มจร จัดพิธีประสาทปริญญาทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์สำเร็จการศึกษาทั้งสิ้น 4,602 รูป /คน พร้อมทั้งศิลปิน นักแสดงที่มีชื่อเสียงเข้าร่วมรับปริญญาดุษฎีกิตติมศักดิ์และเข็มเกียรติคุณ

วันที่ 9 ธันวาคม 2567  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จัดพิธีประสาทปริญญา ประจำปี 2567 ในวันที่ 7 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2567 โดยมีพระสังฆาธิการ ภิกษุ สามเณร และคฤหัสถ์ สำเร็จการศึกษา ทุกระดับชั้น จำนวนทั้งสิ้น 4,602 รูป/คน ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ( มจร ) เป็นมหาวิทยาลัยแห่งคณะสงฆ์ไทย ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2430 ซึ่งปัจจุบันได้จัดการศึกษามาถึง 137 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสถานศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูงสำหรับพระภิกษุสงฆ์ สามเณร และคฤหัสถ์ เมื่อปี พ.ศ. 2540 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. 2540 ขึ้นโดยมีสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ และในปี พ.ศ. 2562 อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม

โดยปีนี้ มจร จัดพิธีประสาทปริญญา ประจำปี 2567 ในวันที่ 7 – 8 ธันวาคม พ.ศ.2567 มีผู้สำเร็จการศึกษาทั้งพระสังฆาธิการ ภิกษุ สามเณร และคฤหัสถ์ ทุกระดับชั้น จำนวนทั้งสิ้น 4,602 รูป/คน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีพันธกิจหลัก 4 ด้าน คือ ผลิตบัณฑิต วิจัยและพัฒนาส่งเสริมพระพุทธศาสนาและบริการวิชาการแก่สังคม ทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม นอกจากดำเนินงานตามพันธกิจให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามนโยบายแล้ว มหาวิทยาลัยยังมีนโยบายส่งเสริม สนับสนุน และยกย่องประกาศเกียรติคุณพระมหาเถรานุเถระ ภิกษุณี และอุบาสกอุบาสิกา ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผู้บำเพ็ญสาธารณประโยชน์แก่สังคม ประเทศชาติ พระพุทธศาสนา และ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยมอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ และเข็มเกียรติคุณ เพื่อเป็นการประกาศสดุดีเกียรติคุณยกย่องเชิดชูในงานพิธีประสาทปริญญาของมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จัดพิธีประสาทปริญญา ประจำปี 2567 ในวันที่ 7 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2567 โดยมีพระสังฆาธิการ ภิกษุ สามเณร และคฤหัสถ์ สำเร็จการศึกษา ทุกระดับชั้น จำนวนทั้งสิ้น 4,602 รูป/คน ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อ.วังน้อย
จ.พระนครศรีอยุธยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ( มจร ) เป็นมหาวิทยาลัยแห่งคณะสงฆ์ไทย ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2430 ซึ่งปัจจุบันได้จัดการศึกษามาถึง 137 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสถานศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูงสำหรับพระภิกษุสงฆ์ สามเณร และคฤหัสถ์ เมื่อปี พ.ศ. 2540 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. 2540 ขึ้นโดยมีสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ และในปี พ.ศ. 2562 อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม

โดยปีนี้ มจร จัดพิธีประสาทปริญญา ประจำปี 2567 ในวันที่ 7 – 8 ธันวาคม พ.ศ.2567 มีผู้สำเร็จการศึกษาทั้งพระสังฆาธิการ ภิกษุ สามเณร และคฤหัสถ์ ทุกระดับชั้น จำนวนทั้งสิ้น 4,602 รูป/คน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีพันธกิจหลัก 4 ด้าน คือ ผลิตบัณฑิต วิจัยและพัฒนาส่งเสริมพระพุทธศาสนาและบริการวิชาการแก่สังคม ทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม นอกจากดำเนินงานตามพันธกิจให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามนโยบายแล้ว มหาวิทยาลัยยังมีนโยบายส่งเสริม สนับสนุน และยกย่องประกาศเกียรติคุณพระมหาเถรานุเถระ ภิกษุณี และอุบาสกอุบาสิกา ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผู้บำเพ็ญสาธารณประโยชน์แก่สังคม ประเทศชาติ พระพุทธศาสนา และ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยมอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ และเข็มเกียรติคุณ เพื่อเป็นการประกาศสดุดีเกียรติคุณยกย่องเชิดชูในงานพิธีประสาทปริญญาของมหาวิทยาลัย
ทั้งในประเทศและต่างประเทศจากทั่วโลกถวายการต้อนรับในภาคบ่าย และ เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราชฯ เป็นผู้ประทานปริญญาบัตร

ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐที่มีพระภิกษุสงฆ์ สามเณร และคฤหัสถ์ โดยปัจจุบัน การจัดการศึกษาในประเทศประกอบด้วย 11 วิทยาเขต 29 วิทยาลัยสงฆ์ 4 หน่วยวิทยบริการ และสถาบันสมทบในต่างประเทศอีก 5 แห่ง มีทั้งหลักสูตรภาษาไทยและหลักสูตรอินเตอร์ ระดับชั้นปริญญาตรี-โท-เอก มีจำนวนทั้งสิ้น 22,723รูป/คน ประกอบด้วยนิสิตปริญญาตรีจำนวน 15,624 รูป/คน นิสิตปริญญาโท 4,629 รูป/คน นิสิตปริญญาเอก 2,470 รูป/คน

ในปีนี้ มหาวิทยาลัยของเราได้เตรียมความพร้อมสำหรับบัณฑิตทุกระดับที่กำลังจะจบการศึกษาและต้อนรับนิสิตในปีการศึกษาใหม่ ด้วยพื้นที่โดยรอบ อาคารเรียนที่เพิ่มขึ้นรวมถึงหอพักสำหรับการรองรับนิสิตจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อยกระดับความพร้อมที่จะเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาของโลก เพื่อการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพและเรียนรู้พระพุทธศาสนา ทั้งนี้ มจร ถือเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกมีพระสงฆ์นานาชาติมาศึกษาทั้งในระดับปริญญาตรี-โท-เอก ทั้งหลักสูตรอินเตอร์ และหลักสูตรภาษาไทย มากเป็นอันดับที่ 1 ของโลก

Leave a Reply