ทำไม!! ประเทศไทยจึงมีระบบสาธารณสุขที่ 6 ของโลกและ 1 ในอาเซียน

        ช่วงนี้หลายคนตั้งคำถามว่าประเทศไทยมีความพร้อมด้านการรับมือโรคระบาด โดยเฉพาะ ไวรัสโคโรนาหรือโควิด -19 ได้ดีขนาดไหน

        นิตยสาร CEOWORLD นิตยสารด้านธุรกิจของสหรัฐอเมริกา ได้จัดอันดับประเทศที่มีระบบสุขภาพดีที่สุดในโลก ประจำปี 2562 โดยจัดอันดับให้ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 6 ของโลกจาก 195 ประเทศทั่วโลก ซึ่ง 10 อันดับแรกตามลำดับ ได้แก่ ไต้หวัน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรีย เดนมาร์ก สเปน ฝรั่งเศส เบลเยี่ยมและออสเตรเลีย ซึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนถือว่าประเทศไทยได้รับการยอมรับมากที่สุด ทั้งนี้ พิจารณาจากเกณฑ์ตัวชี้วัด 5 ตัว คือ

1.ความพร้อมระบบพื้นฐานด้านสาธารณสุข

2.ความสามารถของบุคลากรด้านสาธารณสุข

3.การเข้าถึงยาคุณภาพ

 4.ค่าใช้จ่ายในระบบ และ

 5.ประสิทธิภาพ ศักยภาพของรัฐบาลในการจัดการระบบการเข้าถึงการักษาสุขภาพ

“จากการจัดอันดับแสดงให้เห็นว่า ไทยเป็นพี่เบิ้มเกี่ยวกับระบบสุขภาพในเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ได้รับการยอมรับ เพราะบุคลากรสาธารณสุขทุกคนทุกวิชาชีพ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) ผอ.รพ.ทุกระดับ บุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล(รพ.สต.) และจิตอาสา เครือข่ายทั้งหมดร่วมแรงร่วมใจในการช่วยกัน สิ่งเหล่านี้จึงทำให้ประเทศไทยจุดอยู่อันดับ 6″

         การที่ประเทศไทยมีระบบพื้นฐานด้านสาธารณสุขดีเยี่ยม เป็นที่ 6 ของโลกและเป็นที่ 1 ในอาเซียน มันต้องมีต้นสายปลายเหตุ

         ขออนุญาตนำข้อมูลทางโซเซียลมีเดียที่มีการแชร์ต่อ ๆกันมา เพื่อให้ประชาชนและเยาวชนรุ่นปัจจุบันได้ทราบว่า ทำไมประเทศไทยจึงมีระบบสาธารณสุขอันดับ 6 ของโลก

ส่วนตัวผมแล้ว เชื่อมั่นว่าสถาบันกษัตริย์  มีส่วนสำคัญในการผลักดันระบบสาธารณสุขไทยอย่างมหาศาล

นี่คือคุณูปการอันใหญ่หลวงของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย

เด็กรุ่นใหม่ที่ไม่เข้าใจว่า สถาบันกษัตริย์ทำอะไรให้ประเทศนี้บ้าง ?

วันนี้สิ่งที่เราเผชิญอยู่คือโรคระบาดไวรัสร้ายแรง ถ้าเราไม่มีระบบสาธารณสุขที่ดีเราคงแย่กว่านี้เราควรเรียนรู้ที่มาที่ไปว่า การสาธารณะสุขไทยเป็นอันดับ 6 ของโลกได้อย่างไร

ไม่ใช่คำตอบสั้นๆว่า คนไทยเก่ง คนไทยฉลาด

ถ้าคนไทยเก่งคนไทยฉลาด แต่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ก็คงไม่ได้พัฒนาความเก่งของตน

สถาบันกษัตริย์เห็นการไกลในอนาคตว่าเราจะพบกับปัญหาอะไร

ต้องการสร้างความมั่นคงทางด้านสุขภาพให้กับคนในชาติ จึงให้ทุนไปเรียนแพทย์และด้านอื่นๆ

คนรุ่นใหม่ อยากให้ไปหาคำตอบว่าแต่ละปีทุนที่ให้ไปเรียนต่อเกี่ยวกับด้านสาธารณะสุขมีเท่าไร

จากอดีตถึงปัจจุบัน สถาบันกษัตริย์ ให้ทุนไปแล้วเท่าไร

แล้วไปเปรียบเทียบกับต่างประเทศว่าเขามีอย่างเราไหม

แล้วโรงพยาบาลหลายแห่งที่คุณและพ่อแม่ของคุณใช้บริการอยู่

ก่อตั้งมาตั้งแต่เมื่อไร

แล้วใครก่อตั้ง…..แล้วทุนก่อตั้งมาจากไหน

ถ้าคุณรู้แล้ว

คุณจะเห็นวิสัยทัศน์และคุณูปการของสถาบันกษัตริย์และความเอาใจใส่ดูแลประชาชนของท่าน ที่ปกครองด้วยระบบพ่อปกครองลูก

สถาบันบำราศนราดูร (โรงพยาบาลโรคติดต่อ) ได้ตั้งขึ้นตั้งแต่ พ.ศ.2448 ในสมัยรัชกาลที่ 5

สมัยนั้นยังเป็นระบบสมบูรณาญาสิทธิราช(พ่อปกครองลูก)

นี่แหละที่เรียกว่า บำบัดทุกข์บำรุงสุข

โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลกลาง และอื่น ๆ

ระบบสุขาภิบาลแห่งแรกที่ท่าฉลอม  ก็ก่อตั้งมาเป็นร้อยปีช่วงนั้นเช่นกัน

นี่คือรากฐาน..ระบบสาธารณสุขของไทย

มาถึงยุคประชาธิปไตย สถาบันกษัตริย์ก็ยังมีบทบาทสำคัญมากต่อการสาธารณสุขไทย

ลองพิมพ์ คำว่า “ประวัติ โรงพยาบาลรามาธิบดี” จะได้คำตอบว่า

องค์รัชกาลที่ 9 ได้ให้ที่ดิน 120 ไร่

เป็นพื้นที่โรงพยาบาล พื้นที่วิทยาลัยการแพทย์และอื่นๆ

ยกตัวอย่างเพียงแห่งเดียว

เห็นรึยังว่าสถาบันกษัตริย์

มีส่วนส่งเสริม สนับสนุนขนาดไหน

มาถึงปัจจุบัน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชรัชกาลที่ 10 ทรงดำริให้สร้างและเป็นองค์อุปถัมภ์มีอยู่ถึง 21 แห่งทั่วทุกภูมิภาค ซึ่งขณะนี้ก็ได้รองรับคนป่วยโรคโควิดและรักษาโรคทั่วไปได้อย่างทั่วถึง  รวมถึงมองเห็นการณ์ไกลถึงศาสนาได้จัดสร้างโรงพยาบาล 50 พรรษามหาวชิราลงกรณ  ให้พระภิษุสงฆ์ ที่จังหวัดอุบลราชธานี

สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์

ใครเป็นผู้ก่อตั้ง ใครเป็นผู้ดำเนินงาน

แล้วท่านทำเพื่อใคร

และปัจจุบันเขามีโรคระบาดทั่วโลกใครละที่มุ่งมั่นหาเครื่องมือแพทย์มาให้หมอและพยาบาลรักษาชีวิตประชาชน ประชาชนของใคร

อยากให้คนรุ่นใหม่

ศึกษาประวัติศาสตร์ และปรากฏการณ์ให้ลึกซึ้ง ชัดเจน ก่อนเชื่อคำพูดใด ๆ จากใคร

ให้ใช้หลัก “กาลามสูตร”ของพระพุทธเจ้า ว่าอย่าเชื่อง่าย  ต้องศึกษาและพิสูจน์ด้วยตนเอง

เมื่อเด็กรุ่นใหม่ได้รู้ถึงที่มาที่ไปการสาธารณสุขไทย

คงเข้าใจแล้วว่าที่เรา “อยู่เย็นเป็นสุข” มาจนถึงทุกวันนี้เพราะใคร

ขอบคุณเนื้อหาดี ๆ สำหรับโซเซียลมีเดีย ขอบคุณคนไทยทุกคนที่ร่วมมือ ร่วมใจ ร่วมกาย อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ.. “ความอดทนนั้นขมขื่น แต่ผลของมันหวานชื่นเสมอ

Leave a Reply