เยือนสุรินทร์ถิ่นช้างใหญ่ : อำเภอนำร่อง บำบัดทุกข์ บำรุงสุข “ศีขรภูมิ” “มาสุรินทร์ต้องกินสุรา ใครไม่กินสุรา เป็นหมาสุรินทร์” นี่เป็นประโยคที่คนพูดถึงจังหวัดสุรินทร์กันติดปาก หาใช่คำขวัญของจังหวัดสุรินทร์ไม่ เพราะคำขวัญของสุรินทร์นั้นมีว่า “สุรินทร์ถิ่นช้างใหญ่ ผ้าไหมงาม ประคำสวย ร่ำรวยปราสาท ผักกาดหวาน ข้าวสารหอม งามพร้อมวัฒนธรรม” จังหวัดสุรินทร์มีการปกครองแบ่งออกเป็น 17 อำเภอ 159 ตำบล 2011 หมู่บ้าน สำหรับอาชีพของประชาชนในจังหวัดสุรินทร์ ยังคงประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรกรรม มีการทำนาข้าวเจ้า ทำสวน และเพาะปลูกพืชไร่ชนิดต่าง ๆ เช่น มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยางพารา อาชีพที่สำคัญรองลงมาคือ การเลี้ยงไหม เนื่องจากจังหวัดสุรินทร์มีชื่อเสียงดังเป็นอันดับหนึ่งของไทยในเรื่องผ้าไหมส่วนประชากรส่วนใหญ่ในจังหวัดสุรินทร์ประกอบด้วย เขมร ลาว และกุย จังหวัดสุรินทร์มีของที่ขึ้นชื่อติดระดับโลกนอกจากผ้าไหมแล้วยังมีเครื่องเงินและที่คนกล่าวขวัญกันมากที่สุดคือ “ข้าวหอมมะลิ” แห่งทุ่งกุลาร้องไห้ จังหวัดสุรินทร์ “ทีมข่าวพิเศษ” ได้รับการอำนวยความสะดวกจาก “พี่สอ” หรือ “สรสาสน์ สีเพ็ง” รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ทั้งที่พักและอาหารเนื่องจาก “พี่สอ” มีความคุ้นเคยกันเป็นอย่างดียิ่งกับทีมงานตั้งแต่ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการประชาสัมพันธ์ กรมการพัฒนาชุมชน และซ้ำ “พี่สอ” เป็นคนพื้นที่และเคยดำรงตำแหน่ง “พัฒนาการจังหวัดสุรินทร์” มาก่อน จึงมีความรู้เรื่องเกี่ยวกับจังหวัดสุรินทร์เป็นอย่างดี “อำเภอศีขรภูมิ” เป็น 1 ใน 10 อำเภอที่รับการคัดเลือกจากกระทรวงมหาดไทยให้เป็นอำเภอนำร่อง “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” จากข้อมูลในการนำเสนออำเภอนำร่องของ “อำเภอศีขรภูมิ” ระบุมีข้อมูลว่าอำเภอศีขรภูมิมี 15 ตำบล 228 หมู่บ้าน 27,305 ครัวเรือน ประชากรรวม 86,812 คน มีวัด 108 วัด แหล่งน้ำธรรมชาติ 275 แห่ง มีศูนย์เรียนรู้โคก หนอง นา จำนวน 240 แปลง “กิตติ สัตย์ซื่อ” นายอำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ เล่าว่า ตนเองหลังจากปรึกษาหารือกับภาคีเครือข่ายแล้วจึงได้จัดตั้งโครงการ “รักษ์น้ำ (ใจ) สู่ทฤษฎีใหม่ประยุกต์ เพื่อพลิกชีวิตและความหวัง” ขึ้น โดยวางกรอบไว้ 9 กิจกรรม ในแก้ไขปัญหาความยากจนให้กับประชาชนทุกข์น้อยลง สุขมากขึ้น 9 กิจกรรมประกอบด้วย 1.สร้างนักขับเคลื่อนยุทธศาสตร์นำการเปลี่ยนแปลงระดับอำเภอ โดยเน้นไปที่ 7 ภาคีเครือข่าย กิจกรรมที่ 2 จัดประกวดเลือกผู้นำดีเด่นในการแก้ไขปัญหาความยากจนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 1 ตำบล 1 ผู้นำขับเคลื่อนการพัฒนา “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” กิจกรรมที่ 3 ครัวชุมชน ตรงนี้สำคัญให้ทุกครัวเรือน ทุกชุมชน ปลูกผักสวนครัว มีแปลงผักของชุมชน ตามถนนหนทางที่มีพื้นที่ว่างก็ปลูกผัก แล้วตั้งกลุ่มช่วยกันดูแลสร้างคลังอาหาร กิจกรรมที่ 4 สนับสนุนให้ทำแปลง โคก หนอง นา ในระดับครัวเรือน ซึ่งในพื้นที่อำเภอศีขรภูมิมีแปลงโคก หนอง นา ทั้งหมด 238 แปลง ครอบคลุมทั้ง 15 ตำบล 228 หมู่บ้าน กิจกรรมที่ 5 จัดตั้งธนาคารพันธุ์พืชและสมุนไพร โดยขอความร่วมมือจากคณะสงฆ์และวัดที่มีความพร้อมอย่างน้อยตำบลละ 1 แห่ง รวม 15 แห่ง ซึ่งตรงนี้คณะสงฆ์ท่านก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่ง กิจกรรมที่ 6 ส่งเสริมการแปรรูป เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และการจำหน่ายสินค้า ผ่านเครือข่ายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น กลุ่ม OTOP กองทุนสตรี เครือข่ายหมู่บ้านสัมมาชีพ หรือแม้กระทั่งกลุ่มโคก หนอง นา กิจกรรมที่ 7 บันทึกข้อตกลงความร่วมมือหรือ MOU ในการซื้อผลผลิตทางการเกษตร กิจกรรมที่ 8 ตลาดนัดรักษ์ศีขรภูมิ ซึ่งเรามีตลาดนัดทุกวันเสาร์ ณ หน้าที่ว่าการอำเภอศีขรภูมิ และกิจกรรมที่ 9 จัดหาและพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กระดับครัวเรือน ตรงนี้เราทำครอบคลุมทุกตำบล ทุกหมู่บ้านของอำเภอศีขรภูมิ เมื่อทีมงานถามถึงปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน “กิตติ สัตย์ซื่อ” ตอบว่า หนึ่ง มีปัญหาในเรื่องทัศนคติ เพราะคนอีสานจะรอให้ข้าราชการเข้ามาช่วยไม่เหมือนคนภาคตะวันออก ภาคใต้ ส่วนใหญ่ปัญหาเป็นเรื่องของการไม่พออยู่ ไม่พอกิน ยังต้องการการช่วยเหลือ การสงเคราะห์ อย่างคนเฒ่าคนแก่ ไม่มีที่ดินทำกิน ไม่มีเงินทุน ก็ต้องรอการสงเคราะห์อย่างเดียว ผมก็เข้าไปดูตั้งแต่เรื่องสุขภาพ ความเป็นอยู่ ซึ่งจะแยกเป็นกลุ่มพัฒนาได้ และกลุ่มที่พัฒนาไม่ได้ คนอพยพแรงงานก็สร้างอาชีพให้โดยไม่ต้องย้ายถิ่นฐาน ส่วนบุตรหลานใครที่ไปเรียนมาจนจบแล้วก็ไม่ต้องไปทำงานที่อื่น หากพอมีทุนก็ให้กลับมาพัฒนาบ้านเกิด “สำนึกรักบ้านเกิด” ถ้าปลูกพืชเชิงเดี่ยว เมื่อแปลงนั้นใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่มันก็ยากที่จะดำรงชีพได้ สอง เข้าไปช่วยเติมเต็มความรู้ ส่งเสริม สนับสนุน กระตุ้น หากเกินกำลังของทางอำเภอก็จะบอกไปทางจังหวัด บ้านที่ยากไร้ก็มีเยอะ ทรัพยากรทางธรรมชาติค่อนข้างจะแร้นแค้น ปีที่แล้วบางพื้นที่น้ำจะใช้ซักผ้ายังแทบไม่มี น้ำที่สูบมาได้บางทีก็เป็นสีขุ่นคล้ายสีโอวัลตินเลย นายอำเภอศีขรภูมิกล่าวต่ออีกว่า “การได้เป็นอำเภอนำร่อง แน่นอนว่าตัวนายอำเภอและชุมชน เกิดความภาคภูมิใจ แต่อย่าให้เป็นแค่อำเภอนำร่อง จะต้องเป็นบุคคลนำร่องด้วยและต้องขยายผลงานให้เป็นรูปธรรม ที่สำคัญคือ มีคณะสงฆ์ข้ามาร่วมทำ เมื่อเป็นอำเภอนำร่อง ก็เป็นคำพูดที่กระตุ้นกำลังใจว่าทำแล้วเห็นผลจริง ใช่ว่าเป็นนายอำเภอแล้วจะไปสั่งใครก็ได้ แต่ทำให้เกิดความภูมิใจร่วมกันทุกภาคเครือข่าย สำหรับอำเภออื่น ๆ ที่ทางกระทรวงมหาดไทยจะปูพรมให้เป็นอำเภอ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ทั่วประเทศนั้น ในฐานะนายอำเภอต้องมี หนึ่ง ภาวะผู้นำ ผู้นำต้องลุกขึ้นมาทำก่อน สอง ขอให้ศึกษาองค์รวมบริบทพื้นที่อำเภอ เป็นผู้บริหารพื้นที่ “นายกรัฐมนตรีในพื้นที่” เพื่อที่จะนำทุกภาคส่วนมาร่วมกันทำงาน แล้วค่อยๆแก้ปัญหาไปทีละเรื่อง ตอนนี้ผู้นำชุมชนทุกหมู่บ้านไม่มีใครนั่งเฉยๆ นายอำเภอเป็นคนพาทำแล้วพวกเขาก็จะเป็นคนพาทำไปอีกต่อหนึ่ง ใครทำดีก็ให้รางวัล ผู้นำต้องมีความจริงใจ และ สาม สร้างแรงผลักดันให้เกิดความสำเร็จร่วมกันกับภาคีเครือข่าย ตรงนี้สำคัญที่สุดที่จะบำบัดทุกข์ บำรุงสุขได้ ต้องให้ภาคีเครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วม..” หลังจากคุยกับนายเภอศีขรภูมิแล้ว ทีมงานของลงไปสำรวจพื้นที่แปลง โคก หนอง นา ที่ดำเนินการโดยกรมการพัฒนาชุมชน ซึ่งขับรถผ่านหมู่บ้านแห่งหนึ่งเห็น “กลุ่มสตรี” สูงวัยประมาณ 10 คน นั่งพูดคุยกันอยู่โดยมีแปลงผักเขียวขจีสวยงามริมถนนก็ปลูกผักเอาไว้ อดใจไม่ได้ที่จะต้องลงไปจอดรถแล้วเข้าไปซักถาม ซึ่งได้ความว่า แปลงผักแห่งนี้เป็นที่ดิน “วัดร้าง” ที่คณะสงฆ์และนายอำเภอได้ยกให้ชาวบ้านร่วมกันทำเรียกว่า “ครัวชุมชน” “อุดมศักดิ์ มั่นจิต” ศูนย์เรียนรู้ทฤษฎีใหม่รูปแบบ โคก หนอง นา พัฒนาชุมชน พร้อมภรรยารอรับคณะของเรา พร้อมกับจัดบูธเล็ก ๆ ซึ่งประกอบด้วย ผลผลิตจากแปลง และผลิตภัณฑ์ของชุมชนให้ทีมงานได้ชม “ทีมข่าวพิเศษ” เดินทางเก็บข้อมูลและพูดคุยกับเจ้าของแปลงมาแล้วทั่วประเทศหลายครั้ง เมื่อถึงแปลงโคก หนอง นา สัมผัสได้ว่าเจ้าของแปลงคนไหน “ทำจริง” หรือ “ทำเล่น” หรือ ทำแก้เหงา หรือ ทำแบบ “มืออาชีพ” ประเภทมอง “เจ้าของแปลง” และ “กวาดสายตา” สำรวจแปลง “โคก หนอง นา” ก็รับรู้ได้ “อุดมศักดิ์ มั่นจิต” และภรรยา จัดอยู่ในประเภท “คนทำจริง” สมกับเป็นศูนย์เรียนรู้ ฯ มีฐานเรียนรู้หลายฐานและแต่ละฐาน “ไม่ว่างเปล่า” ทั้งสองคนจัดอยู่ในประเภท “ครูพาทำ” เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ครบเรื่องทั้งเรื่องทฤษฎี ปฎิบัติ เทคนิคการปลูกผัก เทคนิคการทำปุ๋ย ธนาคารน้ำใต้ดิน รวมทั้งการกำจัดขยะ “อุดมศักดิ์ มั่นจิต” บอกว่า สนใจเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมานานแล้ว เพราะมันคือ ทางรอด มิใช่ทางเลือก จึงลงมือทำจริงจังกับภรรยา โดยมีลูก ๆ ช่วยทำการตลาดให้ด้วย “ที่ดินแปลงนี้มีทั้งหมด 12 ไร่ แต่เข้าร่วมกับกรมการพัฒนาชุมชน 1 ไร่ มีหลายหน่วยงานมาดูงานที่นี้ นโยบายของนายอำเภอศีขรภูมิทุกแปลงโคก หนอง นา ต้องแบ่งเนื้อที่ให้กับคนไม่มีที่ดินได้เข้ามาร่วมทำกินด้วย ถือเป็นการแสดงน้ำใจเอื้อเฟื้อแบ่งปันให้กันและกันตามวัฒนธรรมประเพณีของพวกเรา สำหรับแปลงนี้มีชาวบ้านมาร่วมด้วย 1 ครัวเรือนเป็นแปลงผักปลอดสารพิษ ตนและภรรยานอกจากแบ่งที่ดินให้ทำแล้ว ยังแบ่งเมล็ดพันธ์เป็นพี่เลี้ยงให้ด้วย ทำแบบนี้เราเองก็ภูมิใจ มีความสุขไปด้วย..” หลังจากเดินสำรวจชมแปลงโคก หนอง นา ที่จัดปลูกไว้อย่างมีระเบียบ ผลผลิตกำลังออกผลอย่างสวยงาม มีถังขยะลดโลกร้อน ฝังอยู่ตามดินเป็นช่วง ๆ มีบ่อบาดาลคอยเต็มเติมให้กับน้ำภายในสระ มีสะพานไม้ ซุ้มประตู ติดป้ายเพื่อรองรับคนมาดูงาน จบด้วยร่วมกันรับประทานอาหารซึ่งเป็นผลผลิตจากแปลงโคก หนอง นา หลังจากรับประทานเรียบร้อย “เจ้าหน้าที่ พช.” แจ้งว่าจะไปดูแปลงโคก หนอง นา แปลงสุดท้ายซึ่งอยู่อีกตำบลหนึ่ง “ทองใส สุขดี” บอกว่า ทำมาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ ทำมาก่อนที่จะมีโครงการ โคก หนอง นา “ปลูกพืชหลังนา” ปลูกแตงโม ข้าวโพด หลังจากทำนา ทำแบบนี้จนส่งลูกเรียนทั้ง 3 คน เรียนจบแล้ว 2 คน รับราชการเป็นพยาบาลและครู และเหลือลูกชายที่ยังเรียนเกษตรอยู่ เราอยู่ได้แบบสบาย ๆ อยู่แบบพอเพียง รายได้เฉลี่ยต่อวัน วันละ 300 บาท พืชผักสวนครัวก็ขายในหมู่บ้าน เพราะหมู่บ้านนี้นิยมกินผักปลอดสารพิษ เราขายแค่ในชุมชนนี้ทั้งเอาไปขายเองและมีคนมาซื้อถึงที่ สำหรับสระน้ำเริ่มขุดตอนปี 2564 มีบ่อ 2 บ่อ กรมการพัฒนาชุมชนท่านก็เข้ามาช่วยนำนะ ให้กำลังใจ มีต้นไม้ให้ด้วย เครือข่ายโคก หนอง นาก็ยังมีอยู่ในแต่ละเดือนจะมีการจัดประชุมของแต่ละพื้นที่ “เอามื้อสามัคคี” ช่วยเหลือกัน มีอยู่ 9 แปลงที่คอยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน นายอำเภอมาเยี่ยมที่นี่ 2 ครั้ง ครั้งแรกมางาน ผู้นำ อช. เพราะแปลงของพี่ถูกยกให้เป็นแปลงตัวอย่างให้มาดูงาน ครั้งที่ 2 ก็มาเรื่องอำเภอนำร่อง มาเก็บข้อมูล มาหากล้า มาร่วมดำนาด้วย “อยากให้แต่ละอำเภอ มีเหมือนชุมชนของเรา มีแหล่งน้ำที่ใช้ในการเกษตรอย่างพอเพียง สามารถบริหารจัดการน้ำในแปลงเกษตรได้เองเหมืองแปลงของพี่ เหมือนกับคำพูดของนายอำเภอว่า โครงการรักษ์น้ำใจ สู่ทฤษฎีใหม่ประยุกต์ เพื่อพลิกชีวิตและความหวัง น้ำเป็นหัวใจสำคัญในการทำเกษตร ที่ขุดโคก หนอง นา เพราะมีความต้องการน้ำ พอมีน้ำแล้วถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว พลิกชีวิตเราได้จริง ๆ “ อำเภอนำร่อง “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ทุกจังหวัดที่ “ทีมข่าวพิเศษ” ลงไปพูดคุยไม่ว่าจะเป็นกับนายอำเภอนำร่อง แกนนำชุมชน หรือแม้กระทั้ง ประชาชนที่เข้าร่วมโคก หนอง นา สัมผัสได้ว่าคนของ “กรมการพัฒนาชุมชน” ถือว่าเป็น “แม่งาน” เป็นมือประสานให้กับนายอำเภอเกือบทุกที่ แม้นายอำเภอจะเป็น “นายกรัฐมนตรี” ในพื้นที่ แต่การบูรณาการ การประสานงานระหว่างหน่วยงาน การลงพื้นที่ งานมวลชน ล้วนต้อง “อาศัย” เจ้าหน้าที่จากกรมการพัฒนาชุมชน เนื่องจากการ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” เป็นงานเสมือน “จิตวิทยา” ต้องอาศัยฝ่ายบุ๋นมากกว่าฝ่ายบู๊ และที่สำคัญนายอำเภอในฐานะ “นายกรัฐมนตรีในพื้นที่” ต้องเดินเข้าหาประชาชน ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชนหมู่บ้านและภาคีเครือข่ายจึงก่อให้เกิดความสำเร็จ.. จำนวนผู้ชม : 296 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author “พระพรหมสิทธิ” ปฎิบัติศาสนกิจนอกประเทศครั้งแรกในรอบ 6 ปี สหธรรมิกผู้นำจีนมหายานต้อนรับอบอุ่น!! อุทัย มณี มิ.ย. 14, 2024 วันที่ 14 มิ.ย.67 วานนี้พระอาจารย์ยิ่นเล่อ (พระอาจารย์จีนวิเทศภัทรานุวัตร)… มท.1 ลงพื้นที่ติดตามการพัฒนาและแก้ไขปัญหาคลองแม่ข่า จังหวัดเชียงใหม่ อุทัย มณี ธ.ค. 16, 2021 วัน16 ธ.ค. 64 เวลา 13:15 น. ที่สำนักงานเทศบาลนครเชียงใหม่ อ.เมืองเชียงใหม่… ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อฯร่วมในพิธีชาวปกากะญอ 700 ครอบครัวแสดงตนเป็นพุทธมามกะกับ”กก.มส.” อุทัย มณี ธ.ค. 12, 2022 เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2565 พระพรหมเสนาบดี กรรมการมหาเถรสมาคม… คลอดแล้ว! แบบ”พุทธอารยเกษตร” ต้นแบบการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพอเพียง อุทัย มณี ก.ย. 01, 2022 วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน 2565 เพจ พระปัญญาวชิรโมลี นพพร เจ้าอาวาสวัดป่าศรีแสงธรรม… “มจร” แต่งตั้ง “พระปัญญาวชิรภรณ์” เป็น “ผอ.ร.ร.สาธิต” รูปแรก อุทัย มณี เม.ย. 02, 2024 วันที่ 2 เมษายน 2567 พระธรรมวัชรบัณฑิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย… “มจร” จัดพิธีบำเพ็ญกุศลถวาย “สมเด็จเกี่ยว” ผู้เปล่งอมตวาจา “เราตายได้ แต่พระพุทธศาสนาตายไม่ได้” อุทัย มณี ส.ค. 11, 2022 วันที่ 11 สิงหาคม 2565 โครงการอบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศ มจร… วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิลงนาม MOU กับสำนักเขตการศึกษา มุ่งสร้างภาคีเครือข่ายกับชุมชนรอบนอก อุทัย มณี พ.ย. 08, 2023 วันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ระหว่างวันที่ ๘-๙ พ.ย.นี้ วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ… วัดไทยในสหรัฐฯถูก”ยิง-เผา”! พระธรรมทูตนิสิตสันติศึกษา”มจร” รุดถอดบทเรียนแก้รุนแรงด้วยสันติวิธี อุทัย มณี ธ.ค. 19, 2019 วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ.2562 จากเหตุการณ์เมื่อคืนวันอาทิตย์ที่ 15… หกโมงเย็นวันนี้!พระครูบาบุญชุ่มเทศน์ที่สโมสรตำรวจ อุทัย มณี ม.ค. 17, 2019 วันที่ 17 ม.ค.2562 เวลา 18.00น. พระครูบาบุญชุ่ม ญาณสังวโร เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอนเรือง… Related Articles From the same category เผยผลวิจัยศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคปชช.”มจร” ผู้ใช้บริการน้อยเหตุทำเลที่ตั้งแนะควรทำงานเชิงรุก วันที่ 30 กันยายน 2565 พระปราโมทย์ วาทโกวิโท ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา… ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่พระบรมราชโองการเกี่ยวกับสมณศักดิ์ 4 ฉบับ วันที่ 28 ก.ค.2562 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่พระบรมราชโองการ… คลื่นมหาชนร่วมงาน “วันเกิดหลวงพ่อโสธร” ครบรอบ 253 ปี “ปลัดเก่ง” ประธานพิธีสืบทอดประเพณีมหามงคล วันที่ 4 เม.ย. 2566 เวลา 14.00 น. ที่บริเวณมณฑลพิธี วัดโสธรวราราม วรวิหาร… วัดพระธรรมกาย “ปลื้ม”จัดงานวิสาขบูชาสำเร็จ “ลุย” ร่วมจัดตั้ง “สมัชชาสงฆ์เถรวาทอินโดนีเซีย” ต่อ วันที่ 19 พ.ค. 65 เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้วการจัดงาน "งานวิสาขบูชาโลก"… คณะสงฆ์อยุธยาปรับตัว…ครั้งแรกประชุมผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ วันนี้ (6 เม.ย.63) คณะสงฆ์และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา …
Leave a Reply