วันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๖๖ ณ ห้องประชุมโฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา จังหวัดเชียงใหม่ พระปราโมทย์ วาทโกวิโท, ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการเสริมสร้างสังคมสันติสุขรุ่นที่ ๑๓ เปิดเผยว่า ศึกษาดูงานครั้งที่ ๓ ภายใต้ “หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ ๑๓” (๔ ส. ๑๓) จัดโดย สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า โดยรับฟังการบรรยายและศึกษาดูงานประเด็น หัวข้อ “ภูมิปัญญาล้านนากับพลังเครือข่ายเพื่อสังคมสันติสุข” ณ ห้องประชุมโฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา โดย อาจารย์ชัชวาล ทองดีเลิศ ประธานมูลนิธิสืบสานล้านนา พ่อครูแม่ครูภูมิปัญญา เครือข่ายเยาวชนคนรุ่นใหม่ กล่าวประเด็นสำคัญว่า มีการทำโรงเรียนสืบสานมา ๒๐ ปี โดยเริ่มพัฒนาในหมู่บ้านซึ่งถ้าไม่ตั้งอยู่ในฐานชีวิตวัฒนธรรมจะไม่ยั่งยืน โดยเราเริ่มจากเชียงใหม่ครบรอบ ๗๐๐ ปี โดยย้อนไปปี ๒๕๓๙ เราไปพบผู้มีภูมิปัญญาท้องถิ่นจึงจะนำเสนอผ่านปัจจัย ๔ สืบสานล้านนา
ที่ผ่านมาเราตามฝรั่งมาตลอดจึงต้องการพึ่งตนเองผ่านภูมิปัญญา ผักพื้นบ้านอาหารพื้นเมือง ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย โดยชวนหน่วยงานต่างๆ มาร่วมเป็นเครือข่าย มีการนำชวนกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า ๒๐ ชาติพันธุ์ เริ่มจากการทอดผ้าป่า โดยมีแต่คนเฒ่าคนแก่มาร่วมจึงขยายให้คนรุ่นใหม่เข้ามาสืบสานวัฒนธรรมล้านนามีการสอนคนรุ่นใหม่ โดยใช้แนวคิดว่า “อมไว้จะหาย คายออกจะอยู่” จึงมีการสอนคนรุ่นใหม่ โดยการสืบสานจะต้องทำทุกลมหายใจ เป็นวิถี ซึ่งในระบบการศึกษามุ่งการศึกษาที่มีหลักสูตรท้องถิ่น ซึ่งครูในระบบไม่มีความเชี่ยวชาญในวิถีภูมิปัญญาโดยใช้วิธีการ” ทำให้ดู อยู่ให้เห็น เย็นให้เป็น เล่นให้ม่วน ชวนปฏิบัติ”
สิ่งพิเศษมากคือ จึงมีการไหว้ครูจะได้ต่อใจระหว่างครูกับศิษย์ จึงมีการสอนอย่างมีความสุข จึงมีการรวมกลุ่มกันมากขึ้นในกลุ่มต่างๆ แรกๆ เป็นการจัดการ ขยับมาเป็นโรงเรียน และพัฒนาไปสู่การเครือข่ายอย่างมั่นคง ซึ่งพยายามไปจดทะเบียนกับกระทรวงแต่ไม่สามารถทดทะเบียนได้ จึงตั้งเป็นมูลนิธิสืบสาน ผ่านการ “หน่อคำลำแก้ว” มีการเรียนรู้อย่างเป็นระบบมีครูที่มีจิตวิญญาณเรียกว่านอนตายตาหลับ จึงฝากทุกท่านว่าช่วยผลักดันภูมิปัญญาเพื่อดูแลท้องถิ่นเพราะเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน จะเป็นพลังที่เป็นฐานทางเศรษฐกิจอย่างดียิ่ง เราเห็นประเด็นมิติของช่วงวัยที่มีความแตกต่างกัน จึงต้องอาศัยคนรุ่นใหม่ในการเข้ารากเหง้าตนเองว่าได้มาเพราะเลือดเนื้อที่เจ็บปวด ซึ่งโลกยุคใหม่ทำให้คนลืมรากเหง้าของตนเอง โดยจะต้องเริ่มจากศรัทธาเป็นฐานผ่านการมองต้นทุนตนเองให้มองถึงคุณค่าของตนเอง โดยจะมองเก่ากับใหม่เชื่อมกันได้อย่างไร ? จึงอาศัยวัดเป็นฐานในสถานที่เรียนรู้เพราะวิถีวัฒนธรรมเชื่อมโยงกันทั้งหมด ไม่ใช่การสอนแต่เป็นการบ่มเพาะอย่างต่อเนื่องเป็นวิถี
แรงบันดาลใจมาจากศิลปะวัฒนธรรมโดยเข้ามาในเมืองเชียงใหม่ ซึ่งมาจากไทยใหญ่นำไปสู่ครอบครัวสืบสาน จึงชอบคำว่า สันติวิธี เพราะเป็นคำที่ทำให้เราอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข โดยเด็กรุ่นใหม่ในการรักษาสืบสานวัฒนธรรมสะท้อนว่า โดยพ่อครูไปสอนที่โรงเรียนจึงเกิดความสนใจโดยเคารพพ่อครูเป็นครอบครัว ซึ่งการเรียนรู้เป็นวิถีชีวิตเข้าไปถึงจิตวิญญาณซึ่งจะสืบทอดสืบสานมีความรักความผูกพัน ภายใต้คำว่า “ใหม่กะเอา เก่ายังรักษา” มิติของวัฒนธรรม ซึ่งวัฒนธรรมถือว่าเป็นสันติวิธี โดยวัฒนธรรมทำให้จิตปราณีตเพราะจรรโลงใจ ซึ่งดนตรีวัฒนธรรมเชื่อมถึงกัน ซึ่งกระบวนการสืบสานทำให้พ่อครูแม่รู้จักกัน สามารถเรียนรู้แล้วนำไปต่อยอดสอนคนอื่นได้ สิ่งหนึ่งคือ เราดูแลครู ครูดูแลเรา และศิษย์ดูแลกันเอง มีการชวนเพื่อนรุ่นใหม่เข้ามาเรียนรู้การสืบสานวัฒนธรรมล้านนา ซึ่งการมาเรียนทำให้เราสืบสานวัฒนธรรมสู่คนอื่นเป็นการรักษาต่อยอดมีอายุตั้งแต่ ๕ -๖๐ ปี เราเรียนรู้กันเหมือนครอบครัวมีความอบอุ่น สะท้อนว่าเรามีช่องว่างระหว่างวัยแต่เรามีจุดเดียวกันคือเรียนรู้ร่วมกัน เป็นการลดช่องว่างระหว่างวัย โดยศิลปวัฒนธรรมเป็นตัวเชื่อมการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
กระบวนการเรียนรู้การสืบสานวัฒนธรรมล้านใช้กรอบการเรียนรู้ ๔ คำ ประกอบด้วย “หัน เฮียน ฮุม ฮัก” หันคือมาเห็น เฮียนคือเรียนรู้ ฮุมคือมีความชอบศรัทธา และฮักคือมีความรัก โดยสามารถแบ่งออก ๓ หลักสูตร ประกอบด้วย ๑)หลักสูตรขั้นต้น (ได้ทำ) ๒)หลักสูตรขั้นกลาง (ทำได้) ๓)หลักสูตรขั้นสูง (ถ่ายทอดได้) โดยพ่อครูกล่าวว่า นอนตายตาหลับแล้วเพราะพัฒนาคนรุ่นใหม่ให้มีการสืบสานรักษาต่อยอดเป็นมรดกทางวัฒนธรรม สืบสานล้านนาสืบสานวิถีชีวิตและภูมิปัญญาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีหลักสูตรที่เปิดสอน ๒๔ หลักสูตร ประกอบด้วย ภาษาล้านนา ดนตรีพื้นเมือง งานจักสาน การขับขานล้านนา ฟ้อนพื้นเมือง วาดรูปล้านนา การทำตุงโคม ฟ้อนดาบฟ้อนเจิง ของเล่นเด็ก เครื่องสักการะ การทอผ้า งานปั้นดิน ย้อมสีธรรมชาติ หมอเมือง เขียนร่มเขียนพัด เครื่องเขิน เย็บผ้าปักผ้า แกะสลัก ต้องลสย ถักข้าวเปลือก ดุนโลหะ อาหารพื้นเมืองขนมพื้นเมือง กลองสะบัดชัย และวิชาทางด้านสล่าเมือง โดยคนรุ่นใหม่ขยายตัวไปตั้งชมรมต่างๆ เป็นคุณค่าที่งดงามต่อชุมชน สังคม
จึงสรุปว่า ครูเป็นช่างปั้นหม้อ ขึ้นชื่อว่าครูงดงามเสมอ กว่าจะสำเร็จผ่านครูมาหลายท่าน เสน่ห์ของครูต้องมีความหนักแน่น กว่าจะสำเร็จจะต้องผ่านครูมาหลายท่าน ผ่านการตบความคิด ผ่านการตีให้เข้ารูป ผ่านการอบ ผ่านการรม จนทำให้สุก สู่ความสุข ครูจึงเหมือนช่างปั้นหม้อ ทุกท่านล้วนเป็นครูวันที่สำเร็จจึงกลับมาหาครูเพื่อระลึกถึงครูเสมอ ว่าเราเป็นศิษย์มีครู ครูผู้มีความหนักแน่นด้วยอายตนะทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ คำว่า คุรุ จึงมาจากคำว่าหนักแน่น ศิษย์มีครูเหมือนงูมีพิษ ในมุมส่วนตัวมองว่า ถ้ารักษาสืบสานทำแบบนี้ถือว่าดีที่สุดเพราะเป็นวิถี เป็นสุดยอดของครู แต่ถ้านำไปสู่ระบบจะถูกครอบจะเป็นแค่พิธีเท่านั้น เพราะการเรียนวัฒนธรรมจะค้นพบเข้าใจตัวตนของตนเอง
Leave a Reply