รู้ยัง? ตัดต่อพันธุกรรม ภัยจริยธรรมที่ไม่ไกลเกินจริง

อื้ออึงไปทั้งวงการ นักวิจัยจีนสร้างแฝดตัดแต่งยีน ส่ออันตราย-ละเมิดจริยธรรม” ข้อความพาดหัวข่าว “ข่าวสดออนไลน์” (https://www.khaosod.co.th/around-the-world-news/news_1879386)เมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๑  ได้รายงานข่าวความก้าวล้ำทางด้านเทคโนโลยีด้านพันธุวิศวกรรม เมื่อศาสตราจารย์เหอ เจียนคุย นักวิทยาศาสตร์ในประเทศจีนแถลงว่าได้สร้างทารกแฝดที่ถูกแก้ไขปรับแต่งสิ่งอื่นสืบต่อพันธุกรรม หรือ ยีน ได้เป็นครั้งแรกของโลก หลังจากแถลงดังกล่าว นักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านชีวจริยธรรมต่างแสดงปฎิกิริยาตกตะลึงและไม่พอใจอย่างกว้างขวางโดยสรุปข้อทักท้วงของผู้ทักท้วงว่า นักวิทยาศาสตร์พยายามเลี่ยงและฝ่าฝืนระเบียบปฎิบัติและข้อห้ามในเรื่องนี้  เด็กที่ถูกเปลี่ยนยีนโดยไม่ได้รับความยินยอม ถือเป็นการพิจารณาด้านจริยธรรม

เมื่อคนได้ทราบข่าวนี้ต่างตื่นตะลึงในเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวล้ำทันสมัย ขณะที่อีกมุมหนึ่งก็วิตกกังวลด้วยเทคโนโลยีดังกล่าวนั้นเหมาะสมที่จะนำเสนอสู่สังคมหรือไม่ ผิดจริยธรรมหรือไม่ อีกฝากหนึ่งอาจมีอีกกลุ่มหนึ่งยังคงนิ่งเฉยกับเหตุการณ์เหมือนว่าข่าวนี้ไกลตัว ยิ่งปัญหานี้ไม่ได้เกี่ยวกับปัญหาปากท้อง  แต่เป็นปัญหาของคนมีเงินจะคิดจะทำกันไปเท่านั้น

ถ้าใครเป็นพ่อแม่ที่ต้องการลูก หรืออยากได้ลูกตามที่ตนต้องการ เพราะพ่อแม่บางคนมีเชื้อโรคบางอย่างติดตัวมา ไม่อยากให้เชื้อนั้นติดต่อถึงลูก เทคโนโลยีนี้น่าตื่นตาตื่นใจไม่น้อยขณะที่นักจริยธรรมที่มองปัญหาทางด้านเทคโนโลยีว่าเหมาะสมที่จะใช้หรือไม่ และขณะเดียวกันมุมมองของคนในสังคมได้กระทบกับศีลธรรมอันดีอย่างไรบ้าง

แน่นอนว่าถ้ามองอย่างเป็นธรรม เราคงไม่ปฎิเสธว่า สังคมกำลังก้าวหน้าด้วยแรงพลักดันของมนุษย์ที่ตั้งอยู่บนความเปลี่ยนแปลงในชีวิตคือแก่ เจ็บ ตายหรืออาจพูดได้ว่าโลกเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเช่นกัน ไม่มีทางที่เราจะห้ามความเปลี่ยนแปลง  ขึ้นอยู่กับว่าความเปลี่ยนแปลงที่เรากำลังพูดถึงนั้นหมายถึงเปลี่ยนแปลงแบบเจริญขึ้นหรือเสื่อมลง

ถ้าเรามองจากมุมมองของมนุษย์ เราจะพบว่าสิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น กรณีแพทย์ตัดต่อยีนอย่างในกรณีนี้ผิด ก็เป็นการผิดต่อความเป็นธรรมชาติที่มนุษย์ไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องชีวิต ควรให้เป็นหน้าที่ของธรรมชาติ แต่อย่าลืมว่า ก่อนจะเป็น“มนุษย์”ได้อย่างทุกวันนี้ มนุษย์ถูกธรรมชาติตัดต่อมาหลายต่อหลายครั้งตามทฤษฎีวิวัฒนาการ แต่เรากลับรู้สึกว่านั่นเป็นเรื่องยุติธรรม ที่เด็กบางคนจะเกิดมาพร้อมกับโรคภัยไข้เจ็บ หรือพิการ หรือเสียชีวิตแต่เกิด เพราะเป็นกรรม นั่นเป็นคำอธิบายทางศาสนาที่ช่วยทำให้เรายอมรับได้ และเราสามารถตัดต่อตัวเราเองได้ ไม่ให้ต้องแก่ เจ็บ ตายและเป็นทุกข์แบบนี้ตามคำสอนทางศาสนา เช่นเรื่องนิพพาน โมกษะ เป็นต้น ก็ดูจะเป็นไปได้ว่าเราสามารถตัดต่อตัวเองตามธรรมชาติได้เช่นกัน

ถ้าจบลงตรงนี้ ดูเหมือนเรื่องนี้ก็ไม่น่าจะเป็นปัญหาทางจริยธรรม เพราะแม้แต่ศาสนาก็ดูจะอธิบายให้เราพยายามเอาชนะธรรมชาติที่ติดตัวมา แต่เอาเข้าจริงแล้ว ปัญหาทางจริยธรรมเกี่ยวกับเรื่องนี้ไม่ได้พิจารณาเกี่ยวกับร่างกายที่เกิดขึ้นจากการตัดต่อพันธุกรรมเท่านั้นแต่มุ่งที่ “จิตใจหรือความรู้สึกเป็นหลัก” เช่น ความรู้สึกของเด็ก ความรู้สึกของคนในสังคม เป็นต้น และหากมีข้อกังวลนั้นเกิดขึ้นจะแก้ไขอย่างไร

ปัญหาทางด้านจิตใจนั้นละเอียดอ่อน ผูกพันกับโครงสร้างความรู้สึกหลายอย่าง เช่น ศาสนาที่ให้ความรู้สึกถึงความสำคัญทางด้านจิตใจ (มโนกรรม) ก็จะสนใจต่อสิ่งที่จะทำให้ตนเองทุกข์อย่างมาก หรือแม้แต่ศาสนาที่สนใจการกระทำ (กายกรรม) ก็แคร์ว่าตนเองไม่ควรเบียดเบียนใคร เมื่อปัญหานี้ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น จะมากจะน้อยก็ควรต้องสนใจให้มาก อย่าด่วนทำบางอย่างโดยเน้นไปที่ผลสำเร็จของการแพทย์อย่างเดียว  แต่ควรคำนึงถึงจิตใจเด็ก และคนในสังคมด้วยจะรู้สึกอย่างไร

 

เพราะสังคมมนุษย์ ไม่ใช่สังคมเครื่องจักร ที่มีแต่ร่างกายแต่ไร้จิตใจ

หรือเป็นสังคมมีจิตใจที่มืดบอด ก็ทำตามกันไปโดยไม่ใส่ใจความดีงาม

สุดท้ายก็ต้องทุกข์เศร้าเสียใจ ไม่ใช่เกิดที่ไหน ก็เกิดที่ใจของเรานั่นเอง

 

คอลัมน์ : ตื่นข่าว ….สำหรับผู้อ่านข่าวอย่างคนตื่น

ผู้เขียน   กิตติเมธี

 

Leave a Reply