สัมภาษณ์พิเศษ : วันชัย สอนศิริ กรรมการปฎิรูปประเทศด้านการเมือง : โดย อุทัย มณี
“ เหตุผลสำคัญของผมที่เสนอให้ส.ว 250 คน เลือกนายกรัฐมตรีได้ เพราะต้องการให้ทั้ง 2 ฝ่ายคือ ฝ่ายความมั่นคง ซึ่งก็คือ คสช.มีอำนาจแต่งตั้งส.ว.250 คนเข้ามา รวมทั้งผบ.เหล่าทัพที่อยู่ในส.ว. 250 คนนั้นโดยตำแหน่งด้วย กับฝ่ายที่มาจากประชาชนคือ ส.ส.500 คน มีการประณีประนอมรอมชอมอำนาจกัน มีอะไรคุยกันในรัฐสภา เพื่อป้องกันรัฐประหารในช่วงเปลี่ยนผ่านภายใน 5 ปีนี้ ความจริงผมเสนอแรงกว่านี้ แต่ในชั้นกรรมาธิการเขาไม่เห็นด้วย..
ส่วนคณะสงฆ์ผมในฐานะผมเป็นมหาเป็นเปรียญธรรม 4 ประโยคในขณะเป็นสามเณร เป็นศิษย์วัด โตมาจากวัด อยากเห็นการปฎิรูปในวงการคณะสงฆ์เรา 4 เรื่องคือ..??
และปัญหาคณะสงฆ์คณะสงฆ์ต้องให้พระสงฆ์แก้ไขเอง ไป ๆ มาๆ หากให้คนอื่นมาแก้ไขให้ ผมว่าไม่ถูกต้อง..”
» ประเมินสถานการณ์การเมืองก่อนเลือกตั้ง มองแล้วเป็นอย่างไรบ้าง
ผมว่าเราชาวบ้านทั่วไป พ่อค้านักธุรกิจ รวมทั้งซีกการเมืองบางเหล่า บางฝ่าย ประเมินหรือคิดกันว่า เฮ้ย ! การเมืองก่อนเลือกตั้งหรือหลังเลือกตั้งมันจะยุ่งอย่างนี้
ผมคิดว่าวิธีคิดแบบนี้หรือมองการเมืองแบบนี้ เป็นวิธีคิดการในมองการเมืองแบบเก่า เพราะการเมืองนับแต่มีการรัฐประหารมา 4 -5 มานี้ รวมทั้งมีกฎกติกาหรือรัฐธรรมนูญใหม่มานี้ ผมเชื่อว่ารูปแบบการเมืองเปลี่ยน
ดังนั้นในสถานการณ์ตอนนี้ ที่นักการเมืองกำลังหาเสียงก็ดี หรือในกาณรณรงค์ในทางการเมืองก็ดี ผมถือว่าเป็นเรื่องปกติ ไม่ได้มีอะไรที่ก่อให้เกิดหรือส่อไปในทางที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งอลหม่านอะไรเลยใด ๆ ทั้งสิ้น
เพราะก่อนจะมีการเลือกตั้งแน่นอน มันจะต้องมีฝ่ายที่เห็นด้วยกับรัฐบาลและฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล มันเป็นอย่างนี้มาทุกยุคทุกสมัย
เพราะฉะนั้นมันจึงเป็นลีลาภาษาทางการเมืองปกติ ไม่มีอะไร แต่หากมีการหาเสียงก่อนเลือกตั้งแล้วมันเงียบ อันนี้สิผิดปกติ
เพราะฉะนั้นตลอด4-5ปีมานี้ประชาชนคนทั่วไปอาจคุ้นเคยกับความเงียบ ในรูปแบบของการปกครองที่ไม่ได้เป็นประชาธิปไตยมาสัก 4-5 ปี
พอมาเจอการหาเสียงอึกทึกครึกโครม มีการปราศัย มีการโจมตี หรือการเคลื่อนไหวโน่นนี้ มีความรู้สึกว่า บ้านเมืองจะวุ่นวาย ปรากฎการณ์แบบนี้ผมถือว่าไม่วุ่นวาย เป็นลีลาภาษาทางการเมืองปกติในระบอบประชาธิปไตย อันนี้ประการที่หนึ่ง
ประการที่สอง หลังเลือกตั้ง ผมเชื่อเหลือเกินบทบาททางการเมืองจะแตกต่างกว่าช่วงของการเลือกตั้ง มันจะเป็นการประนอมอำนาจกันมากขึ้น เพราะแน่นอนว่าทุกคนก็อยากเป็นรัฐบาลทั้งสิ้น ทุกคนอยากมีอำนาจบริหารทั้งสิ้น หาเสียงทำอย่างไรให้ตัวเองได้เสียงจากประชาชนมากที่สุด แต่เวลาเป็นรัฐบาลหากตัวเองหรือพรรคตัวเองมีเสียเด็ดขาดนั่นก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่เชื่อในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ น่าจะไม่มีใครมีเสียงเด็ดขาดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้แบบเดิม
ดังนั้น หลังเลือกตั้งพรรคการเมือง นักการเมือง จะอยู่ในกรอบถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน ประนอมอำนาจกัน เพราะรัฐธรรมนูญเขาเขียนไว้ชัด
» ทำไมรัฐธรรมนูญจึงออกแบบมาให้มีการประนีประนอมอำนาจ พรรคการเมืองพรรคเดียวยากที่จะตั้งรัฐบาลได้แบบเดิม
เพราะเขารู้ว่า บ้านเมืองจะเป็นประชาธิปไตยจ๋า แบบเดิมเลย ทันทีทันใด เหมือนในอดีตไม่ได้ เพราะมันจะกลับไปเหมือนเดิม เหมือนที่ทุกคนวิตกว่า เลือกตั้งแล้วมันจะกลับไปวังวนเดิม แบบเดิม เฉพาะฉะนั้น เขาจึงไม่ต้องการให้คุณเป็นประชาธิปไตยจ๋าในทันทีทันใด ในขณะเดียวกันเขาก็ไม่ต้องการให้คุณเป็นเผด็จการ มีอำนาจเด็ดขาด แบบในช่วงรัฐประหาร
เพราะว่ามันเป็นเลือกของสากล เป็นเรื่องชองนานาชาติ มนุษย์มันไม่มีใครหรอกที่จะยอมถูกปกครองแบบเผด็จการตลอดไป แต่เขาเห็นว่าบ้านเมืองจะต้องเป็นประชาธิปไตยและบ้านเมืองต้องเป็นประชาธิปไตย เขาจึงมีช่วงรอยต่อหรือระยะเปลี่ยนผ่าน ที่เขาเรียกว่าระยะรอยต่อ 5 ปี เพราะฉะนั้นในระหว่าง 5 ปีแรก การออกแบบรัฐธรรมนูญในบทเฉพาะกาล เขาจึงให้มี ส.ส.ที่มาจากการเลือกตั้ง 500 คน ให้มี ส.ว.ซึ่งแต่ตั้งโดย คสช. 250 คน
เพราะฉะนั้นว่าไปแล้ว คสช.เขาก็ยังมีบทบาททางการเมืองอยู่ โดยผ่าน ส.ว.250 คน ส.ส.ก็มี 500 คน 250 คนไม่ได้เป็น ส.ว.ธรรมดาเหมือนก่อนเก่า เป็นส.ว.ที่มีสิทธิโหวตนายกรัฐมนตรีได้ พูดง่าย ๆคือว่า ส.ว. 250 คนนี้มีสิทธิโหวดให้คนมาเป็นรัฐบาลได้ ทหารหรือคสช.นี้จึงมี 250 คน ส่วนฝ่ายซีกหรือคนที่มาจากการเลือกตั้งหรือมาจากการเมืองมี500 คน แต่หากจะต้องใช้เสียงโหวตามันต้องใช้เสียเกินกว่า 250 คน ดังนั้นมันจึงต้องรอมชอมอำนาจ เพราะ คสช. แค่เสียง ส.ว. 250 คนมันต้องรัฐบาลไม่ได้ ส่วน ส.ส.มีคน 250 หรือ 280 คนก็ตั้งรัฐบาลไม่ได้ รัฐธรรมญูกำหนดว่าการจะตั้งรัฐบาลได้ คุณจะต้องมีเสียง 375 เสียงขึ้นไป ก็แปลว่าต้องหาเสียงให้เกิน 376 ขึ้นไปจึงตั้งรัฐบาลเป็นนายกรัฐมนตรีได้ แปลว่า มีส.ว. 250 คนหรือมี ส.ส. 150 คนร่วมกัน ประคับประคอม ประนีประนอมอำนาจในระยะช่วงเปลี่ยนผ่าน คือ คุณก็ไม่ได้เป็นประชาธิปไตยจ๋าแบบเดิม ในขณะเดียวก็ไม่ได้เป็นเผด็จการเบ็ดเสร็จแบบเดิม เป็นการผสมผสานกันระหว่างฝ่ายที่มาจากความมั่นคงและฝ่ายที่ผ่านการเลือกตั้งจากประชาชน และร่วมกันพัฒนาประเทศ ร่วมกันปฎิรูปประเทศ ในระยะเปลี่ยนผ่านตลอด 5 ปีนี้ให้เรียบร้อย
ทีสำคัญยิ่งกว่านั้นเขาเอา ผบ.เหล่าทัพมานั่งอยูในสภาเสียด้วย จะได้นั่งดู ได้เห็น ได้พูดคุยกับตัวแทนที่มาจากประชาชน จะได้ป้องกันปฎิวัติ รัฐประหารได้ อีกส่วนหนึ่ง ให้ทำอะไรให้ทำในรัฐสภาอย่าไปทำอะไรนอกสภา นี้คือเหตุผลในการออกแบบรัฐธรรมนูญ
เพราะรู้ว่าคนที่จะเปลี่ยนอำนาจในประเทศนี้ได้ มี 2 กลุ่มคือ กลุ่มหนึ่ง คือประชาชนโดยการเลือกตั้งพรรคการเอง ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งที่จะเปลี่ยนแปลงอำนาจได้คือ ทหาร คือการรัฐประหาร หากสองกลุ่มนี้ทะเลาะกันบ้านเมืองมันก็จะไปทิศไดทิศหนึ่ง บ้านเมืองก็อาจจะมีปัญหาได้ แต่ถ้าว่าสองกลุ่มร่วมกันประณีประนอม ถ้อยทีถ้อยอาศัยในช่วงเปลี่ยนผ่านตลอดระยะเวลา 5 ปีนี้ หลังจากนั้นค่อยมอบอำนาจผ่านการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยจ๋า
» เรื่อง ส.ว. 250 คนเลือกหรือโหวตนายกรัฐมนตรีได้ ก่อนหน้านี้มีคลิปว่าอาจารย์วันชัยเป็นคนเสนอ ท้อเท็จจริงเป็นอย่างไร
คือรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว เขียนไว้เมื่อกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ร่างรัฐธรรมนูญเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต้องส่งให้ สปท. (สภาขับเคลื่อนการปฎิรูปประเทศ) ร่วมกันพิจารณา และในขณะเดียวกันต้องส่งให้ สนช. (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) ร่วมกันพิจารณา แล้วจึงจะส่งให้ประชาชนร่วมกันโหวต แต่เราไม่สิทธิโหวตอะไร รัฐธรรมนูญเขียนไว้ว่าให้ สนช.มีสิทธิตั้งคำถามพ่วงได้ นอกจากกรธ.ร่างมาแล้ว อยากจะให้ประชาชนแก้ไขรัฐธรรมนูญในส่วนหนึ่งส่วนใดหรืออยากจมีส่วนหนึ่งส่วนใดในรัฐธรรมนูญ เขาใช้คำ ให้ตั้งเป็นคำถามเพื่อให้ประชาชนเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในคำถามนี้ได้ ถ้าประชาชนเอาต้องมาเขียนเพิ่มเติม ถ้าประชาชนไม่เอาก็แปลว่าเอาตาม กรธ.ทั้งฉบับ
แต่ในรัฐธรรมนูญที่ให้สนช.ตั้งคำถามพ่วงนั้น เขาใช้คำว่า จะต้องรับฟังความเห็นจาก สปท.เสียก่อนนำมาประกอบการพิจารณา ซึ่งตอนนั้นผมเป็น สปท.อยู่
ก็ได้พิจารณาร่วมกันในคณะทำงาน ไม่ได้เป็นคำถามผมคำถามเดียวมีของคนอื่นอีกอย่างน้อย 2 คำถาม ซึ่งคำถามผมและคณะที่ล่ารายชื่อมาได้ 90 กว่ารายชื่อที่เป็นญัตติ
คำถามของผมก็คือว่า เห็นด้วยหรือไม่ ที่จะให้ ส.ว.เลือกโหวตนายกรัฐมนตรีได้ ผมเป็นหัวหอกในการตั้งคำถามและล่ารายชื่อ โดยไปมีการอภิปรายกันในรัฐสภา ในขณะเดียวกันคนอี่นที่มีญัติติอีก 2 ญัติติ เขาก็มีคนรับรองแล้วก็ไปอภิปรายแข่งกัน ปรากฎว่าเสียงส่วนใหญ่เกือบทั้งสภาสนับสนุนญัตติที่ผมซึ่งเป็นหัวหอกเสนอไป
เหตุผลสำคัญของผมที่เสนอคำถามนี้ก็คือ ผมต้องการให้ทั้งสองฝ่ายร่วมกันประนอมอำนาจ เพราะในรัฐธรรมนูญเขาเขียนไว้แล้วว่าให้คสช.นั้น ตั้งส.ว.ได้ 250 คน ถ้ามีแต่ ส.ว.250 คน ซึ่งมีบทบาทแค่พิจารณา กลั่นกรองกฎหมายแต่งตั้งบุคคลในองค์กรอิสระ แล้วมันจะไปมีน้ำหนักอะไรเลย พูดง่าย ๆ ก็คือว่า คณะรัฐประหารขาลอย ไม่มีสิทธิจะมาจะมาดูยุทธศาสตร์ที่วางไว้และการปฎิรูปที่จะเดินหน้าต่อไปก็จบ เพราะไม่มีส่วนอะไรที่จะมาเชื่อมได้แล้ว แต่ถ้าเราให้ส.ว. 250 คน มีสิทธิโหวตนายกรัฐมนตรีได้ มันจะเกิดการประนีประนอมและต่อรองในอำนาจกันได้ ก็จะทำให้ภารกิจที่เขาวางเอาไว้ไม่ว่าจะเป็นการปฎิรูป ยุทธศาสตร์ชาติหรือภารกิจใด ที่เขาวางเอาไว้ที่ค้างคาอยู่สามารถเดินหน้าผลักดันต่อไปได้ โดยนายกรัฐมนตรี อันนี้จึงเป็นที่มา และเมื่อคำถามผมผ่านสปท.แล้วก็เสนอไปยังสนช. ซึ่ง สนช.เขาก็ตั้งคำถามหลายคำถามเหมือนกัน แต่ส่วนใหญ่สนช.เห็นด้วยกับคำถามพ่วง แล้วก็นำไปให้ประชาชนโหวตพร้อมรัฐธรรมนูญ ปรากฎว่าประชาชนเห็นด้วยกับคำถามพ่วง 15 ล้านเสียง เมื่อเป็นอย่างนี้กรธ.จึงจำเป็นต้องมาเพิ่มเติมมาแก้ไขในรัฐธรรมนุญ
» จุดเริ่มต้น ความต้องการให้ส.ว.เลือกนายกรัฐมนตรีได้ ใครเป็นคนคิดหรือจุดชนวน
เราประชุมหารือกันในคณะกรรมการปฎิรูปประเทศด้านการเมือง ร่วมกันคิด ร่วมกันปรึกษาหารือ แต่ผมนี้เป็นคนเสนออันนี้ ความจริงผมเสนอแรงกว่านี้อีก ผมเสนอว่าให้โหวตนายกรัฐมนตรีได้ และในเวลาอภิปรายไม่ไว้วางใจที่เอาจะนายกมนตรีออกผมว่า ส.ว.ต้องร่วมโหวตได้ แต่ว่าในชั้นกรรมาธิการเขาไม่เห็นด้วยกับผม
» เมื่อส.ว. 250 คนเลือกนายกรัฐมนตรี แต่เวลาอภิปรายไม่ไว้วางใจโหวตไม่ได้ มีคนฟันธงเลยว่า หากเป็นแบบนี้นายกรัฐมนตรีอยู่ได้ไม่นาน
อันนั้นแล้วแต่!! ผมจึงบอกว่ามันต้องประณีประนอมอำนาจกัน เป็นการถ่วงดุล แปลว่ามีแต่เสียงในสภาเกิน 250 คนมันก็ตั้งรัฐบาลไม่ได้ แต่ขณะเดียวมีเสียงส.ว.อยู่ 250กัน และรวมคะแนนจากพรรคการเมืองอีก 100 กว่าเสียง เป็นรัฐบาลได้ แต่ก็อยู่ไม่ได้ เห็นไหม ?? มันเป็นการถ่วงดุลกัน แปลความว่าคุณมีเสียงส.ว.อยู่ 250 เสียงก็จริง แต่คุณต้องไปหาเสียงในสภาผู้แทนราษฎรอีก 280หรือ 300 เสียง แบบนี้มันจะให้เกิดความสมดุลระหว่างฝ่ายความมั่นคงและฝ่ายที่มาจากการเลือกตั้ง
» มาเรื่องพระสงฆ์บ้าง อาจารย์ถือว่าเป็นคนวัด เพราะผ่านการบวชเรียนมา จนได้เปรียญธรรม 4 ประโยคขณะเป็นสามเณร หลังสึกแล้วก็ยังอาศัยชายคาวัดไตรมิตรอยู่ตั้ง 4-5 ปี
ผมเป็นเด็กวัดเก่า เป็นเปรียญเก่า ศิษย์วัดไตรมิตร พอสอบเทียบม.ศ 5 ได้ ผมก็สึกออกมา สมัยก่อนพระเณรสอบเทียบได้ สมัยนั้นอายุ 17-18 ปี แล้วก็ไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง
» อาจารย์มองสังคมสงฆ์ในปัจจุบันเป็นอย่างไร
ผมว่าตั้งแต่รัฐบาลแก้พ.ร.บ.สงฆ์มานี้ โดยให้ พระมหากษัตริย์มีบทบาทในการแต่งตั้งกรรมการมหาเถรสมาคมก็ดี เจ้าคณะใหญ่ก็ดี เจ้าคณะภาคก็ดี รวมทั้งตำแหน่งอื่น ๆ ตามพระราชดำริก็ดี ผมว่าทำให้วงการคณะสงฆ์นี้สงบเรียบร้อย เข้าที่เข้าทางมากขึ้น เพราะว่าในอดีตผมมองว่าพระสงฆ์องค์เจ้าเรานี้ ที่มีการแต่งตั้งสมณศักดิ์ต่าง ๆ จะต้องผ่านไปตามระบบของคณะสงฆ์ คือ เจ้าคณะตำบล เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะภาค เจ้าคณะหน และเข้าสู่ขบวนการมหาเถรสมาคม ซึ่งเราทำกันมาอย่างนี้มาอันยาวนาน ทำให้เกิดช่องว่างมีพระสงฆ์องค์เจ้าวิ่งเต้นเจ้าคณะปกครองต่าง ๆ เพื่อให้ได้ตำแหน่งและสมณศักดิ์ จนเป็นที่รู้กันไปทั่ว บางครั้งก็มีข่าวรูปนี้องค์นั้นเสียเงินเสียทอง และรู้เลยว่าองค์นั้นรูปนี้สามารถเนรมิตให้ได้ เรื่องนี้เป็นที่รู้กันในวงการคณะสงฆ์ อันนี้แหละทำให้ระบบสมณศักด์ของเราขาดความคลัง ความศักดิ์สิทธิ์
สมัยผมเป็นเด็ก โฮ้ ! จังหวัดหนึ่งนี้ รูปไหนเป็นเจ้าคุณนี้ ไม่ใช่ธรรมดา เดียวนี้พระเด็ก ๆ หนุ่ม ๆ เป็นกันจนเกลอไปหมด จนเขาพูดกันว่า พระบางรูปแค่ถือย่ามพระผู้ใหญ่ก็ได้เป็นเจ้าคุณกันแล้ว ขาดความคลัง ความศักดิ์ เพราะว่าตำแหน่งพวกนี้เป็นตำแหน่งศักดิ์สิทธิ์ มีความคลัง นำมาซึ่งความเคารพ ความเลื่อมใสของสาธุชน สมณศักดิ์มิใช่ยศถาบรรดาศักดิ์ ของข้าราชการทั่วไป แต่นำมาซึ่งความเลื่อมใสของสาธุชน แต่ไปทำกันจนหมดความคลัง ความศักดิ์สิทธิ์ และกลายเป็นเรื่องมีปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง..
แต่พอเกิดการเปลี่ยนแปลงพ.ร.บ.สงฆ์ ทำให้พระสงฆ์องค์เจ้าสงบความเคลื่อนไหว วิ่งเต้นต่าง ๆ ก็หมดลง ความเป็นระเบียบเรียบร้อยก็มีมากขึ้นในวงการคณะสงฆ์
บางรูปประท้วง ที่มีจุดมุ่งหมายทางการเมือง ก็ลดน้อยถอยลง ทั้งหมดนี้มันก็ก่อให้เกิดความศรัทธาต่อสาธุชนคนทั้งหลาย
เพราะฉะนั้นผมจึงบกว่า วัดกับวัง เป็นสิ่งที่เกื้อกูลกัน เมื่อวังเข้ามาดูอย่างใกล้ชิด วัดก็เกิดความสงบเรียบร้อย ชาติ ศาสนา พระมหากษัริย์ก็มั่นคงเจริญก้าวหน้า
เดียวนี้เราจะเห็นว่าป้ายโฆษณาพุทธพาณิชน์หมดไป วัดต่าง ๆ แม้จะเป็นพุทธพาณิชย์ แต่ก็ไม่โจ่งแจ้งเหมือนแต่เก่าก่อน เป็นวัดสวยงามของพระพุทธศาสนาเรา ผมดีใจนะที่เกิดแบบนี้และผมคิดว่ารวมทั้งชาวบ้านด้วย..เดียวนี้พระสงฆ์เริ่มมีสติมากยิ่งขึ้น สมัยก่อนเลยเถิดจนเกินความเป็นพระมากไป ยิ่งมีการจับกุมพระเถระผู้ใหญ่ ยิ่งเห็นเลยว่ากฎหมายบ้านเมืองเขาเอาจริงนะ พระเลยต้องระวังตัวเอง ไม่ไปสมคบกับเจ้าหน้าที่สมคบกันทุจริต อะไรที่ทำไม่ถูกไม่ถูกต้องเราก็ไม่ไปร่วมช่วยกับเขา เพราะมีตัวอย่างให้เห็นแล้ว
» เพื่อให้คณะสงฆ์เป็นที่เคารพศรัทธาและเพื่อความยั่งยืนของศาสนาเรา อาจารย์ว่ามีอะไรบางที่คณะสงฆ์จะต้องปฎิรูป
ผมว่าต้องปฎิรูปเลย หนึ่ง เรื่องวัตรปฎิบัติของพระ พระทุกวันนี้เราต้องยอมรับว่าอยู่ได้ด้วยความศรัทธาของประชาชน ถ้าทำขนาดให้ประชาชนไม่เลื่อมใสแล้วก็ไม่ไหว ดังนั้นต้องปฎิรูปเรื่องวัตรปฎิบัติของพระให้อยู่ในศีลในธรรม ในพระวินัย ตั้งแต่เข้ามาบวชต้องมีกลั่นกรองตรวจสอบ ไม่ใช่ใครๆก็มาบวชก็ได้ เมื่อเข้ามาบวชแล้วต้องศึกษาเล่าเรียน ใครประพฤติปฎิบัตินอกรีตนอกรอยพระธรรมวินัยต้องมีมาตรการจัดการไม่ใช่ปล่อยแบบชั่วช่างดี ดีช่างสงฆ์ นั้นเรื่องที่หนึ่ง
เรื่องที่สอง เรื่องคำสอน ต้องปฎิรูป คือคำสอนของพระพุทธเจ้าไม่ต้องปฎิรูปอะไรหรอก แต่มีเกจิต่าง ๆ มีพระที่ตั้งตัวเป็นเจ้าสำนักต่าง ๆ อันนี้แหละต้องเข้าไปตรวจสอบ เพราะบางรูปพูดไปเรื่องเปลื่อย คิดว่าตัวเองเก่ง ตัวเองถูก ผมว่ามันน่าจะมี พระธรรมธรหรือวินัยธร ที่จะคอยวินิจฉัย เหมือนทางบ้านเมืองเขามีศาลรัฐธรรมนุญ พระก็เหมือนกันน่าจะมีตุลาการของพระสักชุด เพื่อคอยวินิจฉัยว่าที่สอนอยู่นี้มันใช่หรือไม่ใช่ ถูกไม่ถูก เราจะเห็นได้ว่ามีพระเถียงกันเรื่องคำสอนเยอะแยะไป แล้วก็ตั้งกันเป็นเจ้าสำนักต่าง ๆ
เรื่องที่สาม ผมว่าคณะสงฆ์น่าจะต้องปฎิรูปก็คือ การปกครองของคณะสงฆ์ ผมว่ามันต้องกระชับระดับเจ้าคณะตำบล เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะจังหวัด อะไรที่เราเห็นว่ามันเป็นจุดอ่อน อะไรที่มันเป็นข้อบกพร่องที่ทำให้การบริหารมันมีปัญหา ผมว่าเรื่องพวกนี้ต้องยกขึ้นมาคุย การวินิจฉัย การลงโทษ เรื่องระบบการปกครอง อะไรพวกนี้ บางทีเจ้าอาวาสท่านก็นึกว่าวัดเป็นของตัวเอง ผมว่าอันนีมันต้องปฎิรูป
สุดท้ายเรื่องศาสนสมบัติ ต้องมีการบริหารจัดการให้เป็นระบบ ไม่ใช่เป็นเจ้าอาวาสแล้วใหญ่ไปหมด เพราะความจริงแล้วทรัพย์นั้นก็ไม่ใช่ของตัวเองและของวัดทั้งหมด มันเป็นของพุทธศาสนา เป็นศาสนสมบัติกลาง เป็นของชาวพุทธทั้งหมด บางวัดนึกว่าเป็นเจ้าอาวาสจะทำอะไรก็ได้ แล้วก็มีคนมาทำหากินอยู่กับเจ้าอาวาส วัดใหญ่ ๆ ที่มีที่ดินเยอะ มีผลประโยชน์มากมายไปดูเถอะ มีคนมากินกับเจ้าอาวาสทั้งนั้น วัดในกรุงเทพก็เยอะ ในต่างจังหวัดก็แยะ ในเมืองใหญ่ ๆ ผมว่ามันต้องมีระบบการบริหารจัดการทั้ง หมด เหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นศาสนสมบัติส่วนกลาง ส่วนตัว มันต้องให้เกิดความชัดเจน มันต้องมีกฎหมายจัดการให้เรียบร้อย คือ พูดง่าย ๆอาณาจักร ต้องมีส่วนสนับสนุนศาสนจักร ให้เกิดความเรียบร้อย บางเรื่องจับได้ว่าพระเสพเมถุน เป็นไปได้ไหมว่าไม่ใช่จับสึกอย่างเดียวมันต้องมีมากกว่านั้นเพราะให้พระพุทธศาสนาเสียหาย ผมว่ามันต้องช่วยกันทั้งศาสนจักรและอาณาจักรแล้วมันก็จะเกิดความสวยงาม ทำให้พระพุทธศาสนาของเรานี้ยั่งยืนสถาพร ซึ่งขณะนี้ผมคิดว่าหลังเราแก้กฎหมายคณะสงฆ์ให้พระมหากษัริย์เข้ามามีบทบาทมีส่วนอย่างสำคัญ ก็จะทำให้แก้ในองค์รวมได้ในระดับหนึ่ง แต่คณะสงฆ์ด้วยกันเอง หากปล่อยให้เกิดปัญหาแล้วก็ปล่อยไม่คิดจะแก้ไขด้วยตัวของตัวเอง ผมว่าไป ๆมา ๆ อาจจะต้องมีคนอื่นมาแก้ไขให้ มันก็ไม่น่าจะถูกต้อง…
+++++++++++++++++++++++
Leave a Reply