รายงานพิเศษ : โคก หนอง นา “เพชรบูรณ์” เมืองมะขามหวาน แหล่งปลูกผักป้อนทั่วไทย การระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย เริ่มมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ประกาศห้ามออกนอกเคหะสถานยามวิกาล และขอความร่วมมือให้ประชาชนชะลอการเดินทางข้ามจังหวัด ซึ่งปัจจุบันบางมาตรการได้ถูกยกเลิกไปแล้วเว้นประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน การเกิดขึ้นของโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตประชาชนอย่างหนัก โดยเฉพาะด้านการใช้จ่ายในครัวเรือน จนรัฐบาลจำเป็นต้องกู้เงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 1.9 ล้านล้านบาท เพื่อช่วยเหลือประชาชนและกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ “กรมการพัฒนาชุมชน” กระทรวงมหาดไทย ถือเป็นหนึ่งในกำลังสำคัญของหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ให้กับประชาชน จึงได้เข้ามามีบทบาท ช่วยพยุงขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากไว้อย่างมั่นคง มุ่งสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนโดยเฉพาะโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา” ที่ได้รับงบประมาณเงินกู้จากรัฐบาลถึง 4,700 ล้านบาท การดำเนินการ “โคก หนอง นา” ปัจจุบันกระจายและครอบคลุมทั่วประเทศมากกว่า 73 จังหวัด สร้างงานให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 มากกว่า 9 พันราย มีครัวเรือนเข้าร่วมสมัครโคก หนอง นา กรมพัฒนาชุมชนหลายหมื่นครัวเรือน โครงการนี้นอกจากครัวเรือนมีความมั่นคงในด้านอาหารพอมีรายได้เลี้ยงครัวเรือนแล้ว ผลที่ตามมาคือประเทศไทยมีพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนหลายแสนไร่ ระยะยาวลดปัญหาภัยแล้งได้ และรวมทั้งประชาชนเข้าใจทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลายหมื่นคน โดยผ่านการอบรมเสริมความรู้ 5 วัน 4 คืน “ทีมข่าวพิเศษ” ได้ลงพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อไปดูความคืบหน้าการดำเนินงานโคก หนอง นา จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่น่าสนใจยิ่งกว่าคือ ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ “มนทิรา เข็มทอง” พัฒนาการจังหวัดเพชรบูรณ์ คือผู้หนึ่งที่มีส่วนสำคัญร่วมคิดร่วมทำและร่วมผลักดันโครงการนี้มาตั้งแต่ต้น ภายใต้แม่ทัพชื่อ “สุทธิพงษ์ จุลเจริญ” อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนจน จนก่อให้เกิด “โคก หนอง นา” ที่จับต้องได้ทุกวันนี้ “มนทิรา เข็มทอง” พัฒนาการจังหวัดเพชรบูรณ์ เผยความในใจว่า พูดทีไรขนลุกทุกที ตนเองรับราชการมา 30 กว่าปี ทำมาหลายเรื่อง ทำงานเชิงนโยบาย แต่พอทำงานนี้ทำไป มีความสุขไป เพราะว่าแม้มันจะกดดันมาก มันเป็นงานยาก มันเป็นเรื่องผสมผสานระหว่างความคาดหวังของผู้บริหารกรมพัฒนาชุมชนและความต้องการของผู้คนในสังคมโครงการโคก หนอง นา นี้สร้างความภูมิใจในชีวิตราชการและสร้างความสุขให้เราได้ บางวันคิดเขียนและแก้โครงการตามคำสั่งและคำแนะนำของท่านอธิบดีจนตีสองตีสาม วันเสาร์อาทิตย์ไม่ได้หยุด ยิ่งบางวันต้องไปชี้แจงกับคณะกรรมาธิการในสภายิ่งกดดัน เพราะเจอคำถามต่าง ๆ มากมาย “พี่ว่ามันหาไม่ได้นะงานที่ทำไป มีความสุขไป ทั้ง ๆ ที่งานพัฒนาชุมชน มันเป็นงานที่ทำเพื่อคนอื่น คือทำให้คนได้เรียนรู้ ให้คนได้รู้จักพึ่งตนเองได้ในที่สุด แล้วก็ทำมาเรื่อย ๆ แต่งานเนี่ยมันเป็นงานที่เป็นรูปธรรมมากที่สุดงานหนึ่งของกรมพัฒนาชุมชน คำว่าส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ให้คนได้เรียนรู้ ให้คนรู้จักคิด รู้จักตัดสินใจที่จะลงมือทำ สิ่งเหล่านี้มันเป็นนามธรรม แต่พอมาทำตรงนี้มันเป็นรูปธรรมที่เห็นได้ชัดเลย..” เมื่อถามว่า ก่อนทำได้คิดไหมว่า โคกหนองนา จะได้รับความนิยมขนาดนี้ “พี่มน” กล่าวเพิ่มเติมว่า ไม่คิดมาก่อนเลย ที่ไม่คิดเพราะว่าที่ผ่านมา การทำเรื่องการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9กรมการพัฒนาชุมชนไม่ได้พึ่งทำ ทำมาระยะหนึ่งแล้วตั้งแต่ปี 2549 แต่ว่ามันก็มาเรื่อย ๆ ซึ่งก็ไม่ได้หวังให้มันเด่นดัง ขอหวังว่าให้ทุกคนเอาไปใช้ในวิถีชีวิต อันนั้นคือเราหวังผล ไม่ได้ต้องการให้มันเด่นดัง ไม่ให้มันบูม เพราะว่าการเด่นดังบางทีมันก็ไม่ยั่งยืน แต่ต้องการให้มันซึมลึกไปเรื่อย ๆ ให้มันยั่งยืน ให้มันเป็นวิถีชีวิตหรือเป็น day of life ของคน แต่พอเรื่องนี้มันมาพร้อมกับกระแสกับสถานการณ์โควิดซึ่งมันตอบโจทย์พอดีสถานการณ์เรื่องนี้คือ กรมพัฒนาชุมชนทำทุกเรื่องไม่ใช่เฉพาะเรื่องนี้เรื่องเดียว ทุกที่เกี่ยวข้องกับการอยู่ดีกินดี เพราะเราทำเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิต แล้วพอทีนี้ โครงการโคก หนอง นา นี้มันตอบโจทย์เรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคน คนเรามีปัจจัย 4 ก็อยู่ได้ เมื่อคนเรามีปัจจัย 4 ครบ ชีวิตก็มีความสุขแล้วมีความพึงพอใจก็อยู่ได้ โครงการนี้เป็นโครงการที่สร้างปัจจัย 4 ให้คนได้ แล้วก็จะสร้างความสุขให้คนได้ หันกลับมาที่ตัวพี่เอง ตัวพี่เองก็การทำงานตั้งแต่เริ่มการเขียนโปรเจคละ เป็นผู้อำนวยการกลุ่มรับผิดชอบโครงการมีหน้าที่ทำรายละเอียดโครงการเสนอท่านอธิบดี เสนอไปที่กระทรวงมหาดไทยและไปที่สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ “ตั้งแต่มารับตำแหน่งพัฒนาการจังหวัดที่นี้ เดินหน้าเต็มที่ โชคดีเคยมาเป็นพัฒนาการอำเภอที่นี่มาก่อน รู้จักคน เครือข่ายเป็นอย่างดี งานเลยราบรื่น ตอนนี้จังหวัดเพชรบูรณ์มีผู้เข้าร่วมโครงการ โคก หนอง นา กรมพัฒนาชุมชน ครบทั้ง 11 อำเภอ จำนวน 110 ตำบล 619 หมู่บ้าน 936 ครัวเรือน และสร้างงานให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากโควิดจำนวน 220 คน การอบรมคนเข้าร่วมโครงการ5 วัน 4 คืน จำนวน 12 รุ่นจบไปแล้วตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน ที่นี่ภาครัฐ ภาคเอกชน ทุกคนให้ความร่วมมือดีมาก ยิ่งประชาชนบางวันเราลงไปเปิดอบรม ไปเยี่ยมโครงการ ร้องให้เลย เราก็พลอยปีติปลื้มใจไปด้วย เมื่อเห็นโครงการนี้ประชาชนนี้มีทั้งเกษตรกร นักธุรกิจ หรือเด็กจบใหม่ ก็ชื่นชอบ เราก็ภูมิใจแทนท่านอธิบดีและคนของกรมพัฒนาชุมชน” หลังคุยเสร็จเรียบร้อยทีมงานข่าวได้รับการชี้แนะจาก “พี่มน” มนทิรา เข็มทอง พัฒนาการจังหวัดเพชรบูรณ์ ให้ไปดูแปลงตัวอย่างจำนวน 2 แปลง แปลงแรกตั้งอยู่ที่อำเภอหล่มเก่า เป็นเด็กวัยรุ่นที่สนใจมาทำโคก หนอง นา โดยมีพ่อและแม่เป็นผู้สนับสนุน สำหรับแปลงที่สองตั้งอยู่ในอำเภอหล่มสักอยู่ไม่ไกลกันมาก ที่หล่มสักถือว่าเป็นแหล่งผลิตผักปลอดสารพิษให้กับห้างใหญ่อย่าง ท็อปส์ มาร์เก็ต ในเครือเซ็นทรัลเลยทีเดียว จังหวัดเพชรบูรณ์เป็นจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวสวยงาม ธรรมชาติร่มรื่น เป็นเมืองเหมาะเป็นโรงครัวของประเทศ เพราะดิน น้ำอุดมสมบูรณ์ ทิวทัศน์ตลอดสองข้างทางกว่าจะถึงแปลงเป้าหมายอำเภอหล่มเก่ามีแปลงผักเป็นระยะ ๆ “กาฟิว” ณัฎฐากร แก้วคง เด็กหนุ่มไฟแรง ผู้ปฎิเสธอาชีพรับราชการหันมาสนใจทำโคก หนอง นา ภายใต้พื้นที่ 3 ไร่ของครอบครัว เมื่อไปถึงแปลง “กาฟิว” ได้พาทีมงานชมพื้นที่ทำโคก หนอง นา ในเนื้อที่ 3 ไร่ ตอนนี้ได้ทำการขุดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว มีแปลงผัก แปลงนา และกำลังปรับปรุงให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ตอนที่ไปมีเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนและเครือข่ายมาร่วมต้อนรับย่อม ๆ พร้อมกับน้อง ๆ นักพัฒนาต้นแบบ 2 คนร่วมพาชมพื้นที่ด้วย “น้องสริตา” สริตา โพธิ์ทองคำ เพิ่งจบมาจากมหาวิทยาลัยราชภัฎแห่งหนึ่งจากกรุงเทพมหานคร สาขาคหกรรรม มาสมัครเป็นนักพัฒนาต้นแบบหรือ นพต. และอีกคนชื่อ รัสมี กัลยาประสิทธิ์ เป็นแม่บ้านมีภาระต้องส่งลูกเรียน โควิด ทำให้กระทบกับงานที่สร้างรายได้มาสมัครเป็นนักพัฒนาต้นแบบ ทำหน้าที่ช่วยงานด้านเอกสารและแนะนำให้ความรู้แก่เจ้าของแปลงผู้เข้าร่วมโคก หนองนา นอกจากนี้วันที่ทีมงานไปถึงมีเครือข่ายผู้เข้าร่วมโคก หนอง นา มาร่วมพูดคุยและรับประทานอาหารด้วยกันด้วย “พี่อ้อย” สุภาพร แก้วคง แม่ของการ์ฟิว เล่าถึงกาฟิวด้วยความภาคภูมิใจว่า “ความจริงกาฟิว มีคนแนะนำให้รับราชการแต่เขาไม่ชอบ อยากทำเกษตร อยากทำโคก หนอง นา ตรงนี้มีเนื้อที่ 10 ไร่ 3 งาน แบ่งเป็นโคก หนอง นา 3 ไร่ ทำไม่ได้คิดอะไรมาก อยากทำเอาไว้สำหรับเป็นสถานที่พักผ่อน กาฟิวปกติเขามีธุรกิจน้ำดื่มและคาร์แคร์ ตอนนี้มีตำแหน่งผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง ของกรมพัฒนาชุมชนและในทางสังคมเขามีบทบาทเป็นสารวัตรกำนันด้วย ก็รู้สึกภูมิใจที่ลูกชอบแบบนี้ พ่อกับแม่ก็สนับสนุนเขาเต็มที่” ส่วน “กาฟิว” กล่าวเสริมว่า การทำโคก หนอง นา สำคัญสุดคือมันมีแหล่งอาหาร ยิ่งปัจจุบันมีโรคติดต่อแบบนี้ ยิ่งจำเป็นต่อครอบครัว คิดว่า ความสำคัญสุดของการใช้ชีวิตยุคนี้คือ มักให้ความสำคัญกับเงินเป็นหลัก แต่สำหรับตัวเอง คิดว่าไม่ถูกทั้งหมด ปัจจัย 4 อากาศบริสุทธิ์สำคัญที่สุด “การทำงานร่วมกับกรมพัฒนาชุมชนรู้สึกดีมาก พี่ ๆ เขาให้ความสนับสนุนเราเต็มที่ ผมเพิ่งจับงานแบบนี้ครั้งแรก ยังทำอะไรไม่ค่อยเป็น คน พช. เหมือนกับเป็นพี่เลี้ยงให้เรา และใจเราอยากทำแบบนี้อยู่แล้ว ยิ่ง พช.เขาเอางบมาช่วย งานเลยยิ่งออกมาดี ตอนนี้ขุดไปแล้ว 2 บ่อ มีคลองใส้ไก่เรียบร้อย เป้าหมาย การทำโคก หนอง นา อย่างแรกสำหรับผมคือ เป็นแหล่งอาหาร แล้วก็คาดหวังเป็นสเต็ป ๆ ไป คือ ถ้าสมมติทำขึ้นมาได้แล้วไปรอด ก็อยากจะทำเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ขึ้นไปอีกขั้นก็คือ เป็นแหล่งสถานที่ท่องเที่ยว มีโฮมสเตย์ อะไรประมาณนี้..” ณัฎฐากร แก้วคง บอกเป้าหมายของการทำโคก หนอง นา หลังจากทีมงานรับประทานอาหารฝีมือนักศึกษาวิศวะผู้เป็นน้องชายกาฟิวด้วย ส้มตำ คอหมูย่าง เรียบร้อยแล้ว เป้าหมายต่อไปอยู่ที่ตำบลปากดุก อำเภอหล่มสัก ซึ่งที่นั้นประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ปลูกข้าว ปลูกผัก ปลูกยาสูบ ทำสวน ปลูกหอม ปลูกกระเทียม เลี้ยงสัตว์ ครอบครัว “แก่นนาค” เป็นครอบครัวหนึ่งที่ทำการเกษตรปลอดสารพิษ พื้นที่อยู่ท่ามกลางโล่งแจ้ง อากาศดี มีแปลงผักนานาชาติทั้งผักชี ผักกาด กว้างกุ้ง ผักเพกา ปลูกอยู่ทั่วบริเวน โดยเฉพาะมะม่วงกำลังออกลูกดกแทบทุกต้น ในขณะที่บางจังหวัดผลิตผลปีนี้แทบไม่มี ทางเข้าแปลงเป้าหมายสังเกตมีน้ำและดินค่อนข้างดี เมื่อทีมงานผ่านถนนคอนกรีตเล็ก ๆ เข้าไปถึงพื้นที่เป้าหมายโคก หนอง นา ที่เพิ่งขุดเสร็จ ยังไม่ได้ปลูกอะไรมากมาย “เหม” ศักดิ์นิรันดร์ แก่นนาค ลูกชายเจ้าของแปลง เพิ่งจบการศึกษามาใหม่ ๆจากมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร พาชมดูแปลงโคก หนอง นา บนเนื้อที่ 3 ไร่ ที่ขุดเสร็จแล้ว บอกว่า ที่ตรงนี้เพิ่งขุดเสร็จเมื่อปลายเดือนมีนาคม เดิมตรงนี้ปลูกพืชผักประเภทกวางตุ้ง กะหล่ำ ผักชี หน้าแล้งจะไม่มีน้ำ หลังจากนี้ ตั้งใจไว้ว่าจะปลูกพืชไร่นาแบบผสมผสาน และทำเป็นแหล่งเรียนรู้ สร้างอาชีพให้กับครอบครัว ตรงปากดุกนี้ โชคดีคือ พืชผักมีเท่าไร เครือเซ็นทรัลเขารับหมด เกือบ 10 ปีมาแล้วที่ท่านเครือเซ็นทรัลมาตั้งโรงเย็นอยู่ที่นี่ เรื่องตลาดจึงไม่ค่อยมีปัญหาเท่าไร เหม กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “กว่าจะมีวันนี้ ต้องขอขอบคุณคนของพัฒนาชุมชน รู้เลยว่า ทำงานตรงนี้เหนื่อยและกดดันมาก พูดตรง ๆ เราก็ต้องการแบบนี้ แต่ทางพัฒนาชุมชน ท่านก็มีแบบของท่าน บางทีก็ต้องมานั่งคุยกัน ให้มันไปด้วยกันให้ได้ อย่างการขุดตรงนี้ตามแบบคือ 4 เมตร แต่ทางครอบครัวขอเป็น 6 เมตร การทำโคก หนอง นา ครอบครัววางแผนไว้ว่า อนาคตเราจะมีผลิตภัณฑ์ของเราเองอะไรอย่างนี้ และก็จะต่อยอดผลิตภัณฑ์ของตำบลเราเอง ชุมชนเราเอง และก็ส่งเสริมอาชีพหารายได้ให้กับครอบครัวเราและชุมชน ผมว่า หากเราทำได้แบบนี้ ดีกว่าต้องไปทำงานเป็นลูกจ้างของคนอื่น..” ทางออกของประเทศไทยในการนำพาประเทศให้พ้นวิกฤติและเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้ถูกกำหนดเอาไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และนโยบายรัฐบาลที่จะสืบสาน รักษา ต่อยอด และพัฒนาประเทศตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยเน้นประชาชนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาให้พึ่งตนเองได้ มีความเป็นเจ้าของและบริหารจัดการโดยชุมชน พัฒนาหมู่บ้านหรือชุมชนให้มีวิถีชีวิตแบบพอเพียงเพื่อนำไปสู่สังคม “อยู่เย็น เป็นสุข” การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดำเนินการโคก หนอง นา กรมพัฒนาชุมชน อยู่ตอนนี้ ก็เพื่อตอบโจทย์ตามยุทธศาสตร์ชาติ และนำประชาชนสู่เป้าหมายชีวิตที่ดีงามพึ่งพาตนเองได้ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรนั่นเอง.. Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author ที่ปรึกษาปลัด มท. ผนึกกำลังไตรภาคี “มหานครแห่งโคก หนอง นา” ตามหลัก “บวร” อุทัย มณี ม.ค. 11, 2022 วันที่ 11 มกราคม 2565 วานนี้ เวลา 13.30 น. ณ ศูนย์พุทธธรรมสมเด็จพระมหาธีราจารย์ป่าดงใหญ่วังอ้อ… “มจร” บิ๊กแคลนนิ่ง “เจ้าคุณประสาร” เผย “พร้อมแล้ว” งานประสาทปริญญาประจำปีพุทธศักราช 2565 อุทัย มณี ธ.ค. 06, 2022 วันที่ 6 ธันวาคม 2565 เมื่อช่วงบ่ายวันนี้ พระราชวัชรสารบัณฑิต… ในหลวงโปรดเกล้าฯ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลอุปสมบทนาคหลวง อุทัย มณี ก.ค. 17, 2021 วันที่ 17 กรกฎาคม 64 เวลา 17.18 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ… พุทธะอิสระโพสต์ เรื่องดี ๆ ที่ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๑๐ ทรงกระทำ ให้แก่คนไทยทั้งแผ่นดิน ยังไม่ค่อยมีใครได้รับรู้ อุทัย มณี ก.ค. 25, 2022 วันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๕ นายสุวิทย์ ทองประเสริฐ หรือเดิมคือ … “มจร” จัดประชาพิจารณ์ครั้งใหญ่ (ร่าง) แผนพัฒนามหาวิทยาลัยฯ ระยะที่ 13 มุ่งสร้างชุมชนและสังคมสันติสุข อุทัย มณี มี.ค. 07, 2022 เมื่อวันจันทร์ที่ 7 มีนาคม 2565 พระเมธีธรรมาจารย์ (เจ้าคุณประสาร)… ทำเนียบขาว”เปิดประตูครั้งแรก”ให้ชาวพุทธฉลองงานวิสาขบูชา อุทัย มณี พ.ค. 28, 2021 ประธานาธิบดีของประเทศสหรัฐอเมริกา โจ ไบเดน จากทำเนียบขาว… มหาดไทยร่วมหารือ Airbnb เดินหน้าส่งเสริมพัฒนาเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวชุมชนเข้มแข็ง อุทัย มณี พ.ย. 08, 2022 กระทรวงมหาดไทยร่วมหารือ Airbnb เดินหน้าส่งเสริมพัฒนาเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวชุมชน… วันวิสาขบูชาโลก! ปธน.อินโดฯจุดโคมไฟถวายเป็น “พุทธบูชา” ที่มหาเจดีย์บุโรพุธโธ มูลนิธิธรรมกายจับมือองค์กรพุทธ 5 สมาคมร่วมฉลอง อุทัย มณี พ.ค. 16, 2022 วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม 2565 สมาคมชาวพุทธวาลูบี้ (WALUBI) ร่วมกับมูลนิธิธรรมกาย… พศ.แจงแล้วปม! ตรวจสอบเณรร่วมม็อบราษฎรขัดคำสั่งมส. อุทัย มณี ก.พ. 25, 2021 เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 เพจคณะปฎิสังขรณ์การพระศาสนาใหม่ออกแถลงการณ์… Related Articles From the same category “มจร-รพ.ราชธานี – จ.พระนครศรีอยุุธยา” เปิดรพ.สนามรองรับผู้ป่วยโควิด-19 วันที่ 10 สิงหาคม 2564 ณ อาคารหอสมุดวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ… กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงติดตามการดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตสามเณร จังหวัดศรีสะเกษ วันจันทร์ที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๓.๓๐ น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า… สมเด็จพระสังฆราช มีพระดำรัสถวายพระพร วันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๔ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว… ปลูกต้นโพธิ์จากศรีลังกา ถิ่นหลวงปู่สรวงเคยจำวัด เมื่อวันที่ 14 ก.ค.2562 ที่ผ่านมา พระราชกิตติรังษี เจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ… ‘สมเด็จธงชัย – สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี’ เททององค์พระรูปเหมือน หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ เมื่อวันพุธที่ 18 ก.ย. 2562 เวลา18.39 น. ที่ผ่านมา สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี(สมเด็จธงชัย)…
Leave a Reply