ปลัด มท.พร้อมด้วย “พระมงคลวชิรากร” เลขา ฯฝ่ายสาธารณะสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ ลงพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ร่วม “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข”ให้กับประชาชน วันที่ 24 ก.ค. 66 ที่สำนักสงฆ์บ้านชะบา ต.ตาโกน อ.เมืองจันทร์ จ.ศรีสะเกษ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย มอบนโยบายการขับเคลื่อนภารกิจสำคัญของกระทรวงมหาดไทยในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ โดยได้รับเมตตาจาก พระมงคลวชิรากร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พระครูศรีมงคลปริยัติกิจ เจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ และพระเถรานุเถระ ร่วมงาน โดยนายแมนรัตน์ รัตนสุคนธ์ อธิบดีกรมการปกครอง นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นายประสพโชค อยู่สำราญ นายธงชัย ลิขิตพรสวรรค์ ดร.ศิริมาเมธ์วดี ศิรธนิตรา ดร.ยงยุทธ สุวรรณบุตร ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย นางสาวสิริมา วัฒโน ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย และผู้แทนกรมในสังกัด ร่วมลงพื้นที่ โดยมี นายสำรวย เกษกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ นางมัลลิกา เกษกุล ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดศรีสะเกษ รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ หัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอ 22 อำเภอ นายวิชิต ไตรสรณกุล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ข้าราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้บริหาร อปท. และภาคีเครือข่าย ร่วมให้การต้อนรับและรับฟัง โอกาสนี้ นายสุทธิพงษ์ฯ และคณะ ร่วมรับชมการแสดงรำวงมหาดไทย การแสดงแบบผ้าไทย พร้อมเยี่ยมชมนิทรรศการผ้าไทยใส่ให้สนุก ครอบครัวมหาดไทยใส่ใจสิ่งแวดล้อม และความก้าวหน้าการขับเคลื่อนงานตามนโยบายกระทรวงมหาดไทย พร้อมร่วมปลูกต้นส้มโอพันธุ์ทับทิมสยาม และเป็นประธานเปิดป้ายศูนย์เรียนรู้ตามโครงการ MOU เกื้อหนุนระหว่างวัดและชุมชนให้มีความสุขอย่างยั่งยืน และเยี่ยมชมศูนย์ฯ นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทยได้รับเมตตาจากคณะสงฆ์เป็นหลักชัยในการร่วมเป็นภาคีเครือข่ายการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืนให้กับพี่น้องประชาชนคนไทย โดยได้มีโอกาสร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) อันเป็นเจตนารมณ์ที่สำคัญของกระทรวงมหาดไทยและคณะสงฆ์ ได้แก่ MOU บทบาทในการเกื้อหนุนระหว่างวัดและชุมชนให้มีความสุขอย่างยั่งยืน โดยได้รับเมตตาจากเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์ กรรมการมหาเถรสมาคม ประธานกรรมการฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคม MOU โครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข โดยได้รับเมตตาจาก เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ กรรมการมหาเถรสมาคม ประธานกรรมการฝ่ายสาธารณูปการของมหาเถรสมาคม และ MOU ขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ซึ่งมีเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาราชมงคลมุนี กรรมการมหาเถรสมาคม ประธานอำนวยการโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 เป็นหลักชัย ทั้งคณะสงฆ์และฝ่ายปกครอง มีเป้าหมายเดียวกันคือ “การบำบัดทุกข์ บำรุงสุขประชาชน” ทั้งนี้ สิ่งที่ดีงามอันเกิดจากความเมตตาของคณะสงฆ์เหล่านี้จะบรรลุผลเป็นรูปธรรมสำเร็จเกิดแก่พี่น้องประชาชนได้ ท่านผู้ว่าราชการจังหวัด และท่านนายอำเภอ จะต้องเป็นผู้นำการบูรณาการทุกส่วนราชการ ในรูปแบบการทำงานบำบัดทุกข์ บำรุงสุขแบบบูรณาการอย่างยั่งยืนแบบองค์รวม เพื่อทำให้ประชาชนมีความสุขมากขึ้น มีความทุกข์น้อยลงจนหมดไป ซึ่งคำว่า “การทำงานแบบองค์รวม” คือต้องบูรณาการงานของทุกกระทรวง ทุกหน่วยงานมาทำ รวมทั้งต้องทำงานกับภาคีเครือข่ายทั้ง 7 ภาคีเครือข่าย ได้แก่ ภาคราชการ ภาคผู้นำศาสนา ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน และภาคสื่อสารสังคม ให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “การทำงานเป็นทีม” ทั้งทีมจังหวัด และทีมอำเภอ ดังที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานหลักการจากการทรงงานโครงการพระราชดำริ 4,741 โครงการ ร่วมกับทุกภาคส่วน ซึ่งเราต้องบูรณาการทั้งงานและคน “ที่สำคัญที่สุด” การทำงานแบบบูรณาการจะสำเร็จได้ ขึ้นอยู่กับ “ผู้นำภาคราชการเป็นสำคัญ” คือ ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดและท่านนายอำเภอ ที่ต้องกระตือรือร้นในการเชิญชวนให้ทุกคนมาช่วยกันทำ ช่วยกันขับเคลื่อนงาน เพราะผู้ว่าฯ และนายอำเภอมีอำนาจหน้าที่ในทุกพื้นที่อำเภอ ทุกพื้นที่จังหวัด ทุกอณูของชีวิตพี่น้องประชาชน จึงต้องดึงเอาความมุ่งมั่นตั้งใจ ดึงเอา Passion แผ่รังสีของการเป็นราชสีห์ผู้จงรักภักดีที่มุ่งมั่นทำหน้าที่ข้าราชการที่ดีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวออกจากหัวใจของเราไปสู่ภาคีเครือข่าย ว่าในเวลาที่เหลืออยู่ของชีวิตราชการ เราจะทำสิ่งที่ดีให้เกิดขึ้นกับจังหวัดของเรา กับพื้นที่ของเรา ประเทศชาติของเรา เพื่อ Change for Good ให้เกิดขึ้น คือ พี่น้องประชาชนมีความสุขอย่างยั่งยืน ส่วนตำแหน่งอื่น ๆ ก็จะมีหน้าที่ที่เฉพาะเจาะจงแต่ละพื้นที่ แต่ละเรื่อง ดังนั้น ถ้าไม่มีผู้นำทั้ง 2 ที่กล่าวนี้ กระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ก็จะทำเพียงแต่หน้าที่ของเขา จะขาดการบูรณาการ ทำงานแบบแยกส่วน ซึ่งไม่ทำให้เกิดความยั่งยืน โดยตัวอย่างการทำงานแบบบูรณาการ เช่น เมื่อกล่าวถึง โครงการพระราชดำริ “บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง” ก็ต้องสร้างการรับรู้ให้พี่น้องประชาชนได้เข้าใจว่า ไม่ได้เกิดประโยชน์เพียงเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างเดียว เพราะยังช่วยเรื่องของสุขภาพพลานามัย เรื่องเศรษฐกิจ เพราะทำให้สามารถมีพืชผักไว้กินโดยไม่ต้องไปซื้อจากตลาดจากร้านค้า เงินที่เหลือในกระเป๋าก็จะถูกเอาออกไปน้อยลง ความมั่นคงทางเศรษฐกิจก็จะดีขึ้น ทั้งยังทำให้เกิดความรักความสามัคคีในครัวเรือนและชุมชน เพราะในครอบครัวก็ได้มีการทำกิจกรรมด้วยกัน ในชุมชนเมื่อมีก็แบ่งปันดังพุทธศาสนสุภาษิต “ททมาโน ปิโย โหติ : ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก” อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมสิ่งแวดล้อม บำรุงดินให้อุดมสมบูรณ์ เช่นนี้จึงเรียกว่า “ทุกอย่างดีขึ้นโดยองค์รวม คือ ทำอย่างเดียวได้ประโยชน์หลายอย่าง” โดยมีประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัด ร่วมสนับสนุนบทบาทของท่านผู้ว่าฯ และท่านนายอำเภอ ที่จะต้องแปลงความมุ่งมั่นตั้งใจให้กลายเป็นพลังสิ่งที่ดีอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยการไปเชิญชวนให้ภาคีเครือข่ายร่วมเป็นผู้นำช่วยทำให้ทุกครัวเรือนเป็นครัวเรือนต้นแบบ ทำให้ทุกชุมชน หมู่บ้าน ตำบล เป็นพื้นที่ต้นแบบการบูรณาการอย่างยั่งยืน” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวในช่วงต้น นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวต่ออีกว่า กระทรวงมหาดไทยได้ร่วมประกาศเจตนารมณ์เพื่อประเทศไทยที่ยั่งยืนกับสหประชาชาติประจำประเทศไทย ที่ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศได้ร่วมลงนามกับผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศไทย เพื่อตอกย้ำความมุ่งมั่นตั้งใจทำสิ่งที่ดีให้เกิดขึ้นตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (UN SDGs) ทั้ง 17 เป้าหมาย โดยเป้าหมายที่สำคัญที่สุด คือ เป้าหมายที่ 17 “Partnership” หรือหุ้นส่วนการพัฒนา ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสิ่งที่องค์การสหประชาชาติได้น้อมนำแนวทางการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งล้วนแต่เป็นโครงการที่พัฒนาคนและสร้างคุณภาพชีวิตทั้งสิ้น สอดคล้องกับภูมิสังคมในแต่ละพื้นที่ มาสรุปเป็น UN SDGs จนกระทั่งสหประชาชาติได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ (UNDP Human Development Life Time Achievement Award) เป็นรางวัลเกียรติยศด้านการพัฒนาของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ซึ่งในเรื่องของโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคก หนอง นา หรือ “การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน” หรือ “อารยเกษตร” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราโชบายและมีพระราชปณิธานอันแน่วแน่ในการสืบสาน รักษา และต่อยอดแนวพระราชดำริทั้งปวงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกนาถ โดยได้พระราชทานแนวทางไว้อย่างชัดเจนว่า “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข แก้ไขในสิ่งผิด สืบสานในพระราชปณิธาน ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เพื่อให้ทุกส่วนราชการได้น้อมนำไปปฏิบัติ เพราะพระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ให้คนไทยได้น้อมนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาสร้างเสริมให้พี่น้องประชาชนมีความสุข เพราะทุกวันนี้เรามีวิถีชีวิต วิถีการพัฒนาหลายเรื่องที่อาจจะยังทำให้เกิดผลที่ผิดพลาด พระองค์ท่านจึงพระราชทานแนวพระราชดำริให้ “แก้ไขในสิ่งผิด” เพื่อประชาชนมีความสุข และเมื่อประชาชนมีความสุข ก็จะทำให้ประเทศชาติมั่นคง เฉกเช่นภาพวาดฝีพระหัตถ์ “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” ที่ได้พระราชทานโครงการให้กับกรมราชทัณฑ์ได้ขับเคลื่อน ก็เป็นการแก้ไขในสิ่งผิด คือ ฝึกให้ผู้ต้องขังได้มีวิธีการในการใช้ชีวิตตามหลักพึ่งพาตนเองหลังพ้นโทษ และทำให้สังคมได้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “น้ำใจ” ที่ต้องมีในสังคมเพื่อช่วยเหลือเอื้อเฟื้อค้ำจุนให้สังคมแข็งแรง ด้วยการทำให้เขามีโอกาสทำโคก หนอง นา สามารถพึ่งพาตนเองด้วยการน้อมนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวัน ตลอดจนพี่น้องประชาชน เช่นที่บ้านชะบา ตำบลตาโกนแห่งนี้ พื้นที่ท้องนา 2 ข้างทาง ยังไม่ได้รับการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นพื้นที่แห่งความยั่งยืนตามหลักโคก หนอง นา ผู้นำของพื้นที่ คือท่านนายอำเภอเมืองจันทร์ ปลัดอำเภอประจำตำบลตาโกน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และคณะกรรมการหมู่บ้าน ต้องร่วมกันทำพื้นที่บริเวณนี้ให้เป็นพื้นที่แห่งความยั่งยืน อาทิ ทำหัวคันนาทองคำ คือ ทำให้หัวคันนาเป็นแหล่งอาหารได้ เป็นแหล่งกักเก็บน้ำ เป็นแหล่งป้องกันน้ำท่วมได้ ด้วยการสอนให้ชาวบ้านมองยาว ๆ ว่าทำอย่างไรให้ 365 วัน พื้นที่ท้องนาที่มีอยู่จะเป็นประโยชน์กับชีวิตได้อย่างยั่งยืน ซึ่งจะยั่งยืนได้ต้องมีน้ำ และปลูกพืชที่ไม่ต้องดูแลมาก เช่น ชะอม มะกรูด หัวข่า เพื่อให้พืชเลี้ยงดิน ดินเลี้ยงพืช กลายเป็นแหล่งอาหารชั้นดี อันจะยังผลให้สามารถใช้ชีวิตตามหลักการพึ่งพาตนเองให้เกิดผลดีอย่างย้่งยืน นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า จนท้ายที่สุด สิ่งที่เป็นองค์รวมของการพัฒนาที่ยั่งยืนนี้ กระทรวงมหาดไทยโดยกรมการปกครอง ได้ประมวลรวบรวม โดยน้อมนำพระดำริของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ที่ได้พระราชทานหนังสือ Sustainable City ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทย นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน และประธานแม่บ้านพัฒนาชุมชน พร้อมทั้งพระราชทานพระดำรัส “เป็นหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยที่ต้องทำให้ทุกหมู่บ้านเป็นหมู่บ้านยั่งยืน” จึงเป็นที่มาสู่การขับเคลื่อน “หนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน” โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ การน้อมนำแนวพระราชดำริของทุกพระองค์และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตพี่น้องประชาชน ด้วยการทำให้ข้าราชการประจำตำบล คือ ปลัดอำเภอ และข้าราชการของอำเภอ ได้ทำงานใกล้ชิดประชาชน ลงไปคลุกคลีตีโมง พูดคุย ประชม ปรึกษาหารือ ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมแก้ปัญหา ทำให้คณะกรรมการหมู่บ้านได้ทำงานตามอำนาจหน้าที่ ทำระบบคุ้มให้เข้มแข็งและช่วยกันดูแลสมาชิกในชุมชน ช่วยเป็นแหล่งข่าวแจ้งข้อมูลมายังปลัดอำเภอ และนายอำเภอ เพื่อที่ข้าราชการจะได้ทำหน้าที่ที่สำคัญที่สุด คือ การดูแลพี่น้องประชาชนทุกคนให้ได้รับการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืนต่อไป ด้านพระมงคลวชิรากร เมตตากล่าวสัมโมทนียกถา ความว่า เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์ ได้โปรดเมตตามอบคำสอนแก่อาตมภาพไว้ว่า “เราเกิดที่ไหน เราอยู่ที่ไหนก็แล้วแต่ ห้ามลืมแผ่นดินเกิดของตนเอง” อาตมภาพจึงได้กลับมาดูแล มาพัฒนาบ้านเกิดตั้งแต่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงเรียน ชุมชน และวัด ด้วยความตั้งใจที่จะขับเคลื่อนบูรณาการร่วมกับชุมชน สังคม โดยคิดถึงรากเหง้า และความมั่นคงด้านอาหาร ต้องทำให้สังคมเข้าใจพื้นที่ของตนเอง นำข้อด้อยมาแก้ไขปรับปรุง นำข้อดีมาส่งเสริมสนับสนุน ซึ่งที่ศูนย์เรียนรู้ฯ แห่งนี้ มีคณะสงฆ์เป็นผู้นำ “ใช้ทางธรรมนำทางโลก” นำภาคีเครือข่ายมาร่วมสนับสนุนให้คำปรึกษา สร้างความเข้าใจ ความรับรู้ร่วมกันให้รู้รากเหง้าของตนเอง เพื่อทำให้เกิดการพัฒนาสังคมให้มีความสุขอย่างยั่งยืน ซึ่งจะได้ร่วมกับทุกภาคีเครือข่ายพัฒนาพื้นที่แห่งนี้ให้เป็นพื้นที่แห่งความยั่งยืนในทุกมิติ และขยายผลภาคีเครือข่ายการพัฒนาที่ยั่งยืนให้เพิ่มพูนมากขึ้นต่อไป จำนวนผู้ชม : 28,505 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author วันพ่อแห่งชาติ! ปลัดมท.นำทำบุญตักบาตร ถวายพระราชกุศลและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ อุทัย มณี ธ.ค. 05, 2022 ปลัดกระทรวงมหาดไทยและนายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย นำข้าราชการและภาคีเครือข่ายกระทรวงมหาดไทย… สังคมมหาจุฬา ฯ ครึกครื้น “พระพรหมบัณฑิต”ประชุมครั้งแรกในฐานะอุปนายกสภา มจร อุทัย มณี มี.ค. 31, 2021 วันนี้ (31 มี.ค.64) ณ อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย… โอกาสทอง “นักแต่งเพลง” บอร์ดกวช.ไฟเขียวแต่งตั้งอนุกรรมการจัดทำบทเพลงส่งเสริมสังคมไทย รณรงค์ให้เกิดความรัก สามัคคี และรักชาติ อุทัย มณี ธ.ค. 20, 2021 วันที่ 20 ธ.ค. 64 นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมในฐานะรองประธานกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ … ปลัด มท. เผยสรุปสถานการณ์วาตภัยห้วง 15-16 เม.ย. 66 เกิดสถานการณ์ในพื้นที่ 10 จังหวัด บ้านเรือนได้รับความเสียหาย รวม 1,781 หลัง อุทัย มณี เม.ย. 17, 2023 ปลัดมหาดไทยเผยสรุปสถานการณ์วาตภัยห้วง 15-16 เม.ย. 66 เกิดสถานการณ์ในพื้นที่… “สถาบันการอาชีวศึกษา” แจ้งกำหนดพิธีรับพระราชทานปริญญาบัตรประจำปี 2565 อุทัย มณี ส.ค. 09, 2023 วันที่ 9 สิงหาคม 2566 ว่าที่ ร้อยตรีธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา … “วัดหัวฝายจังหวัดเชียงราย” เปิดสถานชีวาภิบาล-กุฏิชีวาภิบาล และชมรมคนพิการทางด้านการเคลื่อนไหว ด้าน “ปลัดเก่ง” ระบุสอดคล้องกับMOU ที่มหาดไทยร่วมทำกับมหาเถรสมาคมไว้ อุทัย มณี ส.ค. 15, 2024 วันนี้ (15 ส.ค. 67) เวลา 14.00 น. ที่วัดหัวฝาย ต.สันกลาง อ.พาน จ.เชียงราย… ผู้บริหารกรุงไทยเสนอผลวิจัยสันติศึกษา”มจร” ชูเติมบุญออนไลน์ช่วยวัดบริหารเงินโปร่งใส อุทัย มณี มี.ค. 10, 2020 วันอังคารที่ 10 มีนาคม 2563 ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)… ‘ครุศาสตร์ มจร’เร่งปรับหลักสูตร สอนพุทธยุคดิจิทัลป้องดิสรัปชั่น อุทัย มณี ก.ย. 19, 2019 วันที่ 18 กันยายน 2562 ที่ผ่านมา ที่ห้องประชุมสิริอักษณ์ ภาควิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว… “องคมนตรี” ประชุมติดตามคืบหน้า “พุทธสถานเฉลิมพระเกียรติ” วัด “หลวงปู่ทุย” ในพระบรมราชูปถัมภ์ อุทัย มณี ก.ค. 18, 2024 วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม 2567 นายอำพน กิตติอำพน องคมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและบริหารโครงการพุทธสถานทรัพยากรเฉลิมพระเกียรติ… Related Articles From the same category ธรรมกายช่วยผู้ประสบภัย น้ำท่วม’ปากเซ-จำปาสัก’ วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน 2562 ที่ผ่านมา พระมหาเสถียร สุวณฺณฐิโต… วัดยานนาวาเป็นสะพานบุญจัดอาหาร 700 ชุด แบบเดลิเวอรี่ถึง 2 ชุมชนสาทรสู้ภัยโควิด-19 วัดยานนาวาเป็นสะพานบุญเชื่อมประสานทานบดีร่วมมอบอาหารส่งต่อกำลังใจ… พระมาโปรด! พระพิพัฒน์วชิโรภาส ที่ปรึกษาปลัด มท. สานพลัง “บวร” ขับเคลื่อนโครงการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง (SEDZ) วันที่ 28 พฤศจิกายน 2564 พระพิพัฒน์วชิโรภาส ผู้อำนวยการศูนย์พุทธธรรมสมเด็จพระมหาธีราจารย์… “เพชรวรรต”เผยกฤษฎีกาส่งเรื่องถึงกรมบัญชีกลางแล้ว คาดอนุมัติงบฯ พ.ร.บ.พระปริยัติธรรม ตามงบฯปี 65 นี้ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2564 ที่อาคารรัฐสภาเกียกกาย นายเพชรวรรต… ศรัทธา..กับ…ปัญญา : วิเคราะห์มุมมองพุทธศาสนา ? @ ศรัทธา คืออะไร ? พระพุทธศาสนาถือว่าเป็นศาสนาแห่งความศรัทธาศาสนาหนึ่ง…
Leave a Reply