“วิชา มหาคุณ” ยกโมเดลศาล”ศาสนาคริสต์คาทอลิก” สร้างความมั่นคงและยั่งยืน ในการรักษาหลักคำสอนและความศรัทธา

วันที่ 6 เมษายน 2568 ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา มีการจัดเสวนาทางวิชาการว่าด้วย “ศาลสงฆ์ โอกาสและความท้าทางของพระพุทธศาสนาและกระบวนการยุติธรรมไทย” โดยนิสิตปริญญาเอก หลักสูตรสตินวัตกรรมและสันติศึกษา ปาฐกถาพิเศษ โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) วิชามหาคุณ ประธานมูลนิธิต่อต้านการทุจริต ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งเป็นประธานคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลฏีกา อดีตกรรมการ ป.ป.ช.  เป็นองค์ปาฐกถา ในขณะที่วิทยากรสัมมนาประกอบด้วย พระมหาสุดสาคร สุมุรยญาโณ พระภิกษุที่มีความเชี่ยวชาญทางกฏหมาย พ.ท.ดร. พงษ์ธร ธัญญะสิริ ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม ดร.ศักดา วัตตธรรม ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ นายบุญเชิด กิตติธรางกูร รองผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ นายทนง ตะภา อัยการพิเศษฝ่ายคดีแพ่งภาค 7 และ ดร.เด่นคุณ ธรรมนิตย์ชยุต อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  ซึ่งมี พระเมธีวัชรบัณฑิต ผอ.หลักสูตรสตินวัตกรรมและสันติศึกษา คณาจารย์ นิสิตพระภิกษุสามเณร และนิสิตร่วมรับฟัง

ศาสตราจาย์ (พิเศษ)  วิชา มหาคุณ ได้กล่าวปาฐกถา ตอนหนึ่งว่าวันนี้จะขอแนะการศึกษา แนวทางศาสนาอื่นที่เป็นระเบียบและเป็นระบบ ยิ่งกว่าการดำเนินการของศาสนาพุทธ โดยเเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อที่ปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมของพุทธศาสนาที่ชอบด้วยทางโลกและทางธรรม ที่ไปศึกษามาคือ วาติกัน วาติกัน นี้เป็นศูนย์กลางของศาสนาคริสต์คาทอลิก เขามีระบบศาลทางศาสนา แต่ไม่เรียกว่าศาลสงฆ์ ระบบนี้ใช้มาแต่ยุคโรมันแล้ว เป็นเรื่องของศาสนาโดยตรง เป็นเรื่องของนักบวชและศาสนาโดยตรง เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับศาสนจักร โครงสร้างเขามีศาลตั้งแต่ สังฆณฑล คือพิจารณาคดีทั่วไป ศาสนาคริสต์เขาให้ความสำคัญกับพิธีกรรมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะพิธีกรรมสมรส หมายความว่ามีผัวเดียว เมียเดียว การหย่าเป็นไปไม่ได้ พิธีสมรสถูกต้องหรือไม่ถูกต้องศาลสังฆณฑลนี้เป็นผู้วินิจฉัย ชี้ขาด คนทำพิธีคือนักบวช มิใช่ผู้วินิจฉัย การแต่งงานของศาสนาคริสต์ สำคัญมาก พิธีแต่งงานคือการอยู่ภายใต้พระหัตถ์ของพระเจ้า ศาลสังฆณฑลสำคัญมาก เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับวินัย หรือกระบวนการบวชนี้ ศาลนี้เป็นคนชี้ขาด สอง ศาลสูง ศาลนี้วินิจฉัยเกี่ยวกับคดีนักบวช ที่ระเมิดพระวินัยของศาสนา บวชมาถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง นักบวชจะหลุดจากนักบวชหรือไม่ ศาลสูงนี้เป็นผู้วินิจฉัย สาม คล้ายกับศาลฏีกา คือ ทำหน้าที่เป็นศาลสูงสุด ทำหน้าที่รับลูกมาจากศาลสูงอีกชั้นหนึ่ง ดูแลเรื่องคดีปกครอง เขตอำนาจปกครอง ชอบหรือไม่ชอบ ให้พ้นหรือไม่ให้พ้นจากอำนาจ คล้ายศาลปกครองบ้านเรา วินิจฉัยว่า ใช้อำนาจชอบหรือไม่ชอบ ศาลนี้ชี้ขาด ศาลสุดท้าย คือ ดูแลความลับ ดูพิธีล้างบาป ศาสนาคริสต์ให้ความสำคัญกับการล้างบาป อาจมีการโต้แย้งกัน และมีอีกองค์กรหนึ่งที่เป็นองค์กรรักษาความมั่นคงของศาสนาของเขาไว้ได้มาอันยาวนานเรียกว่า สภาศรัทธาและศีลธรรม เป็นองค์กรใหญ่ที่สุดของคณะสงฆ์คาทอลิก องค์กรนี้มีหน้าที่วินิจฉัยที่มีอำนาจสูงสุด เช่น คดีการล่วงละเมิดทางเพศโดยนักบวช  สภานี้ไม่เรียกว่าศาล มีองค์ประกอบที่รวบรวมนักบวชที่มีความรู้จากมณฑลต่าง ๆ   องค์กรนี้สำคัญที่สุด ไมได้วินิจฉัยแบบขอไปที หรือแบบชุ่ย ๆ หรือวิ่งเต้นได้ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น มันทำลายศรัทธาของผู้คน องค์กรนี้ประกอบด้วยนักบวชที่บริสุทธิ์ ไม่มีด้วง ไม่มีแมลง มีประวัติที่ดี มีองค์ความรู้วินัยสำคัญที่สุด สำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่องค์กรนีจะเป็นผู้วินิจฉัยหรือหลักคำสอน ถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง และองค์กรนี่แหละเป็นผู้เลือกสันตะปาปา

“เราจะเห็นได้ว่าพระพุทธศาสนาบ้านเรา ปัจจุบันเกิดขึ้นหลายสำนัก ตีคำสอนของพระพุทธเจ้าไปต่าง ๆ นา ๆ ลูกศิษย์แต่ละสำนักก็เกิดความแตกแยก บางคนใส่ร้ายพระภิกษุ เจ้าสำนักืั้ตนไม่ชอบว่า ขาดจากความเป็นพระก็มี เรื่องความศรัทธาและศีลธรรม หลักคำสอนผิดหรือถูก บ้านเราไม่ค่อยให้ความสนใจเลย แนวทางของคริสต์ศาสนา เขาต้องการให้ศาสนาเขามีความมั่นคง เราจะเห็นว่าศาสนาเขาผ่านร้อนผ่านหนาวมาตั้งแต่ยุคโรมัน แต่ระบบสันตะปาปาของเขาไม่เคยเปลี่ยนเลย กระบวนการคัดเลือกคัดครองเขาก็มั่นคง องค์สันตะปาปา คัดเลือกใครมา ต้องผ่านสภาศรัทธาและศีลธรรมนี้เท่านั้น และ เหตุสำคัญที่ศริสต์ศาสนาจำเป็นต้องมีศาลศาสนานี้ เนื่องด้วยเหตุผล 3 ประการ คือ ประการที่หนึ่ง ตัดสินหรือวินิจฉัยคดีเฉพาะเรื่องวินัยของนักบวช เท่านั้น ประการที่สอง คดีที่เกี่ยวข้องกับความศรัทธาของผู้คน และประการที่สาม คดีปกครอง จะให้มันมีเรื่องทะเลาะเบาะแว้ง กันไม่ได้เป็นอันขาด มันต้องจบโดยเร็ว ติดสินและวินิจฉัยโดยผู้มีความมั่นคงในด้านของศีล ด้านวินัย และระเบียบปฎิบัติ กระบวนการลงโทษของเขาใช้ การไกล่เกลี่ยเป็นหลัก และแก้ไขก่อน เป็นอันดับแรก โทษสูงสุดของศาสนาคริสต์ คือ การถอดถอนออกจากตำแหน่ง มิใช่การลงโทษทางอาญาตามกฎหมายทั่วไป ซึ่งเมื่อพ้นจากนักบวชแล้ว หากเป็นคดีอาญาทางโลกก็จะดำเนินการต่อไป..”

 

Leave a Reply