เยือนอำเภอเชียงของ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ใช้อัตลักษณ์สร้างรายได้สู่ชุมชน โครงการนักขับเคลื่อนยุทธศาสตร์นำการเปลี่ยนแปลงอำเภอนำร่อง : Change Agents for Strategic Transformation Program (CAST) เป็นโครงการที่กระทรวงมหาดไทยมุ่งหวังให้เกิดการสร้างต้นแบบของทีมคนทำงาน “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ที่มีจิตอาสา มีความเสียสละ ประกอบด้วย ภาคีเครือข่าย ทั้ง 7 ภาคีเครือข่าย ได้แก่ ภาคีราชการ ภาคีผู้นำศาสนา ภาคีวิชาการ ภาคีเอกชน ภาคีประชาชน ภาคีประชาสังคม และภาคีสื่อสารสังคม ให้เข้ามามีส่วนร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาในพื้นที่อำเภออย่างยั่งยืน โดยมี “นายอำเภอ” ในฐานะนายกรัฐมนตรีของอำเภอ ดึงศักยภาพและความมุ่งมั่นของทีมงานออกมาอย่างเต็มที่ ร่วมกันทำงานเป็นทีม ช่วยกัน Change for Good ให้เกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนมีความทุกข์น้อยลง มีความสุขมากขึ้น ซึ่งเป็นแนวทางและวิธีการที่จะนำการเปลี่ยนแปลงในระดับอำเภอได้อย่างยั่งยืน ตามพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมุ่งหวังให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาราษฎรอย่างยั่งยืนตลอดไป ที่ผ่านมา กระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการอำเภอนำร่องคัดเลือกจาก 878 อำเภอ ให้เป็นตัวแทน 76 จังหวัด ต่อมาคัดเลือกเป็นตัวแทน 18 กลุ่มจังหวัด และมาคัดเลือกเข้ารอบสุดท้าย 10 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น อำเภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก อำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท และอำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี “สุทธิพงษ์ จุลเจริญ” ปลัดกระทรวงมหาดไทย “แม่ทัพ” ในการขับเคลื่อนอำเภอนำร่อง “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข”เปิดเผยกับ “ทีมข่าวพิเศษ” ว่า ทั้ง 10 อำเภอที่เข้ารอบต่างก็มีผลงานที่โดดเด่นในเชิงประจักษ์ เพราะนายอำเภอทั้ง 10 อำเภอ ต่างทำหน้าที่ในฐานะ “นายกรัฐมนตรีของอำเภอ” เป็นผู้นำที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการจัดทำโครงการพัฒนาในพื้นที่ของตน ผ่านการประสานงานร่วมกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ มีแนวคิดสร้างสรรค์ และสามารถจัดทำโครงการที่ก่อให้เกิดประโยชน์ได้อย่างแท้จริง จึงทำให้การตัดสินคัดเลือกเพื่อหาอำเภอนำร่อง “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ยอดเยี่ยม เป็นไปด้วยความลำบากใจของคณะทำงานฯ แต่ทุกการประกวด การตัดสิน ก็ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด “ล่าสุด คณะทำงานฯ ได้มีมติลงความเห็นร่วมกันด้วยคะแนนเสียงข้างมาก คัดเลือกให้ อ.เทพา จ.สงขลา และ อ.วังเจ้า จ.ตาก ได้รับรางวัล “อำเภอนำร่อง “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ยอดเยี่ยม” เนื่องจากทั้งสองอำเภอ เป็นอำเภอที่มีความโดดเด่นในการดำเนินโครงการเพื่อพัฒนาพื้นที่ โดย อ.เทพา จ.สงขลา นั้น ได้จัดทำ “โครงการดาหลาบารูสู่ความเพียร” ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อให้พื้นที่อำเภอเทพา มีระบบเศรษฐกิจชุมชนฐานรากที่เข้มแข็ง ประชาชนมีอาชีพมั่นคงมีรายได้เพิ่มขึ้น ชุมชนมีความสุขสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ผ่านกลไกผู้นำ หรือ นายอำเภอเทพา ที่มีความสามารถในการบูรณาการภาคีเครือข่าย ทั้ง 7 เครือข่ายรวมถึงการเสริมสร้างผสานความแตกต่างทางวัฒนธรรมในพื้นที่ จากการร่วมมือร่วมใจกับผู้แทนทางศาสนา ได้แก่ ศาสนาพุทธและศาสนาอิสลาม ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนโครงการฯ ก่อให้เกิดความร่วมมือกันของสังคมพหุวัฒนธรรม และในส่วนของ อ.วังเจ้า จ.ตาก นั้น ได้จัดทำ “โครงการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแบบพุ่งเป้า ในระบบ TPMAP และ ผู้ประสบปัญหาความเดือดร้อนในระบบ ThaiQM อ.วังเจ้า จ.ตาก เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)” ของ อ.วังเจ้า ซึ่งเป็นโครงการที่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในมิติต่าง ๆ ทั้งทางด้านที่อยู่อาศัย ด้านการอุปโภคบริโภค ด้านการศึกษา ด้านรายได้และอาชีพ ด้านความปลอดภัย และด้านกลุ่มเปราะบาง เป็นต้น รวมถึงยังเป็นอำเภอที่มีกลไกผู้นำที่เข้มแข็ง หรือก็คือ นายอำเภอวังเจ้า ในการสร้างการบูรณาการความร่วมมือของทุกภาคส่วน ผ่านการนำสถาบันหลักในชุมชนมาเป็นกลไกในการพัฒนาและสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง เพื่อทำหน้าที่เป็นแกนกลางในการพัฒนาแก้ไขปัญหาตนเองและชุมชนตามแนวทาง “บวร” มาขับเคลื่อน ร่วมกับการทำงานกับภาคีเครือข่าย 7 ภาคี นอกจากนี้ นายอำเภอวังเจ้ายังมีความโดดเด่นในด้านภาวะผู้นำ มีความมุ่งมั่นตั้งใจการขับเคลื่อนโครงการฯ ให้ประสบผลสำเร็จ แม้มีข้อจำกัดด้านทรัพยากรในพื้นที่รวมถึงมีการขยายผลไปจากระดับอำเภอสู่ระดับหมู่บ้านก่อให้เกิดความเข้มแข็งหมู่บ้านตามแนวทางแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง “หมู่บ้าน อยู่เย็น” และช่วงนี้กระทรวงมหาดไทยกำลังมีการอบรม “ผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง” จำนวน 1,070 ท่าน ผ่านศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชน จำนวน 11 ศูนย์ทั่วประเทศ ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวเป็นการต่อยอดความสำเร็จของโครงการอำเภอนำร่อง บำบัดทุกข์ บำรุงสุขจาก 10 จังหวัด 10 อำเภอ แบบบูรณาการสร้างนักขับเคลื่อนยุทธศาสตร์นำการเปลี่ยนแปลง ทั้งหมด 8 รุ่น รวม 8,780 คน เพื่อสู่เป้าหมาย คือ 878 อำเภอทั่วประเทศ..” การลงพื้นที่จริง เพื่อฟังข้อมูลรอบด้านและและฟังเสียงสะท้อนจากประชาชนในพื้นที่จริงเกี่ยวกับการดำเนินการอำเภอนำร่อง “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ทั้ง 10 อำเภอ 10 จังหวัด ใน 4 ภูมิภาค “ปลัดเก่ง”สุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทยและที่ปรึกษา รองศาสตราจารย์วรวรรณ โรจนไพบูลย์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเชฐ โสวิทยสกุล ขอให้ “ทีมข่าวพิเศษ” ลงพื้นที่จริงพร้อมกับขอให้ติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานแปลง โคก หนอง นา ซึ่งตอนนี้ส่วนใหญ่อยู่ใน “ขั้นก้าวหน้า” มีผลผลิตออกแล้ว บางแปลงเริ่มแปรรูป จำหน่ายผลผลิตสู่ตลาดบ้างแล้ว เป้าหมายการเยือนอำเภอแรกของ “ทีมข่าวพิเศษ” คือ “อำเภอเชียงของ” จังหวัดเชียงราย แม้จะไม่เป็นอำเภอนำร่อง แต่ที่นี้ “นายอำเภอ” มีความจริงใจที่ใช้ “อัตลักษณ์” ของชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ต่อยอดเพื่อสร้างรายได้เข้าชุมชน อำเภอเชียงของเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงราย มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสลับกับเทือกเขา มีพื้นที่ด้านทิศตะวันออกบางส่วนติดกับแม่น้ำโขงซึ่งฝั่งตรงข้าม คือ เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ปัจจุบัน “อำเภอเชียงชอง” แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 ตำบล 102 หมู่บ้านมีประชากรหลายเชื้อชาติทั้ง ไทลื้อ ขมุ มูเซอ ม้ง ทำให้มีวัฒนธรรม อัตลักษณ์ ประเพณีที่หลากหลาย และการลงพื้นที่คราวนี้ทำให้รู้ว่า “แม่น้ำโขง” ห่างออกจากฝั่งไทยประมาณ 10 เมตรเท่านั่นที่เป็นของประเทศไทย นอกนั้นไม่ว่าจะเป็น ลำน้ำ เกาะกลาง โขดหิน เนินทราย ล้วนเป็นอาณาเขตของประเทศลาว “ทีมข่าวพิเศษ” ทราบข้อมูลเบื้องต้นว่าที่นี้นายอำเภอใช้ “อัตลักษณ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น” มรดกทางวัฒนธรรมของชาวบ้านในท้องถิ่นแปลงออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน 3 ประการคือ หนึ่ง ไผ่ สอง หวาย และสาม ผ้าทอ และในขณะเดียวกันการส่งเสริมปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโครงการ โคก หนอง นา ก็ยังขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง และหากจะว่าไปแล้วไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์จากไผ่ หวาย ผ้าทอ หรือโคก หนอง นา การดำเนินการอยู่ภายใต้ กรมการพัฒนาชุมชนแทบทั้งสิ้น การเดินทางของ “ทีมข่าวพิเศษ” ได้รับการอำนายความสะดวกที่พักค้างแรมก่อนเดินทางไปต่อจังหวัดเชียงราย ณ ศพช. จังหวัดลำปาง โดย “มนทิรา เข็มทอง” ผู้อำนวยการสถาบันการพัฒนาชุมชนคนใหม่ ซึ่งถือว่าเป็น “มือทำงาน” ของ “ปลัดเก่ง” ในการร่วมกันคิดและขับเคลื่อนโคก หนอง นา มาตั้งแต่ดำรงตำแหน่งเป็นอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนเป็นผู้ประสานอำนายความสะดวกให้ “ศพช.” หรือ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน มีทั้งหมด 11 แห่งกระจายอยู่ทุกภูมิภาค ยุค “ปลัดเก่ง” นี้ ค่อนข้างทำงานหนัก เพราะเป็นสถานที่อบรมทั้งภาคีเครือข่าย 7 ภาคี และบรรดาข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทยไม่ว่าจะเป็นอธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ล้วนใช้สถานที่นี้อบรมปลุกพลังให้มี “ใจบันดาลแรง” มุ่งมั่นในการรับใช้ประชาชน โดยเฉพาะการอบรม “ศาสตร์ของพระราชา” ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจำนวน 5 คืน 6 วัน คุยกับ พระภิกษุสงฆ์ นายอำเภอกำนันผู้ใหญ่บ้านรวมทั้งประชาชนทุกคนตอบเสียงเดียวกันว่า..การอบรมแบบนี้เหมือนเจอ “ขุมทรัพย์ทางภูมิปัญญาบรรพบุรุษ” หากทั้งประเทศใช้แนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ว่าจะเป็น คนรวย คนจน เกิดทุกข์น้อยมาก ชีวิตมีแต่ความมั่งคงและยั่งยืน การเดินทางตลอด 2 วัน สังเกตภูมิสังคมภาคเหนือ แม้จะเป็นฤดูร้อน แต่ตามทุ่งนาไร่สวนบางแห่ง “เขียวขจี” ทุ่งนาหลายพื้นที่มีการทำนา อาจเป็นเพราะภาคเหนือเป็นแหล่งต้นน้ำมีหลายแห่ง มีแม่น้ำและบึงน้ำขนาดใหญ่กระจัดกระจายอยู่หลายจังหวัด หากรัฐและประชาชนดูแลและบริการจัดการดีภาคเหนือ ไม่น่าจะมีปัญหาเรื่องขาดแคลนน้ำใช้น้ำกินรวมทั้งน้ำทำเกษตร “ทางผู้บริหารจังหวัดเชียงรายและกระทรวงเห็นความตั้งใจอำเภอของเรา ในช่วงการอบรม 5 คืน 6 วัน ที่ ศพช.ลำปาง นำตัวแทนของอำเภอไป 10 คน ประกอบด้วยภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ก็ร่วมกันคิดว่าเราจะเสนอทำอะไรในพื้นที่กันดี บางคนเสนอแหล่งน้ำที่มีปัจจัยช่วยให้ประสบความสำเร็จได้ง่าย เหมือนแม่แจ่มโมเดล แต่สุดท้ายแล้วอำเภอเชียงของเป็นอำเภอติดชายแดน จะมีเรื่องการค้าจึงเน้นเรื่องของอัตลักษณ์การสร้างคุณภาพชีวิตและสร้างรายได้ที่ดีให้กับชุมชน จุดแข็งมี 3 เรื่อง คือ ไผ่ หวาย และผ้าทอ เราจะทำอย่างไรถึงนำสิ่งเหล่านี้มาสร้างรายได้ ต่อยอดได้ เมื่อกลับมาคุยกับชุมชน ๆ เห็นดีงามด้วย จึงเริ่มทำต้องนำและใช้โมเดลเป็นจากอำเภอนำร่อง ตอนนี้เรามีครบหมดทั้งสินค้าและการตลาดแต่ที่ยังต้องสานต่อคือ การพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าให้หลากหลาย เป็นที่ต้องการของผู้ที่สนใจ อำเภอเชียงของเรามี 7 ตำบล ตอนนี้ทำอยู่ 3 ตำบล ก็อยากทำให้ครอบคลุมทุกตำบล นำเอกลักษณ์ของแต่ละชุมชนออกมาทำและต้องไม่ซ้ำกัน..” นี่คือคำพูดบางช่วงบางตอนของ “นายวิรุฬห์ สิทธิวงศ์” นายอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงรายในฐานะ “นายกรัฐมนตรีเชียงของ” เปิดเผยกับ “ทีมข่าวพิเศษ” พร้อมกับนำลงพื้นที่พบปะกับ “แกนนำ” ชุมชนไปดูงานการผลิตไม้ไผ่ซึ่งเป็นของดีประจำตำบล ในขณะที่ “สายชล ชอบจิตร” กำนันตำบลบุญเรือง อ.เชียงของ จ.เชียงราย ในฐานะประธานวิสาหกิจกลุ่มไผ่ซางหม่นต้นปล้องใต้ บอกว่า เริ่มปลูกไผ่ซางหม่นมาตั้งแต่ปี 2560 เริ่มต้นได้รับความสนับสนุนจากสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดเชียงราย ชาวบ้านก็ได้พูดคุยกันว่าอยากจะสร้างอัตลักษณ์ให้กับชุมชน และเพิ่มพื้นที่สีเขียว เริ่มปลูกครั้งแรก 40 ไร่ ปัจจุบันขยายพื้นที่เป็น 150 ไร่ และอยากจะพัฒนาให้เป็น 500 ไร่ เพื่อครอบคลุมทั้งตำบล ที่เลือกไม้ไผ่ เพื่อสร้างรายได้ เพราะไม้ไผ่สามารถนำมาแปรรูปได้หลายอย่าง เช่น โต๊ะ ตะเกียบ ไม้เสียบลูกชิ้น ผลิตภัณฑ์ของแม่บ้านคือ ชามใบไผ่ การรวมตัวของวิสาหกิจนี้มี 82 ครัวเรือน ได้งบมาจาก มูลนิธิปิดทองหลังพระ ร่วมกับเทศบาล การอบรมทางกรมการพัฒนาชุมชนกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้สนับสนุนดูแลมีเครื่องมือแปรรูปจากไม้ไผ่ 4 เครื่อง งบประมาณจากเทศบาลและมูลนิธิปิดทองหลังพระ “เมื่อก่อนนี้ตำบลเราไม่มีอะไรเป็นจุดขาย เราอยากจะส่งเสริมด้านการท่องเที่ยว แต่เราไม่มีอัตลักษณ์ที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยว หลังจากที่ได้ไปฝึกอบรมที่ ศพช. จังหวัดลำปาง จึงมีโอกาสได้นำเสนอการนำไผ่ในวิสาหกิจชุมชนให้เป็นอัตลักษณ์ของชุมชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ตอนนี้อยากให้หน่วยงานภาครัฐเข้ามาสนับสนุนการสร้างอาชีพ เรื่องงบประมาณ การฝึกอบรม การพัฒนาแหล่งน้ำ อยากทำการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ซึ่งในตำบลของเรา ๆ ทำงานกันเป็นเครือข่ายมีทั้งพระสงฆ์ ชาวบ้าน โรงเรียน ร่วมด้วยช่วยกัน..” ก่อนจากกัน “กำนันสายชล ชอบจิตร” มีความประสงค์อยากให้กระทรวงมหาดไทยพาศึกษาดูงานเกี่ยวกับการทำไม้ไผ่ ณ จังหวัดน่าน ทางทีมงานจึงต่อสายให้คุยกับ “สุทธิพงษ์ จุลเจริญ” ปลัดกระทรวงมหาดไทย เพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ให้กำนันสมความประสงค์ ซึ่งได้สร้างความภูมิใจและดีใจกับคณะที่มาร่วมพูดคุยเป็นอันมาก “วรรณา ธิชาญ” ครูภูมิปัญญาท้องถิ่นการผลิตหวาย ต.ครึ่ง อ.เชียงของ จังหวัดเชียงราย เล่าให้ฟังว่า กลุ่มผลิตหวายมีอยู่ประมาณ 30 คน ทำหวายกันมานานแล้ว ซึ่งมีพ่อเป็นผู้บุกเบิกรุ่นแรกที่ทำผลิตภัณฑ์จากหวาย ทำมาตั้งแต่หวายราคาเส้นละ 50 สตางค์ ปัจจุบันนี้เส้นละ4-6บาท เมื่อเราคิดว่าหวายนี้เป็นจุดเด่น จึงทำงานนี้ขึ้นมา ในช่วงแรกขายไม่ได้ จึงต้องพัฒนาฝีมือมา เรื่อยๆ จนมีพ่อค้าคนกลางมารับ แต่ก็กดราคา ทำและพัฒนาฝีมือมาจนทุกวันนี้ไม่พอขาย อาชีพนี้เป็นอาชีพเสริมจากการทำเกษตร ทำตามยอดการสั่งซื้อ ปีนี้ KFC ก็มารับผลิตภัณฑ์ของเรา ส่วนใหญ่ที่ทำกันมาจะประสบปัญหาเรื่องมอด อยากจะให้หน่วยงานราชการช่วยหาสมุนไพรที่ป้องกันการเกิดมอด หากหวายที่ได้ผ่านการอบ จึงอยากได้เครื่องอบหวายด้วย ถ้าเจอฝนเมื่อตัดหวายมาแล้วก็ต้องรออีก 15 วัน จึงนำหวายมาใช้ได้ “กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทยช่วยสนับสนุนในด้านการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ผลักดันให้ชุมชนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมากขึ้น อยากให้หน่วยงานราชการช่วยผลักดันให้ได้มีการสอนเรื่องการทำหวาย ต่อยอดให้คนรุ่นใหม่ ตอนนี้ในชุมชนก็มีการสอนโดยไม่มีค่าใช้จ่าย นายอำเภอคนปัจจุบันนี้มีนโยบายให้มีการปลูกหวายเพิ่มมากขึ้นโดยซื้อพันธุ์มาจากประเทศมาเลเซีย ช่วยสนับสนุนให้มีการฝึกอบรมเพื่อความรู้ แต่อยากให้มีการขยายพันธุ์หวายนี้ อยากให้นำผู้สูงอายุมาเพาะพันธุ์ขาย เพื่อให้คนมีอายุมีอาชีพ เพิ่มรายได้ ไม่ต้องเป็นภาระให้ลูกหลาน..” ส่วน “ชัชภณ ศรีอารยกุล” รองนายกเทศมนตรีเทศบาลครึ่ง ที่มาร่วมพูดคุยบอกว่า “งบประมาณปีนี้เทศบาลได้ให้การสนับสนุนเครื่องจักรให้กับกลุ่มผู้ผลิตหวายกลุ่มนี้ด้วย โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนพลังงาน เพราะหวายถือว่าเป็นพืชที่อยู่กับท้องถิ่นเรามานาน.และทางชุมชนพยายามปลูกเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับความต้องการของตลาดในเรื่องหวายแปรรูป” ในขณะที่ “ทีมข่าวพิเศษ” กำลังพูดคุยอยู่นั่น “ครูตอย” น.ส.มัตติกา ทิพย์ชู ครูโรงเรียนเทศบาลตำบลป่าตาล ซึ่งเป็นผู้หนึ่งในการเป็นแกนนำขับเคลื่อนประชาสัมพันธ์พร้อมกับดึงนักเรียนเยาวชนคนรุ่นใหม่ให้ห่วงแหนภูมิปัญญาท้องถิ่นและร่วมกันสืบสานต่อยอดผลิตภัณฑ์จากหวาย เล่าว่า “ผลิตภัณฑ์ของเราเป็นหวายแท้ ตั้งแต่ต้นน้ำคือปลูกกันเอง จนถึงปลายน้ำที่ชุมชนทำผลิตภัณฑ์ของมากลายเป็นของดีของชุมชน ในขณะเดียวกันการที่เราได้มีผลิตภัณฑ์แบบนี้ ทำให้คนในชุมชนของเรากลายเป็นปราชญ์ของชุมชนไปสอนชาวบ้านชุมชนอื่นๆ แม้กระทั้งในโรงเรียนประจำหมู่บ้านเราก็มีการไปสอนให้เด็ก ๆ ทางกลุ่มนี้ก็ไปสอน เราเปิดเพจเฟชบุ๊คชื่อ “สอนหวายบ้านครึ่ง” หากท่านใดสนใจผลิตภัณฑ์หวายหรือต้องการให้ไปสอนติดต่อมาได้..” การเที่ยวชมดูผลิตภัณฑ์และวิถีชีวิตชาวบ้าน“อำเภอเชียงของ” ที่ตอนนี้กลายเป็นสังคม “พหุวัฒนธรรม” ประกอบช่วยหลากหลายชนชาติ หลากหลายชาติพันธุ์ หลายหลายชนเผ่า “ไกด์กิตติมศักดิ์” เจ้าหน้าที่กรมการพัฒนาชุมชน บอกว่า “ยังไม่จบ” ยังมีต่อ ทั้งเรื่อง โคก หนอง นา ที่นี้มีคนทำประสบความสำเร็จไม่แพ้ใคร เป็นอดีตตำรวจ ลาออกจากราชการตำรวจ มาทำเศรษฐกิจพอเพียง มีทั้งการเลี้ยงผึ้ง เลี้ยงด้วงมะพร้าว ในแปลงโคก หนอง นา มีรายได้เป็นกอบเป็นกำ หรือแม้กระทั้งจะพาไปคุยกับพระคุณเจ้าที่เป็น “แกนนำ” ศูนย์กลางในประสานงานเรื่องการ “ทอผ้าไทลื้อ” ที่ปลัดกระทรวงมหาดไทย “สุทธิพงษ์ จุลเจริญ” เคยมาร่วมงานจุลกฐินมาแล้ว รวมทั้งจะพาไปพูดคุยกับแกนหญิงอีกสองคน คนหนึ่งเป็นชาวไทยเผ่าลื้อและอีกคนเป็นหญิงสาวชาวม้งร่วมกันออกแบบผ้าและปักสวดลายผสมผสานสองวัฒนธรรมสองศิลปะชนเผ่า ส่งออกจำหน่ายทั่วประเทศรวมทั้งต่างประเทศด้วย.. โปรดติดตามตอนหน้าครับ.. จำนวนผู้ชม : 466 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author น้อมถวายความอาลัย! “สมเด็จช่วง” ละสังขารแล้ว สิริอายุ 96 ปี อุทัย มณี ธ.ค. 09, 2021 วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม 2564 เพจเฟซบุ๊ก โบราณนานมาและเพจ สมณศักดิ์พระสงฆ์ไทย… จบข่าว “มส.” ตั้ง “หลวงพ่อบัวศรี -พระครูเล็ก” เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค9 อุทัย มณี ม.ค. 13, 2023 วันที่ 13 ม.ค.65 ในคราวประชุมมหาเถรสมาคมเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม… บันทึกอดีตพระพุทธอิสระ : วิถีแห่งนักสู้ (ตอนที่ ๑) อุทัย มณี มี.ค. 01, 2021 วันนี้ (๑ มี.ค.๖๔) นายสุวิทย์ ทองประเสริฐ หรือ อดีตพระพุทธะอิสระ… “มจร” ถวายดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แด่ สมเด็จอาชญาธรรมพระเจ้า ณ ประเทศเมียนมา อุทัย มณี พ.ค. 10, 2023 วันที่ 10 พฤษภาคม 66 ระหว่างวันที่ 9 -10 พฤษภาคม คณะผู้บริหารมหาวิทยามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย… ปลัดเก่งจับมือคณะสงฆ์สุโขทัย เปิดโครงการปลูกคน สร้างป่า ด้วยโคก หนอง นา วัดพลายชุมพล มุ่งมั่นใช้พลัง “บวร” สร้างสุขชุมชนอย่างยั่งยืน อุทัย มณี พ.ค. 24, 2024 วันนี้ (24 พ.ค. 67) เวลา 09.00 น. ที่วัดพลายชุมพล ตำบลบ้านกล้วย อำเภอเมืองสุโขทัย… “เจ้าคุณธงชัย” เทศน์ “หลักธรรมกับการพัฒนาประเทศในยุค Disruption” อุทัย มณี ม.ค. 20, 2020 เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ.2563 ที่ห้องอเนกประสงค์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ… NT ชูธงย้ำนโยบายสิ่งแวดล้อม พร้อมหนุนไทยบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนสู่สากล ตามแนว BCG เชื่อมโยง SEP อุทัย มณี พ.ย. 26, 2022 บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT ได้นำหลักการและแนวคิดในการดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานการคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม… ชาวกาฬสินธุ์มีมติฟ้อง ว่าที่เจ้าคณะจังหวัด ที่มส.ตั้งแทนเจ้าคุณบัวศรี อุทัย มณี ต.ค. 12, 2021 ชาวกาฬสินธุ์ร้อง"กมธ.กฎหมายสภาฯ สอบปมปลดเจ้าคณะจังวัดแถมฟ้องว่าที่เจ้าคณะที่มส.ตั้งแทน… หยุดท่วม หยุดแล้ง ด้วย “โคก หนอง นา พัฒนาชุมชน “ อุทัย มณี ก.ย. 29, 2021 วันที่ 29 กันยายน 2564 นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน… Related Articles From the same category 134ปีสถาปนา”มจร”! สะท้อนมุ่งสร้างพุทธปัญญานวัตกรรม พัฒนาจิตใจชุมชนยั่งยืนร่วมต้านภัยโควิด วันที่ 13 กันยายน 2564 ในภาคบ่ายของร่วมงานครบรอบวันสถาปนา 134 ปี… สหรัฐโควิดยังระบาดหนัก! วัดไทยติดป้ายปิดหลายแห่ง เจ้าของเว็บอะลิตเติลบุดดาปลีกวิเวกบนภูเขา วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ.2563 เนื่องจากพิษโควิด-19 ยังระบาดอย่างหนักที่ประเทศสหรัฐอเมริกา… “สมเด็จธีร์” มอบปริญญาบัตรเป็นวันที่ 2 แก่ “มหาจุฬาฯ” วันที่ 12 ธ.ค. 64 เวลา 13.00 น. ณ อาคาร มวก. 48 พรรษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย… เปิดใจพระภิกษุเหยื่อไฟใต้ ในขณะที่ ทหาร-ประชาชนรอบค่ายปิเหล็ง ร่วมทำบุญ 2 ศาสนาในวาระ 19 ปีปล้นปืน วันพุธที่ 4 ม.ค.66 "สำนักข่าวอิศรา" ได้รายงานว่า ที่กองพันทหารราบที่… อธิบดีพช.นำคณะผู้บริหารร่วมลงนามถวายพระพรและบริจาคโลหิตเนื่องในวันฉัตรมงคล วันที่ 3 พฤษภาคม 2564 เวลา 08.30 น. ณ ห้องสัมมนา 3003 ชั้น 3 กรมการพัฒนาชุมชน …
Leave a Reply