วันที่ 30 กันยายน 2565 พระปราโมทย์ วาทโกวิโท ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร เปิดเผยว่า จากผลการวิจัย “ยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนภายใน สถานศึกษา: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย” วิจัยโดย อาจารย์ภควรรณพร พิศุทธิสุวรรณ อาจารย์ชลัท ประเทืองรัตนา โครงการวิจัยนี้ ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัย จากกองบริหารการวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
พบว่า กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative justice) เป็นกระบวนการยุติธรรมกระแสรอง ซึ่งมีแนวคิดที่มุ่งเน้นการระงับและไกล่เกลี่ยข้อพิพาท เป็นทางเลือกของกระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก เพื่อให้โอกาสคู่กรณีได้ให้อภัยและให้โอกาสคนที่สำนึกในความผิด บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีทางอาชญาวิทยาเกี่ยวกับความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ และการไกล่เกลี่ยข้อ พิพาทภาคประชาชน ตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน พ.ศ.2562 2) เพื่อศึกษา ยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ที่ดำเนินงานโดยศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนภายในมหาจุฬาลงกรณ์ราช วิทยาลัย บทความวิจัยนี้ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ประกอบด้วย ผู้บริหารในมหาวิทยาลัย คณะกรรมการ ศูนย์ไกล่เกลี่ย ผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ที่ทำงาน ร่วมกับมหาวิทยาลัย รวมทั้งสิ้น 10 คน
ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความยุติธรรมเชิง สมานฉันท์ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน และการไกล่เกลี่ยเชิงพุทธมีความสอดคล้องกันในด้านการ พัฒนาและเยียวยาจิตใจ 2) ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย (มจร.) จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 มาตรา 68 ถึงมาตรา 70 โดย ใช้รูปแบบการไกล่เกลี่ยเชิงพุทธ อีกทั้งยังเป็นศูนย์ฯต้นแบบที่ได้รับการประเมินตามมาตรฐานของกรม คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และโดดเด่นในการเป็นศูนย์กลางให้ความรู้ด้านการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่เน้น ความสงบจากภายในจิตใจ แต่ยังมีจำนวนผู้ใช้บริการไม่มากเนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-๑๙ ผนวกกับทำเลที่ตั้งภายในสถานศึกษาและระดับการรับรู้ของประชาชนถึงบทบาทหน้าที่ของศูนย์ฯ ข้อเสนอแนะ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท มจร ควรทำงาน เชิงรุก และมีระบบติดตามผลหลังการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ในนามเลขาศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร จึงขออนุโมทนาขอบคุณกับผลงานวิจัยของอาจารย์ภควรรณพร พิศุทธิสุวรรณ อาจารย์ชลัท ประเทืองรัตนา ในการขับเคลื่อนสังคมต่อไป
Leave a Reply