นัยยะทางการเมืองเรื่องสงฆ์ ระหว่างบรรทัดหนังสือ จาก “ทศชาติปณิธานมหาบุรุษไม่เปลี่ยนแปลง” วันที่ 18 สิงหาคม 2565 หลังจากรัฐบาล ภาคเอกชน ได้แถลงข่าวเปิดตัวหนังสือ “ทศชาติ: ปณิธานมหาบุรุษไม่เปลี่ยนแปลง ฉบับญาณวชิระ” ได้สร้างความฮือฮาในกับคณะสงฆ์และชาวพุทธพอสมควร เนื่องจากหนังสือเล่มนี้เขียนและเรียบเรียงโดยพระภิกษุคดีเงินทอนวัด การแถลงข่าวเปิดตัวหนังสือฉบับนี้ส่งนัยอะไรต่อคณะสงฆ์และสังคมไทยหรือไม่ มีการวิพากษ์วิจารณ์ไปต่าง ๆ นา ๆ หนึ่งในนั่นคือ เพจ “เดี๋ยวเขียนเอง” ซึ่งตั้งประเด็นว่า “นัยยะทางการเมืองเรื่องสงฆ์ ระหว่างบรรทัดหนังสือ “ทศชาติปณิธานมหาบุรุษไม่เปลี่ยนแปลง” มีรายละเอียดดังนี้ วันที่ 15 สิงหาที่ผ่านมา รัฐบาลโดย #นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี แถลงข่าวเปิดตัวหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ #ทศชาติปณิธานมหาบุรุษไม่เปลี่ยนแปลง #ฉบับญาณวชิระ สำหรับวงการสงฆ์แล้วความสำคัญของหนังสือเล่มนี้ไม่ได้เพียงอยู่ที่สาระตามตัวอักษรที่เป็นเรื่องราว 10 ชาติ แห่งการบำเพ็ญบารมีของพระมหาโพธิสัตว์ก่อนจะประสูติในชาติสุดท้ายเป็น #เจ้าชายสิทธัตถะ และตรัสรู้เป็น #พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น หากยังอยู่ที่ความนัยระหว่างบรรทัดด้วย เพราะเมื่อพิจารณาให้ดีจะเห็นว่ามีการส่งสัญญาณออกมาอย่างชัดเจนว่าอธิกรณ์ของสงฆ์ควรปล่อยให้คณะสงฆ์ดำเนินการไปตามพระธรรมวินัย ไม่ใช่การนำกฎหมายบ้านเมืองไปหักล้างพระธรรมวินัย ความนัยของหนังสือเล่มนี้ซ่อนอยู่ที่คำสร้อยที่ต่อท้ายชื่อหนังสือว่า “#ฉบับญาณวชิระ” และรายชื่อคณะผู้เรียบเรียงซึ่งประกอบไปด้วย #พระธงชัย สุขญาโณ (อดีต #พระพรหมสิทธิ) #พระมหาสังคม ญาณวฑฺฒโน (อดีต #พระราชอุปเสณาภรณ์) #พระมหาเทอด ญาณวชิโร (อดีต #พระราชกิจจาภรณ์) #พระมหาบุญทวี ปญฺญาวํโส (อดีต #พระศรีคุณาภรณ์) #พระมหาสมจิตร จิตฺตธมฺโม (#พระครูสิริวิหารการ) ทั้ง 5 ท่านเป็นพระมหาเถระแห่งวัดสระเกศราชวรมหาวิหารที่ในปี 2561 ถูกสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติร้องทุกข์กล่าวโทษว่ากระทำการทุจริตในการจัดสรรงบประมาณของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ หรือที่เรียกกันว่าคดี #เงินทอนวัด และ #ความผิดฐานฟอกเงิน จนมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาถอดถอนสมณศักดิ์ และทำให้ทั้ง 5 ท่านต้องไปใช้ชีวิตช่วงหนึ่งในเรือนจำ เปลี่ยนเครื่องแต่งกายจากการครองจีวรมาสวมใส่เสื้อผ้าตามแบบฆราวาส เพื่อให้สอดคล้องกับระเบียบบ้านเมืองที่กำหนดว่าพระสงฆ์ที่ต้องคดีอาญาและไม่ได้รับการประกันตัวระหว่างถูกดำเนินคดีจะไม่สามารถห่มจีวรได้ ระหว่างบรรทัดของหนังสือทศชาติ ปณิธานมหาบุรุษไม่เปลี่ยนแปลง จึงเกี่ยวข้องกับอธิกรณ์ว่าด้วยความเป็นพระหรือไม่เป็นพระของทั้ง 5 ท่านนั้น ทั้งนี้เมื่อคดีทางโลกทั้ง 3 คดีที่ทั้ง 5 ท่านถูกกล่าวหามีการคลี่คลาย (รายละเอียดคดีด้านล่าง) และศาลอนุญาตให้ประกันตัวทั้งหมด (รวมทั้งพระเถระแห่ง #วัดสามพระยา อีก 2 ท่านที่โดนคดีร่วมกัน) พระเถระแห่ง #วัดสระเกศ ทั้ง 5 ท่านได้ทำพิธีกลับครองจีวรในวันที่ 13 เมษายน ปี 2564 เพราะถือว่าการเปลี่ยนเครื่องแต่งกายเมื่อครั้งต้องคดีไม่ได้มีการกล่าวคำลาสิกขา อีกทั้งไม่ได้มีการถูกเจ้าพนักงานเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่บังคับให้ลาจากสมณเพศ ตามที่ระบุในมาตรา 29 และ 30 แห่ง พ.ร.บ. #คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2561) หากเป็นการอนุวัตตามระเบียบบ้านเมือง และยังทำให้เจ้าพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ในเรือนจำไม่ต้องลำบากใจ แต่ #สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และ #มหาเถรสมาคม กลับมองว่าการเปลื้องจากจีวรในครั้งนั้นคือการสิ้นสุดความเป็นพระ และพยายามจะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานตำรวจสอบสวนกลาง และกองบังคับการปราบปราม เข้ามาดำเนินการต่อการกลับครองจีวรของทั้ง 5 ท่าน ความขัดแย้งในการตีความสถานะความเป็นพระของทั้ง 5 ท่านนี้ นำสู่การขยายประเด็นว่าอธิกรณ์สงฆ์ควรปล่อยให้ดำเนินไปตามพระธรรมวินัย ในที่นี้คืออธิกรณ์ว่าด้วยทั้ง 5 ท่าน ยังคงความเป็นพระหรือไม่ก็ควรให้คณะสงฆ์ดำเนินการตามพระธรรมวินัย ซึ่งคณะสงฆ์แห่งวัดสระเกศและพระสังฆาธิการต่างวัดร่วมกันดำเนินการรับเข้าหมู่แล้ว หรือควรปล่อยให้เป็นไปตามกฎหมายบ้านเมืองที่ในที่นี้คือการตีความมาตรา 29 และ 30 ตาม พ.ร.บ. คณะสงฆ์ ด้วยวิธีและกระบวนการคิดแบบฆราวาส ว่าการถอดจีวรคือการสิ้นสุดความเป็นพระ ในการทำหนังสือหนังสือทศชาติ ปณิธานมหาบุรุษไม่เปลี่ยนแปลง ฉบับญาณวชิระ ซึ่งเป็นโครงการที่รัฐบาลโดยสำนักนายกรัฐมนตรีร่วมกับสำนักพระราชวังจัดทำขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระเกียรติพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 คณะพระสงฆ์ทั้ง 5 คือพระธงชัย สุขญาโณ (อดีตพระพรหมสิทธิ) พระมหาสังคม ญาณวฑฺฒโน (อดีตพระราชอุปเสณาภรณ์) พระมหาเทอด ญาณวชิโร (อดีตพระราชกิจจาภรณ์) พระมหาบุญทวี ปญฺญาวํโส (อดีตพระศรีคุณาภรณ์) พระมหาสมจิตร จิตฺตธมฺโม (พระครูสิริวิหารการ) ติดต่อกับสำนักนายกรัฐมนตรีและสำนักพระราชวังในสถานะของพระสงฆ์มาโดยตลอด อีกทั้งในรายชื่อผู้จัดทำที่ปรากฏในหนังสือก็ระบุชัดถึงสถานะการเป็นพระ แสดงให้เห็นถึงนัยที่ซ่อนอยู่ในหนังสือเล่มนี้ว่าสำนักนายกรัฐมนตรีและสำนักพระราชวังส่งสัญญาณอย่างว่ายอมรับสถานะความเป็นพระของทั้ง 5 ท่าน ซึ่งหากขยายการตีความขึ้นมาก็จะเข้าใจได้ว่าหน่วยงานทั้งสองกำลังสื่อว่าหากมีอธิกรณ์ของสงฆ์ควรปล่อยให้ดำเนินการไปตามพระธรรมวินัย ไม่ใช่การนำกฎหมายบ้านเมืองไปหักล้างพระธรรมวินัยซี่งเป็นเหมือนรัฐธรรมนูญของสงฆ์ สิ่งที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติควรต้องทำในการเฉพาะหน้าของอธิกรณ์นี้คือต้องยุติความพยายามหักล้างว่าท่านเหล่านั้นไม่ใช่พระ และรีบคืนความยุติธรรมด้วยการถวายคืนสมณศักดิ์ให้กับทั้ง 5 ท่าน และสิ่งที่ควรต้องทำในระยะยาวคือการตระหนักเสมอว่าเมื่อเกิดอธิกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับสมณเพศ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติซึ่งประกอบด้วยฆราวาสควรปล่อยให้อธิกรณ์นั้นอยู่การบริหารจัดการของคณะสงฆ์ที่จักต้องดำเนินไปตามกรอบแห่งพระธรรมวินัย ผู้สนใจหนังสือทศชาติ ฉบับญาณวชิระ สามารถขอรับได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายที่สำนักปลัดสำนักนายกรัฐนตรี และสามารถดาวน์โหลด E-book ได้ที่ https://www.opm.go.th/…/multimedia/2022/project/index.html รายละเอียดและความคืบหน้าคดีคดีที่เกี่ยวข้องกับพระสงฆ์ทั้ง 5 ท่านของวัดสระเกศฯ มี 3 คดี #คดีที่ 1 พระมหาสังคม ญาณวฑฺฒโน (อดีตพระราชอุปเสณาภรณ์) และ พระมหาเทอด ญาณวชิโร (อดีตพระราชกิจจาภรณ์) ถูกกล่าวหาว่าร่วมกับสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติกระทำการทุจริตเงินงบประมาณจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติในโครงการโรงเรียนพระปริยัติธรรม จำนวน 10 ล้านบาท คดีนี้ถึงที่สุดแล้วในศาลอุทธรณ์โดย #ศาลสั่งยกฟ้อง เพราะ #ไม่มีหลักฐานว่าทั้ง 2 ท่าน #กระทำการทุจริต คำตัดสินนี้ทำให้พระมหาสังคม ญาณวฑฺฒโน (อดีตพระราชอุปเสณาภรณ์) ซึ่งถูกกล่าวในคดีนี้คดีเดียว #เป็นผู้บริสุทธิ์ทันทีหลังถูกคุมขังมานาน 450 วัน #คดีที่ 2 พระธงชัย สุขญาโณ (อดีตพระพรหมสิทธิ) ถูกกล่าวหาว่าร่วมกับนายพนม ศรศิลป์ อดีตผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กับพวกซึ่งเป็นฆราวาส ร่วมกันฟอกเงินอุดหนุนโครงการศูนย์กลางเผยแพร่พระพุทธศาสนา และโครงการของสำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงฯ ของวัดสระเกศ โดยพระธงชัย สุขญาโณ (อดีตพระพรหมสิทธิ) ตกเป็นจำเลยที่ 5 ถูกฟ้องในความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง มีคำพิพากษาในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 ว่าไม่มีความผิดในคดีทุจริตเพราะไม่พบหลักฐานที่ฟังได้ว่าจำเลยทั้ง 5 เบียดบังนำงบประมาณไปเป็นของตนเอง ขณะเดียวกันมีหลักฐานที่ฟังได้ว่างบประมาณดังกล่าวถูกใช้ไปเพื่อกิจกรรมด้านศาสนาแล้ว ศาลจึงมีคำสั่งว่าจำเลยไม่ต้องร่วมกันคืนเงินตามที่ระบุในคำฟ้อง อย่างไรก็ดีในคดีนี้ศาลมีคำพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 – 4 ซึ่งเป็นพนักงานของรัฐ มีความผิดตรามมาตรา 157 มีความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และพระธงชัย สุขญาโณ (อดีตพระพรหมสิทธิ) ถูกพิพากษาให้มีความผิดฐานสนับสนุนการกระทำผิดในมาตรา 157 ของจำเลยทั้ง 4 ศาลสั่งจำคุกท่านเป็นเวลา 36 ปี ปรับ 27,000 บาท โทษจำคุกให้รอลงอาญา 2 ปี คดีนี้พระธงชัย สุขญาโณ (อดีตพระพรหมสิทธิ) ได้ยื่นฎีกา รอกระบวนการในชั้นศาลฎีกาต่อไป #คดีที่ 3 พระธงชัย สุขญาโณ (อดีตพระพรหมสิทธิ) พระมหาเทอด ญาณวชิโร (อดีตพระราชกิจจาภรณ์) พระมหาบุญทวี ปญฺญาวํโส (อดีตพระศรีคุณาภรณ์) พระมหาสมจิตร จิตฺตธมฺโม (พระครูสิริวิหารการ) ถูกพนักงานอัยการสำนักงานคดีปราบปรามการทุจริต 2 ฟ้องในข้อหาฟอกเงินและร่วมกันทุจริตเงินทอนวัดในส่วนโครงการศูนย์กลางเผยแพร่พระพุทธศาสนา เป็นคดีที่ต่อเนื่องมากจากคดีที่ 2 แต่ถูกพิจารณาก่อนคดีที่ 2 โดยศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้พระธงชัย สุขญาโณ (อดีตพระพรหมสิทธิ) รับโทษจำคุกเป็นเวลา 4 ปี 16 เดือน ปรับ 112,000 บาท และพระมหาเทอด ญาณวชิโร (อดีตพระราชกิจจาภรณ์) พระมหาบุญทวี ปญฺญาวํโส (อดีตพระศรีคุณาภรณ์) พระมหาสมจิตร จิตฺตธมฺโม (อดีตพระครูสิริวิหารการ) จำคุกคนละ 2 ปี 8 เดือน ปรับคนละ 56,000 บาท โดยโทษจำคุกให้รอลงอาญา 2 ปี ซึ่งจำเลยได้ยื่นขออุทธรณ์ คดีจึงอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ซึ่งศาลได้มีการเลื่อนการพิจารณาคดีมาเกือบ 2 ปีแล้ว จำนวนผู้ชม : 391 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author เที่ยวชมงานสานรัก สานศาสตร์ ปรัชญาพอเพียง อุทัย มณี ก.พ. 02, 2019 เมื่อเวลา09.00 น. วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2562 ที่พิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติ… ตำนานพระปิด 100 ปี “หลวงพ่อพัฒน์” อุทัย มณี เม.ย. 06, 2022 เสกเดี่ยว! "พระปิดตา 100 ปีหลวงพ่อพัฒน์ ท้าวเวสสุวรรณ หลวงพ่อทอง..."… “พระกากัน มาลิค”ร่วมสัมมนาพิเศษ (ออนไลน์) เนื่องในวันคุ้มครองโลก องค์การพุทธโลก (WAB ) จัด อุทัย มณี เม.ย. 21, 2022 วันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา พระดร.พรชัย พลวธมฺโม ประธานองค์การพุทธโลก… สิงหาคม 3, 2019 อุทัย มณี ส.ค. 03, 2019 วันที่ 3 ส.ค. 2562 พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ,รศ.ดร., รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร… คณะสงฆ์ไทรโยค ชวนเยาวชนเข้าวัด “จัดกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนา” มีโรงเรียนเข้าร่วม 35 โรงเรียน อุทัย มณี ส.ค. 08, 2023 วันจันทร์ที่ 7 สิงหาคม 2566 ณ วัดพุปลู ตำบลสิงห์ อำเภอไทรโยค… คณะสงฆ์ราชบุรี “สร้างบ้านให้โยม” อุทัย มณี มี.ค. 07, 2024 วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ.2567เวลา 08.30 น. พระปิฎกโกศล เจ้าคณะจังหวัดราชบุรี… ผู้ว่าการรัฐพิหารอินเดียเปิดพระพุทธรูปปางแสดงปฐมเทศนา อุทัย มณี พ.ย. 27, 2018 วันที่ 27 พฤศจิกายน 2561 ผู้ว่าการรัฐพิหาร ประเทศอินเดีย (H. E. Nitish… กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯบำเพ็ญพระราชกุศล 100 วัน “เจ้าคุณเสน่ห์” อุทัย มณี มิ.ย. 29, 2021 วันที่ 29 มิถุนายน 2564 กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี… ผู้ว่าฯ นครพนม มอบโฉนดที่ดินให้แก่วัด ตามโครงการเร่งรัดออกโฉนดที่ดินให้แก่ “วัด วัดร้าง โบสถ์ มัสยิด” อุทัย มณี ก.ค. 19, 2024 วันนี้ (19 ก.ค. 67) นายวันชัย จันทร์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม… Related Articles From the same category เจ้าคณะจังหวัดสมุทรสงคราม ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อน “หมู่บ้านรักษาศีล 5” เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2566 ที่ศาลาอเนกประสงค์ วัดเพชรสมุทรวรวิหาร… “หมอสุริยเดว” มองระบบนิเวศยุวชนไทยไร้ไอดอลวิถีคุณธรรม หนุนวิจัยนิสิต “สันติศึกษามจร” พัฒนาผู้นำเยาวชนต้นแบบด้านคุณธรรม วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์ที่ปรึกษา… รายงานพิเศษเรื่องเล่า..กว่าจะมีวันนี้คณะสงฆ์รามัญกับ “มหาจุฬาฯ” (ตอน 3) การประสาทปริญญาประจำปี 2564 ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย… ‘พระม.สงฆ์ มจร’แนะครูรุ่นใหม่! ใช้สติปัญญาประดิษฐ์เป็นฐานพัฒนาคนยุคดิจิทัล วันที่ 11 ก.ย. 2562 ที่ผ่านมา ที่ห้อง IMind วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ… วัดกับบ้านแยกกันอยู่ได้จริงหรือ? น่าจะเป็นปัญหาที่ถกเถียงกันมาอย่างยาวนานและน่าจะยังคงว่ากันต่อไประหว่างรัฐกับศาสนา…
Leave a Reply