ส่องหลักสูตรตอบโจทย์ : ผู้นำด้านสันติภาพระดับชุมชน

        ปฎิเสธไม่ได้ว่า โลกปัจจุบันกำลังขัดแย้งค่อนข้างสูง ทั้งระหว่างประเทศมหาอำนาจ ประเทศที่มีชายแดนติดกัน หรือใกล้ตัวเรา ภายในประเทศไทย หลายมีมานี้ วิกฤติความขัดแย้งทางการเมือง สังคมและระดับชุมชน ค่อนข้างมีสูง ไม่เว้นแม้ระดับครัวเรือน

         ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ผู้คนส่วนหนึ่งมองว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดา แต่หลายคนก็ตั้งคำถามกับหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาจิตใจ จิตวิญญาณ คือ คณะสงฆ์

         คณะสงฆ์เองก็พยายามขับเคลื่อนเพื่อสร้างความปรอดดองผ่านกิจกรรมต่าง ๆ  ไม่ว่าจะเป็นโครงการหมู่บ้านศีล 5 หรือ วัดประชารัฐ สร้างสุข เพื่อให้เกิดความรู้รักสามัคคีของคนไทยภายในชาติ

          หรือแม้แต่ มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในฐานะมหาวิทยาลัยสงฆ์ ซึ่งมีภารกิจในการบริการวิชาการทางสังคม ก็มีหลักสูตร ๆ หลักสูตรหนึ่ง ชื่อ ว่า หลักสูตรสันติศึกษา ในหลักสูตรนี้ มีหลักสูตรอบอรมย่อย ๆ อีกหลักสูตรหนึ่งชื่อว่า หลักสูตรสร้างวิศวกรสันติภาพ ซึ่งผลิตนักสันติภาพระดับฐานราก คนที่สนใจเรื่องการสร้งความปรองดอง สร้างความสุขให้เกิดขึ้นภายในชุมชน หมู่บ้าน สร้างมาเรียนได้ และทราบว่าปีนี้ โครงการหลักสูตรสันติภาพจะ เปิดรับสมัครวิทยากรต้นแบบสันติภาพรุ่นที่ ๖ ระหว่าง ๑๔ -๑๘ เดือนตุลาคม พศ.๒๕๖๓

           เพื่อให้ทราบความเป็นมาของเรื่องเหล่านี้ ผมได้สัมภาษณ์ ดร. พระปราโมทย์  วาทโกวิโท อาจารย์ประจำหลักสูตรสันติศึกษา มจร ในฐานะผู้จัดการอบรมหลักสูตรนี้ผ่านคอลัมนิสต์ ธรรมะทอล์ค หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ออนไลน์เกี่ยวกับการพัฒนาผู้ทำงานด้านสันติภาพ จะต้องมีเครื่องมือเพื่อนำไปใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด  ขออนุญาตนำมาลงอีกครั้ง

ทำไมจึงสนใจเรื่องสันติภาพ? 

           ในฐานะเคยศึกษาเล่าเรียนจบปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มหาจุฬารุ่นแรกของประเทศไทยโดยมีสถาบันพระปกเกล้า สำนักงานศาลยุติธรรมและมหาจุฬาร่วมมือกันเสริมสร้างสังคมสันติสุข ในช่วงเวลาที่ประเทศไทยกำลังเกิดความขัดแย้งที่เห็นชัดในทางการเมือง และในตอนนั้นทำงานเป็นวิทยากรธรรมะโอดี ธรรมะพัฒนาองค์กร มีการฝึกอบรมบุคลากรทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ จึงต้องการเครื่องมือแนวทางพระพุทธศาสนาและแนวทางตะวันตกเพื่อนำมาบูรณาการประยุกต์ในการฝึกอบรมในองค์กร ซึ่งแต่ละองค์กรมีความขัดแย้ง จึงตัดสินใจเรียนสาขาวิชาสันติศึกษา ซึ่งเป็นสาขาที่ตอบโจทย์การทำงานเป็นวิทยากรและการดำเนินชีวิตที่มีความสุขได้ ซึ่งการมาเรียนสันติศึกษาความจริงไม่ได้เอาเครื่องมือไปจัดการคนอื่น แต่มาเรียนเพื่อจัดการตนเองให้มีความสุข สงบ เย็น มีสันติภายใน ยอมรับเคารพในความแตกต่าง การเป็นวิทยากรฝึกอบรมเราพยายามจะไปช่วยผู้อื่นให้มีความสุขแต่เราเองยังขาดความสุขยังมีความเร้าร้อนอยู่ สันติศึกษาจึงสามารถตอบโจทย์ชีวิต เรียกว่า เอาใจตนเองอยู่ สามารถเอาทุกเรื่องอยู่เช่นกัน

    ที่สนใจเรื่องสันติภาพเพราะต้องการนำเครื่องมือด้านสันติภาพแนวพุทธศาสนาและสันติภาพแนวตะวันตก มาเยียวยาหัวใจตนเองให้มีสันติภายใน มีภูมิคุ้มกันป้องกันความรุนแรงภายในใจของตน และต้องการนำสันติภาพไปช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ออกแบบการเรียนรู้ที่ป้องกันความขัดแย้งและเสริมสร้างสันติภาพขึ้นในใจของผู้คนในองค์กรต่างๆ  เพราะพระพุทธเจ้าตรัสไว้ชัดเจนว่า #สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี  การทำงานด้านสันติภาพจึงเป็นโอกาสในการช่วยเหลือมนุษย์ ตนเองก็สุขคนอื่นก็สุข มิใช่จะพยายามให้คนอื่นสุขแต่ตนเองขาดแคลนความสุข

จุดเริ่มต้นของสันติภาพมหาจุฬาคืออะไร ?  

         สันติภาพเป็นงานพระพุทธเจ้าโดยตรง เพราะพระองค์ตรัสไว้ชัดว่า #พึงศึกษาสันติเท่านั้น ซึ่งหมายถึง พระนิพพาน โดยสันติภายในคือความสงบสุขภายในจิตใจ สันติภายนอกคือการไม่มีสงคราม ความสงบสุขของผู้คนในการอยู่ร่วมกันถึงจะมีความแตกต่างกันในวิถีปฏิบัติก็ตาม ทำให้พระพรหมบัณฑิต ศ.ดร. อดีตอธิการบดีมหาจุฬา สนับสนุนให้เกิดหลักสูตรสันติศึกษาขึ้นในมหาจุฬาร่วมกับสถาบันพระปกเกล้าและสำนักงานศาลยุติธรรม โดยมีท่านพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส รศ.ดร. เป็นผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ซึ่งเริ่มต้นจากการทำวิจัยในระดับปริญญาเอก เรื่อง #รูปแบบการจัดการความขัดแย้งโดยพุทธสันติวิธี จึงมีการพัฒนาเป็นหลักสูตรสันติศึกษา เปิดหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก มีผู้คนมาเรียนจำนวนมากเพราะต้องการความสุขจากภายใน เพียงชื่อหลักสูตรก็อยากจะมาเรียน เพราะจุดเด่นและเสน่ห์ #ด้านสันติภาพของมหาจุฬาคือมุ่งสันติภายใน มุ่งการจบภายใน ก่อนออกไปทำงานรับใช้เพื่อนมนุษย์ เรียกว่า #จบประโยชน์ตนนึกถึงประโยชน์คนอื่น สันติศึกษาของมหาจุฬาจึงเน้นด้านสันติภายในก่อนไปสร้างสันติภายนอก  เพราะถ้าตนเองไม่พอจะไปถักทอให้ใครได้

วิศวกรสันติศึกษาหมายถึงใคร ?

          ในโลกใบนี้มีเราวิศวกรในการสร้างภายนอกคือ อาคาร ตึก บ้าน วัตถุภายนอกจำนวนมาก แต่เรายังขาดวิศวกรในการสร้างภายในคือ สร้างจิตใจที่สงบเย็นและเป็นประโยชน์ สร้างภายในที่แท้จริง หลักสูตรสันติศึกษามหาจุฬา จึงสร้างวิศวกรสันติภาพ ซึ่งเป็นสันตินวัตกรรมใหม่ วิศวกรสันติภาพจึงเป็นผู้พัฒนาตนให้มี #สติขันติสันติ แล้วเอาธรรมไปทำ ด้วยการลงมือทำ ผู้จะเป็นวิศวกรสันติภาพจึงต้องมีความสงบเย็น นุ่มนวล มีสันติภายใน มีความใจกว้าง ยอมรับต่อความแตกต่าง รับฟังผู้อื่น เป็นผู้จบภายใน แล้วไปสร้างประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ในจุดที่ตนเองยืน เรียกว่า เปลี่ยนแปลงสังคมในจุดที่ตนยืน ด้วยการพัฒนา ๔ ภาพให้เกิดขึ้นภายในตนเองและสังคม ประกอบด้วย ด้านกายภาพ  ด้านพฤติภาพ  ด้านจิตภาพ และด้านปัญญาภาพ

วิศวกรสันติภาพสามารถตอบโจทย์ในสังคมไทย ?

             เริ่มต้นจากการตอบโจทย์ตนเองก่อนด้วยการเป็นผู้สงบเย็นแล้วไปสร้างประโยชน์ให้กับสังคม เพราะสันติส่วนบุคคลเป็นสันติภาพสากลของโลก สันติศึกษาจึงสร้างวิศวกรสันติภาพให้เป็นบุคคลที่มีความสุขจากภายในก่อนออกไปทำงานรับใช้เพื่อนมนุษย์ งานวิจัยในระดับปริญญาเอกจึงเน้นการวิจัยเชิงพัฒนา ทดลอง ภาคสนาม ภาคทฤษฏีและนำไปสู่การปฏิบัติจริงในพื้นที่ชุมชนต่างๆ  วัด บ้าน โรงเรียน สังคม องค์กร ประเทศชาติ งานวิจัยที่มีผลวิจัยเป็นสันตินวัตกรรมเป็นงานวิจัยรับใช้สังคม คือ #รูปแบบการพัฒนาวิทยากรต้นแบบสันติภาพโดยพุทธสันติวิธี เป็นงานวิจัยเชิงพัฒนา มีการทดลองจริง ได้องค์ความรู้ใหม่ เป็นนวัตกรรม นำไปพัฒนามนุษย์และสังคม จึงมีการพัฒนาเป็นหลักสูตรระยะสั้นฝึกอบรมบุคคลทุกช่วงวัยสามารถตอบโจทย์ผู้คนในสังคมและสนองนโยบายมหาวิทยาลัยและกระทรวงใหม่ที่มุ่งให้งานวิจัยตอบโจทย์บุคคลทุกช่วงวัย ซึ่งล่าสุดเมื่อต้นปี๒๕๖๓ มีการฝึกอบรมวิทยากรต้นแบบสันติภาพรุ่นที่ ๕ ขึ้น สามารถตอบโจทย์บุคคลทำงานด้านการฝึกอบรมเป็นวิทยากร ซึ่งตอนนี้กำลังเปิดหลักสูตรวิทยากรต้นแบบสันติภาพรุ่นที่ ๖ ซึ่งจะเปิดฝึกอบรมในวันที่ ๑๔-๑๘ เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๓ ตอนสมัครมาจะเต็มจำนวนที่รับแล้ว

อาชีพรับรองผู้มาเรียนด้านสันติภาพคืออาชีพอะไร ?

          สันติศึกษาเป็นวิชาชีวิตวิชาแห่งความสุขจากภายใน ผู้มาเรียนส่วนมากเป็นผู้มีอาชีพอยู่แล้ว มีการงานเป็นระดับผู้บริหารองค์กร เป็นบุคลากรภาครัฐและเอกชนและอาชีพอิสระ แต่สนใจมาเรียนเพื่อต้องการค้นพบความสุขจากภายในตน เข้าใจคำสอนทางพระพุทธศาสนาและศาสตร์สมัยใหม่ในการนำไปปรับใช้ สันติศึกษาจึงเป็นศาสตร์แห่งการไปเสริมสนับสนุนให้งานประจำที่ทำอยู่มีความสุข สามารถจัดการความขัดเแย้งในการอยู่ร่วมกัน เพราะทุกองค์กรย่อมมีความขัดแย้ง เมื่อเกิดความขัดแย้งจะใช้สันติวิธีหรือจะใช้ความรุนแรง สันติศึกษาจึงเป็นคำตอบว่าเป็นการไปสนับสนุนให้อาชีพที่ทำอยู่มีความสุขขึ้น ส่วนผู้ที่จบปริญญาโทเอกของหลักสูตรสันติศึกษาสามารถไปเป็นนักไกล่เกลี่ยตาม พรบ. การไกล่เกลี่ย ๒๕๖๒ มีสิทธิ์เข้าฝึกอบรมเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นผู้ไกล่เกลี่ยตามกฎหมายในศาลต่างๆ รวมถึงเป็นผู้ประนีประนอมประจำศาล สามารถเป็นนักฝึกอบรม วิทยากร โค้ช ผู้อำนวยการให้เกิดการเรียนรู้ Fa ที่สามารถออกแบบกิจกรรมเพื่อจัดการความขัดแย้งในองค์กรต่างๆ  จึงย้ำว่า #สันติศึกษาเป็นทั้งวิชาชีพและเป็นวิชาชีวิต

การจัดฝึกอบรมด้านสันติภาพสิ่งที่ผู้เรียนนำไปใช้ได้คืออะไร ? 

            เครื่องมือในการจัดการความขัดแย้งภายในตนเอง ผ่านการเรียนรู้ภาคปฏิบัติ ๓ คำ คือ สติ ขันติ  สันติ  มีสติเมื่อใดสันติเกิดเมื่อนั้น โดยมุ่งเน้นสันติภาพให้เกิดขึ้นภายในจิตใจก่อน เรียกว่า #สันติภายใน จากนั้นผู้มาเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับสันติภาพ ความขัดแย้ง ความรุนแรง สันติวิธี และพุทธสันติวิธี เครื่องมือจัดการความขัดแย้งภายนอก เรียนรู้ที่จะฟังบุคคลที่มีความแตกต่างผ่านเครื่องมือสันติสนทนา สิ่งที่ได้เรียนรู้มากที่สุดคือ การสัมผัสถึงความสุขที่แท้จริง ผ่าน K-U-M-S-A-N  Model ประกอบด้วย Kเป็นความรู้ด้านสันติวิธีและพุทธสันติวิธี  Uเป็นความเข้าใจด้านสันติภาพสันติสุข Mเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับสติสันติภายใน Sเป็นการเรียนรู้ด้านทักษะการสื่อสารสันติภาพ Aเป็นการเรียนรู้ทัศนคติวิธีคิดมองความต่าง Nเป็นการสร้างเครือข่ายการทำงานด้านสันติภาพ  ผู้มาเรียนจึงเป็นผู้มีเครือข่ายด้านสันติภาพ เพราะมีความหลากหลายอาชีพที่ต้องการสร้างสันติภายในให้ตนเองและนำไปประยุกต์ใช้กับครอบครัว การทำงาน

สังคมไทยมีความขัดแย้งพร้อมใช้ความรุนแรงมีหนทางอย่างไร?

             ความขัดแย้งเป็นธรรมชาติเป็นธรรมดาของโลก ไม่มีที่ใดไม่มีความขัดแย้ง เราจึงต้องหาเครื่องมือเพื่อบริหารความขัดแย้ง ความขัดแย้งเป็นมุมบวกคือ มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น ส่วนความขัดแย้งเป็นมุมลบคือ การใช้ความรุนแรงนำไปสู่การสูญเสียเวลาและชีวิต โจทย์คือเราต้องหาเครื่องมือเพื่อจัดการความขัดแย้งภายในตนก่อน เป็นบุคคลแห่งสันติภาพ เป็นวิศวกรสันติภาพ วิธีการคือ เข้ามาศึกษาในหลักสูตรสันติศึกษา มหาจุฬา เพื่อนำเครื่องมือไปใช้กับตนเองและองค์กรสังคม เพราะทางออกของความขัดแย้งไม่จำต้องใช้ความรุนแรงเท่านั้น แต่พุทธสันติวิธีคือเครื่องมือหนึ่งที่พระพุทธเจ้าใช้มาแล้วได้ผลเป็นอย่างดี  เรามีเครื่องมือเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เป็นภูมิปัญญาที่สุดยอด แต่เรายังไม่นำมาใช้อย่างจริงจัง หลักสูตรสันติศึกษา มหาจุฬา จึงเป็นคำตอบของสังคมไทยในการจัดการความขัดแย้ง

หลักสูตรระยะสั้นที่เหมาะสมกับคนยุคใหม่มีหลักสูตรใดบ้าง ? 

              หลักสูตรสันติศึกษา มหาจุฬา มีการจัดฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้นเพื่อตอบโจทย์บุคคลทุกช่วงวัยที่มีความสนใจด้านสันติภาพภายใต้ หลักสูตร วิทยากรต้นแบบสันติภาพ ซึ่งเรากำลังเตรียมเปิดหลักสูตรวิทยากรต้นแบบรุ่นที่ ๖ ในเดือนตุลาคม ๒๕๖๓ นี้ และหลักสูตรการไกล่เกลี่ย รวมถึงหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์แห่งความสุข โค้ชสติ การสื่อสารเพื่อสันติภาพ การฟังด้วยหัวใจ ขันติธรรมทางศาสนา ผู้นำพุทธสันติวิธี  วิทยากรต้นแบบสันติภาพ เป็นต้น

               ท่านที่สนใจเข้ามาศึกษสหลักสูตรการฝึกอบรมด้านสันติภาพที่นำไปใช้ในการทำงานและสร้างความสุขในชีวิต สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่  หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้ที่ พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท ดร. อาจารย์ประจำหลักสูตรสันติศึกษา มจร. วิทยากรต้นแบบสันติภาพ รับดูแลหลักสูตรระยะสั้นด้านสันติศึกษา โทรศัพท์ 098-1596542 ไอดีไลน์ : 1596542

               หลักสูตรระยะสั้นที่สามารถตอบโจทย์วิทยากรฝึกอบรม นักวิจัยที่ต้องพัฒนาหลักสูตรพัฒนา นักกระบวนกร โค้ช นักกิจกรรม ผู้ต้องการออกแบบกิจกรรมด้านจัดการความขัดแย้งในองค์กร ออกแบบเครื่องมืออย่างมืออาชีพโดยมีการบูรณาการกับศาสตร์ตะวันตกและพระพุทธศาสนาอย่างกลมกลืน เพื่อให้หลักสูตร กิจกรรม เครื่องมือสามารถตอบโจทย์ได้ หลักสูตรสันติศึกษา จึงเปิดรับสมัครวิทยากรต้นแบบสันติภาพรุ่นที่ ๖ ระหว่าง ๑๔ -๑๘ เดือนตุลาคม พศ.๒๕๖๓ ณ หลักสูตรสันติศึกษา มหาจุฬา ท่านที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ไอดีไลน์ : 1596542

Leave a Reply