โฆษกพรรคประชาชาติ วอนขอสังคมเข้าใจเจตนารมณ์ยกร่าง-ขอแก้ไขเพิ่มกฎหมายหมิ่นศาสนา

พรรคประชาชาติ วอนสังคมเข้าใจเจตนารมณ์การยกร่าง-ขอแก้ไขเพิ่มกฎหมายศาสนา เพื่อไม่ให้เกิด การลบหลู่ ดูหมิ่น ทำให้เกิดความแตกแยก และ ต้องการส่งเสริม สังคมพหุวัฒนธรรม

วันที่ 21 ก.พ.2565 นายสุพจน์ อาวาส โฆษกพรรคประชาชาติ กล่าวถึงการให้ความสำคัญต่อการขอแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับศาสนาซึ่งอาจมีการใช้ถ้อยคำที่อาจจะทำให้เกิดความเข้าใจผิด หรือ เคลือบแคลงในเจตนารมณ์ จึงขออธิบายเหตุผลและความจำเป็น ในการเสนอร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 206/1 และมาตรา 206/2 ว่า การเสนอแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา กรณีการลบหลู่ หรือ เหยียดหยามในประการที่น่าจะทำให้ศาสนาเสื่อมเสีย รวม 3 ข้อ ประกอบด้วย

1. บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเกลียดชังในสังคม” และ หมวด 6 แนวนโยบายแห่งรัฐ มาตรา 67 กำหนด “ให้รัฐต้องอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ในการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาที่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือมาช้านาน รัฐพึงส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาและการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท เพื่อให้เกิดการพัฒนาจิตใจและปัญญา และต้องมีมาตรการและกลไกใน พ.ศ.2560

หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยมาตรา 31 กำหนด (ว่า) “บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนาและย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติ หรือประกอบพิธีกรรมตามหลักศาสนาของตน แต่ต้องไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของปวงชนชาวไทย ไม่เป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของรัฐ และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และหมวด 4 หน้าที่ของปวงชนชาวไทย มาตรา 50 (6) กำหนด “ให้บุคคลมีหน้าที่เคารพและไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่นและไม่กระทำการใดที่อาจก่อให้เกิดความแตกแยก หรือการป้องกันมิให้มีการบ่อนทำลายพระพุทธศาสนาไม่ว่าในรูปแบบใดและพึงส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนมีส่วนร่วมในการดำเนินมาตรการ หรือกลไกดังกล่าวด้วย”

2.มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารอันเป็นข้อมูลเท็จที่มีลักษณะลบหลู่ เหยียดหยามคำสอนและศาสดาของศาสนาที่เป็นที่เคารพนับถือของหมู่ชนในประเทศกันอย่างกว้างขวาง อันอาจให้เกิดอันตรายต่อความมั่นคงปลอดภัยของรัฐและความสงบสุขของประชาชนโดยส่วนรวม

“ปัจจุบันมีบุคคลและกลุ่มบุคคลบางกลุ่มใช้เสรีภาพในการนับถือศาสนาของตนเองก่อให้เกิดความแตกแยก ด้วยการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นเท็จมีลักษณะ ลบหลู่ และเหยียดหยามคำสอนและศาสดาของศาสนาที่มีหมู่ชนจำนวนมากเลื่อมใสศรัทธาเคารพนับถือ

ซึ่งการกระทำดังกล่าวก่อให้เกิดความเกลียดชังกันหมู่ของประชาชนโดยส่วนรวม เป็นอันตรายต่อความมั่นคงปลอดภัยของรัฐและเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน รวมทั้งเป็นการขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 เป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่นในการนับถือศาสนาและการประกอบพิธีกรรมตามหลักความเชื่อตามหลักการทางศาสนาของตน

พฤติการณ์ของบุคคลและกลุ่มบุคคลดังกล่าว มีการเจตนาเผยแพร่ข้อความอันเป็นเท็จ ใส่ความ บิดเบือนเกี่ยวกับเนื้อหาคำสอนของศาสดาของศาสนาบางศาสนา การเผยแพร่ข้อความอันเป็นความเท็จดังกล่าวทำให้ประชาชนผู้ได้รับข้อมูลข่าวสารนั้นหลงเชื่อ ทำให้ผู้เลื่อมใสศรัทธาในศาสนาที่ถูกใส่ความ บิดเบือน ลบหลู่ หรือ เหยียดหยามได้รับความเสียหาย ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง

เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความขัดแย้งในหมู่ของประชาชนภายในประเทศ เป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของรัฐ ประกอบกับประมวลกฏหมายอาญาซึ่งเป็นกฏหมายที่มีบทบัญญัติเพื่อลงโทษผู้กระทำความผิดที่เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นหลัก

ยังไม่มีบทกำหนดโทษผู้กระทำการลบหลู่ ดูหมิ่น เหยียดหยามศาสนาไว้เป็นการเฉพาะ ต่างกับที่กฏหมายอาญาได้กำหนดโทษผู้กระทำความผิดฐาน ดูหมิ่น หรือหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดาไว้ในมาตรา 326 และมาตรา 328 เพื่อคุ้มครองสิทธิของบุคคลที่บุคคลอื่นจะละเมิดมิได้ไว้อย่างชัดเจน”

3. เนื้อหาสาระสำคัญของร่างแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายอาญาฉบับนี้ มีดังต่อไปนี้

“ร่างแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายอาญาฉบับนี้ เป็นการเพิ่มเติมมาตรา 206 เป็นมาตรา 206/1 และมาตรา 206/2 สำหรับมาตรา 206 เป็นมาตราอยู่ในลักษณะ 4 ความผิดเกี่ยวกับศาสนาซึ่งมีบทบัญญัติว่า “ผู้ใดกระทำด้วยประการใดๆ แก่วัตถุ หรือสถานอันเป็นที่เคารพในทางศาสนาของหมู่ชนใด อันเป็นการเหยียดหยามศาสนานั้น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

ซึ่งจะเห็นได้ว่า ในมาตรา 206 นี้ กฏหมายบัญญัติไว้เฉพาะมีการกระทำละเมิดต่อวัตถุ หรือสถานที่อันเป็นที่เคารพในทางศาสนาของหมู่ชนเท่านั้น มิได้ครอบคลุมถึงการลบหลู่ เหยียดหยามศาสดา และคำสอนของศาสนาที่เป็นที่เคารพของหมู่ชนใดด้วย จึงยังเป็นช่องว่างของกฏหมายที่ทำให้บุคคล หรือกลุ่มบุคคลบางกลุ่มไปละเมิดสิทธิของบุคคลอื่นด้วยการลบหลู่ ดูหมิ่น เหยียดหยาม ศาสนาของหมู่ชนที่เขานับถือศาสนาของตน ซึ่งอาจก่อให้เกิดความขัดแย้ง และเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของชาติ

และมาตราที่เพิ่มเติม คือ มาตรา 206/1 บัญญัติว่า “ผู้ใดกระทำด้วยประการใดๆ ที่เป็นการลบหลู่ หรือเหยียดหยาม หรือในประการที่น่าจะทำให้ศาสนาเสื่อมเสีย ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทศาสนา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

อนึ่ง รายละเอียดในมาตรานี้ มีสาระสำคัญตรงกันกับ มาตรา 326 การหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดา รวมทั้งบทกำหนดโทษที่มีอัตราโทษเท่าเทียมกันกับมาตรา 326

“ส่วนมาตรา 206/2 บัญญัติว่า ‘ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทศาสนาได้กระทำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฏไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ แผ่นเสียงหรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพหรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียงหรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น

ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท” และรายละเอียดในมาตรานี้ มีสาระสำคัญตรงกันกับ มาตรา 328 คือการหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาทางสื่อต่างๆ เช่นเดียวกับการหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดาด้วยการโฆษณาทางสื่อต่างๆ รวมทั้งบทกำหนดโทษที่มีอัตราโทษเท่าเทียมกันกับมาตรา 328″

ทั้งนี้ ขอเรียนเพิ่มเติมว่า “คณะกรรมการบริหาร รวมถึงคณะทำงานฝ่ายกฎหมายของพรรคประชาชาติ ตระหนักถึงความรู้สึกและความเข้าใจของพี่น้องประชาชนทุกศาสนิกชน ตลอดจนภาคีและพันธมิตรทางการเมืองที่ร่วมกันต่อสู้เชิงประเด็นต่างๆ มาโดยตลอด พร้อมทั้งขออภัยที่ทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายใจ อีกทั้งขอยืนยันอีกคำรบหนึ่งว่า การต่างๆ ทั้งหมด

เป็นการปกป้องและป้องกันสิ่งที่ไม่บังควรที่เกิดขึ้น หรืออันอาจเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อสังคมในวงกว้างของ ‘สังคมพหุวัฒนธรรม’ ” นายสุพจน์ อาวาส กล่าว

 

ที่มา Mtoday

Leave a Reply