อำเภอนำร่อง “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย “ทีมข่าวพิเศษ” หลังจากชมดูแปลง “โคก หนอง นา จังหวัดพะเยา” ด้วยความเพลิดเพลินก็ร่วมเย็นแล้ว รีบเดินทางต่อมาถึงอำเภอศรีสัชนาลัย โดยมี “GPS” เป็นไกด์นำทาง ขับรถผ่านถนนหากจำไม่ผิดชื่อ “ถนน101” จากอำเภอเด่นชัยตัดเข้ามายังอำเภอศรีสัชนาลัย ยามพลบค่ำมืดมิดค่อนข้างเปลี่ยวนาน ๆ รถบรรทุกจะผ่านมาสักคัน มองรอบข้างมืดมิด ไม่มีแสงไฟ นาน ๆ ผ่านป้อมตำรวจหรือบ้านเรือนก็ใจชื้นมาสักครั้ง ในฐานะคนต่างถิ่นได้แต่ท่องบทสรรเสริญพุทธคุณ “อิติปิโส” หลายร้อยจบ ขออย่าให้เจอ “ช้าง” หรือ “คนไม่ดี” อะไรเลย กว่าจะผ่านจุดเปลี่ยวถนนนี้ได้นานโขอยู่ กว่าจะรู้ตัวก็ถึงอำเภอศรีสัชนาลัยแล้ว อำเภอนำร่อง “บัดบัดทุกข์ บำรุงสุข” เป็นความตั้งใจของผู้บริหารกระทรวงมหาดไทยนับตั้งแต่รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา ซึ่งมอบหมายให้ “ปลัดเก่ง” สุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็น “แม่ทัพ” นำทัพคณะผู้บริหาร ข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทยปัดเป่าทุกข์ เพิ่มพูนสุขให้เกิดขึ้นกับประชาชนที่ “ทุกข์ยาก” ให้พ้นจากทุกข์ ที่สุขอยู่แล้ว ทำให้สุขยิ่ง ๆ ขึ้นไป ซึ่งมีการคัดเลือกอำเภอต่าง ๆ ทั่วประเทศให้เหลือ 10 อำเภอ 10 จังหวัดเป็น “อำเภอนำร่อง” เป็นอำเภอแบบอย่าง เป็นโมเดล เพื่อแก้ปัญหาแบบบูรณาการให้อีก 800 กว่าอำเภอทั่วประเทศ “อำเภอศรีสัชนาลัย” จังหวัดสุโขทัยเป็น 1 ใน 10 อำเภอที่คณะกรรมการคัดเลือกให้เป็นอำเภอนำร่อง “เมืองเชลียง” คือชื่อดั้งเดิมของเมืองศรีสัชนาลัย ส่วนอำเภอศรีสัชนาลัยนั้น ชื่อเดิมคือ อำเภอด้ง และ อำเภอหาดเสี้ยว ก่อนที่จอมพล แปลก พิบูลสงคราม จะให้นำชื่อเมืองโบราณครั้งสมัยสุโขทัยมาตั้งเป็นชื่ออำเภอโดยตรง เมืองโบราณเป็นที่ราบริมแม่น้ำยม และที่ลาดเชิงเขาพระศรี เขาใหญ่ เขาสุวรรณคีรี และเขาพนมเพลิง ก็เป็นพื้นที่เหมาะแก่การตั้งถิ่นฐาน เนื่องจากมีแม่น้ำและภูเขาเป็นปราการล้อมรอบ และมีความอุดมสมบูรณ์จากแก่งหลวง แม่น้ำยมและคลองเล็กคลองน้อยที่ไหลเชื่อมโยงในพื้นที่ดังกล่าว จึงทำให้เกิดเป็นชุมชนก่อตัวขึ้นบริเวณนี้และเคยมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมากในอดีต ดินแดนแห่งนี้เป็นเขตแดนระหว่างอาณาจักรล้านนา กับ อาณาจักรสุโขทัย-สยาม อำเภอแห่งแรกที่นี่ เดิมชื่อ อำเภอด้ง อยู่ในบริเวณ บ้านปลายนา ตำบลบ้านตึก ก่อนจะย้ายมาตั้งที่ว่าการอำเภอตรงบริเวณ บ้านป่างิ้ว ตั้งได้ไม่นานนักมีโจรบุกปล้นและเผา จนต้องย้ายมาตั้งตรงบริเวณริมน้ำ ตำบลหาดเสี้ยว และได้เปลี่ยนชื่อ เป็น อำเภอหาดเซี่ยว ภายหลังมีการเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอหาดเสี้ยว ก่อนจะมีการแบ่งพื้นที่ใหม่ และตั้งชื่ออำเภอใหม่ ว่า “อำเภอศรีสัชนาลัย” “อำเภอศรีสัชนาลัย”นอกจากจะเป็นเมืองโบราณและมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติสำคัญ อย่างอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย และ อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย แล้ว ยังมีผลผลิตทางเกษตรที่สำคัญอันขึ้นชื่อด้วยคือ ส้มเขียวหวาน ทุเรียน และข้าว “ทีมข่าวพิเศษ” ลงพื้นที่จังหวัดสุโขทัยรอบนี้เป็น “รอบ3” แล้ว ครั้งแรกมาดูแปลงโคก หนอง นา ที่อำเภอเมืองสุโขทัย ครั้งที่สอง ดูแปลง โคก หนอง นา น้ำไม่ท่วม จังหวัดสุโขทัยเป็นจังหวัดหนึ่งที่ขึ้นชื่อเรื่อง “ราคาที่ดินแพง” ยิ่งตัวเมืองยิ่งแพงลิบลิ่ว แต่มีประชาชนทั้งนักธุรกิจ ข้าราชการ และประชาชนทั่วไป หันมาสนใจทำแปลงโคกหนอง นา จำนวนมาก ภายใต้การส่งเสริมจาก “กรมการพัฒนาชุมชน” สอดคล้องกับแนวคิดของ “อรรษิษฐ์ สัมพันธ์รัตน์” อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ที่บอกว่า ในปี 25 66 – 2570 กรมการพัฒนาชุมชน ได้กำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า “เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง ชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” โดยในปีงบประมาณ 2566 ได้กำหนดเป้าหมายหลัก “ตำบลเข้มแข็งตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” จำนวน 878 ตำบล มีกิจกรรมขับเคลื่อนงานทั้งการพัฒนาผู้นำกลุ่มองค์กรและเครือข่าย ส่งเสริมการออมและพัฒนาทักษะการบริหารจัดการทางการเงิน ส่งเสริมเครือข่ายศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน และส่งเสริมกิจกรรมเครือข่ายพื้นที่ต้นแบบโคก หนอง นา ร่วมกับภาคีการพัฒนาทั้ง 7 ได้แก่ ภาครัฐ ภาคประชาชน ภาควิชาการ ภาคศาสนา ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคสื่อสารมวลชน โดยมีพัฒนากรลงพื้นที่ทำงานเคียงข้างประชาชน ซึ่งล่าสุดมีการบรรจุ “พัฒนากร” รุ่นใหม่จำนวน 360 คน เพื่อลงพื้นที่ทำงานในตำบลหมู่บ้านครอบคลุมทุกจังหวัดอันเป็นจุดแข็งของกรมการพัฒนาชุมชนมาตลอดกว่า 60 ปีที่ทำงานใกล้ชิดกับพี่น้องประชาชนในชุมชนมากที่สุด “ภารกิจเน้นหนักคือการส่งเสริมครัวเรือนปลูกผักสวนครัวอย่างน้อยครัวเรือนละ 10 ชนิด และการสานต่อการดำเนินงานประชารัฐรักสามัคคี ที่ดำเนินการในรูปแบบบริษัทประชารัฐฯ จังหวัด มุ่งเน้น 3 เรื่องหลักคือ เกษตร แปรรูป ท่องเที่ยว ตามบริบทของชุมชนที่แตกต่างกันซึ่งมีชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัติวิถีอยู่แล้วทั่วประเทศ ขณะที่การสนับสนุน OTOP ก็ยังคงดำเนินการต่อเนื่อง ภารกิจของกรมฯ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 และวิสัยทัศน์ของประเทศ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” หัวใจหลักของงานพัฒนาชุมชน คือมุ่งให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางและส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาทุกขั้นตอน เพราะการพัฒนาที่ยั่งยืนจะต้องเกิดจากพื้นฐานความต้องการของประชาชน ริเริ่มและขับเคลื่อนโดยประชาชนเป็นสำคัญ โดยทั้งหมดนี้จะเกิดพลังที่เข้มแข็งได้ด้วยภาคีการพัฒนาทั้ง 7 คือ ภาครัฐ ภาคประชาชน ภาควิชาการ ภาคศาสนา ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคสื่อสารมวลชน ซึ่งถือเป็นหนึ่งในส่วนสำคัญที่จะช่วยกันขับเคลื่อนสื่อสารสร้างความเข้าใจไปสู่ทุกภาคส่วน..” “อำเภอศรีสัชนาลัย” จากข้อมูลของ “เกษตรอำเภอ” เล่าว่า ส้มเขียวหวานที่นี่ ต้นกำเนิดพันธุ์นำมาจากบางมดกรุงเทพมหานคร ตอนนี้บางมดไม่มีส้มแล้ว แต่ที่นี่ยังมี เกษตรกรที่นี่ปลูกหลายหมื่นไร่ เป็นของขึ้นชื่อประจำท้องถิ่น เช่นเดียวกันกับทุกเรียน คล้าย ๆ กับ “หลงลับแล” ของจังหวัดอุตรดิตถ์ รสชาติดี ตอนนี้มีเกษตรกรปลูก 1 หมื่นกว่าไร่เช่นเดียวกัน ส่วนข้าวแน่นอนว่าสุโขทัยเป็นแหล่งอยู่แล้ว ผลผลิตทางเกษตรทั้ง 3 ประการนี้ถือว่าเป็น “จุดเด่น” ของอำเภอศรีสัชนาลัย ที่ต้องช่วยกันทำการตลาดเพื่อช่วยเหลือรวมทั้งต้องร่วมกันส่งเสริมให้เกษตรกร สร้างความมั่งคั่งและมั่นคงแบบอย่างยั่งยืนตั้งแต่ต้นน้ำ จนถึงปลายน้ำ ส่วนแปลง “โคก หนอง นา” พัฒนาการอำเภอ บอกกับทีมงานว่า “มีประชาชนเข้าร่วมทั้งหมด 94 ครัวเรือน แบ่งออกขนาด 1 ไร่ มี 16 แปลง ขนาด 3 ไร่ ขนาดจำนวน 75 แปลง และขนาด 15 ไร่อีก จำนวน 3 แปลง ตอนนี้ยังมีประชาชนอีกจำนวนมาก อยากเข้าร่วม เนื่องจากมองว่าแปลงโคก หนอง นา สามารถช่วยพวกเขาได้จริง ลดรายจ่าย สร้างรายได้ มีผักปลอดสารพิษได้รับประทาน ในขณะเดียวกันทางท่านนายอำเภอ ท่านก็เปิดตลาดข้าง ๆ อำเภอให้ประชาชนมาขายผักจากแปลงโคก หนอง นา หรือจากสวนได้..” “สมพงษ์ ชมชัย” นายอำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ซึ่งได้ร่วมวงสนทนากับเราด้วยบอกว่า ตอนที่กระทรวงมหาดไทยต้องการให้จังหวัดต่าง ๆ เสนออำเภอนำร่อง ทางจังหวัดสุโขทัยเลือกอำเภอศรีสัชนาลัยเพราะเห็นว่าเรามีสิ่งที่เป็นโมเดลได้อย่างผลไม้ที่ทางเกษตรอำเภอบอกไว้ตอนนั้นเราคิดอยากทำตลาดกลางเพื่อส่งเสริมเกษตรตรงนี้แต่ทางผู้ใหญ่บอกว่าในอำเภอเรามีเรื่องหนึ่งอยากจะให้แก้ไขแบบบูรณาการในขณะเดียวกันเพื่อเป็นแบบอย่างให้กับอำเภออื่น ๆ คือ เรื่อง “จอกหูหนู” การจัดการน้ำ ตอนนี้ทางอำเภอกำลังแก้ไขอยู่แบบครบวงจร คือ ตักขึ้นมาจากน้ำ ขนไปทำปุ๋ยหมัก และนำไปจำหน่าย สร้างรายได้ให้กับชุมชน “จอกหูหนูที่ว่านี้คือที่อ่างเก็บน้ำห้วยท่าแพ อยู่ในเขตกรมชลประทาน กินเนื้อที่ 4 พันกว่าไร่ เป็นแหล่งผลิตน้ำประปาให้กับประชาชน 3 ตำบล ในขณะเดียวกันน้ำเอาไว้ทำเกษตรด้วย ตอนนี้ประชาชนเดือดร้อนหนัก เพราะน้ำเริ่มเน่า ประชาชนสัญจรไปทำสวน ทำไร่ ไม่ได้เลย มันขึ้นหนาแน่นมาก ตรงนี้เราไม่มีงบประมาณมาสนับสนุน ได้รับความเมตตาจากที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย อ.โก้ หรือ ผศ.พิเชฐ โสวิทยสกุล ช่วยประสานงานเรือตักมาได้ 2 ลำ แต่ตักอย่างไร มันก็ไม่ลด เราจะไปของบสนับสนุนจากที่อื่น มันก็ยาก เพราะเขาอ้างว่าอยู่ในเขตกรมชลประทาน เขาให้ไม่ได้ มันผิดระเบียบเดียวจะมีปัญหาทางอำเภอระดมทุนมาก็พอเป็นค่าน้ำมัน ค่าจ้างบ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ทางผมก็ไม่ย่อท้อเราระดมอุปกรณ์ ระดมคนทำจิตอาสา มาร่วมด้วยช่วยกันแล้วหลายครั้ง..” เพื่อให้เห็นภาพ “ไกด์กิตติมศักดิ์” นายอำเภอศรีสัชนาลัย อาสาพา “ทีมข่าวพิเศษ” ลงพื้นที่จริงไปดู “จอกหูหนู” ที่กำลังสร้างปัญหา พร้อมกับพาไปดูแปลง โคก หนอง นา ศูนย์เรียนรู้ขนาด 15 ไร่ด้วย “อ่างเก็บน้ำห้วยท่าแพ” เป็นโครงการพระราชดำริ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ราชกาลที่ 9 หลังจากเสด็จเยี่ยมราษฎรแล้ว ทรงมีพระราชดำริให้สร้างเพื่อช่วยให้ราษฎรในเขตพื้นที่ประมาณ 39,000ไร่ ครอบคลุม 3 ตำบล คือ ตำบลบ้านแก่ง ตำบลสารจิตร และตำบลหนองอ้อ ให้มีน้ำใช้ในการเกษตรและเพื่อการอุปโภค-บริโภค ได้ตลอดปี “ลุงเตี้ยน แพ่วงศ์” อายุ 71 ปี เกษตรกรที่อาศัยอยู่ใกล้อ่างเก็บน้ำห้วยท่าแพบอกว่า ตั้งแต่สร้างอ่างน้ำมาไม่เคยมีเหตุการณ์แบบนี้เลย จอกหูหนูนี่ลอยมาจากไหนไม่รู้มาทับถมอยู่แบบนี้ปีกว่า ๆ แล้ว ลำบากมาก เนื่องจากมีสวนอยู่อีกฝั่ง ข้ามไปไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นเรือยนต์ เรือพายไปไม่ได้เลย น้ำเน่า ปลาตายหมดแล้ว “เห็นนายอำเภอลงพื้นที่มาดู และระดมคนมาช่วยแล้วหลายครั้ง ดูมันไม่ลดอะไรเลย เรือตักแค่ 2 ลำ ไม่เพียงพอ ตอนนี้ประชาชนที่ใช้น้ำประปาจากที่นี้เดือดร้อนกันทั่ว น้ำไปทำเกษตรก็เหม็น เห็นเรือตักแบบนี้ ตักมา 1 เดือนกว่า ๆ แล้ว ดูมันไม่ลด กลับมีแต่จะเพิ่มขึ้น จะข้ามไปทำสวนก็ไปไม่ได้แล้ว เพราะจอกหูหนูมันหนาแน่นมาก..” ในขณะที่นายอำเภอ “สมพงษ์ ชมชัย” กล่าวเสริมว่า จอกหูหนูนอกจากเรือตักไม่พอแล้ว แม้แต่ที่ตักกองไว้บนบกแจกให้ชาวบ้านไปทำปุ๋ย ขนไปฟรี ก็มีปริมาณมากเกินความต้องการ ส่วนที่เหลือซึ่งมีหลายพันตันนั้นเราจะขนไปทำปุ๋ย ซึ่งเราได้ใช้สถานที่ศูนย์เรียนรู้ “โคก หนอง นา” ขนาด 15 ไร่ของ “คุณจุฑาทิพย์ น้อมเศียร” เป็นสถานที่หมักและบรรจุเป็นผลิตภัณฑ์ส่งไปที่ปากช่องโคราช เพื่อจำหน่ายต่อไป หลังจากเดินสำรวจดูการทำงานและพูดคุยกับชาวบ้านที่สัญจรไปมาเรียบร้อยแล้วเป้าหมายต่อไปของเราคือแปลงโคก หนอง นา ของ จุฑาทิพย์ น้อมเศียร สถานที่ทำปุ๋ยหมักจากจอกหูหนู ซึ่งเท่าที่สังเกตการเดินทางค่อนข้างไกล หากจะนำจอกหูหนูมาที่แปลงโคก หนอง นา แห่งนี้ สิ่งที่ตามมาคือ “ค่าขนส่ง” จะเพิ่มขึ้นด้วย “โคก หนอง นา” ของ “จุฑาทิพย์ น้อมเศียร” ขนาด 15 ไร่เป็นศูนย์เรียนรู้ประจำตำบลบ้างแก่ง ซึ่งเราเคยเดินทางมาแล้วครั้งหนึ่งในคราวที่มาสำรวจแปลงโคก หนอง นา น้ำไม่ท่วม คราวนั้นอาคารฐานเรียนรู้ยังไม่มี แต่คราวนี้มีแล้ว ในขณะที่พืชผักต้นไม้ที่ปลูกไว้ในช่วงฤดูแล้งยังไม่ “เขียวขจี” ดังที่ควรจะเป็น ที่นี้ไม่ว่าจะเป็น อาคาร อุปกรณ์ปุ๋ย จานจากวัสดุธรรมชาติ หรือ แม้กระทั่งเครื่องคั่วกาแฟขนาดใหญ่ค่อนข้างพร้อม หรือแม้กระทั้ง แผงโซล่าเซลล์ ก็มี เพียงแต่ขาดการดำเนินงานที่ต่อเนื่อง ซึ่ง “จุฑาทิพย์ น้อมเศียร” บอกว่า ตอนนี้อุปกรณ์เหล่านี้ก็ให้ชุมชนชาวบ้านยืมไปใช้ ส่วนสถานที่นี้อย่างที่นายอำเภอท่านบอกว่าคือ ขนจอกหูหนูมากองทำปุ๋ยหมักไว้ที่นี่ แล้วบรรจุถุงส่งไปปากช่อง นครราชสีมา เพื่อจำหน่ายต่อไป นโยบายอำเภอนำร่อง “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” เป็นนโยบายภาพใหญ่ของกระทรวงมหาดไทยในการช่วยเหลือประชาชนแบบบูรณการในการขจัดปัญหาความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นอกจากอำเภอนำร่อง 10 อำเภอแล้ว อนาคตจะขยายครอบคลุมทั่วประเทศทั้ง 878 อำเภอ ภายใต้แนวคิด “อำเภอ” เปรียบเสมือนรัฐบาลในระดับพื้นที่ โดยมีนายอำเภอเป็นเหมือนนายกรัฐมนตรี เพื่อขับเคลื่อนภารกิจของอำเภอด้านการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ซึ่งนัยยะแห่งการแก้จนอย่างน้อยพุ่งเป้าไปที่ 5 เมนูแก้จน ได้แก่ 1) สุขภาพ 2) ความเป็นอยู่ 3) การศึกษา 4) ด้านรายได้ และ 5) การเข้าถึงบริการภาครัฐ โดยมีปลายทาง คือ “พี่น้องประชาชนมีความสุข” หลังจากเสร็จสิ้นเยี่ยมแปลงโคก หนอง นา ของ จุฑาทิพย์ น้อมเศียร เรียบร้อย ไกด์กิตติมศักดิ์ “นายอำเภอศรีสัชนาลัย” พาเราสำรวจพื้นที่เกษตรในบริเวนใกล้เคียง ซึ่งมีทั้งสวนปาล์ม ยาพาราง ทุเรียน และสุดท้ายพาไปดู “เกษตรแปลงใหญ่” ที่เกษตรกรรวมกลุ่มกันเป็น “วิสาหกิจชุมชน” มีรถเกี่ยวข้าวและผลิตภัณฑ์จากข้าวจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้สู่ครอบครัว ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลก็คือ เพื่อสร้างชุมชนให้พึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืนนั่นเอง.. จำนวนผู้ชม : 455 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author “สันติศึกษา มจร-ศาล-ขรก.ท้องที่ท้องถิ่น” เปิดศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนศรีสะเกษ อุทัย มณี พ.ย. 03, 2020 "สันติศึกษา มจร"นำสันติลงดินสู่ถิ่นชุมชน เปิดศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน… “เจ้าคุณประสาร” แจง 5 ประเด็น ย้ำ “มจร” ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ “แชร์แครอท” หากมีเป็นเรื่อง “ส่วนตัว” พร้อมตั้งคณะกรรมการสอบ อุทัย มณี ต.ค. 22, 2024 วันที่ 22 ตุลาคม 2567 หลังจากมีสื่อบางสำนักเผยว่า เชื่อว่าพระที่โดนหลอกกรณีแชร์แครอทมาจากเจ้าของโปรคเกอร์… อธิบดีพช. พร้อมด้วยประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ ลงพื้นที่ฟังเสียงประชาชน ย้ำโคก หนอง นา คือ หนทางสู่ความยั่งยืน อุทัย มณี ก.ย. 11, 2021 วันที่ 11กันยายน 2564 นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน… วัดกลางกรุงปิดทองหลังพระ! รับเผาศพติดเชื้อโควิดฟรี ร่วมเดือนไม่น้อยกว่า 20 ศพแล้ว อุทัย มณี มิ.ย. 03, 2021 วัดพระพิเรนทร์วรจักรกลางกรุงปิดทองหลังพระ รับเผาศพติดเชื้อโควิดฟรี… “บิ๊กตู่”ชม 3 นร.ไทยได้ทุนศึกษาต่อเกาหลี 2 คนจากโรงเรียนพระ อุทัย มณี ธ.ค. 10, 2019 "บิ๊กตู่"โพสเฟซบุ๊กส่วนตัว ชม 3 นร.ไทย 2 คนจากโรงเรียนศรีแสงธรรมโรงเรียนพระเสียดายแดดอุบลฯ… เสวนาถอดบทเรียนการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ปฏิรูปพุทธ อุทัย มณี ก.ย. 15, 2019 รองอธิการบดี มจร เป็นประธานเปิดการเสวนาถอดบทเรียนการมีส่วนร่วมขับเคลื่อน'แผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา'… มูลนิธิรามัญรักษ์ และวัดใหม่ (ยายแป้น) เตรียม “ยกฉัตรเจดีย์ท่านผู้หญิงแป้น” อุทัย มณี พ.ค. 19, 2023 วันที่ 19 พ.ค. 66 วัดใหม่ (ยายแป้น) ขอเชิญร่วมพิธียกยอดฉัตรเจดีย์เก็บอัฐิท่านผู้หญิงแป้น… ครอบครัวกำเนิดวงศ์ ถวายพันธุ์ข้าวกล้า 1 คันรถ ปักดำที่ ร.ร.พุทธศาสนาวันอาทิตย์”มจร” อุทัย มณี มิ.ย. 25, 2020 เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2563 นายทองสุข นางชำเลือง กำเนิดวงศ์ พร้อมด้วยลูกหลาน… “มจร”รับบริจาค”กล่องห่วงใย” 100 ชุดบรรจุฟ้าทะลายโจร มอบโยมผู้ยากไร้รอบมหาวิทยาลัย อุทัย มณี ส.ค. 02, 2021 วันที่ 2 สิงหาคม 2564 เวลา 14.00 น. พระธรรมวัชรบัณฑิต,ศ.ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)… Related Articles From the same category ครบรอบ 4 ปี “คดีเงินทอนวัด” พระพ้นทุจริตลูกศิษย์ทวงถาม “ผู้รับผิดชอบ” วันที่ 24 พ.ค.65 วันนี้ครบรอบ 4 ปี ในการจับกุมพระมหาเถระระดับมหาเถรสมาคม… “ณพลเดช” เผยวัดป่ากว่า 1 หมื่นแห่งจ่อได้รับอนุญาตจากป่าไม้ 1.6 แสนไร่ งดเว้นธรรมเนียมกว่า 1.8 พันล้าน เมื่อวันที่ 27 ส.ค. 65 ดร.ณพลเดช มณีลังกา หรือ ดร.ปิง โฆษกคณะทำงานดำเนินการพิจารณางบประมาณเพื่อการจัดตั้งธนาคารพระพุทธศาสนา… พระไทยร่วมอินโดฯจัดถก! นักศาสนศาสตร์เอเชีย ฟื้นฟู’ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์’ วันที่ 8 ส.ค.2562 เฟซบุ๊ก Phramaha Boonchuay Doojai ได้โพสต์ข้อความว่า “Congress of Asian Theologians… เสียงจากสงฆ์ธรรมยุต : ผู้ทรงศีลทรงธรรมไม่ควรถูกกระทำเยี่ยงคนธรรมดา วันที่ 18 เมษายน 65 เฟชบุ๊คชื่อ “Sophonthamudom” หรือ พระครูโสภณธรรมอุดม… นักรบในพระพุทธศาสนา ? @ ศาสนากับสงคราม ? หากเราศึกษาประวัติศาสตร์ศาสนากันให้ดีๆจะพบว่า…
Leave a Reply