จับตา “กองทุนวัดช่วยวัด” หลังเปลี่ยนมือจากวัดปากน้ำสู่ “วัดราชบพิธ” วันที่ 21 ธันวาคม 2564 เมื่อวานนี้ที่ประชุมมหาเถรสมาคมนัดแรก มีมติแต่งตั้ง สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (สุชิน อคฺคชิโน) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชบพิธฯ กรรมการมส. เป็นประธานคณะกรรมการกองทุนวัดช่วยวัด และแต่งตั้ง พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส กรรมการ มส. เป็นรองประธานกรรมการ ซึ่งถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง หลังจาก “กองทุนวัดช่วยวัด” ตกอยู่ในมือวัดปากน้ำภาษีเจริญมาอันยาวนาน ซึ่งต่อจากนี้ไป คงต้องจับตาดูต่อไปว่า กองทุนวัดช่วยวัด ที่พระสังฆาธิการจะต้องตัดเงินนิตยภัตเข้ากองทุนทุกปี จะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง หลังจากคณะสงฆ์ตั้งความหวังกับกองทุนนี้มาอันยาวนาน สำหรับกองทุนวัดช่วยวัด เกิดขึ้นมาก่อน 2545 ก่อนที่จะเกิดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติด้วยซ้ำไป ดังเอกสารปรากฎหลักฐานว่า นายสุทธิวงศ์ ตันตยาพิศาลสุทธิ์ รองอธิบดีกรมการศาสนา รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ อ้างถึงมติมหาเถรสมาคมที่ 436/2545 กราบทูลให้สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก รับกองทุนวัดช่วยวัดไว้ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ซึ่งต่อมาพระองค์ก็รับกองทุนไว้ช่วยวัดไว้ในพระอุปถัมภ์ ต่อมาในปี 2546 คณะกรรมการช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติและอุบัติภัย (กองทุนวัดช่วย) ได้มีมติหลักการในการหาเงินเข้ากองทันไว้ ดังนี้ 1.ขอรับบริจาคนิตยภัตจากพระสังฆาธิการทุกระดับ 1 เดือน โดยกำหนดเดือนมกราคมของทุก ๆ ปี 2.จัดให้มีการแสดงธรรมเทศนาในวันอาสาฬหบูชาพร้อมกันทุกวัน ทั่วประเทศ เพื่อรวบรวมปัจจัยเข้ากองทุน 3.จัดงานทอดผ้าป่าที่ท้องสนามหลวงในวันวิสาขบูชา 4.ให้วัดทุกวันจัดทอดผ้าป่าเพื่อรวบรวมปัจจัยส่งเข้ากองทุน 5. ตั้งตู้รับบริจาคในวัดต่าง ๆ ตามที่เจ้าคณะภาคเห็นสมควร เช่น วัดพระปฐมเจดีย์ วัดโสธรวราราม เป็นต้น รายละเอียดังปรากฎตามเอกสารด้านล่างนี้ ต่อมาในปี 2561 มีการออกมติระเบียบมหาเถรสมาคมว่าด้วยกองทุนวัดช่วยวัด พ.ศ…. มีทั้งหมด 7 หมวด 23 ข้อ ลงนามเห็นชอบประกาศ เมื่อวันที่ 20 เดือนมกราคม 2562 โดยสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประธานกรรมการมหาเถรสมาคม รายละเอียดระเบียบกองทุนดังเอกสารแนบ ในการประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 3/2561 เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2561 เลขาธิการมหาเถรสมาคมเสนอว่า สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประธานที่ประชุม ทรงปรารภว่า การช่วยเหลือพระภิกษุสามเณรที่ประสบภัยธรรมชาติและอุบัติภัย “ไม่ทันต่อเหตุการณ์” เพราะไม่สามารถเบิกจ่ายเงินจากกองทุน “ทุนวัดช่วยวัด” ได้ เนื่องจากผู้มีอำนาจในการเบิกจ่ายเงินกองทุนเดิม คือ สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ ซึ่งปัจจุบันได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระสังฆราช และ พระพรหมเวที ได้รับการสถาปนาสมณศักดิ์ เป็น สมเด็จพระพุฒาจารย์ แล้ว จึงขอเปลี่ยนลายมือชื่อผู้มีอำนาจในการเบิกจ่ายเงินจาก สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ เป็น พระวิสุทธิวงศาจารย์ วัดปากน้ำ ประธานกรรมการ และจาก พระพรหมเวที เป็น พระพรหมมุนี วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม รองประธานกรรมการ ในคณะกรรมการช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติและอุบัติภัย เพื่อถวาย ความช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที และมีพระบัญชาให้นำเสนอมหาเถรสมาคมเพื่อโปรดพิจารณา ที่ ประชุมพิจารณาแล้วมีมติเห็นชอบ และให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจัดประชุมกรรมการช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติและอุบัติภัย และให้ดำเนินการได้ทันที โดยไม่ต้องรอรับรองรายงานการประชุม ดังเอกสารแนบ และต่อมามีการแต่งตั้งประธานกรรมการ และรองประธานกรรมการกองทุน พร้อมกับเปลี่ยนแปรงรายชื่อ “ผู้มีอำนาจลงนามเบิกจ่ายกองทุนวัดช่วยวัด” เพราะมีการเลื่อนสมณศักดิ์ ในการประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 22 /2562 เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2562เลขาธิการมหาเถรสมาคมเสนอว่า มติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2562 ที่ประชุมได้มีมติแต่งตั้งประธานกรรมการ และรองประธานกรรมการกองทุน “วัดช่วยวัด” ตามระเบียบมหาเถรสมาคม ว่าด้วยกองทุน “วัดช่วยวัด” พ.ศ. 2562 ข้อ 11 (2) ดังนี้ 1. พระวิสุทธิวงศาจารย์ กรรมการมหาเถรสมาคม วัดปากน้ำ กรุงเทพมหานคร เป็นประธานกรรมการ 2. พระพรหมมุนี กรรมการมหาเถรสมาคม วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร เป็นรองประธานกรรมการ เนื่องจากเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2562 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร-มหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดสถาปนาพระพรหมมุนี ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชาคณะ มีราชทินนามว่า สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เพื่อให้ชื่อสมณศักดิ์รองประธานกรรมการกองทุน “วัดช่วยวัด” พ.ศ. 2562 เป็นปัจจุบัน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจึงเห็นควรแก้ไขชื่อสมณศักดิ์ พระพรหมมุนี รองประธานกรรมการ เป็น สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเห็นควรนำเสนอมหาเถรสมาคมเพื่อโปรดทราบ ที่ประชุมรับทราบ ดังเอกสารแนบ สำหรับ ผู้มีอำนาจในการเบิกจ่าย ตามระเบียบมหาเถรสมาคมว่าด้วยกองทุนวัดช่วยวัด พ.ศ.2562 ข้อ 20 ระบุไว้ว่า ให้คณะกรรมการตามข้อ 11 (2) (กรรมการมหาเถรสมาคมที่มหาเถรสมาคมมีมติแต่งตั้ง เป็นประธานกรรมการและรองประธานกรรมการ) และ (4) (ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติในฐานะกรรมการเลขานุการกองทุน) เป็นผู้อนุมัติลงนามเบิกจ่ายจากบัญชีธนาคาร ตามข้อ 8( ข้อ 8 ให้เจ้าคณะภาครวบรวมเงินนิตยภัตที่ได้รับบริจาคจากพระสงฆ์ในเขตปกครอง ส่งเข้า บัญชีธนาคารกรุงไทย เลขที่ ๐๕๙-๑-๓๗๐๙๘-๐ ชื่อบัญชี “ทุนวัดช่วยวัด” สาขากระทรวงศึกษาธิการ ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี เสร็จแล้วแจ้งให้ประธานกองทุนเพื่อทราบ) โดยให้ลงนามร่วมกันสองในสามรูป/คน ลงนามเบิกจ่ายร่วมกันทุกครั้ง ภายใต้ความเห็นชอบของคณะกรรมการกองทุนวัดช่วยวัด ตามเอกสารแนบ คำถามที่คณะสงฆ์จะต้องหาคำตอบก็คือว่า ปัจจุบันกองทุนวัดช่วยวัด มีเงินอยู่จำนวนเท่าไร และเมื่อเกิดมหาอาพาธภัยขนาดนี้ทำไมคณะกรรมการกองทุนจึงให้ความช่วยเหลือแบบล่าช้าไม่ทันต่อเหตุการณ์ ดังพระดำริของสมเด็จพระสังฆราช ล่าสุดเมื่อวานนี้หลังจาก พระวิสุทธิวงศาจารย์ อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม วัดปากน้ำ กรุงเทพมหานคร ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานกรรมการกองทุนวัดช่วยวัด มรณภาพลง ที่ประชุมมหาเถรสมาคมได้มีมติให้ “สมเด็จพระมหาวีรวงศ์” ประธานฝ่ายสาธารณูปการ ของมหาเถรสมาคม ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานกรรมการแทน สำหรับกองทุนวัดช่วยวัด คณะสงฆ์ ส่งเสียงถามมานานว่า ปัจจุบันกองทุนวัดช่วยวัด มีเงินอยู่จำนวนเท่าไร และเมื่อเกิดมหาภัยดังการแพร่ระบาดของโควิด -19 นี้ กองทุนวัดช่วยวัด ได้เข้าไปมีบทบาทในด้านใดบ้าง คำถามที่น่าสงสัยต่อไปก็คือว่า เมื่อมติที่ประชุมมหาเถรสมาคมอบหมายให้ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ กรรมการมหาเถรสมาคม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นประธานคณกรรมการฝ่ายสาธารณะสงเคราะห์ ของมหาเถรสมาคม ที่มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบโดยตรงในการช่วยเหลือพระภิกษุสามเณรและวัดที่ประสบภัยธรรมชาติและอุบัติภัย อันหมายถึงโรคไวรัสโควิด -19 นี้ด้วย ไยจึงไม่ได้เข้ามามีบทบาทในกองทุนวัดช่วยวัดนี้ด้วย ทั้งหมดทั้งมวลคือโจทย์ที่คณะกรรมการกองทุนวัดช่วยวัด ต้องแก้และคณะสงฆ์ทั้งมวลต้องเข้ามามีส่วนร่วม.. จำนวนผู้ชม : 673 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author นักวิชาการแนะชาวพุทธไทย สร้างพระพุทธเจ้าพูดได้ เหมือนญี่ปุ่นสร้างเจ้าแม่กวนอิมเอไอ อุทัย มณี ก.พ. 27, 2019 วันที่ 27 ก.พ.2562 หลังจากเพจTheMATTERได้เผยแพร่ข่าวที่อ้างอิงจาก https://www.japantimes.co.jp/news/2019/02/23/business/tech/robotic-kannon-unveiled-kyoto-temple/#.XHNfDugzbIV… โปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งข้าราชการมหาดไทย “สุทธิพงษ์” ขึ้นแท่นเบอร์หนึ่งมหาดไทย อุทัย มณี ก.ย. 14, 2021 วันที่ 14 กันยาย 2564 มีคำประกาศจาก ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ… ด่วน!! 4 รมต.ลาออก อุทัย มณี ม.ค. 29, 2019 ด่วน!! 4 แกนนำ พปชร.ประกาศลาออกจากตำแหน่ง รมต.แล้ว เตรียมพร้อมสมัคร… ปลัด มท. นิมนต์พระสงฆ์ ลงพื้นที่ ตรวจเยี่ยม แปลงโคก หนอง นา จังหวัดอุดรธานี อุทัย มณี ธ.ค. 03, 2023 วันที่ 3 ธ.ค. 66 เวลา 08.30 น. ณ พื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่… คติธรรม “สมเด็จพระสังฆราช” เนื่องในวันวิสาขบูชา อุทัย มณี พ.ค. 22, 2024 วันที่ 22 พ.ค. 67 สำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช ได้เผยแผ่คติธรรมของ… เช็ครายชื่อ !! มติ มส. แต่งตั้งพระสังฆาธิการ อุทัย มณี พ.ค. 30, 2024 วันพฤหัสบดีที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๗ เมื่อเวลา ๑๔.๐๐ น. ณ ตำหนักเพ็ชร… หนุนภาครัฐดำเนินการจัดประโยชน์ที่ดินของวัดอย่างจริงจัง อุทัย มณี ม.ค. 15, 2020 วันที่ 15 มกราคม 2563 เวลา 14.30 น. นายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี… พุทธเวียดนาม (1) อุทัย มณี ม.ค. 24, 2022 วันที่ 24 ม.ค.64 พุทธเวียดนามตอน 1 เขียนโดย คุณนิติภูมิธณัฐ มิ่งรุจิราลัย… “วัดนิมมานรดี” แจ้งแม้ “เจ้าอาวาส” ลาออก แต่กิจกรรมวัดทุกอย่างปฎิบัติดังเดิม อุทัย มณี ส.ค. 31, 2024 วันที่ 31 สิงหาคม 2567 เพจ วัดนิมมานรดี พระอารามหลวง ประกาศ ความว่า … Related Articles From the same category เปิดประวัติพระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) วัดหลิงกวง วันที่ 23 พ.ย. 67 ทีมโฆษกกระทรวงวัฒนธรรม เปิดประวัติ พระเขี้ยวแก้ว… บารมีหลวงปู่ทวด! สาธุชนล้นหลามร่วมทำบุญทอดกฐินวัดวังไทรโคราช พุทธศาสนิกชน เป็นจำนวนมาก แห่ร่วมงานทำบุญทอดกฐินสามัคคี… “กมธ.ศาสนา” เรียกพศ.-นิมนต์เจ้าคณะภาค 1 แจง ปมพระ-เณรร่วมม็อบ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2563 ที่รัฐสภา นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช… อย่าเข้าใจผิด!! พระขับรถได้ มติมส..ยังไม่ชี้ชัด มีเพียงให้เจ้าหน้าที่ตำรวจบังคับใช้กฎหมายเหมือนฆราวาส ใน 2 -3 วันนี้มีการเผยแพร่ข้อความข่าวว่า "มติมหาเถรสมาคมอนุญาตให้พระขับรถได้ทุกชนิด… วันเข้าพรรษามุ่งหน้าศึกษาพุทธธรรม พระพุทธเจ้าออกแบบวันเข้าพรรษา ให้เป็นช่วงเวลาสำคัญ 3 เดือน…
Leave a Reply