“อาจารย์มารค ตามไท” ยันกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท สอดคล้องหลักอริยสัจโมเดล แนะพึงสังวร “สันติวิธีรักษาอำนาจ”ไว้

เมื่อวันศุกร์ที่ 16 กันยายน 2565 พระปราโมทย์ วาทโกวิโท, ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการเสริมสร้างสังคมสันติสุขรุ่นที่ 13 สถาบันพระปกเกล้า เปิดเผยว่า วันนี้16ก.ย.) รศ.ดร.มารค ตามไท อาจารย์สาขาวิชาการสร้างสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ ได้บรรยายให้ความรู้กับนักศึกษา “หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ 13 ” จัดโดยสถาบันพระปกเกล้า ในข้อ “สันติวิธีในสังคมไทย: คุณค่า การรับรู้และความเข้าใจ” ความว่า สาเหตุที่งานศาลต้องกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท (Conflict Transformation) ขึ้นมาก็เพราะปริมาณคดีในศาลจำนวนมาก ซึ่งความยากของกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคือต้องพยายามหาสาเหตุลึกและเปลี่ยนความสัมพันธ์ เป็นการแปรเปลี่ยน จะต้องหาเหตุเป็นรากเหง้าความรุนแรงก่อนโดยภาษาอริยสัจคือ สมุทัย หมายถึงสาเหตุของปัญหา เช่น รากเหง้าคืออคติ โดยเมื่อเข้าสมุทัยจึงมองไปถึงนิโรธ เป็นขั้นที่ยากที่สุดโดยเฉพาะความขัดแย้งแบบดื้อยา ซึ่งมีอยู่ 6 ขั้นตอน

รศ.ดร.มารคได้ยกกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น จะต้องมียุทธศาสตร์เพื่อลดความรุนแรง โดยหารากเหง้าที่แท้จริง ผ่านการตั้งคำถามว่า ที่สู้ไปเพราะอะไร? ทำไมต้องการเอกราช? พร้อมยกตัวอย่างของรัฐ Texas ในประเทศสหรัฐอเมริกา จึงมองถึงคุณค่าศักดิ์สิทธิ์ โดยไม่ยอมแลกกับวัตถุ เช่น ชาวปาเลสไตน์ การปกป้องวัฒนธรรมและภาษาของชาว Catalan จึงมองประกอบกับนโยบาย 66/23 กับพรรคคอมมิวนิสต์อาจจะใช้ได้แต่นำไปใช้ชายแดนใต้ไม่ได้

ถามว่าอะไรคือคุณค่าศักดิ์สิทธิ์ในชายแดนใต้ จึงทำการวิจัยสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีคุณค่าศักด์สิทธิ์คือ นี่คือบ้านของฉัน อนาคตที่ต้องการ ศาสนา สิ่งสำคัญ “พูดดีกว่ายิง ถกกันดีกว่าวางระเบิด” จึงมองว่านักสันติวิธีจะต้องไม่กลัวต้องมีความกล้า จึงถอดบทเรียนชีวิตของนักสันติวิธีแต่ละคนอาจจะจบไม่สวย เช่น มหาตมะคานธีถูกสังหาร เป็นต้น รวมถึงการไปกดดันบุคคลใกล้ชิดของนักสันติวิธี

คำถามคือ ในการเคลื่อนไหวอย่างไรที่ชื่อว่าสันติวิธี คำตอบคือ มิติทางวัฒนธรรมของการต่อสู้แบบสันติวิธี เพราะสันติวิธีจะไม่ใช้ความรุนแรง แล้วสังคมไทยมองสันติวิธีอย่างไร? เช่น นักเรียนใช้สันติวิธีกับครูในการเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่าง ปฏิกิริยาคือ เวลามีคนเรียกร้องเรารับฟังหรือมองว่ามาท้าทายอำนาจ

สำหรับการจัดการความขัดแย้งโดยสันติวิธี เริ่มต้นจากความขัดแย้งจากสิ่งเล็กๆ เช่น ระหว่างบุคคล ต่อมาพัฒนาการเป็นสถาบันในการจัดการความขัดแย้ง เริ่มต้น การจัดการความขัดแย้งโดยสันติวิธี แบ่งออก 3 ระดับ คือ 1) Conflict Management บริหารจัดการความขัดแย้งและความรุนแรง กำหนดระดับการสูญเสีย 2) Conflict Resolution (Peacemaking) คลี่คลายความขัดแย้งหรือความรุนแรงในเรื่องเฉพาะ ต้องการใช้ทักษะต่างๆ เพื่อหาข้อสรุปที่ทั้งสองฝ่ายพอใจ ( Win-Win ) 3) Conflict Transformotion (Peacebuildig) แปลงเปลี่ยนรากเหง้าของความขัดแย้งรุนแรงเพื่อลดความรุนแรงอย่างยั่งยืน เป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคมที่เป็นสาเหตุของความรุนแรง หรือเป็นอุปสรรคต่อการลดความรุนแรงโดยการเสริมสร้าง “สันติวัฒนธรรม”

ปัจจุบันมีศัพท์คำว่า สันติวิธีรักษาอำนาจ เพื่อให้ตนเองอยู่ในอำนาจ คำถามการจัดการความขัดแย้งโดยสันติวิธีในสังคมไทยอยู่ตรงจุดใด โดยมีความพยายามใช้ Conflict Resolution เพื่อสังคมไม่ต้องเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่เราอาจจะเผชิญกับความขัดแย้งหากใช้แต่ Conflict Resolution จะเอาไม่อยู่ จำเป็นต้องใช้ Conflict Transformotion บางครั้งเราเรียกว่า ความขัดแย้งที่ดื้อยา (Intractable Conflict) ลักษณะของความขัดแย้งแบบดื้อยาจะอยู่ยืดเยื้อ ต่างฝ่ายยึดและปกป้องคุณค่าศักดิ์สิทธิ์(Sacred Values) ของตนเอง มีความเชื่อที่ปลูกฝังมานาน เช่น หยุดเคลื่อนไหวได้ไหมจะให้ร้อยล้าน มีความซับซ้อน เห็นอีกฝ่ายเป็นศัตรู ทำให้เกิดหลุม attractor จะตีความทุกอย่างในทางลบ โดยใช้ภาษาคนดีขัดแย้งกับคนไม่ดี ความจริงที่ไม่ตรงกับจุดยืนตนเองคือความเท็จ

จึงต้องหาคุณค่าศักสิทธิ์ของทุกฝ่าย เช่น ชีวิต ความรัก สุขภาพ ความยุติธรรม ศักดิ์ศรี ส่วนคุณค่าทางโลกคือ เงิน ความสะดวกสบาย ตำแหน่ง แค่สิ่งที่พึงระวังคือการทำลายคุณค่าศักดิ์สิทธิ์ของผู้อื่น การขึ้นออกจากหลุมไม่สามารถใช้การประนีประนอมได้ เพราะเกี่ยวกับคุณค่าศักดิ์สิทธิ์ ทั้งสองฝ่ายต้องรื้อภาพของการถูกสร้างเป็นศัตรู เพื่อหาทางรักษาคุณค่าศักดิ์สิทธิ์ของทั้งสองฝ่าย

Leave a Reply