วันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา นางเกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.) ปฏิบัติหน้าที่แทนเลขาธิการเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มีหนังสือถึงพระธรรมวัชรบัณฑิต, ศ.ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) เรื่อง ขอเชิญเป็นวิทยากรการประชุมเชิงปฏิบัติการวิพากษ์และปรับปรุง(ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช … (หลักสูตรฐานสมรรถนะ) สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม ระหว่างวันที่ 8-9 มกราคม 2565 ความว่า
ผอ.หลักสูตรสันติศึกษา”มจร”แนะแนวออกแบบหลักสูตรศีลธรรมในโรงเรียน
ขณะที่พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. Peace FA วิทยากรต้นแบบสันติภาพ อาจารย์ประจำหลักสูตรสันติศึกษา มจร เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร
เปิดเผยว่า วันนี้(9 ม.ค.) ร่วมพิธีปิดการฝึกอบรมการพัฒนาครูผู้สอนพระพุทธศาสนาพุทธสันติวิธีผ่านออนไลน์ ซึ่งขับเคลื่อนพัฒนาตามหลักสูตรแบบบูรณาการเป็นสันตินวัตกรรมโดย ศน.ฑิมพิกา ญาธิป ซึ่งเป็นศึกษานิเทศก์ในการดูแลการจัดการเรียนรู้พระพุทธศาสนาในโรงเรียนและเป็นนิสิตระดับปริญญาเอก หลักสูตรสันติศึกษา มจร โดยได้รับความเมตตาจากพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ศาสตราจารย์ ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร และในฐานะเป็นกรรมการพัฒนากรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักสูตรสมรรถนะสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และศีลธรรม เป็นประธานกล่าวปิดการฝึกอบรมผ่านออนไลน์
พระมหาหรรษา กล่าวประเด็นสำคัญว่า เด็กไม่ต้องการลบล้างวิชาพระพุทธศาสนาแต่เด็กรุ่นใหม่อยากให้ออกแบบกิจกรรมสัมพันธ์กับวิถีของเด็กรุ่นใหม่ โดยเด็กเยาวชนเป็นพลเมืองดิจิทัล แต่คนที่ออกแบบเป็นคนรุ่นเก่าไม่เข้าใจเด็กรุ่นใหม่ ปัจจุบันมีการเอาครูสาระอื่นไปสอนวิชาพระพุทธศาสนาทำให้ไม่เข้าถึงความเป็นพระพุทธศาสนา จึงมีสำนักงานครูพระสอนศีลธรรมเพื่อตอบโจทย์ โดยให้ มจร และ มมร ขับเคลื่อนการสอนศีลธรรม โดยสังคมคาดหวังกับสำนักงานสอนศีลธรรมเป็นอย่างมาก พัฒนาการเด็กจะออกแบบอย่างไร พระสงฆ์หรือครูผู้สอนจะต้องเข้าใจพัฒนาการของเด็ก ถือว่าเป็นจิตวิทยา คำถามคือจะออกแบบอย่างไร จะมีการร่างหลักสูตรอย่างไร ปัจจุบันมีครู Z-Y ไม่มองความเป็นมา อย่าเป็นคนไร้ราก อย่าเป็นสุนัขหางหาย เพราะในมาตรา 67ในรัฐธรรมนูญชัดเจนว่าเกี่ยวกับการศึกษาพระพุทธศาสนาเถรวาทถือว่ามีความชัดเจน โดยมองว่าคนรุ่นใหม่ที่จะมาออกแบบหลักสูตรต้องนึกถึงรากของตนเองให้ชัดเจนด้วย
ครูจะต้องเข้าใจพัฒนาการของเด็กให้ลึกซึ้ง จะต้องทำให้เด็กให้รู้ตื่นและเบิกบาน พระสงฆ์จะต้องตระหนักเรื่องการประเมินอย่างชัดเจน แต่หัวใจสำคัญคือครู โดยครูจะต้องเข้าใจหลักการวิธีการของพระพุทธศาสนา โดยงานวิจัยชิ้นนี้จะต้องลงไปสู่การปฏิบัติด้วยการนำไปทดลองกับกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริงเพื่อเป็นต้นแบบ จึงมองว่าควรมีการตั้ง “สาระพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่นๆ” เพราะครูสังคมต้องดูแลแบบภาพกว้างเกินไป จึงควรแยกออกมาเป็น “สาระพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่นๆ” จึงต้องประชาสัมพันธ์ครูพระสอนศีลธรรมอย่างจริงจังมีครูพระต้นแบบระดับประเทศ ประจำภูมิภาค จังหวัด อำเภอ ตำบล เป็นการสร้างการรับรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึงขออนุโมทนากับศน.ฑิมพิกา ญาธิป ซึ่งเป็นศึกษานิเทศก์ในการดูแลการจัดการเรียนรู้พระพุทธศาสนาในโรงเรียนและเป็นนิสิตระดับปริญญาเอก หลักสูตรสันติศึกษา มจร และครูทุกท่านขอให้ช่วยกันขับเคลื่อนวิชาพระพุทธศาสนาสู่นักเรียนอย่างเข้าใจมีประสิทธิภาพสูงสุด
Leave a Reply