เปิดประวัติ “เจ้าอาวาสรูปใหม่” วัดปรมัยยิกาวาส วรวิหาร วันที่ 4 เม.ย. 65 วันนี้เวลา17.09 น. ที่วัดปรมัยยิกาวาส วรวิหาร อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี มีกำหนดการรับพพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก แต่งตั้งเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ของ พระครูพิพิธเจติยาภิบาล โดยมี พระพรหมเวที เจ้าอาวาสพระปฐมเจดีย์ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานฝ่ายคฤหัสถ์ พร้อมเป็นผู้อ่านพระบัญชาแต่งตั้งเจ้าอาวาสพระรามหลวง พระภิกษุและพุทธศาสนิกชนหลายท่านสงสัยว่า “พระครูพิพิธเจติยาภิบาล” เป็นใครมาจากไหน เป็นคนไทยเชื้อสายรามัญหรือไม่ เกี่ยวข้องกับวัดวัดปรมัยยิกาวาส อย่างไร เพจ พระเถราจารย์รามัญวงศ์ พระเครื่องวงศ์รามัญ ได้นำประวัติของ พระครูพิพิธเจติยาภิบาล ไว้โดยสังเขปดังนี้ พระครูพิพิธเจติยาภิบาล มีนามเดิมว่า บัวทอง ศรีชื่นชม เป็นบุตรของ โยมพ่อแตงร้าน และโยมแม่เคี้ยม เกิดเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พุทธศักราช 2505 ณ บ้านบึงลาดสวาย ตำบลบางภาษี อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม พื้นเพของท่านเป็นชาวไทยเชื้อสายรามัญที่สืบมาแต่บรรพชน ในพื้นที่ที่เชื่อมกันระหว่างบางเลน ไทรน้อย ลาดบัวหลวง และลาดหลุมแก้ว เป็นชุมชนใหญ่ ที่เชื่อมต่อระหว่าง 4 จังหวัดเข้าด้วยกัน คือ นครปฐม นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา และปทุมธานี เรียกชุมชนนี้ว่า ชุมชนมอญกระทุ่มมืด กล่าวถึงชุมชนมอญกระทุ่มมืด ในรัชสมัย สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ราษฎรไปบุกเบิกป่ากระทุ่มมืดจับจองเป็นที่ทำนาทำสวน พระพุทธศักราช 2440 คราครั้งนั้น ได้มีคนไทยเชื้อสายมอญมาจากบ้านเกาะ บ้านบางปลา บ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร และจากอำเภอพระประแดง (เมืองนครเขื่อนขันธ์) จังหวัดสมุทรปราการมาจับจองพื้นที่ดินบริเวณป่ากระทุ่มมืด มีการขุดคลองขุนศรีเชื่อมคลองพระราชาพิมลที่ตำบลขุนศรี ซึ่งขณะนั้นขึ้นกับอำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม และคลองพระยาบันลือ ที่อำเภอลาดบัวหลวง หม่อมแช่ม กฤดากร ณ อยุธยา หม่อมในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์ เป็นสุภาพสตรีมอญบ้านวัดเกาะบางปลาจังหวัดสมุทรสาคร ได้บริจาคทรัพย์เพื่อขุดคลองเชื่อมคลองขุนศรีกับคลองที่ลำลาดสวาย เพื่อประโยชน์ในการทำนาของคนมอญที่มาจับจองที่ดินในป่ากระทุ่มมืด และเรียกชื่อ คลองที่ท่านขุดไว้ว่า คลองหม่อมแช่ม นอกจากนี้ยังมีการขุด คลองหนึ่งและคลองสองแยกจากคลองหม่อมแช่ม ฝั่งเหนืออีกด้วย คลองหม่อมแช่มแยกกับคลองขุนศรี ที่ตำบลขุนศรี (อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรีในปัจจุบัน) ไปทางตะวันตกที่ลำลาดสวาย ตำบลบางภาษี อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม เมื่อมีการขุดคลองดังกล่าว การทำนาจึงได้ผลดี ชาวไทยเชื้อสายมอญได้เข้ามาจับจองที่ดินเพื่อเป็นที่ทำกินมากขึ้นจนเกิดเป็นชุมชนใหญ่ในบริเวณคลองหม่อมแช่ม คลองหนึ่ง และคลองสอง ต่อมาได้มีครอบครัวชาวไทยเชื้อสายมอญบางส่วนจากริมฝั่งแม่น้ำ ทั้งจากนนทบุรีและปทุมธานี เช่น ชาวบ้านสามโคก ชาวบ้านบางหลวง ชาวบ้านบางเดื่อ ชาวบ้านน้ำวน ชาวบ้านบางพูน ชาวบ้านบางกระดี ชาวบ้านเกริน ชาวบ้านบางคูวัด ชาวบ้านบางตะไนย จังหวัดปทุมธานี ชาวบ้านตาล ชาวบ้านแหลม อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ได้อพยพเข้ามาจับจองที่ดินทางทิศตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา หรือที่รู้จักกันของคนในยุคนั้นว่า “ทุ่งตะวันตก” โดยชาวมอญที่ได้อพยพเข้ามาเป็นกลุ่มแรกๆ ได้จับจองที่ดินอาศัยอยู่ริมคลอง ที่ขุดใหม่ เชื่อมกับคลองบางหลวง เรียกกันว่า “คลองบางหลวงไหว้พระ” ตามชื่อของคลองบางหลวงเดิม และต่อมาชาวบ้านได้ร่วมกับทางราชการ ทำการขุดคลองขึ้นใหม่อีกหลายคลองเพื่อนำน้ำมาใช้ในการอุปโภคบริโภคตลอดทั้งใช้ในการเกษตร และการคมนาคม จึงเกิดเป็นชุมชนต่าง ๆ ขึ้นตามลำดับ สำหรับนามว่า “บัวทอง” นั้น ท่านเล่าว่า เดิมโยมบิดามีอาชีพค้าขายได้ล่องเรือมาทำการค้า ถึงบริเวณคลองบางบัวทอง เวลานั้น โยมมารดาก็ให้กำเนิดท่านพอดี จึงถือนิมิตหมาย สถานที่ที่ทำการค้า ไปเป็นชื่อของบุตรชายคนนี้ว่า “บัวทอง” เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ เมื่อท่านเจริญอายุเข้าสู่ปีที่ 22 ได้มีศรัทธาบรรพชาอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดบึงลาดสวาย ตำบลบางภาษี อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พุทธศักราช 2527 โดยมี พระสุเมธมุนี (ลำพวน ธมฺมธโร ป.ธ. 7) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูนิพัทธวิหารกิจ (สวงค์ ชาตวีโร) วัดบางขุนนนท์ กรุงเทพมหานคร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระมหาประจักษ์ ธมฺมสาโร ป.ธ. 7 วัดบางขุนนนท์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับสมณฉายาว่า ถาวโร แปลว่า “ผู้มีความยั่งยืน” กล่าวถึง ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ของท่านนั้น คือ พระสุเมธมุนี (ลำพวน ธมฺมธโร ป.ธ. 7) ในอดีต เคยอยู่จำพรรษา และดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง วัดปรมัยยิกาวาส วรวิหาร ก่อนจะขอ ย้ายกลับไปครองวัดบึงลาดสวาย อันเป็นถิ่นมาตุภูมิของท่าน อันว่าพระสุเมธมุนีรูปนี้ เป็นสัทธิวิหาริก ในพระเดชพระคุณ พระไตรสรณธัช (แสน โกลิโต) อดีตเจ้าอาวาส วัดปรมัยยิกาวาส วรวิหาร และ พระไตรสรณธัช รูปนี้ ก็เป็นสัทธิวิหาริก ใน พระเดชพระคุณ พระคุณวงษ์ (สน นาคสนฺโท) ปฐมเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ของวัดปรมัยยิกาวาส วรวิหาร อีกด้วย จึงกล่าวได้ว่า พระครูพิพิธเจติยาภิบาล เป็นผู้สืบเชื้อสาย ทางธรรม จากบูรพาจารย์วัดปรมัยยิกาวาส วรวิหารโดยแท้ การศึกษา หน้าที่ปกครอง และสมณศักดิ์ หลังจากที่ได้อุปสมบท และปฏิบัติหน้าที่อุปัชฌายวัตร เป็นเบื้องต้น และสำเร็จการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรมแล้ว ด้วยความจำเป็นที่จะต้องศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ท่านจึงย้ายมาจำพรรษาที่ วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร อันเป็นสำนักเรียน สำคัญ ของคณะสงฆ์ จังหวัดนครปฐม ท่านได้ตั้งใจศึกษา พระปริยัติธรรม จนสำเร็จนักธรรมชั้นเอก ในแผนกธรรม จากสำนักเรียนวัดบึงลาดสวาย เมื่อพุทธศักราช 2524 ตั้งแต่ครั้งเป็นสามเณร และสำเร็จเปรียญธรรม 5 ประโยค ในแผนกบาลี จากสำนักเรียนวัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร เมื่อพุทธศักราช 2536 ด้านวิชาสามัญ ท่านได้สำเร็จการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน เมื่อพุทธศักราช 2534 ท่านได้รับความไว้วางใจจากคณะสงฆ์ ให้ดำรงตำแหน่งสำคัญ ได้แก่ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่อพุทธศักราช 2545 เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร เมื่อพุทธศักราช 2546เป็นเจ้าคณะตำบลพระปฐมเจดีย์ เขต 1 เมื่อพุทธศักราช 2557 เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อพุทธศักราช 2558 และได้รับพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช อนุวัตตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดปรมัยยิกาวาส วรวิหาร พุทธศักราช 2565 ด้านสมณศักดิ์ ท่านได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดพระราชทานตั้งสมณศักดิ์ เป็นพระครูผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นเอก ในราชทินนามที่ พระครูพิพิธเจติยาภิบาล เมื่อพุทธศักราช 2547 ต่อมา ได้รับการเลื่อน เป็นพระครูผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นพิเศษ เมื่อพุทธศักราช 2553 และได้รับการปรับพัด เป็นเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นโท พุทธศักราช 2565 พระครูพิพิธเจติยาภิบาล จึงเป็นเจ้าอาวาสวัดปรมัยยิกาวาส วรวิหาร รูปปัจจุบัน ผู้สืบเชื้อสายทางธรรม จากบูรพาจารย์ของพระอารามแห่งนี้ นับเนื่อง ตั้งแต่การสถาปนาเป็นพระอารามหลวงจนถึงปัจจุบันเป็นรูปที่ 7 สำหรับ วัดปรมัยยิกาวาส [ปะ-ระ-ไม-ยิ-กา-วาด] เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร ตั้งในหมู่ที่ 7 บ้านโอ่งอ่าง ตำบลเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี วัดปรมัยยิกาวาสเป็นวัดโบราณ น่าจะสร้างหลังจากพระเจ้าท้ายสระโปรดให้ขุดคลอง เมื่อ พ.ศ. 2264 ชาวเรือเรียก วัดปากอ่าว จนปี พ.ศ. 2307 พม่าบุกยึดเมืองนนทบุรี กลายเป็นวัดร้างเมื่อปี พ.ศ. 2317 ชาวมอญที่อพยพมาในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ คนมอญเรียกว่า “เภี่ยมุเกี๊ยะเติ้ง” (มอญ: ဘာမုဟ်ဂဒုင် แปลว่า วัดแหลม [ที่ยื่นไปในน้ำ] ในปี พ.ศ. 2417 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทอดกฐินวัดมอญ 4 วัด ได้แก่ วัดปากอ่าว วัดรามัญ (วัดเกาะพญาเจ่ง) วัดบางพัง และวัดสนาม (สนามเหนือ) ต่อมาทรงเห็นว่าวัดปากอ่าวทรุดโทรมมาก จึงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดใหม่ทั้งวัดโดยรักษารูปแบบมอญไว้ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล สนองพระคุณพระเจ้าบรมมหัยยิกาเธอ กรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร ผู้ทรงอภิบาลพระองค์มาแต่ทรงพระเยาว์ และได้พระราชทานนามวัดว่า วัดปรมัยยิกาวาส ซึ่งมีความหมายว่า “วัดของพระบรมอัยยิกา” สิ่งสำคัญภายในวัดมีพระอุโบสถที่มีภาพจิตรกรรมฝาผนังแบบไทยประยุกต์ บานประตูหน้าต่างประดับ ลายปูนปั้นเขียนด้วยสี กำแพงแก้วรอบพระอุโบสถมีลวดลายที่สวยงาม เป็นกำแพงเหล็กอย่างดีทำมาจากยุโรป อีกทั้งด้านหลังพระอุโบสถมีพระเจดีย์รูปทรงแบบมอญซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่เจดีย์นี้ เมื่อปี พ.ศ. 2427 และใกล้กันนั้นมีพระวิหารซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ขนาดใหญ่เป็นที่สามในอำเภอปากเกร็ด ส่วนด้านหน้าพระวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหินอ่อน ซึ่งพระปฏิมากรซานซิวซูนทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมี “พระนนทมุนินท์” เป็นพระพุทธรูปปางขัดสมาธิเพชร หน้าตักกว้าง 1 เมตร สูง 1.65 เมตร หล่อด้วยโลหะ พระศาสนโสภณ (อ่อน) เจ้าคณะมณฑลกรุงเทพสร้างเป็นพระพุทธรูปประจำเมืองนนทบุรี พระยาราชสงครามเป็นผู้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ด้านใต้พระวิหารพระพุทธไสยาสน์ วัดปรมัยยิกาวาสวรวิหาร มีประเพณีของเมืองสืบมาว่า เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรีย้ายมาดำรงตำแหน่งใหม่ ได้จัดพิธีรับอย่างเป็นทางการพร้อมมีพิธีนมัสการพระพุทธรูปประจำเมืองนนทบุรีที่วัดแห่งนี้ สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นพระพุทธรูปประจำจังหวัดนนทบุรีประดิษฐานอยู่ในตู้กระจก ใต้พาไล ด้านหลังพระวิหารแห่งนี้ด้วย วัดมอญเก่าแก่แห่งนี้มีต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงามากมาย ทั้งยังมีม้านั่งสำหรับชมทัศนียภาพอันสวยงามริมเกาะ นับเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งของเกาะเกร็ด จำนวนผู้ชม : 1,591 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author เจ้าคุณสุทิตย์ เขียนถึง “ผู้ว่าชัชชาติกับศาสนา” อุทัย มณี ก.ย. 06, 2022 วันที่ 6 กันยายน 65 พระสุธีรัตนบัณฑิต,รศ.ดร.ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์… มหาเถรสมาคมส่งตัวแทนคณะสงฆ์ร่วมกับ ป.ป.ช.วางแผนสร้าง “สังคมที่ไม่ทนต่อทุจริต” อุทัย มณี พ.ค. 23, 2020 ในการประชุมมหาเถรสมาคมเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 63 ที่ผ่านมา… วัดสระเกศ ฯ แจง เรื่อง “ลานโพธิ์หน้าวัดสระเกศ” หลังถูกกลุ่ม NGO ทักท้วง! อุทัย มณี ส.ค. 02, 2023 วันที่ 2 สิงหาคม 2566 หลังจากเพจ “BIG Trees” ซึ่งเป็นกลุ่มอนุรักษ์ต้นไม้… ไทย-มาเลเซีย ประชุมร่วม RBC แก้ปัญหาประสานความสัมพันธ์ เพื่อความมั่นคง ไทย-มาเลเซียอย่างยั่งยืน อุทัย มณี เม.ย. 24, 2019 ▶️ วันนี้ เวลา 09.00 น. ณ โรงแรมป่าตองรีสอร์ท อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต คณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค… “พระฉันกัญชา” อาบัติหรือไม่..?? อุทัย มณี มิ.ย. 25, 2022 เขียน โดย : พระมหาสมัย จินฺตโฆสโก การ “ปลูก” หรือ “เสพ”... กัญชา… ประธานพระธรรมทูตยุโรป “ธรรมสัญจร” เยี่ยม 7 วัดในสแกนดิเนเวีย ชื่นชมบทบาท “ธรรมทูตคฤหัสถ์” อุทัย มณี ก.ค. 16, 2024 วันที่ 16 ก.ค. 67 ระหว่างวันที่ 12-14 กรกฎาคม 2567 ตามมติที่ประชุม ส.ธ.ย.… สงฆ์เตือนสงฆ์ : ระวังถูกมิจฉาชีพหลอก!! อุทัย มณี ม.ค. 16, 2021 วันนี้ (16 ม.ค.64) เฟชบุ๊ค พระราชธรรมกวี เจ้าอาวาสวัดสัมมาชัญญาวาส… คืน“สมณศักดิ์” อุทัย มณี มี.ค. 04, 2024 “เปรียญสิบ” เป็นคนหนึ่งที่ติดตาม “คดีเงินทอนวัด” ตั้งแต่ตำรวจกองปราบบุกจับ… “หลวงปู่พัฒน์” มอบเงิน 2 ล้านบาท สร้างศูนย์ปฏิบัติการต้านทุจริตตำรวจ ปปป. อุทัย มณี มี.ค. 11, 2023 วันที่ 11 มีนาคม 2566 ที่ศาลาการเปรียญ วัดธารทหาร หรือ วัดห้วยด้วน… Related Articles From the same category ความขัดแย้ง “วัดบางคลาน” พิสูจน์ฝีมือ “รัฐมนตรี” จากพรรคเพื่อไทย?? “ผู้เขียน” ฟังคำสัมภาษณ์ “คุณพวงเพ็ชร ชุนละเอียด” หรือที่รู้จักกันในชื่อเล่นว่า… “โคก หนอง นา พช.” เดินหน้า สร้างความมั่นคง วิถีชุมชน คนอยู่ร่วมกับป่า วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 นางสาวญาดาภา หอมหวล พัฒนาการอำเภอสิรินธร… อัศจรรย์! กฎ 10 ข้อ เมื่อเราลงมือปฏิบัติ สามารถสัมผัสกับความสุขได้ทันที วันพุธที่ 1 กันยายน 2564 พระมหาณัฐพงษ์ ฐิตปญฺโญ,ดร. ประธานกองทุนบุญนิธิธรรมจารี… องค์กรพุทธ “ฮึ่ม” ใส่พรรคก้าวไกล เจ้าคุณประสาร “เบรก” เย็นไว้โยม!! วันที่ 4 มิ.ย. 66 หลังจากนักการเมืองจากพรรคก้าวไกล นางอมรัตน์… วิทยาลัยพุทธนานาชาติ “มจร” ระดมมืออาชีพ ทำแผนไขข้อสงสัยวัยโจ๋ทำไมต้องเรียนพุทธ วิทยาลัยพุทธนานาชาติ "มจร" ระดมมืออาชีพทำแผนมุ่งตอบโจทย์ชุมชนและสังคมโลก…
Leave a Reply