ประชุมบุคลากรนักเผยแผ่พุทธ วางยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนไทยให้เป็นศูนย์กลาง เผยแผ่พระพุทธศาสนาวิถีใหม่ในวิถีเศรษฐกิจพอเพียง

เมื่อวันศุกร์ที่ 16 กันยายน 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามที่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงมีพระบัญชามอบให้สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (สุชิน อคฺคชิโน) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชบพิธฯ กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) ในฐานะเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาบุคลากรเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั่วประเทศเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2565ที่ผ่านมา

พระสุธีรัตนบัณฑิต,รศ.ดร. ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กรรมการจัดทำแผนแม่บทการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสังคมไทย ได้เปิดเผยผลการประชุมผ่านทางเฟซบุ๊ก “Suthito Aphakaro” ความว่า โลกเปลี่ยน วิธีการเปลี่ยน หลักการเปลี่ยน แต่สัจธรรมแห่งจักรวาลไม่เคยเปลี่ยน

ในนามคณะกรรมการจัดทำแผนแม่บทการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสังคมไทย ในการประชุมพระสงฆ์ผู้ที่ทำหนัาที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาในสังคมไทย (วันที่ 15 กันยายน 2565) สรุปได้ตามนี้

ปรัชญา (Philosophy)

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเพื่อประโยชน์และความสุขของมวลมนุษยชาติ

วิสัยทัศน์ (Vision)

พระพุทธศาสนายั่งยืน พุทธบริษัทมั่นคง และวัฒนาสถาพรทั่วโลก

พันธกิจ (Mission)

๑) การเผยแผ่หลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาให้แพร่หลายออกไปอย่างกว้างขวางทั่วโลก
๒) การส่งเสริมศรัทธา การเรียนรู้ และแนวปฏิบัติตามหลักพระพุทธศาสนาในระดับชาติและนานาชาติ
๓) การส่งเสริมสังคมพระพุทธศาสนาเป็นต้นแบบแห่งสังคมสันติสุขและการพัฒนาที่ยั่งยืนค่านิยม (Core Value) การเผยแผ่พระพุทธศาสนา คือ การสร้างคุณค่าของชีวิตและสังคมแห่งความเป็นธรรม

ยุทธศาสตร์/แผนปฏิบัติการ (Strategy)

๑. การเสริมสร้างวิถีปฏิบัติและค่านิยมทางพระพุทธศาสนาที่เข้มแข็งและยั่งยืน
๒. การพัฒนาและสร้างสรรค์องค์ความรู้ สื่อ และเทคโนโลยีเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในวิถีใหม่
๓. การพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในระดับชาติและนานาชาติ
๔. การพัฒนาระบบและกลไกการบริหารจัดการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในระดับชาติและนานาชาติ
๕. การขับเคลื่อนประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในวิถีเศรษฐกิจพอเพียง
๖. การเสริมสร้างเครือข่ายการเผยแผ่พระพุทธศาสนากับการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับนานาชาติ

เป้าประสงค์และผลลัพธ์

๑ พุทธบริษัทและมวลมนุษยชาติมีศรัทธา ความเลื่อมใส และมีแนวการปฏิบัติตามหลักพระพุทธศาสนาที่เข้มแข็งและยั่งยืน
๒. องค์ความรู้และการปฏิบัติตามพระพุทธศาสนาได้มีการเผยแผ่ในสังคมอย่างกว้างขวาง โดยผ่านสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในวิถีใหม่ที่หลากหลาย
๓. พระสงฆ์และบุคลากรการเผยแผ่ได้การพัฒนาศักยภาพเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างทั่วถึง
๔. ระบบและกลไกการขับเคลื่อนการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทุกระดับมีการจัดการที่มีประสิทธิภาพ
๕. ประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
๖. เกิดภาคีเครือข่ายในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา วิถีวัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตตามหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

Leave a Reply