มาถูกทาง! “เพชรวรรต” รับหนุน “ทฤษฎีโคกหนองนาโมเดลแนวพุทธ” เจ้าคณะ”สระบุรี-ลพบุรี”

เมื่อวันที่ 29 เม.ย.2566 เวลา 10.00 น. ที่โรงเรียนวินิตศึกษา ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี แห่งที่ 2 อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี นายเพชรวรรต วัฒนพงศศิริกุล อดีตรองประธานกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร และผู้สมัคร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย พร้อมคณะได้เข้ากราบพระเทพเสนาบดี เจ้าคณะจังหวัดลพบุรี เจ้าอาวาสวัดกวิศรารามราชวรวิหาร เพื่อรับแนวคิดโรงเรียนวัดอย่างไรที่เด็กหลายๆคนแย่งกันเข้าเรียน ซึ่งโรงเรียนวินิตศึกษาฯ มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เยาวชนได้รับการศึกษาควบคู่ไปกับการฝึกอบรม คุณธรรมตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา ให้สามารถประกอบสัมมาอาชีพได้ และดำรงตนอยู่ในสังคมด้วยคุณธรรมอันดี และรับแนวคิดโคกหนองนาในสถานศึกษา

ต่อมาเวลา 12.00 น. ที่ เจ้าอาวาสวัดมงคลชัยพัฒนา นายเพชรวรรต และคณะ ได้เข้ากราบพระวิสิฐคณาภรณ์ เจ้าคณะจังหวัดสระบุรี เพื่อปรึกษาหารือประเด็นการศึกษาพระปริยัติธรรม และโครงการโคกหนองนา ในโครงการพัฒนาพื้นที่วัดมงคลชัยพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ถือเป็นจุดตั้งต้นของทฤษฎีใหม่ อยู่ที่ตำบลห้วยบง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ (เดิมคืออำเภอเมืองสระบุรี) จังหวัดสระบุรี เป็นโครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำริให้ค้นคว้าทดลองหาแนวทางปฏิบัติ เพื่อเกษตรกรสามารถดำเนินชีวิตในวิถีเกษตรอย่างมีหลักวิชาการ พึ่งพาตนเองได้ และพออยู่พอกิน ทั้งสามารถพัฒนาเป็นหน่วยสังคมที่เข้มแข็งของประเทศ

นายเพชรวรรต กล่าวว่า จากการปรึกษาโครงการโคกหนองนา พระคุณเจ้าอยากให้ภาครัฐให้การสนับสนุนมากขึ้น อีกทั้งผนวกกับ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของทฤษฎีโคกหนองนาโมเดลแนวพุทธอันประกอบด้วย

1) ความยั่งยืน ซึ่งหมายถึงการพัฒนาเพื่อตอบสนองความต้องการของคนในปัจจุบันอย่างเหมาะสมและไม่ส่งผลต่อคนรุ่นหลัง ทั้งด้าน เศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม
2) ทฤษฎีที่สามารถนำมาปรับใช้ต้องตอบโจทย์ตามเงื่อนไขจึงจะเป็นความยั่งยืน
3) ปัญหาความไม่ยั่งยืนของเกษตรกรที่ประสบ คือ ภัยแล้งขาดน้ำทำการเกษตรที่ดินทำกินน้อย คุณภาพดินต่ำ รายได้น้อยเป็นหนี้

ทั้งนี้ “โคก หนอง นา โมเดล” เป็นรูปแบบหนึ่งของการแก้ไขปัญหาเรื่องการจัดการน้ำ จากพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ด้านการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้บริหารจัดการน้ำ และพื้นที่การเกษตร โดยมีการผสมผสานกับภูมิปัญญาพื้นบ้านให้สอดคล้องกัน โดยแบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วน 30 : 30 :30 : 10 ดังนี้ 30% สำหรับแหล่งน้ำ โดยการขุดบ่อทำหนองและคลองไส้ไก่ 30% สำหรับทำนา ปลูกข้าว30% สำหรับทำโคกหรือป่า ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์4 อย่าง ก็คือปลูกไม้ใช้สอย ไม้กินได้และไม้เศรษฐกิจเพื่อให้ได้ประโยชน์ คือ มีกิน มีอยู่ มีใช้ มีความสมบูรณ์และความร่มเย็น และ 10% สำหรับที่อยู่อาศัย และเลี้ยงสัตว์ เช่น ไก่ ปลา วัว และควาย เป็นต้น

Leave a Reply