“สมเด็จธงชัย” เยี่ยม “หมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบ” ยกศีล 5 คือ นำสันติสุขมาให้มวลมนุษยชาติได้จริง!!

วันที่ 18 กันยายน 2567  เวลา 13.00 น.ที่วัดวชิรธรรมสาธิต วรวิหาร แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะใหญ่หนกลาง ในฐานะประธานคณะกรรมการอำนวยการโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล 5”  เดินาทางลงพื้นที่เพื่อติดตามและประเมินผลการขับเคลื่อนหมู่บ้านรักษาศีล 5 ซึ่งวัดสุดท้ายใน 23 จังหวัดในเขตหนกลาง ซึ่งมี พระพรหมเสนาบดี ที่ปรึกษากรรมการมหาเถรสมาคม รองประธานกรรมการอำนวยการ,พระพรหมวัชรวิมลมุนี เจ้าคณกรุงเทพมหานคร.,พระธรรมวชิรานุวัตร ประธานกรรมการอำนวยการ,พระธรรมวชิรสุนทร รองประธานกรรมการอำนวยการ พระเทพปวรเมธี ประธานกรรมการขับเคลื่อนหมู่บ้านรักษาศีล 5 หนกลาง พระราชวชิรธรรมาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดวชิรธรรมสาธิต วรวิหาร  พร้อม ด้วยคณะกรรมการหมู่บ้านรักษาศีล 5  พระสังฆาธิการในเขตปกครองกรุงเทพมหานคร. เป็นต้น และมี นายสมบัติ พิมพ์สอน ผู้ตรวจราชการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ นายสิงห์ ลิ้มพิรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว  กรุงเทพมหานคร หัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารท้องถิ่น ผู้บริหารการศึกษา ผู้นำชุมชน นักเรียน และประชาชนในพื้นที่ถวายการต้อนรับ

สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี ได้กล่าวตอนหนึ่งว่า  สำหรับศีล 5 นัน ถือว่าเป็นหลักปฎิบัติและคุณธรรมพื้นฐานของพุทธศาสนิกชน ในบรรดาหลักคำสั่งสอนขององค์พระสัมมาพุทธเจ้า ศีล 5 นั่นนับเป็นข้อปฎิบัติที่พุทธศาสนิกชนรู้จักกันดี เพราะเป็นหลักธรรมที่เริ่มเรียนกันมาตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา สั่งสอนกันในสถาบันครอบครัว ไปจนถึงระดับชุมชน อีกทั้งยังสามารถปรับใช้ได้ในประจำวันได้จริง

“หากท่านใด ปฎิบัติตนตามศีล 5 ได้นั้น ศีล 5 ทำให้อายุยืน ทำให้ปลอดภัยจากโจรผู้ร้าย เครือญาติสามีภรรยาอยู่กันเป็นผาสุก พูดอะไรใครก็เชื่อเถือ มีเสน่ห์เป็นที่จับใจ ไพเราะ และเป็นผู้มีสติปัญญาดี เฉลียวฉลาด ศีล 5 นี้ หากใครรักษาดีแล้วย่อมอำนวยประโยชน์ แก่ผู้นั้นมากมาย  เป็นประโยชน์ในปัจจุบันชาติ คือ มีความเย็นใจ ไม่เดือดร้อนเพราะเป็นผู้มีศีล และเป็นประโยชน์ในสัมปรายภพ คือจะไปสุคติ จะมีโภคะตลอดจนถึงพระนิพพาน อีกประการหนึ่ง เพื่อความมั่นคงแห่งสถาบันหลัก คือ ชาติ  ศาสนา พระมหากษัตริย์ และเพื่อประโยชน์สุขและสันติสุขแห่งมวลมนุษยโลก..”

พระเทพปวรเมธี  ประธานกรรมการขับเคลื่อนหมู่บ้านรักษาศีล 5 หนกลาง เผยว่า การลงพื้นที่ของคณะกรรมการหมู่บ้านรักษาศีล 5 และคณะตลอด 2 เดือนที่ผ่านมา วันนี้เดินทางมายัง วัดวชิรธรรมสาธิต วรวิหาร กรุงเทพมหานคร ถือว่าเป็นวัดสุดท้ายในปีนี้ ตลอดระยะเวลา 2 เดือนคณะกรรมการลงไปแล้วทั้ง 23 จังหวัดในหนกลาง เพื่อไปให้กำลังใจและประเมินให้คะแนนหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบ ซึ่งทุกแห่งการประเมินมาตรฐานเดียวกัน คือมีหลัก 4 ประการ หนึ่ง ประเมินข้อพื้นฐานข้อมูลของชุมชนหมู่บ้าน ทั้งเรื่องสัมมาชีพ ยาเสพติด อัตลักษณ์ของชุมชน สอง การประเมินการขับเคลื่อนหมู่บ้านรักษาศีล 5 ว่ามีกิจกรรมอะไรบ้างที่บ่งบอกถึงการขับเคลื่อนหมู่บ้านรักษาศีล 5 สาม เรื่องการส่งเสริมการปฎิบัติธรรม อันนี้เป็นเรื่องหลักอีกประการหนึ่งที่สำคัญในการขับเคลื่อนหมู่บ้านรักษาศีล 4 และประการสุดท้าย คือ การพร้อมของสถานที่ ข้อมูล และ ความสามัคคี ร่วมมือร่วมใจของชุมชน วัด โรงเรียน หน่วยราชการที่เราเรียกว่าหลัก บวร

“หัวใจสำคัญของการลงพื้นที่ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา คือ นอกจากมาให้กำลังใจและมาประเมินแล้ว มาดูข้อมูลพูดคุยเรื่องการสร้างความปรองดอง ความสงบสุข ความร่มเย็นของชุมชนหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบที่แต่ละจังหวัดได้คัดเลือกเอาไว้ และทั้งฝากต่ออีกว่า เมื่อหมู่บ้านรักษาศีล 5 เหล่านี้ เป็นหมู่บ้านต้นแบบแล้ว อนาคตต้องขอให้ขยายผลนำไปสู่ชุมชนหรือหมู่บ้านอื่น ๆ ด้วย และอาจเป็นไปได้ว่าอนาคตอาจจะต้องมีคณะกรรมการติดตาม และประเมินผล เพื่อรักษามาตรฐานหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบเอาไว้..”

สำหรับบรรยากาศภายนอกศาลาการประชุมมีนิทรรศการมาจัดแสดงหลายซุ้ม มีนักเรียนอาราธศีล 5 มีการสวด ‘โอ้เอ้วิหารราย’ โดยคณะนักเรียนในพื้นที่ และทั้งพิธีเจริญพระพุทธมนต์สืบชะตาแบบล้านนา ถวายแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีสลากภัต แบบชาวเหนือ สืบเนื่องจาก วัดวชิรธรรมสาธิต วรวิหาร เป็นศูนย์กลางของชาวเหนือที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร อีกทั้ง พระราชวชิรธรรมาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดวชิรธรรมสาธิต วรวิหาร  มีถิ่นกำเนิดเป็นชาวเหนือ จึงรักษาอัตลักษณ์และประเพณีแบบชาวเหนือไว้อย่างเหนียวแน่น

สำหรับ วัดวชิรธรรมสาธิต วรวิหาร  ตามประวัติเล่าว่า นายวันดี คฤหบดีชาวลาวเป็นผู้สร้างเมื่อปีพุทธศักราช 2399 ชาวบ้านเรียกวัดนี้ว่า “วัดทุ่ง” หรือ “วัดกลางทุ่ง”  เพราะวัดตั้งอยู่กลางทุ่งระหว่างคลองเคล็ดกับคลองบ้านหลาย ต่อว่าวัดเกิดร้างเพราะเหตุนายวันดี เสียชีวิต  ต่อมาในปี 2506 พระอาจารย์สาธิต ฐานวโร อดีตเจ้าอาวาสได้บูรณะขึ้นมาให้และถวายวัดทุ่งสาธิต แด่ สมเด็จพระเจ้าลุกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ สมเด็จพระจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ ฯ ทรงรับวัดทุ่งสาธิตไว้ในพระอุปภัมภ์และได้รับพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดวชิรธรรมสาธิต” เมื่อวันที่ที่ 9 กันยายน 2567  ปัจจุบันมี พระราชวชิรธรรมาภรณ์ ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส และเป็น เจ้าคณะเขตพระโขนง -บางนา ด้วย

Leave a Reply