“เพชรวรรต” มาเหนือเมฆ ปลูกป่า 1.5 แสนไร่ ใช้งบ 0 บาท ด้วยกลยุทธ “พระกับป่า” หลังอธิฐานหลวงพ่อทันใจ จ.เชียงใหม่
เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2566 เวลา 10.00 น. วัดพระธาตุดอยสะเก็ด พระอารามหลวง นายเพชรวรรตวัฒนพงศศิริกุล อดีตรองประธานกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎรและผู้สมัคร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ได้เข้ากราบสักการะพระราชโพธิวรคุณ รองเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสะเก็ด พระอารามหลวง เพื่อหารือในข้อธรรมต่างๆ ทั้งนี้ท่านได้เสนอให้มีการพัฒนาที่ดิน พัฒนาป่า เพื่อให้วัดอยู่กับป่าอย่างเหมาะสม
เวลา 13.00 น. ที่วัดพระธาตุดอยคำ ต.แม่เหียะ อำเภอเมือง จ.เชียงใหม่ นายเพชรวรรต ได้เข้าสักการะ พระครูสุนทรเจติยารักษ์ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยคำ โดยพระครูสุนทรเจติยารักษ์ ได้สอบถามถึงความคืบหน้าการออกโฉนดให้วัดที่ค้างคามานาน โดยขณะนี้เรื่องยังอยู่ที่กรมอุทยานแห่งชาติ
นายเพชรวรรต กล่าวว่า สำหรับวัดพระธาตุดอยคำ เป็นวัดสำคัญในจังหวัดเชียงใหม่ อายุเก่าแก่กว่า 1,300 ปี น่าจะออกโฉนดที่ดินและขอวิสุงคามสีมา ได้มานานแล้ว แต่กลับกลายเป็นว่าเป็นวัดที่ไม่มีวิสุงคามสีมา อย่างไรก็ตามตนได้ให้นายณพลเดช มณีลังกา อดีตอนุกรรมาธิการศาสนาฯ ประสานกับอธิบดีกรมอุทยานถึงความคืบหน้าแล้ว ซึ่งได้ความจาก ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 จ.เชียงใหม่ ว่ากำลังดำเนินตามกระบวนตามกฎหมายแล้วขณะนี้เหลือขั้นตอนสุดท้ายที่มีการขอเอกสารเพิ่มจากข้อกฎหมายระบุให้เพิ่มเติมเอกสารอื่นๆ ซึ่งเข้าใจว่าเป็นเอกสารประวัติวัด เมื่อมีมติผ่านทางข้อกฎหมายแล้ว ก็จะมีการอนุมัติต่อไป ซึ่งคาดว่าจะได้ที่ดินที่เป็นโฉนดราว 7 ไร่ ตนต้องขอขอบคุณอธิบดีกรมอุทยานที่เร่งงานนี้ให้สำเร็จ
นายเพชรวรรต กล่าวต่อไปว่า ในแนวคิดของตน จริงๆ แล้ววัดกับป่า เป็นเรื่องเดียวกัน หากไปดูจากภาพดาวเทียมหากมีวัดที่เป็นบริเวณป่า จะเห็นว่าจะมีป่าหนาแน่นที่นั่น เรื่องนี้เป็นที่ยอมรับทั้งกรมป่าไม้ และกรมอุทยาน รวมถึงกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ว่าเป็นจริง จากที่ผ่านมาที่ตนเคยทำงานในชั้นกรรมาธิการ ได้ผลักดันที่วัดอยู่กับป่าจำนวนกว่า 10,730 วัด ที่อยู่ในป่า โดยใช้พื้นขออนุญาตที่เพียง 15 ไร่ รวม 1.5 แสนไร่
อย่างไรก็ดีสำเร็จไปแล้วกว่า 4 พันวัด เหลืออีก 6 พันวัด หากพิจารณาแบบลึกๆ จะเห็นว่าพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า เป็นหลักธรรมะ,ธัมมะที่รักษาธรรมชาติ จะเห็นคำสอนวัตรปฏิบัติของพระอริยเจ้าในการอยู่ป่าธรรมชาติของพระอริยเจ้าและพระพุทธเจ้าคือ อยู่ในเสนาสนะอันสงัดโดยเฉพาะเสนาสนะป่า ดังข้อความในมหาโคสิงคสาลสูตร” พระพุทธเจ้าพระองค์ตรัสว่า”ป่านี้งดงามสำหรับภิกษุผู้กลับจากบิณฑบาต นั่งผู้บรรลังค์ (นั่งสมาธิ) ตั้งกายตรงดำรงสติมั่นเฉพาะหน้าตั้งใจว่าจะไม่เลิกนั่งสมาธิ ตราบใดที่จิตยังไม่พ้นจากกิเลสอาสวะ ไม่ยึดมั่นด้วยอุปทาน” อีกทั้งมีพระพุทธดำรัส สะท้อนแนวความคิดที่น่าพิจารณาสองอย่าง คือ ภิกษุที่ชอบตัดไม้ทำลายพืชทั้งหลายถูกเรียกว่า โมฆะบุรุษ อีกทั้ง สิกขาบทนี้จะเป็นพื้นฐานแห่งการป้องกันมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างดีในปาทุกวรรคสิกขาบทที่ 14 เป็นพื้นฐานของการรักษาต้นไม้อีกด้วย
อย่างไรก็ดีตนได้อธิษฐานกับหลวงพ่อทันใจหากพรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาล ตนจะเสนอพรรคขอสนับสนุนให้วัดที่ถูกต้องตามกฎหมายอยู่กับป่าอย่างถูกต้อง ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่า จะไม่มีการใช้งบประมาณในการปลูกป่าเลย เพราะวัดสร้างพื้นที่ป่าอยู่แล้วอีกทั้งยังสงวนรักษาป่าให้หนาแน่นเป็นอย่างดี โดยมีคณะกรรมการทำงานร่วมกันระหว่างฝ่ายราชการและพระสงฆ์ เพื่อให้มีวัดคอยดูแลป่าต่อไป
Leave a Reply