ยกระดับมาตรฐานศูนย์ไกล่เกลี่ยฯภาคประชาชน หวังตอบโจทย์การจัดการข้อพิพาทชุมชน

เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2565 ตามที่พระโสภณพัฒนบัณฑิต,รศ. ดร รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) วิทยาเขตขอนแก่น ได้เห็นความสำคัญในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนได้ส่งผู้บริหารของวิทยาเขตมาอบรมในรุ่น ที่ 3 และได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพรบ 2562 โดย ผศ.ดร. นิเทศ นิเทศสนั่นนารี และดร. เรียงดาว ทวะชาลี ผู้บริหารได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตาม พรบ. 2562

โดยพระครูปลัดปัญญาวรวัฒน์ ศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา มจร และประธานคณะทำงานศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร ได้มอบหมายให้ ดร.สุดธิดา พาดฤทธิ์ ไปเป็นวิทยากรในโครงการพัฒนาศูนย์ไกล่เกลี่ย กิจกรรม:อบรมเชิงปฏิบัติการเตรียมความพร้อมสถานที่ทำงาน เอกสาร ข้อมูล ระหว่างวันที่ 2 -3 พย โดยเริ่มจากการอธิบายและลงมือปฏิบัติ 4 ด้าน 35 ตัวชี้วัด ได้แก่ ด้านที่ 1 โครงสร้างเชิงกายภาพ ด้านที่ 2 บุคลากร ด้านที่ 3 การบริหารจัดการ ด้านที่ 4 การบริการแบ่งเป็น 3 ด้าน คือ ระบบข้อมูล การพัฒนางาน การมีส่วนร่วม ด้านที่ 4 การบริการ แบ่งเป็น การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท การอำนวยความยุติธรรมและลดความเลื่อมล้ำ ในการเข้าถึงความยุติธรรมของประชาชน และมาตรฐานการให้บริการ

ทั้งนี้พระครูปลัดปัญญาวรวัฒน์ กล่าวว่า ตั้งแต่มี พรบ.ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน ปี 2562 เป็นต้นมา กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ในฐานะทำหน้าที่เป็นนายทะเบียนตาม พรบ. มีอำนาจในการออกใบอนุญาตผู้ไกล่เกลี่ย อนุมัติการตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนรวมถึงออกกฏเกณฑ์ในหลายๆ ด้าน เพื่ออำนวยให้ให้ชุมชนสามารถจัดการจ้อพิพาทด้วยพลังของประชาชนเอง

ถึงกระนั้น ส่วนตัวเองที่ทำงานกับกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ รวมถึงการขออนุมัติหลักสูตรนักไกล่เกลี่ยของ กพยช. มาเปิดอบรมนักไกล่เกลี่ยตั้งแต่ต้น อีกทั้งจัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยใน มจร และกระตุ้นให้ตั้งศูนย์ฯ ในส่วนภูมิภาคหลายศูนย์ จึงได้เสนอให้กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพที่รับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรงเพื่อนำไปพัฒนา และยกระดับการทำงานศูนย์ไกล่เกลี่ยให้ได้มาตรฐาน ตามรสยละเอียดที่ได้นำเสนอในวันนี้

1. หนึ่งอำเภอหนึ่งศูนย์ไกล่เกลี่ยต้นแบบ โดยกรมฯ จับมือกับยุติธรรมจังหวัด เลือกศูนย์ใดศูนย์หนึ่งอำเภอนั้น มาพัฒนาและยกระดับเป็นศูนย์ต้นแบบ แล้วดึงผู้แทนจากตำบลต่างๆ เป็นคณะทำงานประจำสำนักงาน และกรรมการบริหารประจำศูนย์ เพื่อให้บริการคู่ความในพื้นที่อำเภอนั้นหรือใกล้เคียง ในอนาคตถ้าตำบลต่างๆ สนใจจะพัฒนาศูนย์ก็ให้ นายก อบต. หรือกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ทำแผนการตั้งศูนย์ แล้วเรื่องถึงยุติธรรมจังหวัด เพื่อให้มาช่วยยกระดับศูนย์ต่อไป

2. ยกระดับมาตรฐานตัวชี้วัด ตัวชี้วัดในการจัดตั้งศูนย์ใหม่นั้น มีทั้งหมด 35 ตัวชี้วัด ส่วนใหญ่จะเป็นการวัดในเชิงกายภาพ เช่น ห้องไกล่เกลี่ย โต๊ะสำนักงาน ป้ายศูนย์ เป็นต้น ตัวชี้วัดในลัดษณะนี้เหมาะกับศูนย์ใหม่ แต่ถ้ามีศูนย์ที่ผ่านการประเมิน ตั้งแต่ 80-100 คะแนน ไปแล้ว เห็นสมควรให้ใช้เกณฑ์ในเชิงคุณภาพ ที่วัดกระบวนการทำงาน (Process) และผลลัพธ์ (Result) เป็นการวัดการบริหารศูนย์ต้นแบบที่มุ่งตอบโจทย์ชุมชนในเชิงลึก และตัวชี้วัดควรจะสะท้อนวิถีชุมชน ไม่ซับซ้อนยุ่งยาก

3. จัดหลักสูตรพัฒนาต่อยอดผู้ไกล่เกลี่ยและสร้างระบบติดตามผู้ไกล่เกลี่ย ในช่วงที่ผ่านมานั้น จะรียกว่าอบรมทิ้งก็ว่าได้ เพราะมิได้มีระบบติดตามความเป็นไปของผู้ไกล่เกลี่ย ว่าอบรมและขึ้นทะเบียนไปแล้ว ได้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยกี่คดี สำเร็จมากน้อยเพียงใด ได้มีการไปตั้งศูนย์เพิ่มเติมหรือไม่ มีปัญหาในการทำงานอย่างไร เพื่อจักได้ออกแบบหลักสูตรพัฒนาต่อยอดนักไกล่เกลี่ยให้เพิ่มประสิทธิภาพให้มีประสิทธิผลต่อไป เพื่อจะได้ประเมินการทำงานของศูนย์ไกล่เกลี่ยด้วย

ทั้งหมดเป็นข้อเสนอที่มีต่อกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพที่ได้จัดกิจกรรมรับฟังประสบการณ์การทำงานในวันนี้ ด้วยหวังใจว่าข้อสังเกตเหล่าจักเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของกรมฯ รวมถึงการพัฒนาและยกระดับของศูนย์ไกล่เกลี่ยทั่วประเทศที่มี 1,000 กว่าศูนย์ในขณะนี้ ให้เกิดมาตรฐาน และตอบโจทย์การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนในลำดับต่อไป

Leave a Reply