วันพฤหัสที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา ที่เมืองฟิลาเดลเฟีย ประเทศสหรัฐอเมริกา พระราชปริยัติกวี,ศ.ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) พร้อมด้วยพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร เดินทางเข้าเยี่ยมชมบรรยากาศโดยรวมของมหาวิทยาลัยเพนซิวาเนีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเข้าเยี่ยมชมห้องสมุดกลางของมหาวิทยาลัย ซึ่งมีหนังสือ จำนวน 1,500,000 เล่ม โดยมี ศ.ดร.ปาเทล ผู้อำนวยการศูนย์เอเซียศึกษา และรองผู้อำนวยการห้องสมุดให้การต้อนรับ และนำเยี่ยมชมกิจการภายในของห้องสมุด
พระราชปริยัติกวี กล่าวว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเพนซิวาเนียจะเป็นตัวแบบที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง ที่วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร จะนำมาเป็นกรอบแนวคิดในการออกแบบห้องสมุดของวิทยาลัยฯ พร้อมกับการถอดแบบห้องสมุดของมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ ฟินแลนด์ ที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัย นำโดยอธิการบดีได้เดินทางไปศึกษาดูงานเมื่อปี 2561 ที่ผ่านมา
นับจากนี้ วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร ศูนย์เอเซียศึกษา สถาบัน Perry World House ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเพนซิวาเนีย และภาควิชาปรัชญา จะประมวลผลจากการปรึกษาหารือ เพื่อจัดทำกรอบบันทึกลงนามความร่วมมือระหว่าง 5 สถาบัน เพื่อร่วมมือในเชิงวิชาการ และจัดกิจกรรมต่างๆ ทั้งการแลกเปลี่ยนคณาจารย์ และจัดสัมมนานานาชาติร่วมกัน
“มหาวิทยาลัยเพนซิวาเนียมีประวัติศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มนอย่างยาวนาน ที่ได้รับการก่อตั้งโดยเบญจามิน แฟรงกลิน เป็นมหาวิทยาลันเก่าแก่ที่สุดอันดับ 4 ของอเมริกา เป็นแหล่งผลิตนักวิชาการที่มีชืรอเสียงของไทย เช่น ศ.ดร.ภัทรพร สิริกาญจน อาจารย์ประจำวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ และปัจจุบันนี้ ศ.ดร.แฟรง ฮ๊อบแมน ซึ่งเป็นอาจารย์ของวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร ก็เกษียรมาจากมหาวิทยาลัยเพนซิวาเนีย” อธิการบดี มจร กล่าวและว่า
ด้วยเหตุนี้ มหาจุฬาฯ จะให้วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติเข้ามาเป็นสะพานเชื่อมและร่วมมือทางวิชาการในมิติที่หลากหลายต่อไป เพื่อเปิดพื้นที่ความสัมพันธ์ มหาจุฬาฯ จะมอบหนังสือพระไตรปิฏกฉบับสากล รวมถึงทั้งภาษาไทย และบาลี จำนวน 100 เล่มเอาไว้ให้ศึกษาค้นคว้าในห้องสมุดนี้” พระราชปริยัติกวีกล่าว
Leave a Reply