“มหากาพย์” เงินเดือนพระปริยัติธรรม ในที่สุดการเรียกร้องเงินค่าตอบแทนรายเดือน ‘ครูสอน’ โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาก็ ‘คลอด’ ออกมาเสียที หลังมีการเรียกร้องจากผู้คนในวงการพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้มา ‘ยาวนาน’ หลายทศวรรษ โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เป็นสถานศึกษาที่ ‘วัด’ จัดการศึกษาแผนกบาลีและนักธรรมควบคู่กับ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษา โดยมีคณะกรรมการการศึกษาพระปริยัติธรรมเป็นผู้กำหนดนโยบาย และมีสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นหน่วยงาน ‘สนับสนุน’ และเป็น ‘เลขานุการ’ โรงเรียนพระปริยัติธรรมสามัญจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรที่เป็นมาตรฐาน พ.ศ.2558 และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษา ปี 2551 โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญ มีจุดประสงค์ของการตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรมสามัญ ก็เพื่อช่วยเหลือเด็กที่ ‘ขาดโอกาสศึกษาต่อ’ เพราะครอบครัวยากจน ให้มี ‘โอกาสเท่าเทียม’ ได้ศึกษาต่อการศึกษาขั้นพื้นฐานตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ สาเหตุ เพราะที่ผ่านมา ‘รัฐขาดความสามารถ’ จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่าง ‘เท่าเทียมเสมอภาค’ ให้แก่อนาคตของประเทศไทย การบริหาร การจ้างครูสอน เป็นภาระของ ‘เจ้าสำนักเรียน’ แต่ละแห่งต้องแบกรับค่าตอบแทนรายเดือนตลอดมา แม้ส่วนหนึ่งจะได้รับ ‘ความอนุเคราะห์’ จากครูในโรงเรียนในพื้นมีจิตอาสามาสอนให้ ‘ฟรี’ เพื่อการกุศล แต่ส่วนใหญ่ของโรงเรียนไม่มีครูจิตอาสา จึงแบกภาระอันหนักอึ้งนี้ตลอดมา โดยจ้างครูสอนแบบ ‘วัดครึ่งครูครึ่ง’ คือคุณครูทั้งหลายรับรายได้ต่อเดือนตาม ‘กำลังทรัพย์ของเจ้าสำนักเรียน’ แต่ละแห่ง ภาพที่เห็นจนชินตา คือ โรงเรียนไหนที่ไม่มีครูจิตอาสา เจ้าสำนักเรียนต้องแบกภาระจนหลัก ‘แอ่น’ หาเงินมาบริหารโรงเรียนเพื่ออนาคตของชาติ หาเงินโดยการทอดกฐิน ผ้าป่าการศึกษา หรือหาผู้มีจิตศรัทธาสนับสนุน ขึ้นอยู่ที่ ‘บารมี’ ของเจ้าสำนักเรียนแต่ละแห่ง ทำด้วยใจรักและศรัทธาในหน้าที่ในฐานะผู้นำทางจิตวิญญาณของหมู่บ้าน ชุมชน ในแต่ละปี มีนักเรียนที่เป็นพระและสามเณรจบการศึกษาขั้นพื้นฐานในระดับมัธยมต้นและปลายจากโรงเรียนพระปริยัติธรรมสามัญ ปีละมากกว่า 54,000 รูป เจ้าสำนักเรียนและวัดได้ทำหน้าที่ช่วยรัฐบาลปลุกปั้นและสร้าง ‘อนาคตของชาติ’ ที่ขาดโอกาสศึกษาในระบบ เพราะความยากจนด้วย ‘ความเสียสละ’ ในขณะที่ทางรัฐบาลเรียกร้อง ‘ควบคุม’ มาตรฐานและคุณภาพครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญ ในมาตรฐานเดียวกันกับโรงเรียนในระบบของกระทรวงศึกษาธิการทุกระดับ ครูทั้งหลายจึงเริ่ม ‘ร้องขอ’ ให้รัฐบาลเข้ามา ‘ดูแล’ เรื่องค่าตอบแทนให้สอดคล้องกับมาตรฐาน หรือ ‘ใกล้เคียง’ กับค่าตอบแทนรายเดือนของครูในโรงเรียนสามัญอื่นของกระทรวงบ้าง แต่ดูเหมือนจะไม่มีแรงตอบรับ เพราะได้รับแต่เพียงคำตอบที่ ‘ว่างเปล่า’ ตลอดมาหลายทศวรรษ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง ก็ ‘ไม่สามารถ’ จัดสรรงบประมาณค่าตอบแทนรายเดือนให้ผู้บริหารและครูสอนโรงเรียนพระปริยัติธรรมสามัญได้ เพราะรัฐบาลไม่ได้จัดสรรงบประมาณให้ โดยอ้างว่า ‘ไม่มี’กฎหมายรองรับ ความจริง สามารถ ‘เทียบเคียง’ กับกฎหมายว่าด้วยค่าตอบแทนรายเดือนและรายชั่วโมงของผู้บริหารและครูสอนศาสนาอิสลามได้ ในเมื่อโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ถูกบังคับให้มีระบบที่เป็นมาตรฐาน ถูกบังคับตรวจสอบและประกันคุณภาพการจัดการศึกษาตามข้อบังคับของรัฐบาลทุกอย่าง! แต่ที่รัฐบาลไม่เข้ามาควบคุมดูแลให้ คือการจัดสรร ‘งบประมาณ’ ให้เกิดความสมดุลกับมาตรฐานที่ถูกบังคับ! นี้ถือเป็นสิ่ง ‘แปลกประหลาด’ แบบ amazing Thailand เหมือน amazing สายไฟในเมืองใหญ่ของประเทศไทย ทั้งที่ประเทศนี้เป็นประเทศที่มี ‘พระพุทธศาสนา’ เป็นศาสนาที่ ‘คนส่วนใหญ่’ นับถือ! แต่ ! รัฐบาล ‘จัดสรร’ งบประมาณตามรายหัวของนักเรียนให้แก่โรงเรียนสอนศาสนาอีกศาสนาหนึ่ง ‘เต็มที่’! รวมทั้งจัดสรร ‘งบประมาณ’ ค่าตอบแทนเป็นรายเดือนและรายชั่วโมงให้แก่ ‘ครูสอนศาสนา’ดังกล่าวแบบเต็มอัตราศึกเช่นกัน!!! แต่แล้ว สิ่งที่ผู้บริหารและคุณครูของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เรียกร้องแบบสิ้นหวังเป็น ‘มหากาพย์’ ก็สัมฤทธิ์ผลเมื่อ 30 มิ.ย.2565 เมื่อกระทรวงการคลังออกประกาศค่าตอบแทนงานบุคคลการศึกษาพระปริยัติธรรมว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง ทั้ง ‘รายเดือน’ และ ‘รายชั่วโมง’ แม้จะเป็นข่าวดีที่ปะปนความในใจของบุคลากรโรงเรียนพระปริยัติธรรมในตัวเลขที่ ‘ต่ำเตี้ยเรี่ยดิน’ ก็ตาม! นอกจากนี้ โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี และแผนกธรรม ยังได้รับอานิสงส์ในครั้งนี้ด้วย หวังว่า นี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้เกิดพัฒนาการที่เป็นระบบของการจัดการศึกษา ‘พระปริยัติธรรม’ ของประเทศไทยให้สมกับ ‘ประเทศพระพุทธศาสนา’!!! จำนวนผู้ชม : 616 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author แบบอย่างที่ดี!ลูกชายนายกฯกัมพูชา บวชศึกษาธรรมที่แดนพุทธภูมิ อุทัย มณี ธ.ค. 01, 2018 วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ เวลา ๐๘.๐๐ น. พระเมธีวรญาณ ป.ธ.๙ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์… รัฐบาลเตรียมบูรณะปรับปรุงภูมิทัศน์ “พระประธานประจำพุทธมณฑล” เพื่อเฉลิมพระเกียรติฯ อุทัย มณี พ.ย. 13, 2024 วันที่ 13 พฤศจิกายน 2567 เวลา 15.30 น. ณ พุทธมณฑล อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม … น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ปลัด มท. ร่วมพิธีบวงสรวงสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ก่อนการแสดงโขนมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ ตอน “กุมภกรรณทดน้ำ” อุทัย มณี ต.ค. 29, 2023 วันนี้ (29 ต.ค.66) เวลา 09.09 น. ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม… กำหนดการส่งสังขาร “พระมงคลธีรคุณ” กลับประเทศไทย อุทัย มณี ก.พ. 27, 2024 วันที่ 27 ก.พ. 67 พระมหานิพนธ์ ญาณวีโร พระธรรมทูตไทยสายอินเดีย… “อดีตผู้สมัคร ส.ส.พปชร.” หนุนแนะปรับวิชาพุทธสอนใน “ร.ร.” เสริมด้วยหลักธรรมศาสนาอื่น พร้อมวิชาสันติศึกษา อุทัย มณี ก.พ. 05, 2022 ดร.สันติศึกษา เสนอวิชาพระพุทธศาสนาเข้มข้น เพิ่มคำสอนศาสนาอื่นเพื่อความเท่าเทียมในสังคมพหุวัฒนธรรม… ภาพ AI ระบาดหนัก..ใครต้องรับผิดชอบ!! อุทัย มณี พ.ย. 07, 2023 ช่วงเดือนสองเดือนมานี้มีภาพ Artificial Intelligence หรือ AI หรือภาษาไทยเรียกชื่อว่า… จังหวัดสงขลาแชมป์!! ลูกหนี้ขอไกล่เกลี่ยมากที่สุด ทั่วประเทศไกล่เกลี่ยแล้ว 22,832 ราย มูลหนี้ลดลง 928 ล้านบาท อุทัย มณี มี.ค. 20, 2024 วันที่ 20 มี.ค. 67 นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า… กมธ.ศาสนาฯสภาฯติดตามความคืบหน้าบูรณะปราสาทเมืองไผ่สระแก้ว อุทัย มณี ต.ค. 07, 2022 เมื่อวันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม 2565 คณะกรรมาธิการการศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม… ทรงพระบรมราชานุญาต “ตามคำขอ” อุทัย มณี ก.ค. 24, 2024 วันนี้ (24 ก.ค. 67) นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า… Related Articles From the same category บอร์ดวัฒนธรรมแห่งชาติ ไฟเขียวแผนปฏิบัติการทุนทางวัฒนธรรมส่งเสริม Soft Power – ชู 4 ยุทธศาสตร์ วันที่ 30 สิงหาคม 2567 นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม… เปิดกำหนดการ “มจร. ซ้อมรับปริญญา – รับปริญญา” ระหว่างวันที่ 23 -24 พฤษภาคม นี้ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย… ส่องข้อมูล “มจร” ว่าด้วยจำนวนนิสิต “ในประเทศ-ต่างประเทศ” เพิ่มหรือลด?? “เปรียญสิบ” ทุกปีจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับสถาบันเรียนเดิมของตนเองคือ… เปิดศึกชิง “รองเจ้าคณะอำเภอ” สงฆ์ศรีสะเกษวุ่น!! วันที่ 16 ก.ย. 64 ปรากฏมีหนังสือคัดค้านการแต่งตั้งรองเจ้าคณะอำเภอเมืองศรีสะเกษ… คณะผู้ประเมินศูนย์ไกล่เกลี่ยฯ “มจร” แนะยกระดับเป็นศูนย์ต้นแบบกรุงเก่า ทำงานเชิงรุกมุ่งเชิงป้องกัน ดึงชุมชนมีส่วนร่วม มีออนไลน์ตัวช่วย ใส่ใจสิทธิมนุษยชน วันที่ 17 ตุลาคม 2565 ที่ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)…
Leave a Reply