“พระพุทธวรญาณ” พระเถระผู้กำเนิด “วินิตศึกษา” ผู้ปั้นเด็กจากดินสู่ดาว?? “ผู้เขียน” เคยไปจังหวัดลพบุรีหลายครั้ง ทั้งงานเกี่ยวข้องกับงานมอญ งานวังสมเด็จพระนารายณ์ หรือแม้กระทั้งหลังสุดคืองาน “สวดพระปริตรมอญ” ที่จัดขึ้น ณ โรงเรียนวินิตศึกษา 2 ภายใต้การอุปถัมภ์ด้านอาหาร สถานที่ และอื่น ๆ ของ “พระเทพเสนาบดี” เจ้าคณะจังหวัดลพบุรี ในฐานะ ผอ.โรงเรียนวินิตศึกษาที่มีนักเรียนมากถึงเกือบ 5 พันคน ล่าสุดวานนี้ไปจังหวัดลพบุรีอีกครั้งเพื่อไป “ดูงาน” ของกลุ่มโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา ซึ่งมี พระเทพเสนาบดี ในฐานะผู้อำนวยการโรงเรียนวินิตศึกษาเป็นประธานกลุ่ม ได้จัดกิจกรรมทดสอบทักษะวิชาการของกลุ่มโรงเรียนการกุศลในพระพุทธศาสนา โดยมีโรงเรียนการกุศลในพระพุทธศาสนาเดินทางมาจากทุกภูมิภาคเข้าร่วมกิจกรรม 65 โรงเรียน จำนวนนักเรียน 1,080 คน คณะครู 122 คน รวมทั้งสิ้น 1,202 คน ซึ่งบรรยากาศก็เคยรายงานข่าวไปแล้ว “ผู้เขียน” ขอสารภาพบาปว่ารู้จักโรงเรียน “ปอเนาะ-ตาดีกา” ของศาสนาอิศลามที่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนมากกว่า “โรงเรียนการกุศลในพระพุทธศาสนา” ซึ่งทั้ง 2 โรงเรียนทั้ง 2 ศาสนานี้มีลักษณะเหมือนกันคือ “ผู้นำศาสนา” เป็นเจ้าของผู้ได้รับใบอนุญาตตัวจริง หมายความว่า “พระภิกษุ” คือเจ้าของโรงเรียนนั่นเอง เคยรับรู้และสัมผัสมาบ้างตอนที่ “เจ้าคุณขวัญ” พระศรีสุทธิเวที วัดอรุณราชวรารามไปสร้างโรงเรียนการกุศลวัดไตรรัตนาราม ที่จังหวัดกาญจนบุรี แต่ก็ไม่ได้ให้ความสนใจเท่าไร เพราะดูแล้วยุ่งยาก ลำบาก เหนื่อยใจ พระต้องหาเงินสร้างอาคารเอง บริหารจัดการเองทุกอย่าง ระยะ 2-3 ปีแรก ต้องจัดหาทั้งชุดนักเรียน อาหารการกิน อุปกรณ์การเรียนการสอน เงินเดือนครู กว่า “รัฐบาล” จะมาช่วยเห็น “เจ้าคุณขวัญ” ต้องหาเงินอยู่ 2-3 ปี แม้กระทั้งทุกวันนี้ “ค่าใช้จ่ายรายเดือน” ท่านก็เข้าไปแลอยู่ในนาม”มูลนิธิพระศรีสุทธิเวที” ก็คือ..เงินของท่านนั่นแหละ “โรงเรียนวินิตศึกษา”ในพระราชูปถัมภ์ขององค์สมเด็จพระเทพ ฯ จังหวัดลพบุรี มีชื่อเสียงมาก กว่าจะถึงวันนี้ได้ ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ “ดื่มน้ำจากบ่อ อย่าลืมคนขุดบ่อ” “ผู้เขียน” รู้แต่ว่า โรงเรียนแห่งนี้กว่าที่ “พระเทพเสนาบดี” มารับช่วงต่อนั้น ผู้ก่อกำเนิดคือ “พระพุทธวรญาณ” อดีตเจ้าอาวาสวัดกวิศรารามราชวรวิหาร และ รู้อีกว่า วัดกวิศแห่งนี้เดิมเป็น “วัดมอญ” มาก่อน และภายในวัดมี “บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์” โบราณสถานด้วย ด้วยใคร่อยากจะว่า “พระพุทธวรญาณ” ผู้มีหัวใจเปี่ยมด้วยเมตตาดัง “พระโพธิสัตว์” ท่านเป็นอย่างไร สอง อยากไปดูว่าวัดกวิศ มีสภาพเป็นอย่างไร และสาม อยากจะไปชมบ่อน้ำศักด์สิทธิ์และแหล่งโบราณสถานภายในวัดด้วย หลังจากจบภารกิจภาคเช้าดูงานของกลุ่มนักเรียนที่เข้าสอบแข่งขันทักษะวิชาการ จึงตัดสินใจไปกราบ “พระพุทธวรญาณ” ด้วยมี GPS เป็นเครื่องนำทาง “วัดกวิศรารามราชวรวิหาร” เป็นวัดโบราณไม่ปรากฏประวัติชัดเจน แต่สันนิฐานว่าเป็นวัดที่ “สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ” ทรงสร้างหรือไม่ก็ปฎิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่ เดิมเรียกกว่า “วัดขวิด” หรือ “วัดจันทร์” ต่อมาในสมเด็จรัชกาลที่ 4 ทรงมีพระราชดำริว่า วัดตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานเป็นการไม่สมควร จึงทรงไถ่ถอนเขตวิสุงคามสีมาออกจากพระราชวัง และทรงเห็นว่าวัดขวิด ตั้งอยู่ใกล้กำแพงพระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ จึงโปรดให้ปฎิสังขรณ์และพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดกวิศราราม” และภายในวัดมีโบราณสถานทั้งพระอุโบสถตามลักษณะเป็นพระอุโบสถขนาดย่อมแบบมหาอุด มีประตูเข้าออกทางเดียว ผนัง เจาะเป็นช่องไม่มีหน้าต่าง เจดีย์ รวมทั้งมีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ สำหรับข้าราชการถือน้ำพระพัฒน์สัตยาด้วย และทั้งในอดีตเป็นวัดสังกัด “คณะสงฆ์รามัญนิกาย” ด้วย “ผู้เขียน” เมื่อไปถึงสังเกตภายในวัดมี “ต้นจันทน์” เก่า 2-3 ต้น มีเจดีย์ตั้งอยู่หน้าพระอุโบสถ์ สังเกตเห็นเจดีย์ที่บรรจุอัฎฐิของ “พระพุทธวรญาณ” เสียดายว่าประตูพระอุโบสถปิด ไม่ได้เข้าไปกราบพระประธานและชมความงดงามภายในพระอุโบสถ พยายามมองหา “พระภิกษุ” แต่ไม่เจอท่านใด จึงตัดสินใจเดินไปที่โรงเรียนวินิตศึกษาผ่านประตูเข้าไปเจอรูปปั้นสีสองขนาดใหญ่ของ “พระพุทธวรญาณ” โดยข้างรูปมีตัวอักษรบาลีและไทยว่า “อพฺยาปชฺฌํ สุขํ โลเก : การช่วยกันเป็นสุขในโลก” ใต้รูปมีอักษรสลักว่า “พระพุทธวรญาณ” ผู้ให้กำเนิดโรงเรียนวินิตศึกษา 20 พฤษภาคม 2489 เข้าไปกราบสักการะท่าน ในขณะที่สายตา “รปภ.” จับตามองอยู่ ได้แต่รำพึงในใจว่า หากไม่มีพระสงฆ์ผู้มีความเมตตามีหัวใจดัง “พระโพธิสัตว์” รูปนี้ วันนี้ลูกหลานชาวพุทธที่ยากจนคงไม่ได้มีโอกาสเล่าเรียนฟรีแบบนี้ หรือหาจะเสียค่าบำรุงบ้างก็เล็กน้อย ปัจจุบันโรงเรียนวินิตศึกษามีชื่อเสียงไม่แพ้โรงเรียนดัง ๆ ระดับประเทศอาทิ สวนกุหลาบ เทพศิรินทร์ เตรียมอุดม ซึ่งโรงเรียนที่ว่ามานี้ “ค่าเทอมแพง” คนยากจน อาจเอื้อมไม่ถึง โรงเรียนวินิตศึกษามีชื่อเสียงดีและดัง เพราะ “พระพุทธวรญาณ” ท่านวางรากฐานไว้ดี อบรมสั่งสอนลูกศิษย์ที่จะรับช่วงต่อไว้ดี คือ “พระเทพเสนาบดี” ท่านจึงได้สืบสาน รักษา ต่อยอด สิ่งที่พระอุปัชฌาจารย์ท่านตั้งใจทำไว้ จนปัจจุบันโรงเรียนวินิตขยับขยายไปสู่แห่งที่ 2 มีอาคารเรียนใหญ่โต มีเนื้อที่กว่า 300 ไร่ ในขณะที่ “ลูกพระพุทธเจ้า” คือศิษย์เก่าของโรงเรียนวินิตศึกษาทั้งที่จบไปแล้วหรือกำลังศึกษาอยู่ ล้วนติดชื่ออยู่ในมหาวิทยาลัยชั้นนำของไทย สังเกตจากรายชื่อ “ศิษย์เก่า” มีทั้งทหาร ตำรวจ แพทย์ นักธุรกิจ ผู้พิพากษา ครบทุกสาขาอาชีพ “ผู้เขียน” จากเดิมทำงานเป็นนักข่าวสายโทรทัศน์ แม้จะเป็นนักบวชเก่า แต่ไม่ค่อยให้ความสนใจเกี่ยวกับกิจการของคณะสงฆ์เท่าไรมากนัก จะนิมนต์พระมาออกรายการบ้างเฉพาะในช่วงเทศกาลสำคัญๆ หรือได้รับ “คำสั่งพิเศษ”จากฝ่ายการเมือง เช่น ช่วงวิกฤติการเมือง เสพข่าวไม่ดีของพระสงฆ์ก็เหมือนชาวบ้านทั่วไป จึงไม่อยากเข้าใกล้พูดคุยกับพระภิกษุสงฆ์เท่าไร เพราะมองว่า “คบพระมีแต่เสีย เห็นแก่ตัว เอาแต่ได้ ขี้เหนียว” ประมาณนั้น หลายปีมานี้ผันแปรตัวเองมาเป็น “นักข่าวสายพระ” แม้ไม่ได้ใกล้ชิดกับพระสงฆ์มาก แต่ก็ใกล้ชิดกว่าเดิม ลงพื้นที่ทำงานร่วมกับพระคุณเจ้าหลายโครงการเช่น หมู่บ้านศีล 5 บ้าง งานอื่น ๆ บ้าง “ความคิดเปลี่ยน” ความจริงในสังคมสงฆ์มีพระเถระหลายรูป มีหัวใจเป็นพระโพธิสัตว์จริง ๆ มีพระเถระระดับเจ้าคณะภาคบ้าง รองภาคบ้าง เจ้าคณะจังหวัดบ้าง ลงพื้นที่ลุยตากแดด ตากฝน วัดไม่ได้กลับ กิจนิมนต์ประเภทงานวัดบ้าง ญาติโยมนิมนต์ฉันบ้าง ต้องสละหมด ร่วมกันสละเงินที่ได้รับบริจาคมาลงขันช่วยเหลือผู้ยากไร้ ผู้ป่วยติดเตียง สร้างบ้านให้กับคนยากจน และหลายรูปให้ทุนการศึกษาพระภิกษุสามเณร เด็กที่ยากจนแต่เรียนดีก็มีมาก.. ในสังคมไทยมีพระจำนวนมากที่เป็น “ผู้เสียสละ” มีพระจำนวนมากที่ทำงานศึกษาสงเคราะห์ สาธารณะสงเคราะห์ มีเมตตาดัง “พระโพธิสัตว์” เหมือน “พระพุทธวรญาณ” แต่ไม่ค่อยปรากฏบนสื่อท่าไร ไอ้ที่สื่อสาร ไลฟ์สด ออกสื่อทางโซเซียลปัจจุบัน มีพระภิกษุจำนวนมาก แต่ “โฆษณาตัวเอง” เพื่อให้โยมศรัทธาแล้วมาทำบุญสร้างโบสถ์ สร้างศาลา อะไรประมาณนี้ พระที่ทำงานเพื่อพระพุทธศาสนา เพื่อกิจการคณะสงฆ์ เพื่อประเทศชาติ ประเภท “ผู้ปิดทองหลังพระ” บางรูปหน้าบาง ไม่แสดงตัว ไม่ชอบออกสื่อ รวมทั้งไม่กล้าที่จะทำแบบดังกล่าวมีจำนวนนับพันรูปในสังคมสงฆ์ ที่พวกเราชาวพุทธต้องส่งเสริมและสนับสนุนท่าน และบางทีคณะสงฆ์เอง ต้อง “แอคชั่น” เรื่องการสื่อสารการทำงานของคณะสงฆ์ที่เป็นสาธารณะ เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติบ้างก็ดี สังคมจะได้รู้ว่าพระทำงานเพื่อพระพุทธศาสนา เพื่อคณะสงฆ์ และเพื่อประชาชน มีปรากฏอยู่จริง ๆ ในสังคมไทย มิได้เป็นพระเอาแต่ได้..ดังผู้คนในสังคมไทยส่วนหนึ่งตราหน้าไว้!! จำนวนผู้ชม : 2,957 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author เปิด!! นานาทัศนะเกี่ยวกับ “ผอ.พุทธฯ” คนนอก?? อุทัย มณี ก.ย. 30, 2022 วันที่ 30 ก.ย.65 หลังจากมีกระแสข่าวว่ารัฐบาลกำลังจะตั้งคณะกรรมการสรรหาผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติคนใหม่… พระสมเด็จฯ พิมพ์เกศทะลุซุ้ม องคฺใหญ่ที่สุดในโลก วัดอำพุฯ อ.สามโคก จ. ปทุมธานี อุทัย มณี ก.ค. 05, 2019 พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์ใหญ่ หรือพิมพ์ทรงเจดีย์… สมเด็จพระสังฆราชทรงโปรดมีพระบัญชาให้พระพรหมบัณฑิตแทนพระองค์ปราศรัยนครรัฐวาติกัน อุทัย มณี มี.ค. 06, 2019 วันที่ ๖ มี.ค.๒๕๖๒ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช… ปลัด มท. ยกศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์ รูปแบบ “โคก หนอง นา” จังหวัดยะลา เป็นต้นแบบ ชี้ นี่คือความสำเร็จในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข อย่างเป็นรูปธรรม ให้แก่พี่น้องประชาชน อุทัย มณี ก.ย. 20, 2022 วันนี้ (20 ก.ย. 2565) เวลา 10.00 น. ณ ห้องรับรองปลัดกระทรวงมหาดไทย อาคารศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย… “วัดพระธรรมกาย” มุทิตาผู้สอบได้ ป.ธ.9 ปีที่ 35 ถวายทุนแด่สำนักเรียนบาลีดีเด่นทั่วประเทศ และถวายสังฆทาน 2,000 วัด รวมทั้ง 323 วัดใน 4 จังหวัดชายแดนใต้ อุทัย มณี ส.ค. 07, 2023 วันที่ 7 สิงหาคม 2566 วานนี้ ณ สภาธรรมกายสากล วัดพระธรรมกาย อ.คลองหลวง… ปลัดกระทรวงมหาดไทย ประชุมอนุกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาคลองลาดพร้าว คลองเปรมประชากร คลองแสนแสบ เน้นย้ำ สร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชน อุทัย มณี เม.ย. 20, 2022 วันที่ 20 เม.ย. 65 เวลา 08.00 น. ที่ห้องประชุมดำรงธรรม อาคารศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย… ส่อง!! มจร ยุคเปลี่ยนผ่าน?? อุทัย มณี ม.ค. 12, 2019 เจ้าคุณ พระพรหมบัณฑิต อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย… ร.ร.พระปริยัติธรรมเมืองสิงห์ลาว ต้นแบบร่วมมือสร้างศาสนทายาทพุทธลุ่มน้ำโขงอย่างยั่งยืน? อุทัย มณี ส.ค. 27, 2019 วันที่ 27 ส.ค.2562 พระครูพิพิธสุตาทร (พระมหาดร.บุญช่วย สิรินธโร… ผู้ว่านราฯเปิดโครงการสืบสานประเพณีสงกรานต์ ประจำปี 2565 อุทัย มณี เม.ย. 14, 2022 วันที่ 14 เมษายน 2565 วานนี้เวลา 09.30 น. ณ วัดสังฆสิทธาราม หมู่ที่… Related Articles From the same category รายงานพิเศษ: เปิดใจ สองนักธุรกิจสามีภรรยา “บัญชา ราษีมิน – กาญจนี ละศรีจันทร์” นักจิตอาสา โคก หนอง นา “ผมเชื่อว่า โคก หนอง นา มันคือ ทางรอด ของโลกยุคปัจจุบัน… “สมเด็จพระสังฆราช” แต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช 3 รูป เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2566 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช… เจ้าคุณประสารฝากงานกิจการคณะสงฆ์กับ’เทวัญ’ดูแลพศ. ห่วงตั้ง’ศูนย์ออนไลน์รับร้องเรียนสงฆ์’ดาบสองคม วันที่ 7 ส.ค.2562 พระเมธีธรรมาจารย์ หรือเจ้าคุณประสาร เลขาธิการศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย… “เพชรวรรต” อึ้ง! เจ้าคณะปกครองอีสาน เปรย ถ้ารัฐหนุนงบฯตาม พรบ.ปริยัติธรรม โรงเรียนปริยัติธรรมจะยิ่งกว่าโรงเรียนนานาชาติเอกชน วันที่ 25 เมษายน 2566 เวลา 14.30 น. ที่โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา… “มหานิยม” นิมนต์เจ้าสำนักสงฆ์ 7 แห่งจากจังหวัดสกลนคร ขอพึ่งสภา?? วันที่ 4 กันยายน 2567 เวลา 09.30 น. "ดร.นิยม เวชกามา" อดีต สส.สกลนคร เขต…
Leave a Reply