ปลัด มท. มอบนโยบายผู้ว่าฯ 14 จังหวัดภาคใต้ เน้นทำงานแบบ Partnership ย้ำผู้ว่า ฯ นายอำเภอต้องเป็น “นายกรัฐมนตรีในพื้นที่” ดูแลบำบัดทุกข์ บำรุงสุขพี่น้องประชาชน วันที่ 4 ก.พ. 66 เวลา 08.30 น. ที่ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย อาคารบริหารและสำนักงานกลาง มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุมขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย โดยมี ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย นางกีต้า ซับบระวาล (Mrs. Gita Sabharwal, UN Resident Coordinator in Thailand) ผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศไทย นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นางจิณณารัชช์ สัมพันธรัตน์ ประธานชมรมแม่บ้านพัฒนาชุมชน ผู้ว่าราชการจังหวัด 14 จังหวัดภาคใต้ หัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย นายอำเภอ ผู้อำนวยการกลุ่มงาน ในพื้นที่จังหวัดพัทลุง และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า วันนี้เป็นโอกาสดีของพี่น้องประชาชนในจังหวัดพัทลุง และ 14 จังหวัดภาคใต้ที่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จไปทรงเปิดป้ายสนามกีฬาสิริวัณณวรี ซึ่งเป็นสถานที่แห่งการเสริมสร้างสุขภาพให้พี่น้องประชาชนได้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง มีพื้นที่นันทนาการ อันจะส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน และเสด็จไปทอดพระเนตรนิทรรศการและการจัดงานแสดงผลิตภัณฑ์ผ้าไทยและงานหัตถกรรมชุมชน ณ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง ด้วยพระราชปณิธานที่มุ่งมั่นในการสืบสาน รักษา และต่อยอดแนวทางการส่งเสริมผ้าไทยตามพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ด้วยการส่งเสริมการพัฒนาทักษะให้กับช่างทอผ้าและผู้ประกอบการผ้าไทยทุกกลุ่ม ทุกเทคนิคในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ อันทำให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่มีความมั่นคงและยั่งยืน จึงทำให้ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ทุกท่านได้มาร่วมกันในการรับเสด็จและน้อมนำแนวพระดำริไปขับเคลื่อนขยายผลทำให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่ได้รับการพัฒนาชีวิตด้วยปณิธาน “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า สิ่งสำคัญที่กระทรวงมหาดไทยได้มุ่งมั่นน้อมนำมาขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง คือ การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร อันเป็นที่มาของการกำหนดหมุดหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ของสหประชาชาติ ทั้ง 17 ข้อ ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดได้ร่วมลงนามประกาศเจตนารมณ์เพื่อประเทศไทยที่ยั่งยืน (Statement of Commitment to Sustainable Thailand) ด้วยแนวคิด Change for Good ดังเจตจำนงและความประสงค์ของพวกเราทุกคน “1 จังหวัด 1 คำมั่นสัญญา เพื่อการพัฒนา เพื่อความเท่าเทียม เพื่อความยั่งยืน เพื่อคนไทย ร่วมกับสหประชาชาติ “โลกนี้เพื่อเรา”” เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2565 ซึ่งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงสนพระทัยและทรงให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าว โดยพระราชทานหนังสือ Sustainable City ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทย นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน และประธานชมรมแม่บ้านพัฒนาชุมชน ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้รับพระราชทานแนวพระดำริดังกล่าวมาขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) ซึ่งทั้งนี้ ตลอดการทรงงานในห้วง 3 ปีที่ผ่านมา พระองค์ทรงงานด้วยความมุ่งมั่นมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยการทรงสืบสาน รักษา และต่อยอด แนวพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในงานภูมิปัญญาผ้าไทย และงานหัตถศิลป์ หัตถกรรม ด้วยเพราะพระประสงค์ที่อยากให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกเรื่อง จึงพระราชทานแนวทางส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเลิกใช้สีเคมี เช่น ผ้าบาติก ที่ทุกวันนี้ หลายกลุ่มได้หันมาใช้สีธรรมชาติ ตลอดทั้งกระบวนการผลิต ด้วยการปลูก ค้นคว้า ทดลอง นำพืชในท้องถิ่นมาทำ รวมทั้งในเรื่องของเส้นด้ายก็ทรงยุยงส่งเสริมให้ปลูกฝ้าย ปลูกหม่อน เลี้ยงไหม และสำหรับพื้นที่ที่ภูมิประเทศ ภูมิอากาศไม่เหมาะจะปลูก กระทรวงมหาดไทยโดยกรมการพัฒนาชุมชนและผู้ว่าราชการจังหวัดก็ได้ร่วมกันในการ Matching จับคู่เกษตรกรในภูมิภาคอื่น ๆ เพื่อให้แลกเปลี่ยนวัสดุกัน เช่น ตลาดผ้าไหมปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งในวันนี้หลายกลุ่มที่ได้รับพระกรุณาธิคุณในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตนเองก็เริ่มมีการจับคู่และพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีความยั่งยืนแล้ว “ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดต้องมุ่งมั่นในการน้อมนำพระดำริของพระองค์ท่าน เพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุขพี่น้องประชาชน ด้วยการขับเคลื่อนแนวทางตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในข้อ 17 ซึ่งมีเป้าหมายการทำงานแบบ Partnership มุ่งยกระดับหุ้นส่วนความร่วมมือ โดยเฉพาะความร่วมมือหลายภาคส่วน เพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ซึ่งจะทำให้ SDGs อีก 16 ข้อ บรรลุเป้าหมายได้ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดต้องขับเคลื่อนทำให้นายอำเภอทุกอำเภอได้รื้อฟื้นระบบ Partnership ของอำเภอให้กลับมา ด้วยกลไก “กรมการอำเภอ” ในอดีต ทำให้ “ทีมอำเภอ” ทั้งทีมที่เป็นทางการ คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำการปกครองท้องที่ และข้าราชการผู้รับผิดชอบประจำตำบล ให้มีความเข้มแข็งในการทำงาน รวมทั้งการสร้างทีมภาคีเครือข่ายทั้ง 7 ภาคีในทุกอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน และทำให้มีระบบ “หย่อมบ้าน” หรือ “คุ้ม” ให้เกิดขึ้นในทุกหมู่บ้าน โดยกำหนดโจทย์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เป็นอำนาจหน้าที่ของชาวมหาดไทยและข้าราชการทุกคน ทั้งเรื่องยาเสพติด ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน สุขภาพอนามัย ความสะอาดของบ้านเมือง สาธารณสุขพื้นฐาน สุขภาพอนามัยแม่และเด็ก รวมทั้งด้านความมั่นคงทางอาหาร ทำให้ทีมมีความเข้มแข็ง ด้วยการหมั่นลงพื้นที่ไปให้กำลังใจทีม ถ้าผู้ใหญ่บ้านเข้มแข็ง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านเข้มแข็ง คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิฝ่ายต่าง ๆ ของอำเภอเข้มแข็ง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้มแข็ง ประชาชนก็จะมีความสุข จึงเป็นที่มาของอำเภอบำบัดทุกข์ บำรุงสุขแบบบูรณาการ และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนอีก 16 ข้อก็จะตามมา” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าว นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดให้ความสำคัญกับทุกภารกิจของทุกส่วนราชการในระดับพื้นที่ เพราะ “ภารกิจของทุกกระทรวง คือ ภารกิจของคนมหาดไทย ของผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอทุกอำเภอ” ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน “ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องเป็นนายรัฐมนตรีของจังหวัด นายอำเภอเป็นนายกรัฐมนตรีของอำเภอ” ต้องผลักดันให้ผู้รับผิดชอบงานของทุกกระทรวง ทุกกรม ทำงานอย่างเข้มแข็ง มีปลัดอำเภอเป็นรองนายกรัฐมนตรีของอำเภอและเป็นหัวหน้าคณะรัฐมนตรีในตำบลและในหมู่บ้าน ช่วยประคับประคองดูแลพี่น้องประชาชนให้มีความสุข บำบัดทุกข์ บำรุงสุข ธำรงไว้ซึ่งสถาบันหลักของชาติ อันประกอบด้วย ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ให้มีความมั่นคง ซึ่งประเทศชาติจะมั่นคง ประชาชนจะมีความสุข เราต้องน้อมนำพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข แก้ไขในสิ่งผิด สืบสานในพระราชปณิธาน ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ทำทุกนาทีที่มีค่าให้เกิดประโยชน์กับประชาชน และเป็นแบบอย่างให้กับข้าราชการรุ่นน้อง เป็นข้าราชการที่ดีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นหลักดูแลพสกนิกรของพระองค์ท่าน ทำหน้าที่บำบัดทุกข์ บำรุงสุข เพื่อประชาชนตลอดไป “ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องให้ความสำคัญในการส่งเสริมบทบาท “นายอำเภอ” และ “ทีมอำเภอ” สามารถขับเคลื่อนงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ในการขับเคลื่อนการบริหารจัดการในระดับพื้นที่เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืนให้กับประชาชนผ่านโครงการอำเภอบำบัดทุกข์ บำรุงสุขแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน” ทำให้ท่านนายอำเภอและทีมอำเภอ เป็นผู้นำต้องทำก่อน ต้องหมั่นลงพื้นที่ไปพบปะ ไปเยี่ยมเยียนพี่น้องประชาชน ศึกษาประวัติศาสตร์ของพื้นที่ ลงไปคลุกคลี มีความเคารพนบนอบพี่น้องประชาชนเหมือนญาติมิตรของเราสอดคล้องกับสิ่งที่องค์ปฐมเสนาบดีทรงสอนสั่งว่า ให้ออกไปเยี่ยมเยียน ไปทำงานในพื้นที่ “ให้รองเท้าสึกก่อนกางเกงขาด” รวมทั้งขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ด้วยการเอาใจใส่ในการขับเคลื่อนภารกิจบำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้กับประชาชน ทำให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่มีคุณภาพ ได้ปลูกพืชผักสวนครัวสร้างความมั่นคงด้านอาหารตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นสำคัญ การจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน อีกทั้งกิจกรรมเสริมสร้างความสมัครสมานสามัคคี ความรัก ความอบอุ่น ของสมาชิกในครอบครัว ซึ่งเมื่อทุกครอบครัวมีความรัก ความอบอุ่น ก็จะส่งผลให้หมู่บ้านมีความรัก ความสามัคคี และส่งผลให้ทั้งตำบล ทั้งอำเภอ และทั้งจังหวัด เป็นพื้นที่ที่มีแต่คนรักกัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รู้รักสามัคคี เอื้ออาทรกัน อันจะทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนตามเป้าหมาย UN SDGs ทั้ง 17 ข้อ อย่างยั่งยืน พร้อมทั้งขอให้ UN Resident Coordinator in Thailand สนับสนุนให้จังหวัดภูเก็ตได้เป็นเจ้าภาพ Expo 2028 Phuket Thailand ในปี พ.ศ. 2571 เพื่อเป็นโอกาสในการทำให้ประเทศไทยได้แสดงศักยภาพให้ทั่วโลกได้เห็นถึงผลลัพธ์แห่งการพัฒนาที่ยั่งยืนของทุกภาคส่วนของไทย” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวในช่วงท้าย นายณรงค์ วุ่นซิ้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ขอบคุณปลัดกระทรวงมหาดไทย และนายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย ที่ได้ให้การสนับสนุนการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ Expo 2028 Phuket Thailand ในปี พ.ศ. 2571 ของจังหวัดภูเก็ต ตั้งแต่เริ่มต้นการเสนอตัว โดยจังหวัดภูเก็ตได้เสนอตัวภายใต้ธีมงาน Future of Life : Living in Harmony, Sharing Prosperity ชีวิตแห่งอนาคต-แบ่งปันความรุ่งเรือง ด้าน Mrs. Gita Sabharwal, UN Resident Coordinator in Thailand กล่าวว่า ตนขอชื่นชมบทบาทท่านผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้บริหารจังหวัดที่ทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนหลอมรวมนำสังคมและชุมชนเดินหน้าพัฒนาอย่างยั่งยืนไปพร้อมกัน ซึ่งการขับเคลื่อน SDGs ทั้ง 17 ข้อ ทาง UN ได้ทำงานสอดประสานและทำงานแนวทางเดียวกันกับทุกจังหวัด ทำทุกองคาพยพ ทั่วทั้งสังคม ด้วยการนำประชาชนและผู้คนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาด้านต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตประจำวัน โดยทีมงานสหประชาชาติทั้ง 21 หน่วยในประเทศไทย ทั้งนี้ การลงนาม Statement of Commitment to Sustainable Thailand เมื่อเดือนมิถุนายน 2565 ถือเป็นช่องทางในการทำงานสอดประสานใกล้ชิดขึ้นของจังหวัดและ UN ในระดับท้องถิ่น ทั้งนี้ ประเทศไทยยังมีช่องทางการพัฒนาการบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพในหลายมิติเพิ่มมากขึ้น และประการสำคัญ คือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ผ่านการเข้าถึงดิจิทัลต่าง ๆ โดย “เยาวชน” จะเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญที่เราสามารถเข้าไปทำงานพัฒนาส่งเสริมได้ เพราะทั้ง ICT และอุตสาหกรรมความคิดสร้างสรรค์ การคิด การเขียน จะเป็นเป้าหมายในการพัฒนาเยาวชนในอนาคต จำนวนผู้ชม : 302 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author ธันวาคม 25, 2022 อุทัย มณี ธ.ค. 25, 2022 ปลัดกระทรวงมหาดไทย เผยพี่น้องประชาชนทุกศาสนิกทุกพื้นที่ทั่วประเทศ… เจ้าคณะเขตเทศน์ธรรมกิจกรรม “นุ่งขาวห่มสไบใส่บาตรหลวงพ่อรอด” อุทัย มณี ม.ค. 12, 2022 เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา พระครูปลัดอดิศักดิ์ วชิรปญฺโญ,… กันยายน 23, 2022 อุทัย มณี ก.ย. 23, 2022 เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2565 สมเด็จพระมหาธีราจารย์ กรรมการมหาเถรสมาคม… กมธ. ศาสนาฯ สภาฯ “เดินสาย” กราบสวัสดีปีใหม่ “มส.” หวังให้กิจกรรมศาสนาดีขึ้น อุทัย มณี ม.ค. 07, 2022 เมื่อวันศุกร์ที่ 7 มกราคม 2565 นายเพชรวรรต วัฒนพงศศิริกุล รองประธานคณะกรรมาธิการการศาสนา… รองผอ.พศ.เตือนภัยพระสงฆ์ หญิงขอแอดเป็นเพื่อนชวน “คุยเสียว” แล้วรีดทรัพย์ อุทัย มณี ส.ค. 31, 2024 วันที่ 31 สิงหาคม 2567 นายบุญเชิด กิตติธรางกูร รองผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ… กรรมการ มส.นำร่องนั่งฉันในบาตร..เพื่อป้องกันโควิด-19 อุทัย มณี ม.ค. 06, 2021 วันนี้ (6 ม.ค.64) มีภาพปรากฏตามโซเซียลกลุ่มไลน์ชาวพุทธ… “เจ้าคุณเสียดายแดด” พบ “บิ๊กตู่” ขอบิณฑบาตร “เขตเศรษฐกิจพอเพียง” อุทัย มณี มิ.ย. 18, 2022 วันที่ 18 มิ.ย. 65 พระปัญญาวชิโมลี หรือ “พระเสียดายแดด” ผู้รณรงค์การทำโซล่าเซลล์ทั่วประเทศ… สภา มจร มีมติมอบ “ปริญญากิตติมศักดิ์” หลวงพ่อพัฒน์ – อธิการบดี มมร.,ชวน หลีกภัย,ปลัดเก่ง,ฐาปน,อากู๋,อดีตรองประธานศาลฏีกา ติดโผ!! อุทัย มณี ก.พ. 24, 2022 วันที่ 24 ก.พ.65 เมื่อวานนี้ ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย… ฟังพระเล่า!! การขับเคลื่อนหลัก “บวร” บนฐานของ “โคก หนอง นา” อุทัย มณี ก.ค. 05, 2021 วันที่ 4 กรกฎาคม 2564 นายวิริยะ เสาทอง พัฒนาการอำเภอเดชอุดม… Related Articles From the same category “วัดลาดพร้าว” ประกาศงดรับฌาปนกิจ หลังเจ้าหน้าที่วัดติดโควิดเสียชีวิต และมีผู้ติดเชื้อหลายราย ทำให้พระและเจ้าหน้าที่ต้องกักตัว วันที่ 26 ก.ค. ุ64 วัดลาดพร้าวเผยแพร่ “คำสั่งเจ้าอาวาส” งดรับงานฌาปนกิจทั้งหมด… อำเภอเมืองสองแควปลูกผักปลุกพลังความคิด ปรับวิถีชีวิตด้วยเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมจัดทำ “ถังขยะเปียกลดโลกร้อน” อำเภอเมืองพิษณุโลก ขับเคลื่อนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน… วันอาสาฬหบูชา! สมเด็จพระสังฆราชประทานพระคติธรรม ทรงแนะสื่อสารด้วย‘ปิยวาจา’ วันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๖๒ เพจสำนักงานเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช… ‘พระม.สงฆ์ มจร’แนะครูรุ่นใหม่! ใช้สติปัญญาประดิษฐ์เป็นฐานพัฒนาคนยุคดิจิทัล วันที่ 11 ก.ย. 2562 ที่ผ่านมา ที่ห้อง IMind วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ… วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี”มจร” จับมือร.ร.มัธยมศึกษาพื้นที่นครปฐม มอบทุนเรียนต่อป.ตรี เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2562 วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)…
Leave a Reply