ตามไปดู: โคก หนอง นา เมือง “สองแคว” “จังหวัดพิษณุโลก” แต่เดิมมีชื่อเรียกว่า “ เมืองสองแคว ” เนื่องจากเมืองนี้ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำน่าน และแม่น้ำแควน้อย หรือบริเวณที่ตั้งของวัดจุฬามณีในปัจจุบัน เมื่อประมาณปี พ.ศ. 1900 สมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทยแห่งกรุงสุโขทัย ได้โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองมาตั้งอยู่ ณ ตัวเมืองปัจจุบัน โดยมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง สมัยอยุธยา เมืองพิษณุโลกทวีความสำคัญมากขึ้น เพราะเป็นเมืองกึ่งกลางระหว่างกรุงศรีอยุธยาและอาณาจักรฝ่ายเหนือ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงปฏิรูปการปกครองและได้เสด็จมาประทับที่เมืองนี้ตั้งแต่ พ.ศ. 2006 จนสิ้นรัชกาลในปี พ.ศ. 2031 ช่วงนั้นพิษณุโลกเป็นราชธานีแทนกรุงศรีอยุธยาถึง 25 ปี จังหวัดพิษณุโลกมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงเป็นหน้าด่านสำคัญ ที่จะสกัดกั้นกองทัพพม่า เมื่อครั้งพระนเรศวรมหาราชดำรงฐานะพระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลก ระยะนั้นไทยตกเป็นเมืองขึ้นพม่า สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงรวบรวมชายฉกรรจ์ชาวพิษณุโลกกอบกู้อิสรภาพชาติไทยได้ ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ทรงดำรงให้รื้อกำแพงเมืองพิษณุโลกเพื่อไม่ให้ข้าศึกใช้เป็นที่มั่น ครั้นถึงปี พ.ศ. 2437 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะเมืองพิษณุโลกขึ้นเป็นมณฑล เรียกว่า มณฑลพิษณุโลก ต่อมาเมื่อยกเลิกการปกครองแบบมณฑลแล้ว พิษณุโลกจึงมีฐานะเป็นจังหวัดเรื่อยมาจนปัจจุบัน “จังหวัดพิษณุโลก” แบ่งการปกครองออกเป็น 9 อำเภอ 93 ตำบล 1,032 หมู่บ้าน รวมประชากรทั้งหมด 891,935 คน ซึ่งสถิติเหมือนกับจังหวัดอื่น ๆ คือ หญิงมากกว่าชาย อาชีพส่วนใหญ่คือ เกษตรกร “ฤดูกาลฝน” ภาคเหนืออากาศชุ่มชื่นหัวใจ มองไปทางไหนธรรมชาติสวยงาม วิถีชีวิตคนเหนือตามชนบท สวยงาม มีเสน่ห์ มองดูแล้วยังเป็น “ธรรมชาติบริสุทธิ์” ไม่มีอะไรปรุงแต่ง เว้นในเมืองใหญ่ ๆ อันนั้นก็เหมือนเมืองใหญ่ทั่วไป ดูแล้วผู้คนพลุกพล่าน เร่งรีบ แข่งขัน ไม่มีความสุขเอาเสียเลย “น้องแพร” เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนจังหวัดพิษณุโลก เป็นผู้ประสานงานแปลงตามที่ “ทีมข่าวเฉพาะกิจ” ต้องการ เนื่องจาก การลงพื้นที่แบบนี้หากไม่มี “เจ้าหน้าที่” คอยประสานงานให้ เจ้าของแปลง “โคก หนอง นา” มักงง และจะไม่มั่นใจว่าเป็น “สื่อมวลชน” จริงหรือไม่!! และหลายคน “หวั่นไหว” เนื่องจาก “สื่อมวลชน” จะมาตรวจสอบเรื่องงบประมาณที่ลงไปในแปลง เช่น “ลุงตุ๋ย” นายวิจิตร ไกรสรเจริญ ต.บางกระทุ่ม อ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก เป็นศูนย์แบ่งปันเมล็ดพันธุ์ผักและต้นเกล้า รวมทั้ง “ศูนย์ผู้นำจิตอาสา” ด้วย เจอหน้าครั้งแรก “ลุงตุ๋ย” ถามแบบยิ้ม ๆ ว่า เป็นเจ้าหน้าที่มาติดตามการใช้งบประมาณหรือไม่ ซึ่งเราปฎิเสธว่า “มิใช่” เป็นเพียง “นักข่าว” ที่ “ปลัดเก่ง” สุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ส่งมาเพื่อให้มาพูดคุยกับชาวบ้าน มาดูความสำเร็จ ปัญหาและอุปสรรค พร้อมทั้งการดำเนินกิจการแปลงโคก หนอง นา ของเกษตรกรที่ได้รับเงินสนับสนุนจากกระทรวงมหาดไทยว่า ประสบความสำเร็จอย่างไรบ้าง?? “กลุ่มชาวบ้าน” พร้อม “ลุงตุ๋ย” เมื่อรู้ว่า “ปลัดเก่ง” ส่งเรามาลงพื้นที่ชื่นชม “ปลัดเก่ง” มากโข ว่าเป็นข้าราชการติดดิน ชอบช่วยเหลือชาวบ้าน โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด แปลงโคก หนอง นา ถือว่าเป็น “ตลาดผัก” ได้เลย เพราะชาวบ้านมาอาศัยพึ่งพากันเป็นจำนวนมาก พร้อมกับเชิญชวนให้ “ทีมงาน” กินขนุนที่ภรรยาลุงตุ๋ยผ่าแกะออกมาสด ๆ ให้กิน ซึ่งมีรสหวาน กรอบ ถูกใจยิ่งนัก “ธนัดดา ไกรสอนเจริญ” ลูกสาวลุงตุ๋ย ซึ่งเป็น “ประธานกลุ่มนาแปลงใหญ่” หลังจากพาชมพื้นที่แล้ว เล่าว่า ปัจจุบันหลังจากว่างเว้นจากงานราชการคือ เป็นสมาชิก อบต.แล้วก็จะใช้เวลามาดูแลสวนตรงนี้มาร่วมทำกิจกรรมกับชุมชนที่นี้ด้วย ส่วน “ลุงตุ๋ย” ผู้เป็นพ่อ แม้จะอายุ 69 ปีแล้ว ยังแข็งแรง ก็จะมากิน นอน อยู่ที่แปลงโคก หนอง นา นี้เป็นประจำ “ลุงตุ๋ย” หรือ นายวิจิตร ไกรสรเจริญ เล่าว่าเดิมมีอาชีพทำนา เลี้ยงวัว บนที่ดิน 50 ไร่ ต่อมาปี 2564 มีผู้ใหญ่มาชวน และได้ปรึกษาคนในครอบครัว ให้มาช่วยกันทำ ทางพช.ได้เข้ามาช่วยออกแบบ มาขุด มาเป็นพี่เลี้ยงให้ “ การทำโคก หนอง นา หวังรวยยาก แต่หวังว่าสุข แหละได้ ที่นี้มีครบ 4 พอ (พอยู่ พอกิน พอใช้ พอร่มเย็น) กินมีใช้ไม่ขาดแต่ยังไม่รวย โคกหนองนาจำนวน 3 ไร่ ลงพืชผสมผสานไว้หลากหลายมากมายเต็มพื้นที่ ซึ่งรายได้ก็มาจากสวนนี้ เหนื่อยแต่ก็มีความสุข มีผลผลิตมากอยากกินอะไรเราก็ปลูก และมีการเลี้ยงปลาหลากหลายชนิด ชาวบ้านอยากมากินก็แบ่งให้ฟรี เป็นศูนย์เรียนรู้ด้วย นักเรียน กลุ่มสตรีมาดูงานบ่อยครั้ง..” ชาวบ้าน ที่มาร่วมพูดคุย บอกว่า “ลุงตุ๋ย” เป็นคนมีฐานะในหมู่บ้าน แต่สมถะ ไม่ถือตัว มีที่ดินเป็นจำนวนมาก พี่น้องของแก รับราชการทั้งหมด มีแต่ลุงตุ๋ยนี้แหละยึดอาชีพทำนาแบบพ่อแม่ที่ทิ้งมรดกไว้เป็นร้อยไร่ ก่อนจากกันชาวบ้านให้นำ “ขนุน” ติดตัวมาด้วย เพื่อเป็นเสบียงเดินทางสำหรับเป้าหมายแปลงโคก หนอง นา อีกแปลงหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่ไม่ห่างจากอำเภอบางกระทุ่มไม่ไกลนัก แปลงแห่งนี้ถือว่าเป็นแปลงโมเดลให้กับแปลงอื่น ๆ ในจังหวัดพิษณุโลก มีขนาด 15 ไร่ เป็นแปลงที่หน่วยงานราชการในจังหวัดมาทำกิจกรรมและมาเอามื้อสามัคคีบ่อยครั้ง “ผู้ใหญ่มนตรี” มนตรี ปลอดครบุรี ต.แม่ระกา อ.วังทอง จ.พิษณุโลก ทำแปลงโคก หนอง นา งบประมาณจากเงินกู้ของรัฐบาล ขนาด 1ไร่ มีฐาน 9 ฐาน มีสระ 7 ลูก พื้นที่อุดมสมบูรณ์สมเป็นแปลงนำร่องและสมเป็นผู้ใหญ่บ้าน “ผู้นำต้นแบบ” เพราะลงมือทำเองทุกตารางนิ้ว “ทีมข่าวเฉพาะกิจ” ขับรถผ่านทุ่งนาเข้าไปยังแปลงผู้ใหญ่บ้านพื้นที่ใกล้เคียงมีแปลงโคก หนอง นา อยู่หลายแปลง มีต้นไม้เศรษกิจประเภท ยางนา พะยูง ประดู่ ทำเป็น “คันนาทองคำ” มองเข้าไปเป็นทิวยาวสวยงาม ตอนหลังทราบว่าเป็นแปลงโคก หนอง นา ของ “นายทหารวัยเกษียณ” ที่ปลูกล่วงหน้าไว้หลายปีมาแล้ว “ผู้ใหญ่มนตรี” เล่าว่า แปลงที่เห็นปลูกต้นไม้เศรษฐกิจไว้จำนวนมากนั่นเป็นแปลงของ “ร.ต.มานพ ป้องท้าว” เป็นศูนย์เรียนรู้ โคก หนอง นา พัฒนาชุมชนเหมือนกัน ท่านใช้งบส่วนตัวในการทำแปลงโคก หนอง นา ส่วนพื้นที่ของตนเข้าร่วมโครงการจำนวน 15 ไร่ ก่อนที่เข้าโครงการก็ทำเกษตรแบบยังไม่เป็นกิจลักษณะ ได้งบของกรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เพื่อมาขุดสระ จะทำคันกั้นน้ำแต่เห็นว่าคันมันใหญ่จึงนำต้นไม้มาปลูก พอปลูกเสร็จก็เห็นว่านามันมีน้ำท่วม ทำอย่างอื่นดีไหมก็เลยตัดสินใจปลูกสะเดา มะม่วง และผลไม้ตามฤดูกาล “เริ่มแรกเริ่มจากการทำนา 70ไร่ เมื่อปี 2564 แบ่งพื้นที่จำนวน 15 ไร่เพื่อเข้าร่วมโครงการโคกหนองนา เพราะได้ฟังประกาศจากกระทรวงมหาดไทย และใจเราอยากทำอยู่แล้ว จึงได้เข้าร่วมโครงการ และได้สมัครและเข้าร่วมเลย อีกทั้งพื้นที่ของเราก็พร้อมแล้ว หลังจากสมัครแล้ว เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาชุมชนก็มาดู แล้วก็ให้ทหารมาขุดบ่อทั้งหมด 7 บ่อ และต่อมาก็สร้างฐานเรียนรู้ 9 ฐาน ซึ่งเป็นไปตามแบบของกรมพัฒนาชุมชน..” ระยะแรกเกษตรกรที่คิดจะทำแปลงโคกหนอง นา หรืออะไรก็แล้วแต่ ที่เป็นไปตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงแบบนี้ ต้องทำใจ เพราะทำเกษตรอินทรีย์ มันต้องปรับพื้นดิน เพราะดินเราผ่านการใช้สารเคมีมาเยอะ ต้องซื้อกากอ้อยจากโรงงานน้ำตาลมาผสมกับดินและคลุกเคล้าหมักเป็นปีถึงจะใช้ได้ นำมารดโคนต้นไม้ พอเข้าปีที่ 3 เริ่มเห็นต้นไม้แล้วใจมันก็ชุ่มชื้นผลตามมาก็คือมะม่วง ฝรั่ง หน่อไม้ และยังมีปลาไว้ขายได้ “พื้นที่ 15 ไร่นี้มีคนมาจัดกิจกรรมบ่อยๆ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มสตรีในตำบล ในอำเภอ และมีคุณครูกศน.มาด้วย มีการเอามื้อสามัคคี เดือนละ 1 ครั้ง ยังคงมีภาคีเครือข่ายและช่วยเหลือกันอยู่อย่างเดิมมีคนเข้าร่วมโครงการโคกหนองนาจำนวนพื้นที่ 15 ไร่มีอยู่ทั้งหมด 7 แปลง มีเกือบทุกตำบล ตำบลบ้านกลาง ตำบลชัยนาม ตำบลหนองพระ ตำบลแม่ระกา ในอำเภอวังทอง แห่งนี้..” “ผู้ใหญ่มนตรี” เล่าต่อด้วยความภาคภูมิใจว่า ตอนแรกที่คิดทำ โคก หนอง นา ก็ทำแบบไม่ได้คิดอะไร แต่พอทำแล้วก็มีเหตุการณ์ที่สามารถจุนเจือได้ และมีคนเข้ามาศึกษาดูงาน ปลูกพืชผักสวนครัว ส่วนใหญ่ได้เรียนรู้มาจากพช. และศูนย์ศึกษาพัฒนาชุมชนพิษณุโลก ทุกวันนี้ทางพช.ได้เข้ามาดูแลทุกเรื่องเปรียบเสมือนพี่เลี้ยง สอนทำ EM ที่เติมอากาศในน้ำ ไม่ค่อยได้ใช้ปุ๋ย “ตอนนี้จังหวัดพิษณุโลกกำลังรณรงค์เรื่องการปลูกกล้วยมะลิอ่อง ทำ MOU กับพาณิชย์จังหวัดอยู่ ผมก็ปลูกกล้วยเป็นพืชพี่เลี้ยงก่อน และจะเน้นหลักๆคือกล้วยมะลิอ่อง เพราะที่ปลูกไว้ก่อนนี้3ปี ก็เริ่มหมดสภาพแล้ว ต้องเริ่มปลูกใหม่ ในเรื่องของผลผลิตต่างๆ ทางพาณิชย์จังหวัดก็พยายามช่วยในเรื่องการตลาด..” เมื่อ “ทีมงาน” ถามถึงปัญหาและอุปสรรค ผู้ใหญ่มนตรีเล่าว่า มีสารพัด ตั้งแต่เริ่มขุดบ่อ ก็มีคนหาว่า “บ้า” ที่นาดีๆ ก็ไปขุดบ่อ การทำโคก หนองนา เราต้องใจเย็น ต้องใช้เวลา ไม่ใช่แป๊บเดียวจะหวังเห็นดอกออกผล อย่างที่ตรงนี้ ตอนเริ่มขุดดินใหม่ ๆ ก็ต้องพยายามปรับปรุงสภาพดินบำรุงดินต่าง ๆ ไปอบรมที่ศูนย์ของ พช.บ้าง ตามศูนย์เรียนรู้ต่าง ๆบ้าง กว่าจะประสบผลสำเร็จอย่างทุกวันนี้ต้องใช้เวลาประมาณ 5 ปี “สิ่งที่ได้จากโคก หนอง นา คือ การได้กินผักที่เราปลูกเอง ปลอดสารพิษแน่นอน ได้สิ่งแวดล้อมที่ดี มีรายได้พออยู่พอกิน มีสุขภาพจิตที่ดี มีภาคีเครือข่าย หลายครอบครัวได้ผู้นำกลับมาคือ เลิกกินเหล้า เลิกเที่ยว มาอยู่มาร่วมกันทำกิจกรรมกับครอบครัว ในแปลงแห่งนี้ โคก หนอง นา มันมาถูกทางแล้ว มันฟื้นวิถีชาวบ้านในชนบทกลับมา มันปลุกพลังผู้นำชุมชน ปลุกพลังชาวบ้านให้ทบทวนสิ่งที่มันเป็นวิถีชีวิตของพวกเรา อย่างจังหวัดพิษณุโลก แม้จะเป็นเมืองท่องเที่ยว แต่ประชาชนส่วนใหญ่ก็ยังยึดอาชีพเกษตรกร ทำนา ทำไร่อ้อย การปลูกผักกินเอง มันจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในยุคนี้ ก็ต้องขอขอบคุณกระทรวงมหาดไทย เจ้าหน้าที่ พช. รวมทั้งหลาย ๆ หน่วยงานที่เห็นคุณค่าตรงนี้ สำหรับแปลงแห่งนี้เป็นศูนย์เรียนรู้ด้วย ยินดีอย่างยิ่งที่จะเป็นศูนย์เรียนรู้ เพื่อความเปลี่ยนแปลงไปสู่ชีวิตที่ดีขึ้น..” ภาพรวมการทำกิจกรรมแปลงโคก หนอง นา จังหวัดพิษณุโลก จากข้อมูลของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพิษณุโลก ระบุว่า พื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบ “โคก หนอง นา โมเดล” ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงระดับตำบล (CLM) มีจำนวน 8 แปลง และระดับครัวเรือน (HLM) จำนวน 135 แปลง และโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 -2565 มีจำนวน 79 แปลง รวมทั้งสิ้น 222 แปลง และในปี พ.ศ.2567 นี้มีแปลงขนาด 3 ไร่ เพียงแค่ 1 แปลงเท่านั้น ซึ่งจากการลงพื้นที่พูดคุยกับชาวบ้าน กระแสการทำแปลงโคก หนอง นา ปัจจุบันแม้อาจะดูแผ่วเบาบางลงไปแต่ยังมีประชาชนอีกหลายพื้นที่ยังคงต้องการงบประมาณสนับสนุนจากกระทรวงมหาดไทย เพื่อดำเนินการโครงการโคก หนอง นา อยู่อย่างต่อเนื่อง และหลายพื้นที่ หลายจังหวัด ตอนนี้ผลผลิตจากแปลงเริ่มออก สู่ตลาด สิ่งที่ชาวบ้านต้องการมากที่สุดคือ เครื่องผลิตภัณฑ์ และช่องทางตลาด เพื่อจำหน่ายผลผลิตที่เกิดจากโคก หนอง นา สิ่งนี้เป็นโจทย์ที่กรมการพัฒนาชุมชน และผู้บริหารกระทรวงมหาดไทย จำเป็นต้องลงมือเข้าไปช่วยเหลือชาวบ้าน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามหลักทฤษฎีบันได 9 ขั้นของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 จำนวนผู้ชม : 881 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author 23 มิ.ย.นี้! “กรมคุ้มครองสิทธิฯ ยธ.-ยธ.กรุงเก่า” จัดมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ “มจร” เข้าร่วม อุทัย มณี มิ.ย. 09, 2022 "มจร" เข้าร่วมมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ "ยธ.พระนครศรีอยุธยา-กรมคุ้มครองสิทธิฯยธ."… พระนิสิตหอพัก มจร แตกตื่น “เจ้าหน้าที่เมา” บุกรุกยามวิกาล ด้านพระนิสิตระบุ 2 รอบแล้ว ผู้บริหารเงียบฉี่!! อุทัย มณี ต.ค. 06, 2023 วันที่ 6 ตุลาคม 2566 เพจองค์กรบริหารนิสิต มจร ส่วนกลาง ได้เผยแพร่ภาพไลน์สดเมื่อคืนนี้เวลาประมาณ… เกาะติด..การประชุมเตรียมพร้อม “งานวิสาขบูชาโลก” อุทัย มณี พ.ค. 14, 2024 กิจกรรมงานวิสาขบูชาโลกครั้งที่ 19 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพระหว่างวันที่… “พิพัฒน์”ร่วมพิธีสมโภชพระพุทธมหานวนาคปฏิมากร ลานโลมาหาดป่าตองภูเก็ต อุทัย มณี ต.ค. 09, 2021 วันที่ 9 ตุลาคม 2564 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา… ทำความรู้จัก ‘โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญ’ โอกาสทางการศึกษาใต้ร่มกาสาวพัสตร์ อุทัย มณี พ.ย. 19, 2021 รายงานพิเศษ : ผลงานชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือระหว่าง… “พ่อเมืองนครพนม” จับมือภาคีเครือข่ายสนับสนุนเครื่องแบบ ลูกเสือเนตรนารี ให้กับนักเรียนที่ขาด อุทัย มณี ก.ย. 20, 2023 วันที่ 20 ก.ย. 66 เวลา 09.00 น. ณ ห้องโถง ชั้น 1 ศาลากลางจังหวัดนครพนม… “พวงเพ็ชร” เผย นายกฯ สั่งเร่งแก้ปัญหาที่ดินวัดทั่วประเทศ นำร่อง สกลนคร 10 วัด อุทัย มณี ก.พ. 18, 2024 วันที่ 18 ก.พ. 67 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง… ‘IBSCมจร’พร้อมโอบอุ้มนิสิตใหม่ สู่การค้นพบตัวเองและออกไปรับใช้ชาวโลก อุทัย มณี ส.ค. 18, 2019 วันที่ 18 ส.ค.2562 วิทยาลัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)… หนุ่มสาวชาวจีนหันหน้าเข้าหา ‘รสพระธรรม’ ที่พึ่งทางใจ หนีแรงกดดันจากการงานที่นับวันยิ่งแข่งขันสูง อุทัย มณี พ.ค. 10, 2023 วันที่ 10 พ.ค. 66 การแข่งขันในระบบธุรกิจนับวันยิ่งสูงขึ้นประเภท… Related Articles From the same category “วัดอรุณ ” นิมนต์ 4 สมเด็จร่วมงาน “อดีตเจ้าอาวาส” วันที่ 29 ธ.ค. 64 วานนี้ ณ พระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม เขตบางกอกใหญ่… เรียนสันติศึกษาโท-เอก “มจร” จบรับปริญญา แถมได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท “ยธ.” หลักสูตรสันติศึกษา "มจร" ขอนำหลักสูตรอบรมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติไกล่เกลี่ยข้อพิพาท… ปู่ทองย้อยฟาด “วิธีคิดของผู้นำพระศาสนา” ยุคปัจจุบัน วันที่ 27 เม.ย. 65 เฟชบุ๊ค ทองย้อย แสงสินชัย หรือ พลเรือตรี ทองย้อย… “อาศิส พิทักษ์คุมพล” จุฬาราชมนตรี คนที่ 18 ของไทย ถึงแก่อนิจกรรมแล้ว "แท้จริงเราเป็นสิทธิของอัลลอฮ์และเราต้องกลับไปสู่พระองค์"… ตามไปดู โคก หนอง นา จังหวัดเพชรบูรณ์ พร้อมต่อยอดสู่ “เขตเศรษฐกิจพอเพียง” เป้าหมายหนึ่งของการลงพื้นที่ทั่วประเทศของทีมงานข่าวพิเศษนอกจากติดตามไปดูแปลง…
Leave a Reply