เรื่องเล่าชาว โคก หนอง นา แห่งเมือง “ร้อยเกาะ เงาะอร่อย หอยใหญ่ ไข่แดง แหล่งธรรมะ” การเดินทางของ “ทีมข่าวพิเศษ” เพื่อไปดูพื้นที่จริงในการทำโคก หนอง นา ของประชาชน ภายใต้การสนับสนุนของกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ในรอบเกือบ 2 ปีมานี้เดินทางไปแล้วทั่วประเทศไม่น้อยกว่า 40 จังหวัด ปัจจุบันมีคนรุ่นใหม่ที่เบื่อหน่ายระบบ “ทุนนิยม” มีจำนวนมาก หันมาทำเศรษฐกิจพอเพียงแบบพึ่งพาตนเอง และเด็กเหล่านี้จำนวนมากจบการศึกษามีความรู้ ความคิด ทั้งด้านการตลาดและทันต่อโลก สามารถที่จะต่อยอดผลผลิตที่เกิดจากผืนดินนำมาสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ให้กับครอบครัวและตนเองได้ บางแปลงเป็นศูนย์เรียนรู้ บางแปลงทำเป็นศูนย์วิสาหกิจชุมชน เป็นศูนย์รวมพืชผักปลอดสารพิษ เสมือนตลาดสดย่อม ๆ ของชุมชน ที่ผู้บริโภคและผู้ค้าคนกลางวิ่งเข้ามาหาเอง “ทีมข่าวพิเศษ” เคยเดินทางมาดูแปลงโคก หนอง นา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ครั้งหนึ่งแล้ว เมื่อปีที่แล้วมา ตอนนั้นเพิ่งขุดบ่อใหม่ ๆ บางแปลงยังไม่มีการปลูกต้นไม้หรือเอามื้อสามัคคีอะไรเลย แต่ทุกแปลงที่เข้าไปคุยทุกคนมีความตั้งใจที่ต้องการใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งบางรายเป็นข้าราชการหารายได้พิเศษจากโคก หนอง นา บางรายทำมาก่อนอยู่แล้ว เมื่อโครงการโคก หนอง นา เข้ามาก็คือ “ต่อยอด” นำความมั่งคั่งมาสู่ตนเองและชุมชน หรือบางรายเป็นพนักงานบริษัท มีที่ดินยามว่างหารายได้เสริมมาทำ “โคก หนอง นา” แบบนี้ก็เยอะ สำหรับการเดินทางเพื่อไปดูพื้นที่จริงและไปพูดคุยกับชาวบ้านที่ทำโคก หนอง นา รอบนี้ ส่วนใหญ่ทุกแปลงอยู่ในขั้น “ก้าวหน้า” คือ มีผลผลิตออกสู่ตลาด รวมตัวกันทำ วิสาหกิจชุมชนแล้ว ทุกครัวเรือนหากไม่มีหนี้ก้อนโต อยู่ด้วยระบบ 4 พ. คือ พออยู่ พอกิน พอใช้ และพอร่มเย็น เท่าที่พูดคุยและสำรวจทุกแปลงที่กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย สนับสนุนน่าจะ “มั่นคง” แล้ว เช่นเดียวกับแปลงของ “พี่น้อย” อนันต์ เจริญมี บ้านท่านาง ต.เขาหัวควาย อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี ที่เล่าย้อนหลังชีวิตก่อนที่จะมาทำแปลง โคก หนอง นา ว่า เมื่อปี 2553 -2554 ทำกล้ายางพาราขาย ยุคนั้นยางพาราราคาดี ตั้งราคาไว้ต้นละ 30 บาท ปี 2563 ประมาณเดือนตุลาคม มีนายทุนรายหนึ่งต้องการจำนวนมาก มาจองให้ทำกล้าพันธุ์ยางพาราไว้ ซึ่งตกลงราคากันไว้ว่า 1,700,000 บาท และวางมัดจำ 500,000 บาท ต่อมาใน เดือนเมษายน 2554 เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมทำให้กล้ายางตายหมดเลย จึงเกิดหนี้สิน ที่ ธ.ก.ส. ประมาณ 1 ล้าน และหนี้การผ่อนรถยนต์ เดือนละ 11,000 บาท ตอนนั้นรับจ้างกรีดยางทั้ง 2 คน ร่วมกับภรรยา ได้วันละ 700-800 บาท แบ่งกับเจ้าของสวน 60% – 40% จนสามารถผ่อนรถยนต์หมด และได้ตัดสินใจเปลี่ยนอาชีพ เปลี่ยนชีวิตตัวเอง คือ ก่อนที่จะมากรีดยาง ได้เป็นอาสาสมัครของหมู่บ้าน และมีโอกาสเข้าร่วมการประชุมที่มีวิทยากรมาพูดเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงเป็นประจำ แต่เราก็ไม่ได้ลงมือทำ แต่เมื่อเกิดวิกฤติจึงคิดหาทางออก เริ่มแรกเลย คือวางแผนกับครอบครัวว่า จะทำอย่างไรให้ครอบครัว “ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้” เกิดความคิดที่นำล้อยางมาเพื่อปลูกพืชผักสวนครัว เริ่มจากปลูกตะไคร้ ขมิ้น ก่อนหน้านี้กินทุกอย่างที่ซื้อ ซื้อทุกอย่างที่กิน ตอนนี้ก็เปลี่ยนมาปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก เมื่อสามารถลดรายจ่ายในเรื่องการซื้ออาหารลงได้ จึงสามารถชำระหนี้ ธ.ก.ส. ได้ หลังจากนั้นเมื่อปี 2562 ได้ตัดสินใจขอแบ่งพื้นที่จากน้องสาวจำนวน 3 ไร่ 3 งาน และได้โค่นยางพารา เพื่อทำเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวทฤษฎี 9 ขั้นของในหลวงรัชกาลที่ 9 ชีวิตจึงดีขึ้น คือ รายได้จากตัดยางหรือกรีดยางนำไปใช้หนี้ ธ.ก.ส. ส่วนรายได้จากการขายผักของแปลงโคก หนอง นา สามารถนำไปขายมีรายได้ทุกวัน วันละ 300-400 บาท เป็นเงินเก็บ เป็นค่าใช้จ่าย และส่วนหนึ่งจากการนำกล้วยมาแปรรูปเป็นกล้วยกรอบแก้ว ทองม้วนไข่เข็ม ต่อยอดเป็นสินค้า OTOP เป็นวิสาหกิจชุมชน “ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้เข้ามาช่วยตั้งวิสาหกิจชุมชน ตอนนี้มีสมาชิก 11 ครัวเรือน ทำกล้วยกรอบ ทำทองม้วนไข่เข็ม นำผลผลิตไปขาย มีพ่อค้ามารับที่บ้าน และทำกล้วยกรอบแก้วส่งขายทั่วประเทศ เป็นสินค้าที่ขายดี ทางพัฒนาการชุมชนจังหวัดท่านก็เปิดโอกาสให้ไปขายของตลาดนัดประชารัฐ ก็พอมีรายได้บ้าง..” “ พี่น้อย” หรือ อนันต์ เจริญมี เดินไปพลางคุยไปพลางพร้อมกับพาชมแปลงโคก หนอง นา ซึ่งตอนนี้กำลังมีผลผลิตออกมาแล้วหลายอย่าง ในขณะเดียวกันก็มี “ภาคีเครือข่าย” ทั้ง กฟผ.-ประมง ในพื้นที่เดินทางมาสมทบร่วมพูดคุย ซึ่งพี่น้อยบอกว่า ภาคีเครือข่ายเหล่านี้เหมือน พี่เลี้ยงและครูพาทำ ให้เขายืนหยัดและมีอยู่ดังทุกวันนี้ “การทำโคก หนอง นา นี้ ภาคีเครือข่ายมีความสำคัญมาก แปลงโคก หนอง นา ที่เรายืนอยู่นี้หากไม่มีภาคีเครือข่ายไม่ว่าจะเป็น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ประมง สำนักงานเกษตร กศน.อำเภอพุนพิน ที่ขาดไม่ได้เลยคือ ชุมชนและชาวบ้าน เราก็ไปต่อไม่ได้ แม้กรมพัฒนาชุมชน จะมาขุดบ่อ มาช่วยเราทำ มาเพิ่มผลผลิตให้เรา แต่ภาคีเครือข่ายหรือพรรคพวกนี้สำคัญมาก ที่จะมาร่วมกันผลักดันผลผลิตที่เรามีอยู่ หรือมาเติมเต็มสิ่งที่เราไม่มีให้ครบ..” ภายในแปลงโคกหนองนา ขนาด 3 ไร่ นอกจากในน้ำ มีปลา มีผักหลากหลายชนิดแล้ว ยังมีแปลง “ถั่วสีม่วง สิรินธร” ด้วย ซึ่งหน่วยงานทหารเอามาแจกจ่ายให้กับประชาชนในพื้นที่บรรจุอยู่ในซองสีน้ำเงินชื่อว่า “เมล็ดพันธุ์ถั่วสีม่วง สิรินธร เมล็ดพันธุ์เพื่อนช่วยเพื่อน” ซึ่งพี่น้อยบอกว่าแรงบันดาลใจจากตรงนี้ อนาคตเขาและเพื่อน ๆ ในโครงการโคก หนอง นา และภาคีเครือข่ายมีโครงการจัดตั้ง “ธนาคารเมล็ดพันธุ์พืช” ด้วย ตรงนี้คนในสังคมเมืองอาจไม่รู้ว่า ปัจจุบันเมล็ดพันธุ์ที่บรรจุอยู่ในซองวางขายอยู่ตามร้านต่าง ๆ ที่ผลิตและจำหน่ายโดยบริษัทยักษ์ใหญ่นั้น ถูกตัดตอนพันธุกรรมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว บางพันธุ์ที่บรรจุอยู่ในซองหากเราซื้อไปเก็บไว้เกิน 7-8 เดือนนำไปปลูกก็หมดอายุแล้ว หรือที่ซ้ำร้ายไปกว่านั้น เมื่อเราซื่อเมล็ดพันธุ์ไปปลูกเห็นว่าสวยงามผลผลิตดี มีความประสงค์จะเก็บไว้ทำพันธุ์ ก็ไม่สามารถทำได้ ไม่เหมือนยุคของปู่ย่าตายายของเรา หากแปลงไหนมีผลผลิตดีงดงามแล้ว เลือกเก็บผลผลิตทำพันธุ์เพื่อปลูกในฤดูกาลหน้าได้.. “พิชัย มณีลาภ” ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมชุมชนมาเป็น “ไกด์กิตติมศักดิ์” เช่นเดิม บอกกับเราว่า การขับเคลื่อน โคก หนอง นา ของพัฒนาการจังหวัดสุราษฎร์ธานีตั้งแต่ปี 2564 มีทั้งหมด 353 แปลงในพื้นที่ 18 อำเภอ ยกเว้นอำเภอเกาะสมุย “ การทำงานเราทำร่วมกับ 7 ภาคีเครือข่าย ทั้ง รัฐ องค์กรศาสนา นักวิชาการ เอกชน ประชาสังคม ประชาชนและสื่อมวลชน หลายแปลงตอนนี้เราพัฒนาผลิตผลและผลิตภัณฑ์กันบ้างแล้ว หลายแปลงจำหน่ายแล้ว อย่างแปลงของคุณน้อยนี้ นอกจากทำโคก หนอง นา แล้ว ก็มีวิสาหกิจชุมชนด้วย ตรงนี้กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทยก็มาช่วยแนะนำต่อยอด พร้อมกับทั้งหาตลาดให้ ซึ่งเราคาดว่าจังหวัดสุราษฎร์ธานีในอนาคตจะต้องมีพื้นที่ต้นแบบสำหรับเป็นแหล่งเรียนรู้แปลงโคก หนอง นา แบบมีชีวิต อย่างน้อยร้อยละ 60 มีแปลงโคก หนอง นา เป็นแหล่งรวบรวมผลผลิตและจำหน่าย เสมือนเขตเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอละ 1 แห่ง รวมทั้งตรงนี้เราจะเกื้อกูลและจับมือกับองค์กรศาสนาอย่างวัด เพื่อเป็นวัดต้นแบบอำเภอละ 1 วัด ในการให้พลังบวร ขับเคลื่อนโคก หนอง นา ด้วย ทั้งหมดทั้งมวลนี้ก็เพื่อส่วนหนึ่งไปตอบโจทย์แก้ปัญหาความยากจนอันนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน ของประชาชน ตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทยนั่นเอง..” “จังหวัดสุราษฎร์ธานี” ตั้งอยู่ในฝั่งตะวันออกของภาคใต้ โดยมีสภาพภูมิประเทศที่หลากหลายทั้งที่ราบสูง ภูมิประเทศแบบภูเขา รวมทั้งที่ราบชายฝั่ง มีพื้นที่ครอบคลุมถึงในบริเวณอ่าวไทยทั้งบริเวณที่เป็นทะเล และเป็นเกาะ เกาะในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีมากถึง 98 เกาะ นับว่ามากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของประเทศ รองมาจากจังหวัดพังงาที่มี 155 เกาะ และจังหวัดภูเก็ตที่มี 154 เกาะ แบ่งการปกครองส่วนภูมิภาคออกเป็น 19 อำเภอ 131 ตำบล 1,074 หมู่บ้าน ปัจจุบันคำขวัญประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี แสดงถึงทรัพยากรท้องถิ่น ทำนองเดียวกันว่า “เมืองร้อยเกาะ เงาะอร่อย หอยใหญ่ ไข่แดง แหล่งธรรมะ” ประชากรในจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยส่วนมากจะประกอบอาชีพทางการเกษตร เช่น ทำนา ทำสวน ทำไร่ โดยใช้ที่ดินเพื่อทำการเพาะปลูกประมาณ 45% ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว เงาะ ทุเรียน และกาแฟ นอกจากนั้น ยังมีการเลี้ยงปศุสัตว์และการทำประมง โดยปศุสัตว์ที่มีมูลค่าผลผลิตมากที่สุด คือ โค สุกร และกระบือ ตามลำดับ ภารกิจเดินทางไปสำรวจแปลงโคก หนอง นา ของกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทยตลอด 1สัปดาห์เต็ม ๆ เริ่มต้นจากจังหวัดยะลา กระบี่ และสุราษฎร์ธานี ทำให้รู้ว่าโคก หนอง นา มิได้มีเพียงแค่ผักและอาหารที่สมบูรณ์เท่านั้น สิ่งหนึ่งที่เกิดจากแปลงโคก หนอง นา คือ เหมือนกับสังคมไทยกำลังหวนกลับไปหารากเหง้าอันเป็นคุณค่าของวัฒนธรรมไทยเดิม คือ พลังแห่งความสามัคคี พลังแห่งการเกื้อกูล การแบ่งปัน และพลังที่เกิดจากการรวมตัวของประชาชนจากโคก หนอง นา ซึ่งเป็นวัฒนธรรมชุมชนดั่งเดิมของประเทศไทยเราหวนกลับมาสู่ ชุมชน สังคม และประเทศไทยอีกครั้ง ฉะนั้นจึงไม่แปลกใจว่าทำไม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มีการฝึกโครงการพระราชทาน โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง ในเรือนจำ แล้วกระจายไปสู่ชุมชนหมู่บ้านทั่วประเทศ และทั้งไม่แปลกใจว่าทำไมพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึง ใช้คำว่า “อารยะเกษตร” เพราะโคก หนอง นา คือ การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ อันเป็นหัวใจหลักเชื่อมโยงในทุกภารกิจ เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals หรือ SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ (UN) และสนองนโยบายสำคัญของรัฐบาล ในการแก้ไขปัญหาความยากจนและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวไทยให้อยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานของความสมดุลพอดีและความพอประมาณอย่างมีเหตุผล ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยเชื่อมั่นว่า ปัญหาความยากจนเป็นเรื่องที่สามารถร่วมกันแก้ไขได้ และคำว่า “อารยะเกษตร” นี่มิใช่เพื่อความอยู่ดีกินดีสำหรับประชาชนคนไทยเท่านั้น สำหรับมวลมนุษยชาติในโลกใบนี้ด้วย!! จำนวนผู้ชม : 609 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author “วัดสระเกศ” ประชุมเตรียมพร้อมรับเสด็จ “ในหลวง – ราชินี” เนื่องในโอกาสฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 240 ปี อุทัย มณี เม.ย. 07, 2022 วันที่ 7 เม.ย. 65 เมื่อวันอังคาร ที่ 5 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา เวลา… เตือนภัย !! หน้ามหาจุฬา ฯ เกิดอุบัติเหตุบ่อย ไร้คนแก้ อุทัย มณี ธ.ค. 08, 2020 เมื่อช่วงบ่ายวันนี้ (8 ธันวาคม 63) เกิดเหตุรถชนระหว่างรถกระบะสองคันและรถแท็กซี่สีส้ม… ปลัดมท.ระดมความคิดเดินหน้า “พัฒนาบึงสีไฟ” จังหวัดพิจิตร อุทัย มณี มิ.ย. 12, 2024 วันนี้ (12 มิ.ย. 67) เวลา 13.30 น. ที่ห้องประชุม War room ชั้น 2 อาคารศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย… มิติใหม่ !! ปลัดมหาดไทย นิมนต์พระภิกษุเข้าร่วมมอบนโยบาย “กรมการพัฒนาชุมชน” เน้น 4 ข้อ มุ่งขับเคลื่อนงาน “สร้างศรัทธาที่เดินได้” Change for Good อุทัย มณี พ.ย. 23, 2021 วันนี้ (23 พ.ย. 64) เวลา 13:30 น. นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย… เบื้องหลังภาพงานประสาทปริญญา “มจร” อุทัย มณี พ.ย. 29, 2024 ช่วงนี้หากใครเดินทางผ่านไปมาหรือมีภารกิจที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย… วธ.ฟิตปี 66 ชูธง Restart ประเทศไทยขับเคลื่อนสังคมและเศรษฐกิจด้วยวัฒนธรรม เร่งพลิกฟื้นเศรษฐกิจและสังคมสู่ความมั่นคงและยั่งยืน อุทัย มณี ต.ค. 02, 2022 วันที่ 2 ตุลาคม 2565 นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม… ภาพประวัติศสตร์หลวงพ่อคูณบริจาคสรีรสังขารม.ขอนแก่น อุทัย มณี ม.ค. 20, 2019 ภาพประวัติศสตร์หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ ในวันบริจาคศพให้คณะแพทย์มหาวิทยาลัยขอนแก่น… ‘ผู้บริหาร มจร’หารือรองปธ.ศูนย์กลางแนวลาวสร้างชาติ ยกระดับการศึกษาคณะสงฆ์และฝ่ายบ้านเมือง อุทัย มณี ก.ค. 31, 2019 วันที่ 31 ก.ค.2562 ที่ศูนย์กลางแนวลาวสร้างชาติ นครหลวงเวียงจันทน์… พระสงฆ์ร้อยเอ็ดเยี่ยมวัดพระครูโชติรัตนานุรักษ์ อุทัย มณี มี.ค. 02, 2019 วันที่ 2 มี.ค.2562 เพจ พระครูวิมลปัญญาคุณ ศรีแสงธรรม ได้โพสต์ข้อความว่า… Related Articles From the same category 2 บัณฑิตศิษย์เก่าโรงเรียนเสียดายแดด กราบ “พระปัญญาวชิรโมลี” หลังรับปริญญา เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2565 เฟซบุ๊ก "พระปัญญาวชิรโมลี นพพร" เจ้าอาวาสวัดป่าศรีแสงธรรม… “สำนักพุทธ” แจง “จนท.พศ.” ไม่เกี่ยวข้อง กรณีมีข่าว “พระเชียงราย” เล่นพนัน-ดื่มเหล้า จนท.พศ.ร่วมแจม วันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ แจง กรณีดังกล่าวสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ… เจ้าคุณประสารปลีกวิเวกปฏิบัติธรรมต่างจังหวัด วันที่ 14 ส.ค.2562 เพจพระเมธีธรรมาจารย์ - เจ้าคุณประสาร ได้โพสต์ข้อความว่า… สมเด็จพระมหาธีราจารย์ลงเรือโปรดพระ- ญาติโยมเมืองอุบลฯประสบภัยน้ำท่วม สมเด็จพระมหาธีราจารย์ ประธานฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ ของมหาเถรสมาคม… มหาเถรสมาคมส่งตัวแทนคณะสงฆ์ร่วมกับ ป.ป.ช.วางแผนสร้าง “สังคมที่ไม่ทนต่อทุจริต” ในการประชุมมหาเถรสมาคมเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 63 ที่ผ่านมา…
Leave a Reply