วันที่ 13 มีนาคม 2560 ที่สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ศ.ดร.พระพรหมบัณฑิต กรรมการมหาเถรสมาคมเจ้าคณะภาค 2 เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ประธานศูนย์พระปริยัตินิเทศก์แห่งคณะสงฆ์ไทย ประธานสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก ได้เปิดเผยถึงสถานะการเป็นศูนย์กลางพุทธโลก และศูนย์กลางการศึกษาพุทธโลก ให้ทีมงานจัดทำแผนพัฒนาวิทยาลัยพุทธศาสตร์ มหาจุฬาฯ ซึ่งเป็นทีมมันสมอง (Think Tank) ได้มองเห็นพัฒนาการของมหาจุฬาฯ ตั้งแต่ยุค 1.0 การเริ่มจัดตั้ง ยุค 2.0 การได้รับรองวิทยสถานะ ยุค 3.0 การได้รับ พ.ร.บ. และยุค 4.0 การเข้าสู่ความเป็นนานาชาติ และตั้งแต่ ปี 50 เป็นต้นมาคือยุคที่มหาจุฬาฯ ได้เข้าสู่การจัดการศึกษาในระดับนานาชาติอย่างเต็มตัว จึงได้เตรียมสถานที่ 80 กว่าไร่ รองรับภารกิจมหาจุฬาฯ 4.0 เอาไว้
การดำเนินการพัฒนามหาจุฬาฯ ตามทิศทางการพัฒนาประเทศ 4.0 คือ คือต้องเน้นพัฒนาคุณค่าเด่นด้านวัฒนธรรมที่มหาจุฬาฯ มี คือ ภูมิปัญญาด้านศาสนา โดยการนำมิติด้านการปฏิบัติกรรมฐาน ด้านสันติภาพ ไปนำเสนอแก่ชาวโลก ฉะนั้น ความเป็นอินเตอร์จึงมิได้มุ่งไปจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น หากแต่อยู่ที่การเปิดหลักสูตรให้กลุ่มคนหลากเชื้อชาติ หลากภาษา หลากวัฒนธรรม ได้เข้ามาศึกษาและเรียนรู้ร่วมกัน
“เราไม่ได้หวังเป็นศูนย์การศึกษาพุทธโลก เพราะเรามุ่งมาดปรารถนาที่จะเป็น แต่เพราะบริบทและประวัติศาสตร์การจัดศึกษาของสถาบันการศึกษาพระพุทธศาสนาทั่วโลก พยายามแสวงหาสถาบันการจัดการศึกษาด้านพระพุทธศาสนาที่เป็นระบบ ทั้งการผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และความพร้อมของมหาจุฬาฯ จึงเป็นที่มาของจัดตั้งสมาคมวิสาขบูชาโลก และสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ มหาจุฬาฯ อ.วังน้อย โดยอธิการบดี มหาจุฬาฯ เป็นประธานของทั้งสองสมาคม นี่คือเหตุผลว่า เพราะเหตุใด? ประเทศไทยจึงเป็นศูนย์กลางพุทธโลก และเป็นศูนย์กลางการจัดการศึกษาพระพุทธศาสนาโลก” ศ.ดร.พระพรหมบัณฑิต กล่าว
จากแนวทางดังกล่าว Road Map ที่จะนำมหาจุฬาฯ ไปสู่การเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาในระดับโลก (World-Class Buddhist Education Institution) ได้นั้น ต้องดึงพลังของ ICDV, IABU, UN, UNESCO, สถาบันสมทบ สถาบันภาษา สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ เข้ามาช่วยเสริมแรงการพัฒนาวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ โดย IBSC ต้องดำเนินการในสิ่งต่อไปนี้ คือ (1) เปิด หลักสูตร International Program ในระดับ BA เน้นคัดเลือกนิสิตทั้งไทยและต่างประเทศที่มีศักยภาพมาเรียนร่วมกัน (2) เปิดหลักสูตรปริญญาโท และเอกที่โลกกำลังต้องการในสาขา Peace Studies, ASEAN Studies, Mindfulness and Meditation (3) ดึงนักวิชาการ และนักวิจัยทั่วโลก มาสอนและและวิจัย เพราะมหาจุฬาฯ คือ สถานที่ชุมนุมของนักปราชญ์ทั่วโลกที่เดินทางมาร่วมงาน ICDV และ IABU
พระพรหมบัณฑิต ย้ำก่อนจบว่า “การทำงานนานาชาติต้องมีใจกว้าง” การมีจิตใจที่กว้าง คือ การสะท้อนความเป็นอินเตอร์ หรือความเป็นนานาชาติ ดังนั้น การเข้าไปช่วยสนับสนุนสถาบันสมทบ หรือองค์การศึกษาด้านพระพุทธศาสนา และเปิดพื้นที่ให้มีการศึกษาและแลกเปลี่ยนพระพุทธศาสนามหายาน และวัชรยานร่วมกัน ที่สำคัญการสนับสนุนให้ IBSC ทำงานได้ คือการเปิดพื้นที่ให้มหาจุฬาฯ ไปสู่นานาชาติได้ การปิดโอกาส IBSC คือ การปิดโอกาสของมหาจุฬาฯ ที่จะไปสู่ศูนย์กลางการศึกษาพุทธโลกตามวิสัยทัศน์ของมหาจุฬาฯ
อย่างไรก็ตามที่วันที่ 8 มี.ค.2562 ที่ผ่านมา ได้เดินทางไปบรรยายเป็นภาษาอังกฤษเรื่อง “Interreligious Partnership for a Sustainable World (ความร่วมมือระหว่างศาสนาเพื่อโลกที่พัฒนาอย่างยั่งยืน)” และตอบข้อซักถามพร้อมกับให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวเนื่องในการสัมมนานานาชาติ เรื่อง “ศาสนากับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)” ห้องประชุมซินนอดใหม่ นครรัฐวาติกัน (https://www.watprayoon.com/main.php?url=about1&code=content209&id=221) พร้อมกันนี้ได้นำคณะเข้าพบสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส พระประมุขสูงสุดแห่งคริสตจักรโรมันคาทอลิก องค์ที่ 266 ด้วย (https://www.watprayoon.com/main.php?url=news_view&id=2161&cat=B&table=news)
Leave a Reply