“สมเด็จพระมหาธีราจารย์” เจริญศาสนสัมพันธ์ไทย – ญี่ปุ่น : จารึกประวัติศาสตร์สองแผ่นดิน •

 วันที่ ๗ พ.ค. ๖๖ เฟชบุ๊ค พระมหาวีรพล ธรรมะอารมณ์ดี หรือ “พระสุธีวชิรปฏิภาณ” เปิดเผยว่า สมเด็จพระมหาธีราจารย์ กรรมการมหาเถรสมาคม, เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม, ประธานกรรมการอบรมประชาชนกลาง (อ.ป.ก.) ในฐานะประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ และคณะ เดินทางมาเจริญศาสนสัมพันธ์ ณ วัดนิตไตจิ เมืองนาโงย่า ประเทศญี่ปุ่น โดยมีท่านมูราคามิ เอนริว SOUJOU SAMA 僧正様 MURAKAMI ENRYU 村上圓竜 ประธานกรรมการบริหารองค์กรศาสนาวัดนิตไตจิ DAIHYOU YAKU IN  代表役員 พร้อมคณะ ถวายการต้อนรับปฏิสันถารด้วยกัลยาณธรรม

 (วัดนิตไตจิ/覚王山日泰寺) หรือ Kakuozan Nittaiji (นิกไทยจิ) สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๔๗ ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๕ วัดนี้ถือเป็นศูนย์รวมของทุกนิกายในญี่ปุ่นเป็นวัดแรกและวัดเดียว จะมีการหมุนเวียนเข้ามาดูแลวัดของแต่ละนิกาย และ Unseen in japan  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โปรดพระราชทานพระบรมสารีริกธาตุ พระพุทธรูปโบราณ และพระราชทรัพย์เพื่อสมทบทุนสร้างวัดนี้ด้วย ให้เพื่อเป็นมิ่งขวัญแก่พุทธบริษัทในญี่ปุ่นและนานาชาติ ในปี พ.ศ.๒๔๔

 หลังจากได้รับพระราชทานพระบรมสารีริกธาตุ หลังจากกลับมาจากสยามประเทศแล้ว คณะสมณทูตได้ปรึกษาหารือสร้างวัดขึ้นใหม่ เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุขึ้นในเมืองนาโงย่า และตั้งชื่อวัดนี้ว่า ‘Nittaiji’ ซึ่งคำว่า ‘Ni’ มาจากคำว่า Nihon (Japan) ‘TAi’ มาจาก คำว่า Thailand และ ‘Ji’ แปลว่า Temple หรือวัด (เดิมจึงชื่อวัดนิตเซนจิเพราะสมัยนั้นประเทศเราชื่อสยาม) ซึ่งในฝั่ง houantou reidou คือที่ตั้งของสถูปหินแกรนิตสูงกว่า ๑๕ เมตร ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุไว้ภายใน

 เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๖ เมื่อครั้งเสด็จฯ เยือนวัดนิตไตจิ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จฯเยือนวัดนิตไทจิ ได้สักการะบรมสารีริกธาตุ และทรงปลูกต้นไม้เป็นบุญญานุสรณ์ บริเวณหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๐ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร (ในขณะนั้น) เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ ๕

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โปรดพระราชทานถวายพระพุทธศากยมุนี ประดิษฐานเป็นพระประธานภายในอุโบสถล พร้อมทั้งพระราชทานป้ายจารึกพระนาม “พระพุทธศากยมุนี” โดยพระปรมาภิไธยย่อ จปร. และ ภปร. บนป้ายจารึก ในปี พ.ศ.๒๕๓๒

รูปแบบสถาปัตยกรรมของวัดจะเป็นแบบร่วมสมัย แม้ว่าภายนอกของ อาคารต่างๆ เป็นศิลปะสไตล์ญี่ปุ่น ทว่าภายในอาคารมีการผสานความเป็นไทย ยังมีหอระฆังขนาดใหญ่ใช้พระปรมาภิไธยย่อ จปร. และ ภปร. และคำว่าพระพุทธศากยมุนี สลักไว้เช่นเดียวกัน

ในวันที่ ๒๓ ตุลาคม ของทุกปี จะมีการจัดงานวันปิยมหาราช เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล และประกาศพระเกียรติคุณให้ปรากฏแก่อนุชน

นับเป็นวัดญี่ปุ่นที่งดงามด้วยการผสมผสานรูปแบบทางศาสนาที่แตกต่าง อีกทั้งเป็นเป็นเหมือนจารึก บอกเล่าเรื่องราวความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นยาวนานระหว่างไทยญี่ปุ่นที่มีมานานกว่า ๑๕๐ ปี วัดนิตไตจิ จึงเป็นสัญลักษณ์ความสัมพันธ์อันดีงามระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นด้วยศาสนสัมพันธ์

Leave a Reply