วันที่ 27 ธันวาคม 2565 พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เปิดเผยว่า ได้ปฏิบัติหน้าที่แทน พระครูปลัดปัญญาวรวัฒน์ ศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา มจร ในการเป็นประธานเปิดการสันติสนทนาและบรรยายพิเศษเรื่อง “กระบวนการพัฒนาศาสนทายาทโดยพุทธสันติวิธี” โดยนิสิตระดับปริญญาเอก สาขาวิชาสันติศึกษา เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลงานวิจัยตามแนวทางบันไดเก้าขั้น โดยได้รับความเมตตา
พระเมธีวชิโรดม (ว.วชิรเมธี) ปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “สืบสาน รักษา ต่อยอด ศาสนทายาทโดยพุทธสันติวิธี” โดยสะท้อนว่า เราพัฒนาเด็กเยาวชนมาหลายปีโดยมีโครงการพัฒนาสามเณรปริยัติธรรม เป็นโรงเรียนปริยัติธรรมอันดับหนึ่งของประเทศไทย ได้แชมป์ด้านวิชาการ 5 ปีซ้อน เป็นโรงเรียนปริยัติธรรมอันดับหนึ่งของประเทศ มีโครงการพัฒนาสามเณร 9 วันที่ฉันตื่นซึ่งทำมาทุกปี ซึ่งมีความประสบความสำเร็จในการจัดการโครงการโดยมีวิทยากรที่เป็นต้นแบบ
เราบวชสามเณรมากในประเทศไทยแต่ขาดวิทยากรที่มีคุณภาพในการพัฒนาสามเณร จะต้องพัฒนาหลักสูตรให้แข็งแกร่งมีการปรับกับปีต่อปี “หลักสูตรจะต้องมาตรฐาน” กล้าลงทุนกับวิทยากรที่มีคุณภาพเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้สามเณร โดยมุ่งสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กเยาวชน ซึ่งคนระดับชาติต้องการสร้างแรงบันดาลใจ โดยโครงการเริ่มต้นจากการสัมภาษณ์พ่อแม่ก่อนสัมภาษณ์เด็ก การจัดโครงการพัฒนาเด็กเยาวชนอย่านำเด็กไปใส่ในห้องเรียน แต่จงให้เขาไปเรียนในธรรมชาติผ่านการลงมือทำลงมือปฏิบัติ เด็กเยาวชนต้องเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง ปรับหลักสูตรทุกปี ให้เด็กเยาวชนเรียนกับยอดคนยอดครู ซึ่งมีโครงการสามเณรปลูกปัญญาธรรม มี ดร.เนตรชนก วิภาตะศิลปิน ผู้วิจัยการพัฒนาสามเณรปลูกปัญญาธรรม เป็นผู้อำนวยการโครงการ จึงย้ำว่า “เยาวชนคือความหวังของมนุษยชาติ”
ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ประธานสถาบันการสร้างชาติ สะท้อนว่า กระบวนการพัฒนาศาสนาทายาท ซึ่งสร้างทายาทปัจจัยอยู่รอดขององค์กรซึ่งมองโมเดลในการสร้างทายาท โดยญี่ปุ่นมีการสร้างทายาทที่มีความสำคัญเพราะทายาทถือว่าเป็นบุคคลสำคัญองค์อยู่รอด ในมิติพระพุทธศาสนาจะต้องพัฒนาศาสนทายาทเชิงคุณภาพมิใช่มุ่งแต่การพัฒนาศาสนทายาทเชิงปริมาณ ปัจจุบันเราเห็นคนบวชน้อยลงซึ่งไม่ใช่เฉพาะพระพุทธศาสนาแต่รวมไปถึงศาสนาอื่นๆ ด้วย คนสนใจจิตนิยมน้อยแต่สนใจวัตถุนิยมซึ่งในอดีตวัดเป็นแหล่งให้โอกาสถือว่าเป็นสังคมสังเคราะห์ ท่านที่เป็นผู้นำท่านถัดไปคือ “ทายาท” โดยทายาทถือว่าเป็นคนไม่ทิ้งอุดมการณ์ เป็นผู้ไม่หวั่นไหวแม้เจออุปสรรค โดย “อำนาจก่อเกิดลูกน้อง อิทธิพลก่อเกิดลูกศิษย์ ศรัทธาก่อเกิดสาวก แต่บารมีก่อให้เกิดทายาท” ซึ่งจะเกิดทายาทได้จะต้องมีบารมี อำนาจอิทธิพลศรัทธาไม่เกิดทายาทแต่บารมีสร้างทายาท โดยระบบการพัฒนาศาสนทายาทถือว่ามีความสำคัญจะต้องสร้างอุดมการณ์แต่กระบวนการพิจารณาทายาท
พระพุทธเจ้าทรงมีทายาทเอาชนะกาละและเทศะ ซึ่งพระพุทธศาสนาอยู่ไม่ได้ถ้าไม่พัฒนาศาสนทายาท ทายาทจึงกำหนดความสำเร็จหรือล้มเหลว ซึ่งภัยของพระพุทธศาสนาจากภายในมากกว่าภายนอก จึงจำเป็นจะต้องเลือกศาสนทายาทเพื่อเป็นผู้นำให้มีคุณภาพ คำถามเราจะเลือกศาสนทายาทอย่างไรจึงต้องมีระบบในการพัฒนาศาสนทายาท “เกณฑ์การพัฒนาศาสนทายาท” ควรมีเกณฑ์อย่างไร ซึ่งการสร้างทายาทจะต้องมาจากความสัมพันธ์โดยจะต้อง “มีความรัก มีความไว้ใจ ให้อภัย” จึงสามารถปั้นได้ อย่าปั้นคนที่ไม่ยอมให้ปั้น อย่าเสียเวลาปั้นคนที่ไม่ยอมให้ปั้น จะต้องปั้นคนที่ยอมให้ปั้น
“คำถามพระพุทธเจ้าปั้นคนเป็นทายาทอย่างไร” ทำไมสาวกทั้งหลายตามพระพุทธเจ้า ซึ่งการปั้นกับคนถูกปั้นจะต้องมีความสัมพันธ์ เราลองไปดูว่าพระสงฆ์นักปราชญ์เมื่อจากโลกนี้ไปแล้วได้วางทายาทหรือไม่อย่างไร ถ้าไม่ได้วางทายาทถือว่าน่าเสียดายมาก มจร จะต้องมีทายาทถ้าไม่มีถือว่ามีความอันตรายมาก จำเป็นต้องมีทายาท อย่าปล่อยไปตามธรรมชาติจะต้องปั้นทายาทมีการปั้นอย่างเป็นระบบตั้งใจปั้นทายาท จะต้องเต็มใจให้ยอมปั้นอย่าบังคับเพื่อมาปั้น โดยพิสูจน์ทายาทผ่านการทำงานร่วมงาน ร่วมสำนักคิด ร่วมอุดมการณ์ และร่วมสืบทอดงาน ซึ่งการหาทายาทบริษัทง่ายแต่การหาทายาทพระพุทธศาสนาถือว่ามีความยากแต่สามารถทำได้ โดยลีกวนยู ผู้นำประเทศสิงคโปร์ปั้นทายาทสำเร็จอย่างชัดเจน ทำให้สิงคโปร์มีความต่อเนื่อง
Leave a Reply