“ผอ.IBSCม.สงฆ์ มจร” แนะ 5 ข้อเสนอเชิงปฏิบัติการ บ้าน-วัด-ราชการ (บวร) ต่อมาตรการในการบริหารจัดการเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2563 จากกรณีวัดนาควิชัย อ.เมือง จ.มหาสารคาม ได้ติดป้ายประกาศไม่รับเผาศพชั่วคราว มาบำเพ็ญกุศลที่วัดนาควิชัย ไม่รับศพมาประกอบพิธีฌาปนกิจศพ และไม่รับศพคนที่ตายจากโควิด-19 จนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ โดยประกาศ ณ วันที่ 28 มีนาคม 2563 คณะกรรมการชุมชนนาควิชัย ภายหลังขึ้นป้ายได้ไม่กี่อึดใจได้มีประชาชนบางส่วนออกมาวิพากษ์วิจารณ์
พระครูวิชัยบุญพิศิษฏ์ เจ้าอาวาสวัดนาควิชัย เปิดเผยถึงสาเหตุที่ต้องขึ้นป้ายดังกล่าวเนื่องจากทางชุมชน ไม่เห็นด้วยเนื่องจากหวั่นวิตกว่าศพที่เสียชีวิตอาจจะเกิดจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ก็ได้ จึงต้องการให้งดรับสวดศพรับเผาศพ แต่ไม่ได้ปิดถาวร คนในชุมชนหากมีการเสียชีวิตก็สามารถนำมาเผาได้ สาเหตุที่ปิดอีกประการหนึ่ง คือปิดเพื่อซ่อมเตาเผา เนื่องจากเตาเผามีการชำรุด เตาเผาตัวนี้สร้างมาตั้งแต่ พ.ศ . 2548 บางครั้งเผาไปไฟก็ดับ ต้องซ่อมกันอยู่ประจำ อย่างไรก็ตามหากมีญาติโยมในชุมชนหรือคุ้มวัดนาควิชัยตาย ก็จะทำการตรวจสอบก่อนว่าเสียชีวิตจากโรคอะไร หากเป็นโรคทั่วไปหรือตายตามธรรมชาติก็สามารถเผาได้ ไม่ได้ห้ามว่าไม่เผาเลยนั้น
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส,รศ.ดร. ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ (IBSC) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “Hansa Dhammahaso” แนะนำการบริหารจัดการศพในช่วงวิกฤติโควิด-19 ด้วยหลัก”บวร” พร้อมภาพกราฟิกประกอบดังนี้
Leave a Reply