พระอาจารย์ต่อ กิตติทัตโต สร้างพระเพื่อค้ำชูพุทธศาสนาให้ครบ 5,000 ปี

อานิสงส์การจัดสร้างพระพุทธรูป คำสอนจากพระเกจิอาจารย์ ดังนี้

หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ……”ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ สร้างด้วยอะไรก็ตาม หมายความว่าบุญกุศลจะตามหนุนส่งท่านไปทุกภพทุกชาตินานถึง ๕ กัป…”

หลวงพ่อฤาษีลิงดำ…….”การสร้างสมเด็จองค์ปฐมทำได้ยาก คือ ว่าเป็นพระพุทธเจ้าองค์ต้นพระพุทธเจ้าทั้งหมด การสร้างองค์ปฐมนี้ ท่านเปลี่ยนบัญชีใหม่ โดยใช้บัญชีสีทอง เป็นทองคำล้วนทั้งเล่ม จดบันทึก(เป็นอีกเล่มหนึ่งจากที่จดธรรมดา) ก็แสดงว่าคนที่จะสร้างพระพุทธเจ้าองค์ปฐมได้นี้ ต้องเป็นคนมีบุญมาก และไปนิพพานได้เร็วมาก”

หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว…กล่าวว่า…”…ผู้ใดสร้างรูปพระพุทธเจ้าจะเป็นองค์เล็กเท่าต้นคาก็ดี ใหญ่กว่าต้นคาก็ดี ผู้นั้นจะได้เป็นพรหม เป็นอินทร์ หมื่นชาติแสนชาติ
ถ้าเป็นมนุษย์ จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิหมื่นชาติ แสนชาติ จะไม่เป็นผู้ตกต่ำเลย ตราบจนกว่าเข้าสู่นิพพาน…”

หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา…”…การสร้างพระ เปรียบได้กับธนาคารบุญ ซึ่งจะเกิดบุญกุศลกับผู้ที่มีส่วนในการสร้างโดยบุญกุศลนั้น จะเกิดขึ้นทุกครั้ง ที่มีผู้มากราบไหว้ สักการะบูชา เท่ากับจำนวนคน และจำนวนครั้ง…”

หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม กล่าวว่า…”….การที่ผู้สร้างพระพุทธรูปได้เกิดศรัทธา จนถึงสละเงินออกมาสร้างพระพุทธรูปได้ และออกมาทำทาน ในงานฉลองพระพุทธรูปได้ ชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นตรง เห็นถูกแท้เพราะเป็นบุญของตนเอง ไม่ใช่บุญของใครเลย ผู้สร้างพระพุทธรูป ชื่อว่า เป็นผู้ไม่ประมาท ชื่อว่า เป็นผู้ได้เตรียมตัวก่อนตาย…”

พระกิตติทัตโต หรือ หลวงพ่อต่อ เจ้าสำนักปฏิบัติ พุทธอุทยานวังน้ำเขียว กล่าวว่า กลุ่มธรรมจักรบุญวัฒนามีสมาชิกกลุ่ม 200 ครอบครัว ปฏิบัติตามแนวทางมรรคมีองค์แปด เน้นการปฏิบัติตามรู้ลมหายใจ มีสติในทุกอิริยาบถ อยู่กับปัจจุบันอย่างตื่นรู้โดยปฏิบัติได้ทุกสถานที่

พุทธอุทยานวังน้ำเขียวมีกิจกรรมรวมตัวกันเดือนละครั้ง เพื่อถวายพระพุทธธรรมจักร ปางปฐมเทศนา หน้าตัก 3 เมตร แกะสลักจากหินทราย น้ำหนักประมาณ 25 ตัน โดยถวายเดือนละ 1 องค์ตั้งปณิธานว่าจะถวายให้ครบทุกจังหวัดทั่วประเทศ

“ธรรมะเย็นวันพระ”

ผู้มีปัญญาทั้งหลาย ไม่เอาชีวิตไปขึ้นอยู่กับ ปากและตาของผู้อื่น

ให้มองเห็นจิตและใจของตนเอง
มีสติ รู้จิต ไม่ฟุ้งซ่าน

ไม่ดิ้นรนแสวงหา ในสิ่งที่หลอกลวงทั้งหลาย

ใจเป็นอิสระจากกิเลสทั้งปวง จะร้อนจะหนาว จะลุกจะนั่ง จะยืนจะเดิน จะกินอยู่ครั้งใด

จิตก็มีสติอยู่เสมอ นี่แหละคือการปฏิบัติธรรม

Leave a Reply