เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2566 เวลา 13.00 น.ณ วัดสำโรง บ้านสำโรง หมู่ที่ 3 ตำบลพรหมสวัสดิ์ อำเภอพยุห์ จังหวัดศรีสะเกษ นายสำรวย เกษกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ได้เดินทางไปเป็นประธานฝ่ายฆราวาส ในการถวายการต้อนรับคณะกรรมการตรวจเยี่ยมและติดตามการดำเนินโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล 5” (ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 เพื่อพิจารณาคัดเลือกหมู่บ้านรักษาศีล 5 (ต้นแบบระดับจังหวัด) จังหวัดศรีสะเกษ คือ บ้านสำโรง (วัดสำโรง) หมู่ 3 ตำบลพรหมสวัสดิ์ อำเภอพยุห์ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งได้รับความเมตตาจาก พระธรรมวชิรโสภณ ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 10 เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พร้อมด้วย พระเถระคณะกรรมการฯ และคณะสงฆ์ร่วมในกิจกรรม
โดยมี พระครูสิริปริยัติการ พระครูศรีรัตนาภิรักษ์ รองเจ้าคณะจังหวัด พระครูจันทสารพิมล เจ้าคณะอำเภอพยุห์ เจ้าอาวาสวัดสำโรง ดร.วิลดา อินฉัตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรศรีสะเกษ เขต 7 นางสุนีย์ อินฉัตร อดีตสมาชิกวุฒิสภา ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด นายทิวา รุ้งแก้ว นายกพุทธสมาคมจังหวัด ผู้แทนวัฒนธรรมจังหวัด นายอำเภอพยุห์ หัวหน้าส่วนราชการอำเภอพยุห์ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรรมการ/สมาชิกเหล่ากาชาด สมาชิกชมรมแม่บ้านมหาดไทย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ปราชญ์ชาวบ้าน นักเรียน และประชาชนชาวอำเภอพยุห์ ร่วมในกิจกรรม
โดยการสนับสนุนส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนร่วมดำเนินกิจกรรมสนับสนุนให้เป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม เพื่อสร้างสังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน ตามแนวทางของพระพุทธศาสนาโดยให้ประชาชนดำรงตนยึดมั่นและปฏิบัติตามหลักศีล 5 ในทุกพื้นที่ของจังหวัดอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน มีนักเรียน สถานศึกษา หน่วยงานราชการ และประชาชน ร่วมกิจกรรมเข้าวัดปฏิบัติธรรมในวันธรรมสวนะ กิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา โดยใช้นำหลักธรรมเพื่อการพัฒนาองค์กรและการพัฒนาตน โดยมีวัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน และพระสงฆ์เป็นผู้นำในการอบรมคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่ เด็กเยาวชน และพระพุทธศาสนิกชน โดยใช้หลักการมีส่วนร่วมพลังบวร (บ้าน วัด โรงเรียน) เป็นตัวเชื่อมในการเกื้อหนุนระหว่างวัดและชุมชนให้มีความสุขอย่างยั่งยืน
โครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล 5” ได้มีการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนผ่านกระบวนการพัฒนาวิถีวัฒนธรรมเชิงพุทธใน 8 ด้าน ได้แก่ ด้านศีลธรรมและวัฒนธรรม สุขภาพอนามัย สัมมาชีพ สันติสุข ศึกษาสงเคราะห์ สาธารณสงเคราะห์ กตัญญูกตเวทิตาธรรม และสามัคคีธรรม โดยความร่วมมือของ คณะสงฆ์ ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนในพื้นที่ ปัจจุบันจังหวัดศรีสะเกษ มีหมู่บ้านต้นแบบจำนวน 264 หมู่บ้าน และมีผู้ร่วมโครงการคิดเป็นร้อยละ 85 % ของประชาชนทั้งหมด นอกจากนี้จังหวัดศรีสะเกษ ยังดำเนินการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนสู่เป้าหมายการพัฒนาจังหวัด 20 ปี “เมืองน่าอยู่ พหุวัฒนธรรม เกษตรกรรมปลอดภัยก้าวหน้า กีฬาและท่องเที่ยว เชิงสร้างสรรค์ วิถีชีวิตสงบสุข เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” บูรณาการผสานการขับเคลื่อนและสร้างกลไกในการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย น้อมนำหลักการทรงงาน เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาปรับใช้เพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้กับประชาชนครอบคลุมในทุกมิติ มีรายได้เพิ่มหลุดพ้นจากความยากจน และลดความเหลื่อมล้ำ
Leave a Reply