เมืองร้อยเอ็ด Kick Off น้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี “สร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร” รณรงค์ปลูกพืชผักสมุนไพร ต้านภัย COVID-19 ตามปฏิบัติการปลูกผักสวนครัว รอบ 2 อย่างต่อเนื่อง สร้างประโยชน์สูงสุดให้กับพี่น้องประชาชน
เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 นายทรงพล ใจกริ่ม ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เปิดเผยว่า กระทรวงมหาดไทยได้มีนโยบายในการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในทุกครัวเรือนด้านการเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารตามแนวพระราชดำริ “บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง” ของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อให้พี่น้องประชาชนได้มีผักที่ปลอดสารพิษ อาหารปลอดภัย เกิดสุขภาวะที่ดี และเป็นการลดรายจ่ายให้กับครัวเรือน ซึ่งจังหวัดร้อยเอ็ด ได้น้อมนำพระราชดำริมาขยายผลในทุกอำเภอ เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับพี่น้องประชาชน
“โดยในวันนี้ ที่แปลงศูนย์เรียนรู้ HLM นายบุญธรรม อินอุ่นโชติ บ้านโนนใหญ่ หมู่ที่ 9 ตำบลสีแก้ว อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด ที่ทำการปกครองอำเภอเมืองร้อยเอ็ด ได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายน้อมนำพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร สู่ปฏิบัติการปลูกผักสวนครัว รอบ 2 ต่อเนื่อง ด้วยการรณรงค์ปลูกพืชผักสมุนไพร ต้านภัย COVID-19 มุ่งเน้นการพึ่งพาตนเองและเสริมสร้างความสามัคคีของคนในชุมชน และรณรงค์ให้ปลูกผักสวนครัวทุกครัวเรือน เพื่อพัฒนาหมู่บ้านให้ยั่งยืน โดยขับเคลื่อนการดำเนินงานตามขั้นตอน 6 กระบวนงาน ประกอบด้วย 1) ผู้นำแบบตัวอย่าง ที่เห็นจริง 2) ผู้นำต้องทำก่อน 3) นักพัฒนา 3 ประสานกลไกการขับเคลื่อนปฏิบัติ 4) ทุกครัวเรือน คือ คลังอาหาร ทุกหมู่บ้าน คือ ศูนย์แบ่งปัน 5) ทักษะชีวิตใหม่ เยาวชนไทยสร้างอาหารเป็น 6) ถอดรหัสการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเองในการสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำท้องที่ ผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่น ภาคีเครือข่าย “โคก หนอง นา” และพี่น้องประชาชน ร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก” ผวจ.ร้อยเอ็ด กล่าวเน้นย้ำ
ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวเพิ่มเติมว่า จังหวัดร้อยเอ็ด จะได้มุ่งมั่นขยายผลการขับเคลื่อนกิจกรรมดังกล่าวในทุกอำเภอ ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจ เพื่อส่งเสริมให้พี่น้องประชาชนทุกครัวเรือน สามารถมีกิจกรรมเพื่อลดค่าใช้จ่ายภายในครัวเรือน ทุกคนได้บริโภคผักที่ปลอดสารพิษ และหากปลูกแล้วเหลือจากการบริโภค ยังสามารถนำไปจำหน่าย เกิดเป็นรายได้อีกทางช่องทางหนึ่งด้วย เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร และเกิดประโยชน์สูงสุดกับพี่น้องประชาชนอย่างยั่งยืน
Leave a Reply