พจ.อุบลฯ พายล “โคก หนอง นา พช. บุญรักษา” แก้ปัญหาประชาชนอย่างยั่งยืน

วันที่ 21 ตุลาคม 2564 นายคมกริช ชินชนะ พัฒนาการจังหวัดอุบลราชธานี พร้อมด้วย นายธงชัย ครุฑแสน ผู้อำนวยการกลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน และเจ้าหน้าที่จากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี ลงพื้นที่ติดตามสนับสนุนการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” งบพัฒนาจังหวัด พื้นที่ 5 ไร่ ของนายสุพล บุญรักษา หรือ แปลง “โคก หนอง นา บุญรักษา” บ้านคำฮี ตำบลนาคาย อำเภอตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานี

จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับการอนุมัติงบประมาณดำเนินงานโครงการตามแผนปฏิบัติการ จังหวัดอุบลราชธานี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” จำนวน 4,489,200 บาท (สี่ล้านสี่แสนแปดหมื่นเก้าพันสองร้อยบาทถ้วน) โดยให้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี และหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง ดำเนินงานโครงการฯ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประยุกต์สู่การปฏิบัติในรูปแบบ “โคก หนอง นา พช.” และพัฒนาแหล่งเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา” โดยแปลงของนายสุพล บุญรักษา แห่งนี้นั้น ได้รับความอนุเคราะห์ สนับสนุนเครื่องจักรกลและบุคลากรในการปรับพื้นที่จากสำนักงานทางหลวงชนบทที่ 7 (อุบลราชธานี)

กิจกรรมในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการติดตามสนับสนุนผลสำเร็จในการขับเคลื่อนโครงการฯ แล้ว พร้อมกันนี้ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี ยังได้ร่วมกับ หจก.ข้าวโฮยเกลือ สตูดิโอ วิสาหกิจ เพื่อสังคม ดำเนินการถ่ายทำคลิปวิดีโอ เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” โดยเฉพาะการพลิกฟื้นแผ่นดินที่เคยแห้งแล้งให้กลับมาเป็นพื้นที่ ที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีความมั่นคงทางอาหาร ตลอดจนเป็นแหล่งเรียนรู้ พร้อมการช่วยเหลือแบ่งปันผลผลิต หลังจากพึ่งพาตนเองได้แล้วตามหลักกสิกรรมธรรมธาติ หรือ พอกิน พอใช้ พออยู่ พอร่มเย็น นั่นเอง

โอกาสนี้ พัฒนาการจังหวัดอุบลราชธานี ได้กล่าวชื่นชมแปลงตัวอย่างฯ ที่สามารถดำเนินการปรับพื้นที่ตามโครงการฯ ซึ่งแม้จะมีปัญหาอุปสรรคด้านธรณีวิทยา แต่ก็สามารถดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมสืบสาน รักษา และต่อยอดแนวพระราชดำริ จนมีผลผลิตที่อุดมสมบูรณ์ ประสบผลสำเร็จ และสามารถ ช่วยเหลือเกื้อกูลชุมชนอื่น ๆ ได้อย่างน่าชื่นชม เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามแนวทางและระยะเวลาที่กำหนด ตลอดจนขับเคลื่อนโครงการฯในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ ต้นแบบแก่คนในพื้นที่ได้อย่างยั่งยืนต่อไป

Leave a Reply