วันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๖๔ พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร นักศึกษาหลักสูตรการบริหารงานยุติธรรมระดับกลาง รุ่น ๑๗ กระทรวงยุติธรรม เปิดเผยว่า ได้เรียนผ่านระบบออนไลน์ ณ หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยภาคเช้าเรียนรู้ “หลักสูตรการบริหารงานยุติธรรมระดับกลาง” รุ่น ๑๗ จัดโดย สถาบันพัฒนาบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม ภายใต้หัวข้อ #การสร้างคุณค่าให้เด็กและเยาวชนก่อนคืนสู่สังคม บรรยายโดย อาจารย์ ทิชา ณ นคร (ป้ามล) ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนบ้านกาญจนาภิเษก กล่าวประเด็นสำคัญว่า เป็นการให้โอกาสเยาวชนเพราะเป็นการตระหนักด้วยไม่สร้างปัญหาเพิ่มให้กับสังคม จึงมีบ้านหลังคำพิพากษาจำนวน ๒๐ แห่ง มีคุก ๑๔๓ แห่งทั่วประเทศ
การเพิ่มขึ้นบอกถึงความล้มเหลวของการพัฒนาต้นทุนมนุษย์หรือการบริหารจัดการ ซึ่งศาลตัดสินเด็กๆ โดยบ้านกาญจนาภิเษกมีความพิเศษที่เปิดโอกาสให้คนข้างนอกเข้ามาบริหารจัดการ เพราะเริ่มจากบ้านกรุณามีการพังบ้านจึงมีการคิดหาทางออก “จากปัญหาจึงเป็นโอกาส” ทำให้มองว่าการเมืองกับการบริหารบ้านเมืองจึงมีความเกี่ยวข้องกันจากปัญหาเป็นโอกาส ทำให้เกิดศาลเยาวชนมี พรบ. ในปี ๒๔๙๕ โดยมีเจตนารมณ์ที่งดงาม ซึ่งอาจารย์ ทิชา ณ นคร (ป้ามล) เข้ามาบริหารเป็นผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนบ้านกาญจนาภิเษก สร้างจุดเปลี่ยนที่สำคัญในการบริหารจัดการบ้านกาญจนาภิเษกผ่านสงครามทางความคิด นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ ด้วยการหาเครื่องมือในการลดกระทำผิดซ้ำ ถือว่าเป็นโจทย์ที่สำคัญโดยมองว่าปัจจัยอะไรที่ทำให้เด็กกระทำผิดซ้ำแล้วซ้ำอีก โดยไม่เชื่อว่าเด็กเยาวชนจะเกิดมาเพื่อทำความผิด จึงศึกษาปัจจัยร่วมประกอบด้วย ครอบครัว การถูกออกจากโรงเรียนกลางคัน และขาดแคลนแต่เข้าถึงทุกอย่างไม่มีภูมิ โดยเด็กบ้านกาญจนาภิเษกมีเขียนบันทึกก่อนนอน ทำให้เห็นมิติ ๒๒ รูปแบบครอบครัว เช่น “จำแบ้งค์ร้อยมากกว่าพ่อแม่ อบอุ่นแต่โคตรอึดอัด ตีเส้นตีกรอบ ไม่มีกิจกรรมร่วมกัน ถูกเปรียบเทียบ พ่อพูดแต่ความสำเร็จของตนเอง” จึงนำมาพัฒนาหลักสูตรเพื่อเป็นเครื่องมือลดการกระทำผิดซ้ำ “ไม่มีแรงขึ้นที่สูงแต่ไหลลงสู่ที่ต่ำ” จึงมีการพัฒนาต้นกล้าสู่นาเดิม อะไรที่ทำให้เราเป็นผู้รอด หลังจากที่เข้าไปบ้านเยาวชนถึง ๘ ครั้ง จึงทลายกำแพงกับครอบครัวของเด็กและเยาวชน
มีโอกาสได้ชมเรื่องราวของการทำงานของป้ามลผ่านสื่อออนไลน์ในการรับใช้เพื่อนมนุษย์ผู้เปลี่ยนคุกให้เป็นบ้าน เพราะบ้านโรงเรียนพยายามเปลี่ยนเป็นคุก เพราะโครงสร้างที่เฮงซวย คือระเบิดเวลาอันใหญ่ของประเทศไทย ระบบที่เททิ้งคนที่อ่อนแอเอาไว้ข้างหลังข้างทาง ทำให้ส่วนนี้ตายไป ถ้าเขาไม่ตายเขาจึงแปลงตนเองเป็นซาตาน เพื่อให้ตนเองรอดและให้คนอื่นตายแทน ซึ่งทุกคนต้องยอมรับผลจากการกระทำที่ไปละเมิดคนอื่น ไม่ว่าจะมาจากโครงสร้างที่อัปลักษณ์ โครงสร้างที่ไม่เอื้อต่อการมีชีวิต แต่เมื่อบุคคลนั้นจะได้รับผลนั้นในสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง สถานที่แห่งนั้นต้องคืนความเป็นมนุษย์ให้กับบุคคลเหล่านั้น เหมือนป้ามลที่ดูแลเด็กบ้านกาญจนา โดยบ้านกาญจนาเป็นสถานที่ควบคุมเยาวชนที่ทำความผิดตามกฎหมาย เรียกจะเรียกตรงๆคือ คุกเด็ก โดยป้ามลไม่เชื่อในวิธีการที่คุกเคยจัดการกับมนุษย์ จึงมีการเปลี่ยนวิธีการ เพราะการใช้กฎเหล็ก การใช้อำนาจ การใช้กติกาที่เข้มข้น อาจจะเป็นพื้นที่แห่งความปลอดภัยของคนทำงาน แต่พอใช้ไปนานๆ เป็นการเสพติดอันแน่นด้วยพลังความคิดอำนาจนิยมที่ยาวนาน ต่อเนื่อง ส่งต่อ ซึ่งในความเป็นจริงระหว่างมนุษย์กับมนุษย์มีเครื่องมือที่หลากหลาย ซึ่งมีเรื่องของการให้อภัย ความเมตตา การเห็นคุณค่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งมีความทรงพลังมาก การทำงานกับเยาวชนที่เคยก่ออาชญากรรมมันมีบาดแผลต้องการการเยียวยาแก้ไข จึงใช้ทัศนะที่ชัดเจน โดยตั้งคำถามว่า เยาวชนที่ก่ออาชญากรรมเขาเกิดมาเขาเป็นแบบนี้เลยใช่ไหม? มีมนุษย์คนใดที่Born to be ไหม ? เกิดมาแล้วเป็นเช่นนี้เลย ซึ่งป้ามลไม่เชื่อ แต่เชื่อว่าปัจจัยร่วมในสังคมมีส่วนทำให้คนหนึ่งกลายเป็นคนดำสนิท หรือกลายเป็นเป็นขาวที่สว่าง เราต้องสื่อสารให้สังคมรับทราบคือ #โครงสร้างที่มันเฮงซวย ระบบที่เฮงซวยการทอดทิ้งคนไว้ข้างหลัง ทิ้งคนอ่อนแอไว้ข้างทาง ทำให้แปลงตนเป็นซาตาน เพื่อให้ตนเองรอดและให้คนอื่นตายแทน แต่แน่นอนเราควรได้รับผลการกระทำทุกรูปแบบ แต่เราต้องตระหนักว่า #มนุษย์เป็นผลลัพธ์และผลผลิตของระบบนิเวศทางสังคม เพราะถ้าระบบนิเวศทางสังคมมันเฮงซวย เราแน่ใจนะว่าเราจะรอด การจัดให้เกิดระบบนิเวศที่เหมาะสมมันเป็นภารกิจระดับชาติ เป็นภารกิจของคนที่ดูแลทุนของประเทศ ภาษีอากรของประชาชนมากมายมหาศาล เพื่อให้ออกแบบระบบนิเวศทางสังคม ให้คนได้เติบโตทางระบบนิเวศที่เหมาะสม การเมืองจึงออกระเบียบ ออกกฎหมาย กลไกของรัฐเพื่อทำหน้าที่ แต่ปัจจุบันเหมือนไม่เข้าใจ เราควรตระหนักว่าเราควรเติบโตในระบบนิเวศที่มีความเหมาะสม เราจึงไม่ควรปล่อยให้เยาวชนจมในพื้นที่เทา ดำ มืด จึงต้องมีพื้นที่กิจกรรมที่สร้างสรรค์ให้เยาวชน ประเทศนี้จึงมีปัญหาเชิงระบบ เชิงโครงสร้าง เพราะเราไม่กล้าแตะ จึงมาด่าปัจเจกบุคคล สิ่งที่เศร้ามากคือ การสร้างคุก สร้างสถานพินิจใช้เงินอย่างมหาศาลเช่นเดียวกัน
ป้ามลพยายามบอกคนรุ่นใหม่ว่า อย่าผลักช่วงเวลาที่ยากที่สุดของชีวิตออกไปจากชีวิตเรา เพราะมันเข้ามาเพื่อจะเป็นทุนของความแข็งแกร่งในอนาคต เวลาเราเจอเรื่องที่ยากจงอย่าหนี จงรับมือกับมัน แพ้รับมืออย่างแพ้ ชนะอย่าไปทรนงกับมัน ทั้งหมดจะเปลี่ยนเป็นทุนของเรา เราไม่ควรมีชีวิตอยู่ที่ว่าเสียดายจังในสิ่งที่ยังไม่ได้ทำ น่าจะทำในปีที่แล้ว จึงแสดงว่า ป้ามล หรือ ทิชา ณ นคร จึงเป็นผู้หญิงแกร่งที่ทำงานด้านเยาวชนผู้ก้าวพลาดมาอย่างยาวนาน ด้วยความเชื่อว่าเยาวชนไม่มีใครอยากจะเกิดมาเพื่อเป็นอาชญากร และเชื่อว่าทุกคนมีแสงแห่งความดี เพียงแต่ว่าบางสถานการณ์บีบบังคับให้ตัดสินใจทำในสิ่งที่ไม่ดีงามลงไป ด้วยความเชื่อนี้ทำให้ตลอดระยะเวลา ๑๗ ปี เปลี่ยนสถานะที่คุกชังมาเป็นบ้านทดแทนอันอบอุ่น ที่ไม่มีรั้วไม่มีอาวุธไม่มีคนควบคุม มีแต่การเรียนรู้ร่วมกัน ป้ามลจึงเป็นผู้พลิกชีวิตเยาวชนบ้านกาญจนาภิเษก เวลาเกิดเหตุการณ์กับเยาวชนเราควรถอยไปดูว่าทำไมเยาวชนจึงตัดสินใจทำแบบนั้น ?
ปีหนึ่งเราบริโภคอาชญาของเยาวชนในฐานะเป็นนักเรียนจำนวนมาก เช่น ฆ่าคนเหมือนฆ่ามด คำขอโทษไม่มีค่า ทำให้สังคมตั้งคำถาม อย่าลืมว่า อาชญากรเด็กไม่ได้เป็นได้ด้วยตนเอง ไม่มีใครเกิดมาเพื่อจะเป็น อาชญากรจึงเป็นการตัดสินใจและไม่ตัดสินใจของรัฐ ด้วย เราทราบว่ามีเด็กจำนวนมากให้ออกจากโรงเรียน แล้วเด็กที่ออกจากโรงเรียนที่ยังไม่มีเป้าหมายเขาจะไปทำอะไร #ในฐานะผู้แพ้ของสังคม การก่ออาชญากรรมจึงเกิดขึ้น ทำให้รัฐต้องจ่ายกับเด็กกลุ่มหนึ่งต้องก่ออาชญากรรม ซึ่งเยาวชนต้องการสร้างตัวตน มีคุณค่า มีความหมาย มีพื้นที่ในสังคม จึงยอมก่ออาชญากรรม ทำให้ราคาแพงมากในการสร้างตัวตน แต่ถ้าผู้ใหญ่ออกแบบสังคมดีๆ เราพยายามมองแต่ปัญหาปัจเจกล้วนๆ แต่เราไม่มองระบบมองโครงสร้างว่ามีความพิการอย่างไร ? ลูกหลานเราเป็นเหยื่อของระบบที่มีความอ่อนแอ
รัฐควรหันมาสนใจอย่างจริงจัง โดยประเทศไทยมีคุกเด็กจำนวน ๑๙ แห่ง บ้านกาญจนาภิเษกเป็นหนึ่งในนั้น เราจึงมีการทำที่ต่างจากคุก เพราะวัฒนธรรมคุกคือ วัฒนธรรมแห่งอำนาจ จึงไม่รับมรดกวิธีคิดที่ใช้วิธีการของภาครัฐที่ทำกับเด็กเยาวชน เราจึงเปลี่ยนเป็นการ เน้น Soft Power เปลี่ยนอำนาจแนวตั้งเป็นแนวราบ ยิ่งไม่ใช้อำนาจยิ่งมีอำนาจ บ้านกาญจนาภิเษกรับมากกว่า ๘๐ รุ่น วันแรกที่รับเด็กคือ เยาวชนต้องถูกกอด ผูกข้อมือ รับขวัญ โดยเชื่อว่าคนดีในตัวเยาวชนที่ก้าวพลาดยังมีอยู่ ความดีคนนั้นมันอ่อนแอ คนดีในตัวเยาวชนทุกคนจะต้องออกมา เราเรียกว่า Soft Power ยิ่งไม่มีอำนาจยิ่งมีอำนาจ สิ่งสำคัญคือ กำแพงคุกไม่สามารถเยียวยาให้กับมนุษยชาติได้ จะขังนานขนาดไหนก็ไม่เปลี่ยน บ้านกาญจนาจึงพยายามให้เยาวชนออกจากสถานควบคุมออกไปทำงานจิตอาสา #จุดเปลี่ยนของมนุษย์คือเสรีภาพข้างนอก รู้สึกว่าเสรีภาพมันหอมหวาน รู้สึกว่าเราเป็นบุคคลหนึ่งในประเทศนี้ การไปอยู่ในพื้นที่จิตอาสามันถูกกอบกู้ขึ้นมาด้วยบริบทเป็นพลังแห่งจิตอาสา ทำให้เราเห็นแววตาของความเป็นมนุษย์ในความห่วงใย ความเศร้า จึงมีบทเพลงจุดเปลี่ยน บ้านกาญจนาภิเษก คือ จุดเปลี่ยน คือโอกาส คือการเริ่มต้นใหม่ ของวัยรุ่นที่ก้าวพลาด ขอบคุณ โอกาสที่สอง หลังก้าวพลาด ใน ๓๖๕ ของหนึ่งปีมี ๑๒๐ วัน ซึ่งมีเด็กจำนวนหนึ่งรับไม่ได้คือวันปิดเทอม เรามีครอบ ๒๒ ล้าน แปดแสนครอบครัว มีครอบครัวบนภูเขาน้ำแข็งนิดเดียวที่พาลูกไปเที่ยวต่างประเทศ ถ้าเราลงทุนด้วยการมีค่ายต้อนรับเด็กทั่วประเทศให้มีความทรงจำที่งดงาม เขาเห็นด้านบวกของตนเอง เราจึงต้องปกป้องจุดยืนของตนเองเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง เพราะถ้าเราไม่สามารถปกป้องจุดยืนของเราได้ เราจะไปปกป้องใครได้อีก แท้จริงเยาวชนที่ตัดสินใจกระทำผิดมีหลายปัจจัย เราจึงต้องมาสร้างปาฏิหาริย์ ถ้าเราย้อนกลับไปได้ในค่ำคืนนั้นเราอาจจะไม่ทำ ถ้าปาฎิหาริย์มีจริง จึงมีภาษาแห่งการกอด เพราะการกอดรักที่สัมผัสได้ เป็นพลังใจอันยิ่งใหญ่ เราจึงต้องมองด้านที่เป็นสีขาว เมื่อขาวกับขาวมาเจอกันจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นโอกาสใหม่ มิใช่เพียงโอกาสของเด็กเยาวชนแต่เป็นโอกาสของสังคม ป้ามลบอกว่าป้าไม่ได้เก่งขนาดนั้น แต่เด็กเยาวชนไม่ได้เลวขนาดนั้นต่างหาก สิ่งที่ป้ามลภูมิมากคือ ภูมิใจในพ่อแม่ของเด็กเยาวชน พ่อแม่อาจจะหลงลืมบางอย่าง แต่พ่อแม่ไม่ทิ้งเด็กเยาวชนเหล่านั้น พ่อแม่จึงเป็นปาฏิหาริย์แห่งชีวิต จึงควรเลือกปาฏิหาริย์แห่งชีวิต จึงเป็นLife is Learning : พื้นที่เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง
โดยอาจารย์ทิชา ณ นคร (ป้ามล) กล่าวว่า เราเห็นปัญหาเชิงปัจเจกแต่แท้จริงเราเห็นปัญหาในระบบเชิงโครงสร้าง ถ้าเราจัดการปัญหาเชิงโครงสร้างรวมถึงนโยบายสาธารณะ เราพยายามนำเยาวชนเข้าคุกเยาวชนแต่ไม่สามารถแก้ปัญหา จึงมีบ้านรับคำพิพากษา จำนวน ๒๐ แห่ง เรามีเรือนจำ ๑๔๓ แห่ง ต่อวันเรามีรายจ่ายวันละ ๒๐ ล้านบาท เป็นการจ่ายเพื่อการเยียวยา แสดงว่าเรามีความล้มเหลวด้านการปกป้อง งานเยียวยาไม่ทำไม่ได้ เพราะจะนำไปสู่การขยายผลในทางลบสู่สังคม ป้ามลอยู่กับเด็กเยาวชนมา ๑๘ ปี เป็นความสัมพันธ์แนวราบสร้างพื้นที่ในการเยียวยา มิใช่ความสัมพันธ์แนวตั้งด้วยการใช้อำนาจ อะไรคือจุดเปลี่ยนบ้านกาญจนาภิเษก คือ ที่นี่มีความเป็นรัฐที่น้อยมาก เพราะรัฐมีความมีจุดอ่อนที่มากและจุดแข็งที่มาก เช่น กรณีของเด็กที่ถูกข่มขื่นจากครู เราพยายามทำให้เหยื่อเป็นพยานที่มีความกล้าหาญ ทุกองค์กรจะต้องร่วมมือกัน ซึ่งกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพรับผิดชอบ จุดอ่อนของรัฐกับจุดแข็งของภาคประชาสังคมจะต้องร่วมมือกัน เป็นงานข้ามศาสตร์ข้ามองค์กร
ประเด็นสำคัญคือ เด็กเยาวชนเด็กกลับมาทำผิดซ้ำๆ เป็นจุดเปลี่ยนให้มีการสร้างบ้านกาญจนาภิเษก ทำให้ป้ามลเข้ามาในบ้านกาญจนาภิเษก ซึ่งไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของภาครัฐ จึงประกาศว่าจะไม่รับมรดกทางรัฐ ทำให้ พ.ศ.๒๔๙๕ เด็กไม่ต้องไปเข้าคุก แต่ได้รับการเยียวยาเพื่อไปใช้ชีวิตในสังคม ซึ่งเรามีความเหลื่อมล้ำมองปัญหาเชิงปัจเจกมากกว่าเชิงโครงสร้าง จึงมีเครื่องกระตุ้นให้เราต้องทำ เราไม่ได้ตั้งคำถามด้านอาชญากรรม แต่เราตั้งคำถามว่า เพราะอะไรเด็กจึงมาอยู่ที่นี่ เราทราบด้านปัจเจกแต่ระบบเชิงโครงสร้างสำคัญยิ่งกว่า โจทย์คือ ทำอย่างไรจะไม่ทำให้เด็กเยาวชนกลับมาทำผิดซ้ำอีก ควรจะมีเครื่องมืออะไรที่เหมาะสม ? สสส. พยายามสร้างนวัตกรรมมากมายแต่ข้อจำกัด เราจึงดูแลเด็กเยาวชนอย่างเข้าใจอย่างนุ่มนวล โดยปัจจัยร่วม ๓ ปัจจัยในการทำผิดกฎหมายหรือตกเป็นเหยื่อของเยาวชน ประกอบด้วย
๑) #สภาพครอบครัว จะมีเด็กที่ถูกเทถูกทิ้งก่อให้เกิดอาชญากรรม แม้เราจะมีกระทรวงศึกษา กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ก็ตาม เด็กมีการบันทึกเขียนจดหมายถึงตนเอง จึงตั้งคำถามว่ารัฐมีไว้ทำไมถ้าไม่ทำให้สังคมดีขึ้น โดยเด็กสะท้อนอธิบายถึงคำว่า ๑)อบอุ่นแต่โคตรอึดอัด ๒)ถูกเปรียบเทียบ ๓)ตีเส้นตีกรอบ ๔)ไม่มีกิจกรรมร่วมกัน ๕)พ่อพูดแต่ความสำเร็จของตัวเอง จึงมีโครงการต้นกล้าสู่นาเดิม พ่อแม่จึงควรเปลี่ยน Mindset ซึ่งอยากลูกเป็นตามที่ตนเองต้องการ ทุกครั้งที่เราทำกิจกรรมเราจะเขียนความรู้สึก
๒) #ทุนนิยมบริโภคนิยม ผู้ใหญ่พยายามสร้างวัตถุนิยม แต่เราไม่เคยมีวิธีการรับมือกับโลกใบนี้ การมีสิ่งยั่วยุจึงต้องยอมปล้น ยอมขาย เราต้องสร้างเครื่องมือให้เด็กได้ตระหนัก ทำให้เด็กก่ออาชญากรรมเพราะเด็กเข้าถึงสิ่งยั่วยุได้ง่าย เด็กต้องการมีตัวตนในกลุ่มเพื่อนๆ แม้จะทำผิดพลาดก็ตาม เด็กผู้ชายคือก่อคดีส่วนเด็กผู้หญิงคือขายบริการทางเพศ
๓) #นโยบายการศึกษา เด็กเหมือนกัน ๖๘ % คือ ถูกให้ออกจากระบบการศึกษา โรงเรียนไล่ส่วนคุกเปิดรับ เราจึงพยายามใช้กระบวนการ Empowerment ครอบครัว มีการเปลี่ยน Mindset วิชาชีพ ๕๐% วิชาหนังสือ ๒๕ % วิชาชีพ ๒๕% แสดงว่าการมีอาชีพไม่ยืนยันว่าจะไม่เข้าคุก เราจึงเน้นวิชาชีวิตมากกว่าวิชาอื่นๆ เพราะเราเชื่อว่าวิชาชีวิตจะช่วยให้เราเปลี่ยนตนเอง เช่น ทุกคนมีบาดแผลที่เจ็บปวดกับครอบครัว ทำให้เด็กเยาวชนเป็นผู้แพ้ทางสังคม เป็นความล้มเหลวเชิงระบบมิใช่ความล้มเหลวเชิงปัจเจก จากมีการพัฒนาการ์ดปัจจัยผลักไสไล่ส่งลูกออกจากบ้าน และ ปัจจัยดึงดูดนอกบ้าน ต้องมีรัฐที่มีธรรมาภิบาลจึงจะไม่นำปัจจัยดึงดูดนอกบ้าน
รัฐจึงต้องมีนโยบายสาธารณะที่สามารถตอบโจทย์เด็กเยาวชน เรามีเด็กที่ถูกเทถูกทิ้งจำนวนมาก ถามว่ารัฐควรทำอะไรบ้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเด็กเยาวชน บ้านกาญจนามีกระบวนการระหว่างลูกกับพ่อแม่ อะไรที่จะทำร่วมกันระหว่างพ่อแม่ลูก ซึ่งที่ผ่านมาพ่อแม่สอบตก แต่พ่อแม่ของเรามีปาฏิหาริย์ ไม่ว่าสังคมจะไม่เอาหนูแต่พ่อแม่ของเรามีปาฏิหาริย์ พ่อแม่ห่วงใย เราต้องมุมดีของพ่อแม่ จึงมีกระบวนการขอโทษและการให้อภัย จึงต้องเปลี่ยน Mindset ของเด็กเยาวชนรวมถึงครอบครัว อย่าเอาด้านมืดของพ่อแม่ไปขยี้ด้านมืดของลูก แต่ต้องพยายามด้านที่สว่าง จึงต้องหาระเบิดเวลาผ่านกระบวนการที่ปลอดภัยและเวลาที่สุกงอม
มุมส่วนตัวมองว่าประเด็นป้ามลกำลังทำในปัจจุบันถือว่าเป็นปลายทางปลายน้ำแต่จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทำเพราะถ้าไม่ทำจะนำไปสู่ความรุนแรงทุกมิติ คำถามคือ ต้นทางเราจะมีแนวทางป้องกันอย่างไร มีเครื่องมืออะไรจะนำไปสู่การป้องกันอย่างแท้จริง ภาครัฐมองอย่างไร ระบบการศึกษาจะออกแบบอย่างไร สังคมจะช่วยกันอย่างไร ทำให้สอดรับกับหลักของปธาน ๔ ในทางพระพุทธศาสนา ประกอบด้วย เน้นการป้องกัน (สังวรปธาน) เน้นการแก้ไข (ปหานปธาน) เน้นการเยียวยา (ภาวนาปธาน) และเน้นการรักษาให้เกิดความยั่งยืน (อนุรักขนาปธาน) โดยป้ามลเสนอว่า เราต้องลงทุนก่อนลงโทษเด็กเยาวชน ลงทุนในการพัฒนาเด็กอย่างแท้จริง ถามว่าเรามีรัฐไว้ทำไม รัฐควรลงทุนในเชิงนโยบายที่ตอบโจทย์เชิงป้องกันเฝ้าระวัง แต่เรากลับมีทุนสร้างคุกสร้างสถานพินิจมากมายแต่เราไม่มีทุนเพื่อพัฒนาเด็กเยาวชนอย่างแท้จริง จึงเสนอการพัฒนาเด็กเยาวชนจะต้องพัฒนา ๔ ด้านตามหลักภาวนา ๔ ตามแนวทางพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นฐานการพัฒนาและฝึกอบรม ประกอบด้วย ด้านกายภาพ ด้านพฤติภาพ ด้านจิตตภาพ และด้านปัญญาภาพ โดยป้ามลมองว่าการบวชปล่อยไม่เห็นด้วยเหมือนปล่อยภาระให้ศาสนาอย่างเดียว ซึ่งบ้านกาญจนามุ่งพัฒนาวิชาชีวิตมากกว่าวิชาชีพ เพื่อการปรับ Mindset มีกลุ่มสาระต่างๆ ในการเรียนรู้เป็นวิชาชีวิตอย่างแท้จริง เช่น การดูหนังชีวิตเพื่อการสะท้อนชีวิตจริง มีการวิเคราะห์หนังที่ดูฝึกการตีความเชิงสัญลักษณ์ทำให้เด็กเยาวชนเสวนาได้มากขึ้น แต่ยังเชื่อมั่นการแก้ไขปัญหาเชิงระบบแต่ต้องเริ่มจากบุคคลที่มีศรัทธาและกล้าหาญอย่างแท้จริง
Leave a Reply