เยือน “วังเจ้า” อำเภอนำร่อง ระดับ “ยอดเยี่ยม” อำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก มีกลไกผู้นำที่เข้มแข็ง หรือก็คือ นายอำเภอวังเจ้า ในการสร้างการบูรณาการความร่วมมือของทุกภาคส่วน ผ่านการนำสถาบันหลักในชุมชนมาเป็นกลไกในการพัฒนาและสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง เพื่อทำหน้าที่เป็นแกนกลางในการพัฒนาแก้ไขปัญหาตนเองและชุมชนตามแนวทาง “บวร บรม ครบ” มาขับเคลื่อน ร่วมกับการทำงานกับภาคีเครือข่าย 7 ภาคี นอกจากนี้ นายอำเภอวังเจ้ายังมีความโดดเด่นในด้านภาวะผู้นำ มีความมุ่งมั่นตั้งใจการขับเคลื่อนโครงการฯ ให้ประสบผลสำเร็จ แม้มีข้อจำกัดด้านทรัพยากรในพื้นที่ รวมถึง มีการขยายผลไปจากระดับอำเภอ สู่ระดับหมู่บ้าน ก่อให้เกิดความเข้มแข็งหมู่บ้านตามแนวทางแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง “หมู่บ้านอยู่เย็น” ด้วยเหตุนั้นคณะทำงานฯ ได้มีมติลงความเห็นร่วมกันด้วยคะแนนเสียงข้างมากเลือกให้ อำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก ได้รับรางวัล อำเภอนำร่อง “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ระดับดับยอดเยี่ยม นี่คือคำพูดบางช่วงบางตอนของ “สุทธิพงษ์ จุลเจริญ” ปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะเป็น “แม่ทัพ” ขับเคลื่อนโครงการอำเภอนำร่องบำบัดทุกข์ บำรุงสุข เพื่อความอยู่ดี กินดี และอยู่เย็น เป็นสุข ของประชาชนทั่วประเทศ “อำเภอวังเจ้า” แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 3 ตำบล คือ ตำบลเชียงทอง ตำบลนาโบสถ์ และตำบลประดาง รวมทั้งหมดมี 28 หมู่บ้าน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรหลัก ๆ คือ ไร่อ้อย ไร่มันและเฟอร์นิเจอร์ “ทีมข่าวพิเศษ” เมื่อเดินทางถึงที่ว่าการอำเภอวังเจ้าเห็นแปลง “โคก หนอง นา” อยู่ภายในหน้าอาคารหอประชุมใหญ่ซึ่งดูแล้วสบายตา เพราะมีผักและผลไม้อยู่หลากหลายมีสะพานเดินทอดน่องเดินเล่น ชมภายในแปลงโคก หนอง นา มีศาลาหลังเล็ก ๆ ไว้นั่งเล่น มีป้ายต้อนรับ “ปลัดกระทรวงมหาดไทย” อยู่หน้าหอประชุมใหญ่ตอนที่ลงมาประเมินอำเภอนำร่อง “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” “เอกสิฎฐ์ วิไลศิลป์” นายอำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก บอกกับเราว่า เราไม่คิดว่าจะติดเข้ารอบได้ เพราะอำเภอวังเจ้าไม่ติดอันดับในรอบ 18 อำเภอด้วยซ้ำ ตอนหลังคณะกรรมการท่านเห็นว่าเรามีแผนนำร่องที่น่าสนใจเรื่องเกี่ยวกับการ “ซ่อมสร้างบ้าน” ให้กับคนจนจึงหยิบขึ้นมาพิจารณาใหม่ จนวันนี้เราได้รับเกียรติให้เป็นอำเภอนำร่อง “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ระดับยอดเยี่ยม รู้สึกภูมิใจและมีพลังเป็นอย่างมาก ตอนที่รัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหาความยากจน ท่านปลัดกระทรวงมหาดไทย “สุทธิพงษ์ จุลเจริญ” ก็พูดว่าคนจนจะต้องหมดไปภายในวันที่ 30 กันยายน ได้จัดโครงการ “อำเภอนำร่อง บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ขึ้นมาทันที ซึ่งในข้อมูลของอำเภอวังเจ้า มีผู้ที่มีบ้านไม่มั่นคงแข็งแรงจำนวน 9 ครัวเรือน ผมในฐานะนายอำเภอ ไม่เชื่อว่าจะมีอยู่แค่นั้น ตอนนั้นท่านปลัดกระทวงมหาดไทยก็ได้มีข้อสั่งการให้สำรวจผู้ที่ประสบปัญหาความเดือดร้อน เมื่อสำรวจแล้วพบว่า หนึ่งใน 7 ด้านก็เป็นด้านที่อยู่ที่อาศัย สำรวจเสร็จประมาณต้นเดือนมิถุนายน ก็พบว่าอำเภอวังเจ้ามีบ้านที่ไม่มั่นคงแข็งแรง และไม่มีที่อยู่อาศัยรวมแล้ว 57 ครัวเรือน เราก็ลงพื้นที่สำรวจพบว่าเป็นจริงตามนั้น “หลังจากอบรมแล้วก็ได้ปรึกษาหารือกัน ในเรื่องของบ้านที่อยู่อาศัยทั้ง 57 ครัวเรือน เราทำงานโดยที่ไม่มีงบประมาณ และด้วยพลังใจที่ท่านปลัดกระทรวงที่เป็นผู้นำปลุกพลังของผู้เข้าอบรม ด้วยคำว่า “เมื่อมีหน้าที่ เมื่อได้มีโอกาสเข้ามาทำหน้าที่ ก็ทำหน้าที่นี้ให้ดีที่สุดเพื่อฝากไว้ในแผ่นดิน” ประโยคนี้เองที่ปลุกกำลังใจให้ลุกขึ้นมาต่อสู้ โดยเริ่มหางบประมาณจากทั้ง 7 ภาคีเครือข่าย เพื่อมาสร้าง ซ่อมแซมบ้าน ซึ่งสร้างบ้านใหม่แล้ว 10 หลัง ซ่อมบ้านอีก 60 หลัง รวมเป็น 70 หลัง ที่มีมากกว่าตอนสำรวจได้ 57 หลัง เนื่องจากพอได้ลงมือทำงานจริงก็พบว่าเจอบ้านที่มีปัญหาเพิ่มอีก 13 หลัง เราก็ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เราเร่งดำเนินการแก้ไขให้ทันที ปัจจุบันนี้ดำเนินการแล้วเสร็จทั้ง 70 หลัง ด้วยงบประมาณ 3 ล้านกว่าบาท โดยงบส่วนนี้มาจากงบรัฐบาลจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 400,000 บาท ใช้ระเบียบของกระทวงมหาดไทยว่าด้วยการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ประสบความเดือดร้อน ส่วนอีก 2 ล้านกว่านั้นหามาจากภาคีเครือข่ายซึ่งเป็นส่วนสำคัญมาก ที่ท่านปลัดกระทรวงมหาดไทยชี้ช่องให้เห็นถึงความสำคัญของ 7 ภาคีเครือข่าย โดยเฉพาะภาคีเครือข่ายภาคศาสนา ซึ่งได้รับความเมตตาจากเจ้าคณะอำเภอวังเจ้า เจ้าคณะตำบลทุกตำบลโดยเฉพาะเจ้าคณะตำบลเชียงทอง พระปลัดดอกดิน นริสฺสโร ที่เป็นหนึ่งในนักขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ที่เข้าอบรมร่วมกัน ท่านได้ตั้งคณะกรรมการวัดไม่ทิ้งโยม ซึ่งท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดลาดยาวใหม่ และเป็นเลขานุการเจ้าคณะอำเภอวังเจ้าด้วย การทำงานเมื่อมีภาคีเครือข่ายเข้มแข็งมันก็ไปเลยได้แบบไม่มีสะดุด ..” นายอำเภอวังเจ้า เล่าต่อด้วยความภาคภูมิใจในสิ่งที่ตนเองได้ทำ ด้วยความคล่องแคล่วว่า แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนของอำเภอวังเจ้าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนนอกจากนี้ยังได้จัดทอดผ้าป่าวัสดุอุปกรณ์ รวมทั้งน้ำดื่มเพื่อเอาไปช่วยเหลือพี่น้องประชาชนแล้วยังได้จัดโครงการบิณฑบาตเมื่อได้สิ่งของมาก็จัดเป็นถุงยังชีพแจกจ่ายไปยังกลุ่มเปราะบางด้วยเพื่อมอบให้กับครอบครัวเป้าหมาย 152 ครัวเรือนและทำแบบนี้เรื่อยมาจนช่วยเหลือได้ 290 ครัวเรือน ประชาชนที่ได้รับผลประโยชน์ทั้งหมด 1,140 คน ซึ่งโครงการเหล่านี้ยังขับเคลื่อนต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน “ปัญหาอันดับหนึ่งคือด้านที่อยู่อาศัย ตามหลักแนวคิดของในหลวงรัชกาลที่ 9 ถ้าประชาชนมีที่อยู่อาศัยที่มั่นคง พวกเขาเหล่านั้นก็จะมีกำลังใจที่จะดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพราะมีความมั่นคงด้านปัจจัย 4 ดังนั้นเราจึงแก้ไขปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัยก่อน พร้อมกันนี้ก็ได้สร้างนักขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ โดยอำเภอจัดอบบรมผู้นำในท้องถิ่นในรุ่นแรกนี้สร้างนักขับเคลื่อนได้ 120 คน ให้เข้าใจถึงหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลักบันได 9 ขั้น เพื่อความยั่งยืน และสิ่งสำคัญคือ การปลุกพลังใจของพวกเขาเหล่านั้นขึ้นมาเพื่อให้ทำงานเพื่อคนของเขาเอง มีจิตอาสา รักองค์กร รักท้องถิ่นของตนเอง และได้มอบให้ผู้ใหญ่บ้านได้คัดเลือกคนในหมู่บ้านที่มีแววจะเป็นนักขับเคลื่อนได้ หมู่บ้านละ 10 คน ได้ทั้งหมด 280 คนเข้าร่วมการอบรมในที่ว่าการอำเภอ ซึ่งที่ว่าการอำเภอได้มีตัวอย่างแปลงโคก หนอง นา ที่ตรงนี้จากเดิมเป็นที่รกร้างว่างเปล่าไม่ได้ใช้ประโยชน์ ผมก็ได้เข้าไปพลิกฟื้นแผ่นดิน ฟื้นฟูจนตอนนี้มีทั้งน้ำที่ใช้ทำนาได้ตลอดปี มีพืช ผักสวนครัวอุดมสมบูรณ์..” เมื่อทีมงานถามถึงว่า หากนายอำเภอกว่า 800 อำเภอทั่วประเทศอยากจะทำแบบนี้บ้าง อะไรคือ “หัวใจ” สำคัญที่สุดในการเป็นอำเภอนำร่อง “เอกสิฎฐ์ วิไลศิลป์” นายอำเภอวังเจ้า ตอบว่า “สิ่งที่จะต้องทำคือ สร้างคน อันนี้คือความสำเร็จของเรา โดยนำหลักการทำงานของในหลวงรัชการที่ 9 ให้ความสำคัญกับการสร้างทรัพยากรบุคคล เรามี 28 หมู่บ้าน มีผู้นำชุมชน 280 คน เราให้พวกเขาไปขยายความรู้ให้กับคนในหมู่บ้านอีกหมู่บ้านละ 50 คน เพื่อปลุกกำลังใจ รวมแล้วในอำเภอวังเจ้ามีคนที่มีใจ 2,000 คน ที่เป็นกุญแจสำคัญในการแก้ไขปัญหาทั้ง 7 ด้านเกิดความสำเร็จ ไฮไลท์ของเราก็คือสร้างนักขับเคลื่อนได้ 2,000 คน ทำได้อย่างไรโดยไม่มีงบประมาณสนับสนุนจากกระทรวงเลย เพราะตอนแรกไม่ได้อยู่ใน 18 อำเภอร่อง ทางหลักการของกระทรวง ไม่ได้บอกว่าตัดสิทธิ์อำเภออื่นที่เหลือ ว่าตัดสิทธิ์ไม่ให้ส่งผลงาน แต่เราก็ทำต่อเนื่องจะส่งผลงานที่ได้ทำไว้จนประสบความสำเร็จภายในวันที่ 30 กันยายน ทางคณะกรรมการก็ได้เห็นความตั้งใจจริง เห็นการทำงานเป็นทีมในทุกด้าน และได้ตัดสินให้อำเภอวังเจ้าติดอันดับ 1 ใน 10 อำเภอ และนำมาซึ่งเป็น 1 ใน 2 อำเภอนำร่องยอดเยี่ยม ไม่นึกฝันว่าจะผ่านด่านนั้นมาได้ เป็นความภาคภูมิใจอย่างมากที่เราติดอันดับก็มาจากผลการทำงานอย่างจริงจังของผมและภาคีเครือข่ายทั้งหมด อย่างน้อยเมื่อเราทำเต็มที่อย่างสุดความสามารถ ก็ทำให้หลายๆคนได้รู้จักอำเภอวังเจ้าที่เป็นอำเภอเล็ก ๆ ได้มีคนรู้จักเพิ่มขึ้นสร้างความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง..” “พระปลัดดอกดิน นริสฺสโร” เจ้าอาวาสวัดลาดยาวใหม่ เจ้าคณะตำบลเชียงทอง หนึ่งในแกนนำขับเคลื่อนอำเภอนำร่อง “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” บอกว่า เรื่องศาสนสงเคราะห์ คณะสงฆ์เราทำมาก่อนแล้ว อาตมาตั้งแต่เป็นพระเด็ก ๆ โดยเอาสังฆทานบ้าง น้ำบ้างไปแจก ตอนหลังมาเป็นเจ้าคณะตำบลก็ขับเคลื่อนเต็มที่ร่วมกับคณะสงฆ์ในเขตปกครอง “เจ้าคณะอำเภอวังเจ้า ท่านเต็มที่กับตรงนี้ ทุกวันนี้หลังมีภาครัฐ นายอำเภอเข้ามาสนับสนุน เข้ามาเสริม เราทำงานได้เต็มที่ ตอนนี้นายอำเภอกับคณะสงฆ์รวมทั้งท้องถิ่นชาวบ้าน เป็นเนื้อเดียวกัน การจะทำอะไรมันก็สะดวกขึ้น ง่ายขึ้น ประชาชนได้ประโยชน์จากการเป็นอำเภอนำร่องมาก..” เท่าที่ทีมงานทราบมา “จุดเด่น” ของอำเภอวังเจ้าคือการซ่อม สร้าง บ้านให้กับผู้ยากจน จนถึงการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับครัวเรือนนั่นคือโครงการ โคก หนอง นา ของกรมการพัฒนาชุมชน หลังจากพูดคุยกับนายอำเภอและพระคุณเจ้าเรียบร้อยแล้ว “ไกด์กิตติมศักดิ์” ปลัดอำเภอและเจ้าหน้าที่กรมการพัฒนาชุมชนพาลงพื้นที่เพื่อดูวิถีชีวิตและพูดคุยกับชาวบ้านอำเภอวังเจ้า “อนุรักษ์ ภูครองทอง” ณ ศูนย์เรียนรู้ โคก หนอง นา พัฒนาชุมชน บอกว่าเข้า ร่วมโครงการโคก หนอง นา ตั้งแต่ปี 2564 ที่นี่แห้งแล้ง คิดว่าทำโครงการโคก หนอง นา คิดว่าน่าจะดีนะ เพราะหากมีน้ำ ก็สามารถทำการเกษตรได้ ตอนนี้น้ำเก็บได้ตลอดทั้งปี “พื้นที่มีทั้งหมด9 ไร่ เป็นที่ดิน สปก. มีมะนาว ลำไย รายได้หลักมาจากการเลี้ยงหมู โคก หนอง นา สามารถตอบโจทย์ชีวิตได้เยอะอันดับแรกมีน้ำไว้ปลูกข้าว ก็กินข้าวโดยไม่ต้องซื้อ พอมีน้ำแล้วผลผลิตก็เพิ่มมากขึ้น จากเดิมได้ข้าว 10 ถุงปุ๋ยก็ได้มากถึง 50 ถุงปุ๋ย โดยผลผลติเหล่านี้ไม่ได้ใช้สารเคมีเลย ทำปุ๋ยเอง วิธีทำคือ ทำจากจาวปลวก เมื่อมีหัวเชื้อ ให้ทำพิธีขอที่จอมปลวกใหญ่ๆ เอามาขยำใส่ปลายข้าวและเติมน้ำให้เต็มถัง หมักได้ครบ 7 วันจะมีฝ้าขึ้นมามีกลิ่นเหม็น นำมาราดต้นไม้ บำรุงต้นไม้ หากนำไปราดจอมปลวกก็จะมีเห็ดโคนขึ้น ทุกวันนี้คิดว่ามีความสุขกว่าเดิมที่ทำพืชเชิงเดียวมาก..” จากนั้น “พี่อนุรักษ์” พาชมแปลงโคก หนอง นา และพาชม “คอกหมู” ซึ่งมีลูกหมูตัวเล็ก ๆ หลายตัวที่เขาบอกว่าสร้างรายได้ให้เขาอย่างงาม เนื่องจากมีการตั้งกลุ่มต่อรองมิให้ถูกเอาเปรียบจากเดิมขายได้ตัวละ 1,500 บาท ตอนนี้ได้ 2,500 บาทต่อตัว เนื่องจากคนม้งซึ่งมีอยู่จำนวนมากในอำเภอวังเจ้าใช้ไปประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ตามความเชื่อของพวกเขา.. ต่อจากนั่นไม่ไกลมากนัก “ไกด์กิตติมศักดิ์” ได้พาทีมงานไปพูดคุยกับ “มงคล ภูคล้องหิน” ซึ่งเป็นหนึ่งในห้าสิบเจ็ดบุคคลเป้าหมายที่อำเภอวังเจ้าได้สร้างบ้านให้จากเงินบริจาคทั้งสิ้นในราคา 260,000 บาท บอกว่า ตอนนี้ภรรยาไปทำงานอยู่ประเทศมาเลเซียอยู่กับลูกสาวซึ่งกำลังเป็นวัยรุ่นแล้ว เดิมไม่มีบ้านเลย อยู่แบบตามมีตามเกิดใช้ฝาแปะ ตอนนั้นก็เป็นห่วงลูกสาว แต่ตอนนี้สบายใจขึ้นมาก “รู้สึกภูมิใจที่ได้บ้านหลังนี้มา เมื่อก่อนเป็นแค่เพิง พอได้บ้านนี้มาก็สามารถแบ่งเบาภาระไปได้เยอะ “ที่ดินนี้เป็นที่ดิน สปก. จำนวน 1 ไร่ ซื้อมาราคาไร่ละ 130,000บาท อาชีพเสริมคือเป็นช่างเชื่อม ทำไร่อ้อย 3 ไร่ ทำสวนมะลิ ปลูกพืชผักสวนครัว หากเหลือกินแล้วก็แบ่งขาย จ้างแม๊คโครขุดบ่อ ลึก11 เมตรเจอตาน้ำ นับเป็นความโชคดีที่มีน้ำ มีน้ำใช้ตลอดปี ปลูกพริก มะเขือยาว ปลูกพืชหมุนเวียนให้สามารถสร้างรายได้ตลอด ต้องขอบคุณนายอำเภอ คณะสงฆ์ รวมทั้งคนทั่วไปที่ทำให้มีกิน มีใช้ แบบทุกวันนี้..” ทีมงานเดินสำรวจรอบบริเวณแปลงที่ปลูกแบบผสมผสานมีการเลี้ยงกบ ปลา และ ปลูกดอกมะลิ ในขณะที่ข้างบ้านซึ่งทีมงานสังเกตเห็นมีผักกำลังเขียวขจี ซึ่งมงคลว่าแปลงผักที่เห็นนั้น เป็นของตนเอง แต่ที่ดินเป็นของกำนันท่านให้ใช้ที่ดินท่านทำมาหากินได้ ซึ่งตอนเองและครอบครัว ซึ่งน้ำใจเป็นอย่างมากที่คนไทยไม่ทิ้งกัน.. ไม่จบแค่นี้คณะทีมงานจากอำเภอวังเจ้าได้พาทีมข่าวไปพบกับ “ป้าจันทร์เพ็ญ ปานฟัก” อายุ 74 ปี ซึ่งเป็นหนึ่งในบุคคลเป้าหมายที่ได้รับการซ่อมแซมบ้าน ในขณะที่เราไปถึงมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อลำใยและคัดลูกกันอยู่อย่างสนุกสนาน “ป้าจันทร์เพ็ญ” พาเดินดูรอบบริเวนแปลงที่เป็นสวนแบบผสมผสานเช่นเดียวกัน พลางเล่าชีวิตด้วยความน้อยใจว่า ทางอำเภอมาซ่อมหลังคาบ้านให้ เพราะเงินพอมีก็ไม่กล้าใช้ ตอนนี้กำลังส่งหลานเรียน 2 คน ตนเองมีลูก 3 คน ต่างคนต่างมีงานและแยกย้ายไปหมดอยู่กับตนเองเพียงคนเดียว “บ้านหลังนี้สร้างมาตั้งแต่ปี 2524 มีหลังคาเป็นสังกะสี เวลาฝนตกทีนึงก็ต้องนำกะละมังไปรองน้ำฝนที่หยดลงมา รายได้ไม่พอเลยไม่มีเงินที่จะเปลี่ยนหลังคาบ้านเอง มีภาระต้องส่งลูกเรียน ปัจจุบันนี้ส่งลูกเรียนจบหมดแล้ว และกำลังเลี้ยงหลาน หลังจากซ่อมแซมบ้านแล้วดีมากเพราะฝนตกก็ไม่ต้องเอากะละมังมารองต้องขอบคุณกระทรวงมหาดไทยมาก ๆ ที่แก้ไขปัญหาความยากจนได้ถูกทาง เข้าถึงชาวบ้าน มีทั้งนายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านเข้ามาช่วย ขอชื่นชมนายอำเภอมาก ๆ ตอนนี้ก็ไม่ขาดแคลนอะไรแล้วเพราะใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ปลูกพืชผักบ้าง ได้รายได้จากลำไยบ้าง ผักก็ไม่ต้องซื้อกิน มีตำลึง ข่า ตะไคร้ พืชผักสวนครัว..” ก่อนจากกันถามว่าตอนนี้ป้ามีอะไรอยากให้ทางอำเภอช่วยบ้าง “ป้าจันทร์เพ็ญ” บอกว่ามีเรื่องเดียวคือ ขึ้นทะเบียนบัตรประชารัฐไม่ได้เนื่องจากวันที่เกิดไม่มี ทีมงานจึงขอให้ปลัดอำเภอที่ร่วมเดินทางมาด้วยจัดการให้ ซึ่งปลัดบอกว่า ทำได้ ไม่ยาก..สร้างความดีใจและปลื้มใจให้กับป้าจันทร์เพ็ญ เป็นอย่างยิ่ง ที่มีเจ้าหน้าที่มาช่วย “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ให้ถึงบ้านแบบนี้ พร้อมกับฝากขอบคุณปลัดกระทรวงมหาดไทย ที่ส่งทีมข่าวแบบเกาะพื้นที่ไม่ทิ้งประชาชนแบบนี้. การขับเคลื่อนอำเภอนำร่อง “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ของอำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก จนสามารถบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายในการขจัดความยากจนและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน รวมทั้งพบปัญหาแล้วแก้ไขทันทีแบบไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ที่นายอำเภอวังเจ้ายืนยันว่า ณ เวลานี้อำเภอวังเจ้าได้ก้าวผ่านเส้นความยากจนแล้ว กำลังมุ่งหน้าสู่การพัฒนาเพื่อความยั่งยืน โดยผ่านการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายแบบเป็นทีม ได้ปลูกฝั่งเมล็ดพันธุ์แห่งความรัก ความสามัคคีลงในหัวใจของคนวังเจ้า ก่อเกิดเป็นความเข้มแข็งของชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชนที่ยั่งยืนตามวิถีคนวังเจ้า Chang for good เพื่อให้โลกใบเดียวนี้อยู่อย่างยั่งยืนด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง.. จำนวนผู้ชม : 540 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author วัฒนธรรมปล่อยคลิปร่วมรณรงค์ 4 ไม่ 3 ทำ “เทศกาลสงกรานต์” อุทัย มณี เม.ย. 11, 2020 กระทรวงวัฒนธรรมร่วมกับ Tacga จัดทำ Animation รณรงค์เรื่องมาตรการรับมือไวรัสโคโรน่าหรือ… ‘สมเด็จพระสังฆราช’ประทานพรวันสงกรานต์ 2562 อุทัย มณี เม.ย. 12, 2019 วันที่ 12 เม.ย. 62 เนื่องในวาระโอกาสวันขึ้นปีใหม่ไทย วันสงกรานต์… “สมเด็จชิน” ประธานทอดผ้าพระกฐินของ “สมเด็จพระสังฆราช” ” ณ แสงธรรมสุทธาราม จ.นครสวรรค์ อุทัย มณี พ.ย. 23, 2023 วันที่ 23 พ.ย. 66 เวลา 10.09 น. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช… โซเชียลร้อนฉ่า !!ครูตั้งคำถามสอบธรรมะศึกษา อุทัย มณี พ.ย. 29, 2018 วันนี้คณะสงฆ์มีการเปิดสอบธรรมศึกษาทั่วประเทศโดยมีศูนย์สอบทั้วประเทศจำนวน … รู้ไว้ใช่ว่า..กฎหมายชารีอะห์ของอิสลามคืออะไร มีอิทธิพลมากแค่ไหนต่อการปกครองแบบ “ตาลีบัน” อุทัย มณี ส.ค. 20, 2021 วันที่ 20 สิงหาคม 2564 กลุ่มตาลีบันประกาศกร้าวหลังเข้ายึดครองประเทศอัฟกานิสถานได้อีกครั้งว่า… คณะสงฆ์นางรองบุรีรัมย์ พัฒนาศักยภาพพระสงฆ์แกนนำวัด ส่งเสริมสุขภาพพัฒนาแบบยั่งยืนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อุทัย มณี ก.พ. 20, 2022 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๗ เดือน กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๕ เวลา… เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร สอบภาษาอังกฤษศึกษาต่อ ป.เอก “มจร” อุทัย มณี มิ.ย. 15, 2020 วันที่ 14 มิ.ย.2563 ที่ห้องเธียร์เตอร์ โซน ซี ชั้น 1 อาคารเรียนรวม… สมชัยแนะหนูหริ่งเปลี่ยนชื่อ “พรรค” อุทัย มณี ธ.ค. 11, 2018 นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกกต. ปัจจุบันสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ … ส่องการปกครองคณะสงฆ์พม่า : แลคณะสงฆ์ “รามัญนิกาย” อุทัย มณี ส.ค. 01, 2023 ประเทศเมียนมาเป็นประเทศที่คนไทยรู้จักกันดีในฐานะเพื่อนบ้านเรือนเคียง… Related Articles From the same category “อธิการบดี มจร” เสนอKPIอาจารย์รุ่นใหม่ ผลงานวิชาการต้องสะท้อนอัตลักษณ์ของมหาจุฬาฯ วันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๖๔ พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา… ว่าด้วย..”สมมติเทพ” ช่วงนี้เกิดมีกระแสกรณีเจ้าอาวาส วัดฝายหิน ต.สุเทพ อ.เมือง… ‘ขรก.-พนักงาน’กรมเจ้าท่า ปฏิบัติธรรมที่สถาบันวิปัสสนาธุระ’มจร’ วันที่ 23 มิถุนายน 2562 คณะข้าราชการและพนักงาน "กรมเจ้าท่า" จำนวน… พช.บึงกาฬ:จัดกิจกรรม “เอามื้อสามัคคี” ฟื้นประเพณีท้องถิ่นไทย วันที่ 31 พฤษภาคม 2564 นายพิสดาร ประดา พัฒนาการจังหวัดบึงกาฬ… “รพ.สงฆ์” นิมนต์พระภิกษุ -สามเณรและลูกศิษย์วัด รับวัคซีนเข็ม 3 Pfizer วันที่ 19 ธันวาคม 2564 โรงพยาบาลสงฆ์ ประชาสัมพันธ์ การรับวัคซีนกระตุ้นเข็มที่…
Leave a Reply