เปิดพินัยกรรม!! พี่สาวของกัปตันริงผู้ขับเรือหลวงอัญเชิญ “พระบรมสารีริกธาตุจากอินเดียสสู่สยาม” สมัยร.5

วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม 2567 ดร. เอ๊า วี ทอนเนอเซ่น (Dr. Aud Valborg Tonnessen) ผู้อำนวยการ พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์วัฒนธรรม กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ (Museum of Cultural History, Oslo, Norway), นางแอนนา โฮบุ (Ms. Anne Hobu) ภัณฑารักษ์ พร้อมด้วย Dr. Olav Hamran, Mr. Tor Ovrebo, Ms. Marianne Berger Marjanovic คณะผู้บริหารจากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์วัฒนธรรม กรุงออสโล ได้นำสำเนาเอกสารบันทึกลายมือของกัปตันริงที่เขียนบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากเมืองกบิลพัสดุ์ ประเทศอินเดีย มาประดิษฐานยังพระเจดีย์บรมบรรพต (ภูเขาทอง) วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร ในสมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อถวายแก่วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร ตามที่พี่สาวของกัปตันริงได้ทำพินัยกรรมไว้

เอกสารบันทึกลายมือดังกล่าวมีอายุถึง 125 ปี ซึ่งต้นฉบับจริงยังเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์วัฒนธรรม กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ โดยระหว่างการขับเรืออัญเชิญพระบรมสารีกธาตุสู่สยามประเทศ กัปตันเรือ ธีโอดอร์ ริง (Captain Theodor Ring) ได้เขียนจดหมายบอกเล่าถึงการเดินทางกลับไปยังประเทศนอร์เวย์ให้ครอบครัวได้ฟัง

สำหรับบันทึกการเดินทางของกัปตันริงดังกล่าว ทำให้เหตุการณ์ที่เป็นช่วงเชื่อมต่อระหว่างการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากตรังเข้าสู่ปากน้ำพระสมุทรเจดีย์ที่หายไปจากหน้าประวัติศาสตร์มานับ 100 กว่าปี กลับมาแจ่มชัดขึ้น นับเป็นคุณค่าทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมสยามที่ประเมินค่ามิได้

นอกจากนี้ ดร. เอ๊า วี ทอนเนอเซ่น ได้ถวายหนังสือนิมนต์พระพรหมสิทธิ กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร ไปเป็นประธานเปิดอนุสาวรีย์คาร์ล บ๊อค (Carl Bock) ประติมากรรมนักสำรวจสยามชาวนอร์เวย์ และร่วมเปิดนิทรรศการรำลึกถึงหนังสือ “Temples and Elephants” ของคาร์ล บ๊อค นักสำรวจ ชาวนอร์เวย์ เพื่อเป็นเกียรติแก่การครบรอบ 140 ปี ของหนังสือเล่มนี้ พร้อมด้วยวัตถุและสิ่งประดิษฐ์ที่นำไปจากสยามประเทศ เรียกได้ว่าเป็นซอฟต์พาวเวอร์ทางวัฒนธรรมสยามในประวัติศาสตร์ยุโรป 5 ประเทศ ของคาร์ล บ๊อค ที่มีการเดินทางและการสำรวจอย่างลึกซึ้งเป็นเอกลักษณ์ ไม่เหมือนใค

Leave a Reply