนั้น สังฆรัตนะนี้เป็นรัตนะอันประณีต

ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้พระอริยบุคคลเหล่าใด ทำให้แจ้งซึ่งอริยสัจทั้งหลาย อันพระศาสดาทรงแสดงดีแล้ว ด้วยปัญญาอันลึกซึ้ง พระอริยบุคคลเหล่านั้น แม้ยังเป็นผู้ประมาทอย่างแรงกล้าอยู่ก็จริง ถึงกระนั้น ท่านย่อมไม่ยึดถือเอาภพที่ 8 (คือ ไม่ต้องไปเกิดในชาติที่ 8 ต่อไปอีกแล้ว) สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้ สักกายทิฏฐิและวิจิกิจฉา หรือแม้สีลัพพตปรามาส อันใดอันหนึ่งยังมีอยู่ ธรรมเหล่านั้น อันพระอริยบุคคลนั้นละได้แล้ว พร้อมด้วยความถึงพร้อมแห่งการเห็น [นิพพาน] ความหลุดพ้น

อนึ่ง พระอริยบุคคลเป็นผู้พ้นแล้วจากอบายทั้ง 4 ทั้งไม่ควรเพื่อจะทำอภิฐานทั้ง 6  [คืออนันตริยกรรม 5 และการเข้ารีต] สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต

ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้พระอริยบุคคลนั้นยังทำบาปกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา หรือด้วยใจ ก็จริง ถึงกระนั้น ท่านไม่ควร เพื่อจะปกปิดบาปกรรมอันนั้น ความที่บุคคลผู้มีธรรมเป็นเครื่องถึงนิพพานอันตนเห็นแล้ว เป็นผู้ไม่ควรเพื่อปกปิดบาปกรรมนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต

ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้ พุ่มไม้ในป่ามียอดอันบานแล้วในเดือนต้นในคิมหันตฤดู ฉันใดพระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงธรรมอันประเสริฐยิ่ง เป็นเครื่องให้ถึงนิพพาน เพื่อประโยชน์เกื้อกูลมีอุปมา ฉันนั้นพุทธรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต

ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้ พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐทรงทราบธรรมอันประเสริฐ ทรงประทานธรรมอันประเสริฐ ทรงนำมาซึ่งธรรมอันประเสริฐ ไม่มีผู้ยิ่งไปกว่า ได้ทรงแสดงธรรมอันประเสริฐ พุทธรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้ พระอริยบุคคลเหล่าใดผู้มีจิตอันหน่ายแล้วในภพต่อไป มีกรรมเก่าสิ้นแล้ว ไม่มีกรรมใหม่เครื่องสมภพ

พระอริยบุคคลเหล่านั้น มีพืชอันสิ้นแล้ว มีความพอใจ ไม่งอกงามแล้ว เป็นนักปราชญ์ ย่อมนิพพาน เหมือนประทีปอันดับไป ฉะนั้น สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต

ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้ภูตเหล่าใดประชุมกันแล้วในประเทศนี้ก็ดี หรือภุมมเทวดาเหล่าใดประชุมกันแล้วในอากาศก็ดี เราทั้งหลาย จงนมัสการพระพุทธเจ้าผู้ไปแล้วอย่างนั้น ผู้อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บูชาแล้ว ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้ ภูตเหล่าใดประชุมกันแล้วในประเทศก็ดี หรือภุมมเทวดาเหล่าใด ประชุมกันแล้วในอากาศก็ดี เราทั้งหลายจงนมัสการพระธรรม อันไปแล้วอย่างนั้น อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้ ภูตเหล่าใดประชุมกันแล้วในประเทศนี้ก็ดี หรือภุมมเทวดาเหล่าใดประชุมกันแล้วในอากาศก็ดี เราทั้งหลาย จงนมัสการพระสงฆ์ผู้ไปแล้วอย่างนั้น ผู้อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้ ฯ

องค์พระบรมศาสดาทรงตรัสพระภาษิตเหล่านี้ก็เพื่อจักแสดงอานิสงส์ของพระรัตนตรัยให้เป็นที่ประจักษ์ว่า แม้ใครจะมองว่าอย่างไร กระทำเช่นไร มีพฤติกรรมแบบไหน แต่ก็ยังมีผลานิสงส์ผลแห่งกุศล ที่ได้เคยทำมาแล้วในอดีตส่งผลให้อยู่ หาได้ทรงสอนว่า พระโสดายังมีความมัวเมาประมาท ซึ่งหากใช้หลักมหาประเทศ 4 มาเทียบ ตัดสิน ก็จะสอดคล้องกับคำสอนที่ว่า

ผู้มีสติในกาย กายไม่ลำบาก
ผู้มีสติในวาจา วาจาไม่ลำบาก
ผู้มีสติในใจ ใจนี้ก็ไม่ลำบากเลย
ซึ่งสอดคล้องกับพระธรรมคำสอนว่า
ผู้มีสติทำ พูด คิด ไม่ผิดพลาดเลย

แล้วเป็นถึงพระโสดาบัน ทำผิด บาปกรรม จารย์เรียกว่า เป็นแค่ความประมาท พลาดเผลอ แบบนี้ยังนับเป็นพระโสดาบันได้อีกกระนั้นหรือจารย์
ว่ายังไม่สามารถสลัดตัวกามออกจากใจได้

7. และตัวกามนี้ยังมีตัวล่อทำให้จิตใจผูกติดและเกาะเกี่ยว และเข้าไปสู่วิถีแห่งความผิดพลาดในกาลบางครั้ง

8. แต่ในความผิดพลาดนั้น จะต้องไม่เกิดจากเจตนาโดยตรง ที่ต้องการเจาะจง เอาแบบ

ขอคิดต่างนะโสดาต้น  พุทธะอิสระสงสัยว่า พระบรมศาสดาทรงตรัสสอนว่า

“มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา
มนสา เจ ปทุฏฺเฐน ภาสติ วา กโรติ วา
ตโต นํ ทุกฺขมเนฺวติ จกฺกํว วหโต ปทํ
ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นใหญ่ มีใจเป็นหัวหน้า
สำเร็จได้ด้วยใจ, ถ้าบุคคลมีใจร้าย พูดอยู่ก็ดี
ทำอยู่ก็ดี, ทุกข์ย่อมไปตามเขา เพราะเหตุนี้
ดุจล้อหมุนไปตามรอยเท้าโค ผู้นำแอกไปอยู่ฉะนั้น”

ก็ในเมื่อพระบรมศาสดาทรงตรัสสอนว่า การทั้งหลายมีใจเป็นใหญ่ มีใจเป็นนาย มีใจเป็นหัวหน้า แล้วมันจะเป็นไปไม่ได้หรือว่า ขณะเสพกาม จะบอกว่าไม่เจตนา โสดาต้นลองอธิบายมาดูหน่อยซิว่า เสพกามจนสำเร็จแล้วบอกว่า ไม่เจตนานี่มันยังไง

หรือประมาณว่า ละเมอ องค์ลง หรือเมา อะไรประมาณนั้นหรือเปล่า..

Leave a Reply