เมื่อวันที่ 27 ส.ค. 65 ดร.ณพลเดช มณีลังกา หรือ ดร.ปิง โฆษกคณะทำงานดำเนินการพิจารณางบประมาณเพื่อการจัดตั้งธนาคารพระพุทธศาสนา ในคณะกรรมาธิการศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ และ อนุกรรมาธิการพิจารณาด้านพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่นๆ สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณีที่วัดที่อยู่ในป่าจำนวนกว่า 10,763 วัด ได้ทำการขออนุญาตเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้ ตามมติครม. วันที่ 23 มิ.ย. 2563 โดยยังมีข้อกังวลในกรณีที่วัดที่ตั้งใจพื้นที่ป่า จะต้องชำระค่าธรรมเนียมประกาศ ปส.19 ไร่ละ 11,360 บาท/ไร่ หรือวัดที่ขอใช้พื้นที่วัดจำนวน 15 ไร่รวม 161,455 ไร่จะใช้เงินค่าธรรมเนียมถึง170,400 บาท อย่างไรก็ตามปรากฏข้อเท็จจริงว่า วัดจำนวนมากเมื่ออยู่กับป่าจะเป็นผู้ดูแลรักษาป่า จึงมีหลายหน่วยงานที่มีความพยายามผลักดันให้งดเว้นจำนวนดังกล่าว
จากหนังสือที่ ทส 1602.45/1418 จากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม เสนอให้งดเว้น ตามข้อ 4.2 (1) ที่ขอไม่ต้องจัดสรรงบประมาณค่าปลูกป่าทดแทน ในส่วนของโครงการเพื่อสร้างศาสนสถานและสถานที่ประกอบกิจกรรมทางศาสนา ต่อ ครม. โดยล่าสุดหนังสือด่วนที่สุดที่ นร.0505/19685 ลงวันที่ 20 ส.ค. 2565 จากสำนักเลขาฯคณะรัฐมนตรี ได้เห็นชอบการทบทวนตามมติ ครม. ในการประชุมเมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2565 เพื่อยกเว้นแล้วและให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็วโดยเร็วต่อไป
อย่างไรก็ตาม ดร.ณพลเดช กล่าวว่า ตนต้องขอขอบคุณ นายเพชรวรรต วัฒนพงศศิริกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อชาติ รอง กมธ.ศาสนาและคณะ รวมถึงปลัดกระทรวงทรัพย์ฯ อธิบดีกรมป่าไม้ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติและผู้เกี่ยวข้อง ที่มีส่วนสำคัญในการผลักดัน เพราะหากพิจารณาแล้วหากรวมเงินที่จะต้องชำระค่าธรรมเนียมจำนวนวัดกว่า 10,673 วัด จะต้องใช้เงินถึง 1,818 ล้านบาท ซึ่งหาเงินก็นี้เอายกมือจบท่วมหัวแล้วทำบุญเป็นสังฆทาน ก็จะได้กุศลเป็นอันมากต่อประเทศชาติ
” อย่างไรก็ดีตนได้กราบหารือในเบื้องต้นกับเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ สมเด็จพระราชาคณะฝ่ายมหานิกาย จะจัดพิธีใหญ่ในการถวายที่ดินเป็นสังฆทานที่พุทธมณฑล และจะมีการคัดเลือกวัดพัฒนาตัวอย่าง เพื่อขอพระราชทานชื่อวัดและขอวิสุงคามสีมา ให้กับวัดตัวอย่างในแต่ละภาค ซึ่งจะถือว่าเป็นงานบุญใหญ่ที่เป็นการทำบุญให้กับประเทศ อันจะสร้างความมั่นคงให้กับสถาบันพระพุทธศาสนา” ดร.ณพลเดช กล่าวและว่า
ทั้งนี้ยังมีข้อกังวลเรื่องการให้พื้นที่วัดไป บางกรณีอาจมีทำการทำลายป่าเกิดขึ้นหรือไม่นั้นตนเห็นว่าควรมีมาตรการทางกฎหมายที่เข้มงวด ที่วัดจะต้องเป็นวัดที่ดูแลป่าไม้อาจมีคณะกรรมการกำกับเพื่อให้วัดอยู่กับป่า ประชาชนอยู่ในศีลในธรรม หากผิดเงื่อนไขอาจต้องรับโทษตามบทบัญญัติของกฎหมาย สิ่งนี้ก็จะทำให้ประเทศไทยมีป่าไม้อย่างยั่งยืน ช่วยลดกำลังของเจ้าหน้าที่ภาครัฐโดยเฉพาะกรมป่าไม้และกรมอุทยานฯ อีกทั้งช่วยลดงบประมาณประเทศชาติในการดูแลและปลูกป่าไปได้อีกเป็นจำนวนมาก และยังแก้ปัญหาที่ดินวัดกับป่าที่มีเรื่องร้องเรียนมายัง กมธ. กว่า 70% ซึ่งถือว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุอีกด้วย
Leave a Reply