“อ.สันติศึกษา มจร” บินไปฟินแลนด์ ถอดบทเรียนหลักสูตรป.โท ด้านสันติภาพการไกล่เกลี่ยและความขัดแย้ง

วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม 2565 พระปราโมทย์ วาทโกวิโท, ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร เปิดเผยว่า ในฐานะอาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มจร และเลขาศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร เดินทางมาประเทศฟินแลนด์เพื่อถอดบทเรียนของหลักสูตรระดับปริญญาโท ภายใต้ชื่อหลักสูตร Master’s programme is Peace , Mediation and Conflict Research: การวิจัยทางสังคมศาสตร์-การวิจัยสันติภาพ การไกล่เกลี่ย และความขัดแย้ง ของ Tampere University ประเทศฟินแลนด์ เป็นการเปิดหลักสูตรระดับปริญญาโทด้านสันติภาพการไกล่เกลี่ยและความขัดแย้ง (PEACE) เป็นแนวทางที่หลากหลายและสหวิทยาการเพื่อการวิจัยสันติภาพและความขัดแย้ง PEACE ช่วยให้เข้าใจถึงธรรมชาติที่ซับซ้อนของสงครามและความขัดแย้งตลอดถึงผลกระทบในระยะสั้นและระยะยาวของความขัดแย้ง

โดยเนื้อหาของหลักสูตรการวิจัยทางสังคมศาสตร์-การวิจัยสันติภาพ การไกล่เกลี่ย และความขัดแย้ง เกิดจากสถาบันวิจัยสันติภาพของตัมเปเร โดยมุ่งผู้ที่ปฏิบัติงานในด้านการแก้ไขข้อขัดแย้ง จัดการวิกฤตการณ์ และการไกล่เกลี่ยโดยมุ่งหมายในการอำนวยความสะดวกในการทำความเข้าใจธรรมชาติที่ซับซ้อนของสงครามและความขัดแย้งตลอดจนผลที่จะตามมาในระยะสั้นและระยะยาวในระหว่างการศึกษา โดยศึกษาบริบทของความขัดแย้งระดับท้องถิ่น ระดับนานาชาติ ระดับโลก ศึกษาวิธีการในการเปลี่ยนแปลงและแก้ไขความขัดแย้งอย่างสันติ โดยมุ่งไปที่การสร้างสันติภาพ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและการเจรจา โดยไม่ได้มุ่งศึกษาด้านความขัดแย้งเท่านั้น แต่ยังเน้นที่การเปลี่ยนแปลงและแก้ไขความขัดแย้งเป็นหลัก

โดย Program Outcome ซึ่งเป็นผลลัพธ์ของการศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาโท ด้านการวิจัยทางสังคมศาสตร์ การวิจัยสันติภาพ การไกล่เกลี่ย และความขัดแย้ง สามารถสวมบทบาทเชิงรุกเพื่อรับรู้ วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่ท้าทายระดับโลก และกลายเป็นผู้มีส่วนร่วมเชิงรุกเพื่อโลกเกิดความสงบสุข สามารถวิเคราะห์วิวัฒนาการของความขัดแย้งและแก้ไขข้อขัดแย้ง สามารถสร้างสันติภาพ สามารถไกล่เกลี่ยและการเจรจาต่อรองได้ โดยระดับบัณฑิตศึกษาเป็นการทำวิจัยที่อิสระ มุ่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลไปจนถึงสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศ

จึงเห็นว่าการศึกษาฟินแลนด์มีความเสมอภาค ทำให้ประชากรมีการศึกษาส่งผลต่อการมีสุขภาพจิตดียิ่งขึ้น ระบบการศึกษาเด็กมีแรงกดดันในการเรียนน้อย เด็กใช้เวลาที่โรงเรียนน้อยลง ให้ทำการบ้านและสอบน้อยลง จากPISA ระบุว่า เด็กนักเรียนในฟินแลนด์มีผลการเรียนในวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และการอ่าน ดีกว่าเด็กจากประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยสวัสดิการแห่งรัฐในฟินแลนด์มีบทบาทสำคัญในการให้โอกาสเด็กทุกคนอย่าเท่าเทียมกันทางการศึกษา โดยระบบการศึกษาที่มีความเสมอภาคสูงของฟินแลนด์ไม่ไเฝด้มาจากปัจจัยด้านการศึกษาเพียงอย่างเดียว โครงสร้างพื้นฐานของสวัสดิการรัฐในฟินแลนด์มีบทบาทสำคัญในการให้โอกาสเด็กทุกคน เริ่มต้นจากเส้นทางการศึกษาที่ประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุ 7 ขวบ

ความเสมอภาคทางการศึกษาโดยโรงเรียนในฟินแลนด์มีบรรยากาศที่ผ่อนคลาย โดยไม่มีเครื่องแบบเด็กๆ เดิรไปไหนโดยสวมรองเท้าตามธรรมเนียมของประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย ซึ่งเด็กๆจะไม่สวมรองเท้าในห้องเรียน โดยหนังสือเรื่อง Finnish Lessns เคยระบว่า ปัญหาความหลื่อมล้ำทางสังคมเป็นอุปสรรคที่ขวางกั้นความก้าวหน้าในด้านต่างๆ ของชีวิตคนเรา ยิ่งประเทศที่มีความเสมอภาคมากเท่าใด ประชากรยิ่งมีการศึกษาและสุขภาพจิตดีมากขึ้นเท่านั้น ความเสมอภาคและความเป็นธรรมในสังคมจึงเกี่ยวข้องกับสันติภาพ เพราะที่ใดไม่มีความเสมอภาคและไม่มีความเป็นธรรมในสังคมย่อมนำไปสู่ความขัดแย้งในเชิงโครงสร้างฝังรากลึก โดยที่โรงเรียน Viikki ในกรุงเฮลชิงกิ เด็กที่มาจากครอบครัวร่ำรวยและครอบครัวชนชั้นแรงงานนั่งเรียนรวมกันในห้องเรียน ซึ่งที่นี่ไม่มีค่าเทอมและไม่มีค่าใช้จ่ายด้านอุปกรณ์การเรียน มีโรงอาหารกว้างขวาง ทำอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อเด็กๆ เด็กยังได้รับการดูแลด้านสุขภาพ

โดยชี้ว่าความสำเร็จด้านศึกษาของฟินแลนด์ส่วนใหญ่มาจากรูปแบบเศรษฐกิจที่ส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมกันและมีความเป็นธรรมในสังคมซึ่งเริ่มใช้หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง สะท้อนถึงครุศาสตร์กายเป็นอาชีพที่เยาวชนในฟินเเลนด์นิยมเรียนมากที่สุดแซงหน้าการเรียนเพื่อเป็นแพทย์ นักกฎหมาย และสถาปนิก การเรียนการสอนในฟินแลนด์จึงสะท้อนคำว่า “มันเรื่องที่สำคัญที่เด็กจะมีเวลาได้เป็นเด็ก และ สิ่งสำคัญที่สุดคือคุณภาพไม่ใช่ปริมาณของเวลาที่ใช้ในห้องเรียน” โดยหลักสูตรการเรียนในฟินแลนด์ออกแบบให้ช่วยพัฒนาความสงสัยใคร่รู้ตามธรรมชาติและการเรียนรู้ของเด็ก โดยระบบการศึกษามองว่าทุกคนมีศักยภาพในการเรียนรู้ หากได้รับการสนับสนุนและโอกาส ส่วนครูมีหน้าที่ช่วยนักเรียนให้ปราศจากความกังวล และพัฒนาความสงสัยใคร่รู้ตามธรรมชาติ ไม่ใช่การสอบผ่านเท่านั้น จึงสะท้อนว่าระบบการศึกษาของรัฐเป็ยการบริการสาธารณะ ระบบการของฟินแลนด์จึงเป็นการสร้างสันติภาพและป้องกันความขัดแย้งที่จะเกิดในสังคม สอดรับกับปธาน 4 ในทางพระพุทธศาสนาคือ เชิงป้องกันความขัดแย้ง เชิงแก้ไขความขัดแย้ง เชิงเยียวยาความขัดแย้ง และรักษาสันติภาพให้เกิดขึ้นต่อไป

Leave a Reply