เมื่อวันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ดร.นิยม เวชกามา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร เขต 2 พรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์รายการ The Politics ข่าวบ้านการเมือง ทางมติชนทีวี ประเด็นว่า ‘พระควรมีสิทธิเลือกตั้งหรือไม่’ ซึ่งทาง ส.ส.ดร.นิยม ได้ให้สัมภาษณ์ไว้ 5 ประเด็น ดังนี้ ประเด็นแรก รัฐธรรมนูญเขียนผิดตั้งแต่ทีแรกแล้ว กฎหมายเขียนขัดแย้งกันเอง กฎมหาเถระสมาคมเขียนขัดกับ มาตรา 27 มาตรา 31 และมาตรา 42 ของรัฐธรรมนูญซึ่งระบุว่า คนไทยมีสิทธิและเสรีภาพเท่าเทียมกัน แต่มาตรา 98(1) พระ สามเณร นักพรต นักบวช ไม่มีสิทธิ์เลือกตั้ง รวมถึงขัดกับปฏิญาณสากลข้อที่ 1-2
ทาง ดร.นิยมก็ได้ยกตัวอย่างกรณีของวัดเอี่ยมวรนุช เกือบต้องทุบโบสถ์อายุ 200 กว่าปีเนื่องจากเส้นทางสร้างทางรถไฟฟ้าไปซ้อนทับกับพื้นที่โบสถ์ เพราะกฎหมายประชามติทำให้พระกลายเป็นพลเมืองชั้น 2 รับฟังแต่เสียงคนรอบ ๆ วัด แต่ห้ามพระออกสิทธิ์ออกเสียงหรือแสดงความเห็นใด ๆ
ประเด็นที่สอง ไม่มีพระธรรมวินัยหรือศีลข้อไหนใน 227 ข้อที่ห้ามพระมายุ่งกับการเมือง หลายคนคัดค้านโดยไปอ้างถึงความไม่เหมาะสม จะไม่เกิดความธรรม (เป็นกลางทางการเมือง) จะทำให้คนเสื่อมศรัทธา หรืออาจจะทำให้ถูกตำหนิ ล้วนแล้วแต่คิดเอาเองทั้งสิ้น! โดยตั้งกำแพงทางความคิดปิดกั้นและจำกัดสิทธิและโอกาสพระ
ในสมัยพุทธกาลพระเจ้าปเสนทิโกศลก็ได้ตั้งให้พระพุทธเจ้าเป็นที่ปรึกษา หลายครั้งที่พระเจ้าปเสนทิโกศลตัดสินใจปัญหาเรื่องการบริหารประเทศไม่ได้ก็จะกราบบังคมทูลเพื่อขอความเห็นจากพระพุทธเจ้า
ในประเด็นนี้ ดร.นิยมได้ระบุต่อว่า พระก็คือคน วันนี้สิทธิหลายอย่างของพระหายไป เช่น การเกณฑ์ทหารพระก็ไม่ได้รับข้อยกเว้น ต้องไปจับใบดำใบแดงเหมือนคนทั่วไป ซึ่งสมัยที่ตนบวชเป็นพระก็เคยต้องไปเหมือนกัน แต่ว่าตนจับได้ใบดำเลยไม่ต้องสึกไปเป็นทหาร แล้วทำไมถึงจะให้พระมีสิทธิ์เลือกตั้งเหมือนคนธรรมดาทั่วไปมิได้
ประเด็นที่สาม หลายประเทศในเอเชียและยุโรปพระมีสิทธิเลือกตั้ง เช่น เมียนมาร์ กัมพูชา ฯลฯ ในหลายประเทศ รวมถึงประเทศที่เคร่งครัดพระธรรมวินัยกว่านี้ก็ยังให้พระมีสิทธิเลือกตั้ง บางประเทศพระสึกออกมาแล้วมาส่งสมัครเป็น ส.ส. ส.ว. หรือประธานธิบดีก็มี
ประเด็นที่สี่ ปัจจุบันนี้พระหลายรูปเรียนจบจากมหาวิทยาลัยหลายทีาไม่ว่าจะเป็น ธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวมถึงพระที่สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศหลายรูปเป็นด็อกเตอร์ เป็นศาสตราจารย์ วิธีคิดของท่านเหล่านั้นคงไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าฆราวาสหรือประชาชนทั่วไป แล้วทำไมจึงต้องออกกฎหมายเพื่อจำกัดสิทธิ์พระเหล่านั้น
ประเด็นที่ห้า และ ส.ส.ดร.นิยม กล่าวทิ้งท้ายว่า ถึงเวลาที่จะปฏิรูปกฎหมาย ถ้าตนมีโอกาสเมื่อไหร่จะเสนอแนวคิดให้พระมีบทบาทมากขึ้น มีสิทธิ์ มีเสียงที่จะพูด ไม่ใก้มีกฎหมายปิดปากพระอีกต่อไป แล้วมีน้องประชาชนทุกท่านมีความเห็นอย่างไรบ้างครับ ว่า “พระควรมีสิทธิเลือกตั้งหรือไม่” อยากให้ทุกท่านได้แสดงความคิดเห็นครับ เชื่อมั่นเพื่อไทยไว้ใจมหานิยม
Leave a Reply