เมื่อวันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 พระครูปลัดอดิศักดิ์ วชิรปญฺโญ, ดร. อาจารย์ประจำหลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ได้รับมอบหมายจาก พระครูปลัดปัญญาวรวัฒน์ (หรรษา ธมฺมหาโส), ศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา มจร ให้เข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตร การป้องกันอาชญากรรมกับการอำนวยความยุติธรรมในสังคม (CP5) สำนักงานกิจการยุติธรรม
พระครูปลัดอดิศักดิ์ เปิดเผยว่า วันนี้(21ก.พ.) นายวัลลภ นาคบัว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม บรรยายเรื่อง การป้องกันอาชญากรรมในระดับพื้นที่ ให้กับผู้เข้าอบรมหลักสูตร การป้องกันอาชญากรรมกับการอำนวยความยุติธรรมในสังคม (CP5) ได้รับฟัง โดยระบุว่า บทบาทกระทรวงยุติธรรมกับการป้องกันอาชญากรรมในระดับพื้นที่ โดยกระทรวงยุติธรรมทำงานเชิงป้องกัน เน้นกลุ่มเป้าหมาย บุคคล โรงเรียน มหาวิทยาลัย องค์กร หน่วยทั้งภาครัฐและเอกชน ต้องร่วมกันทำงานกันเป็นเครือข่าย เพราะไม่ได้มีหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งรับผิดชอบแต่ต้องส่งต่อกัน เป็นการทำงานร่วมกันนั้นเอง โดยรับนโยบายลงไปปฏิบัติตามหน่วยงานเชิงพื้นที่ โดยเฉพาะยุติธรรมจังหวัดทั่วประเทศ เป็นศูนย์กลางต้องขับเคลื่อนภารกิจงานของกระทรวงยุติธรรม
กรอบแนวป้องกันอาชญากรรมตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2560 ประกอบไปด้วย 6 ด้าน ได้แก่ สภาพแวดล้อม การป้องกันการกระทำผิดซ้ำ การมีส่วนร่วม การลดโอกาสการตกเป็นเหลือ การป้องกันกลุ่มเสี่ยง และ การพัฒนาความรู้และสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ให้กับบุคลากรป้อง มีการรายงาน คดีอาชญากรรม ที่ไหนอย่างไร ยุติธรรมจังหวัดต้องให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษา สถานที่รกร้างว่างเปล่าเสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรม cctv ช่วยในเชิงป้องกัน แม้กระทั้งทิ้งขยะเดียวนี้ก็เริ่มมีกล้องจับให้คนตระหนักทิ้งขยะให้ถูกที่เป็นตาวิเศษ โดยจะต้องมีการเมื่อทำงานร่วมกันทั้ง ประชาชน ภาครัฐ เอกชนต้องร่วมกันสะท้อนปัญหา ซึ่งคดีต่างๆ ส่วนใหญ่เกิดจากยาเสพติด อาชญากรรมที่เกิดมักเกิดจากตัวเงินทั้งสิ้น หากป้องกันได้ จะทำให้ คดีน้อยลง ผู้งต้องหาน้อยลง ผู้ต้องขังน้อยลง
ผู้กระทำผิดเมื่อออกมาต้องไม่กระทำผิดซ้ำ ปัจจัยที่ไม่ทำผิดซ้ำ คือ มีอาชีพ มีชีวิตปกติสุข การฝึกอาชีพในเรือนจำจึงสำคัญ แต่ต้องฝึกตามความสนใจ ตามความสมัครใจ เป็นการให้โอกาสและความหวัง เมื่อผู้กระทำผิดมีโอกาส มีความหวัง ได้รับความเห็นอกเห็นใจ เขาก็จะไม่กระทำผิดซ้ำ
นอกจากนั้นนายวัลลภ ยังฝากความหวังกับทางศาสนาที่มีส่วนช่วยสนับสนุนในการป้องกันอาชญากรรม โดยขัดเกลาจิตใจคนให้มีความสุข มีคุณธรรม คือ หิริโอตตัปปะ “อายที่จะทำ กลัวที่จะบาป” ทำน้อยได้มาก จากประโยคเดียวอาจจะทำให้เกิดหิริโอตตัปปะได้
Leave a Reply