“มจร” เล็งเปิดหลักสูตรการเรียนรู้ตลอดชีวิต สาขาดนตรีภาวนา-พระเครื่องศึกษา-การท่องเที่ยววิถีพุทธรับซอฟเพาเวอร์

วันที่ ๒ มกราคม ๒๕๖๖ พระสุธีรัตนบัณฑิต คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว(Suthito Aphakaro) ความว่า บัณฑิตวิทยาลัย มจร : จิตวิญญาณแห่งการตื่นรู้และการสร้างสรรค์เพื่อโลกที่ยั่งยืน

หลังจากที่ได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัยให้ดำรงตำแหน่ง “คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย” ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแห่งคณะสงฆ์และสังคมไทย ในฐานะมหาวิทยาลัยอันดับสองของโลกด้านพระพุทธศาสนาจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ รองจากมหาวิทยาลัยเรียวโกกุของญี่ปุ่น

หลังจากสนทนากับทีมงานบัณฑิตวิทยาลัยและได้รับเชิญไปบรรยายอนาคตบัณฑิตวิทยาลัยให้กับภาคีการศึกษาที่เติบโตมาพร้อมกัน คือ บัณฑิตวิทยาลัยแห่งมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา

จึงสรุปแนวทางการขับเคลื่อนบัณฑิตวิทยาลัย มจร ในรูปแบบ 3A Model ดังนี้

A1 = Academic Cooperation

การสร้างความร่วมมือกับคณะและสถาบันในระดับชาติและนานาชาติ โดยมีรูปแบบบริหารในเชิงบูรณาการและสหวิทยาการ

๑) ร่วมมือกับทุกหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษาในทุกสาขาวิชาใน มจร

๒) พัฒนารูปแบบการเรียนรู้ข้ามหลักสูตรแบบบูรณาการ (สามารถนำการเรียนรูัในทุกรายวิชา ทุกหลักสูตรมาเป็นวิชาเลือกได้ในสาขานั้น ๆ ได้)

๓) พัฒนาหลักสูตรสหวิทยาการ แบบข้ามสถาบัน ตามนโยบายของ สป.อว. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้จากทุกมหาวิทยาลัย ทุกสถาบันมาเรียนรู้ร่วมกัน และนำมาเป็นวิชาเลือกเพื่อขอรับปริญญาได้

๔) ส่งเสริมการวิจัยระดับชาติและนานาชาติ

๕) สัมมนาแลกเปลี่ยนวิชาการนานาชาติ และพัฒนาสร้างองค์ความรู้ทางพระพุทธศาสนาเพื่อสังคมอย่างสร้างสรรค์ โดยมีการบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่

๖) จัดตั้งศูนย์การแปลคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนานานาชาติ

๗) ยกระดับมาตรฐานการศึกษาระดับอุดมศึกษา เช่น การสะสมหน่วยกิต Credit Bank มาตรฐาน EdPEx การพัมนาตามกรอบ มคอ. โดยมีรูปแบบการเรียนรู้ทั้งในระบบออนไลน์, การวิจัยและพัฒนาจากประการณ์ของผู้เรียน การพัฒนาและสร้างสรรค์ Creative for Future Skill โดยมีการเชิญ Visiting Professor จากทั่วโลกมาสร้างสรรค์ความรู้ร่วมกัน

A2 = Academy of Graduate-MCU

พื้นที่การเรียนรู้และสร้างสรรค์ของบัณฑิตวิทยาลัย

มุ่งพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้และการสร้างสรรค์ ในหลักสูตรของบัณฑิตวิทยาลัย โดยมีหลักสูตรในระดับบัณฑิตศึกษา ๕ หลักสูตร ประกาศนียบัตร ๔ หลักสูตร และหลักสูตรการเรียนรู้ตลอดชีวิต ๖ หลักสูตร ดังนี้

– หลักสูตรระดับปริญญาโท-เอก
– Buddhist Studies (สาขาพระพุทธศาสนา)
– Philosophy (สาขาปรัชญา)
– Buddhist Innovation for Communication
(สาขาพุทธนวัตกรรมการสื่อสาร)
– Peace Study (สันติศึกษา)
– Philosophy and Global Study (ปรัชญาและโลกศึกษา) (New)
– หลักสูตรระดับประกาศนียบัตร
– สาขาวิปัสสนาภาวนา
– สาขามหายานศึกษา (Mahayana Study) (เปิดปี ๒๕๖๖)
– สาขาการจัดการพุทธศิลปกรรม
– สาขาวิธีวิทยาการวิจัยเชิงพุทธบูรณาการชั้นสูง (เปิดปี ๒๕๖๖)

-หลักสูตรการเรียนรู้ตลอดชีวิต
– สาขาเซนศึกษา (Zen Study) (เปิดปี ๒๕๖๖)
– สาขาดนตรีภาวนา (เปิดปี ๒๕๖๖)
– สาขาพุทธศิลปะสร้างสรรค์ (Creative Buddhist Art)
– พระเครื่องศึกษา
– การท่องเที่ยววิถีพุทธ (ไกด์พุทธศาสนา)
– สาขาศิลปะการดำเนินชีวิต (ฺฺBuddhist Live Coding)
A3 Academy and Community for Change
ชุมชนเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาที่ยั่งยืน

บัณฑิตวิทยาลัย มจร ร่วมมือและขับเคลื่อนสังคมเพื่อสร้างความมั่นคงและยั่งยืนของสังคม นำสังคมไปสู่สังคมแห่งการตื่นรู้ เข้าใจถึงบริบทและการเปลี่ยนแปลง ในระดับชุมชนและนานาชาติ รวมทั้งการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่เหมาะสมกับสังคมนั้น ๆ บนพื้นฐานสังคมแห่งความเป็นธรรม โดยมีระดับการพัฒนา 4 ระดับ
๑) บุคคลแห่งการตื่นรู้ (Awakening Mind)
๒) ชุมชนสันติสุข (Peace Community)
๓) สังคมคุณธรรม (Moral Society)
๔) การพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

บัณฑิตวิทยาลัยดำเนินการในฐานะองค์กรการศึกษาที่ให้คำปรึกษาและการพัฒนาร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ทั้งในระดับชุมชนและนานาชาติ โดยผ่าน การดำเนินโครงการพุทธศาสตร์เพื่อสังคม (Buddhist Project for social Development)

Leave a Reply