ศูนย์ปฏิบัติธรรมมหาจุฬาอาศรม”มจร” ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์สร้างเรือนพักผู้ปฏิบัติธรรม 11 หลัง

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 27 สิงหาคม 2566 เวลา 09.09 น. พระธรรมวัชรบัณฑิต,ศ.ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์สร้างเรือนพักผู้ปฏิบัติธรรม จำนวน 11 หลัง ณ ศูนย์ปฏิบัติธรรมมหาจุฬาอาศรม ตำบลพญาเย็น อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งคณะเจ้าภาพประกอบด้วย 1.พระครูปทุมภาวนาจารย์,วิ.ดร. 2. แม่ชีแสงทอง จันทะสกุล 3. คุณยายตรีธา เนียมขำ 4. ดร.นิยม เวชกามา อดีตส.ส.สกลนคร พรรคเพื่อไทย ผู้ช่วยเหลืองานพระศาสนาเป็นอย่างดี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก ด้านพุทธจิตวิทยา มจร 5. ดร.สมบูรณ์ วราห์บัณฑูรย์วิทย์, ดร.อรศิริ ไม้ทอง 6. นายเชวง เกษมการกิจ, นางสาวทวีศรี มาสู่สุข 7. นายกาเกีย (ตูน) แซ่โงิว 8. นายณฤกษ์ มางเขียว 9. คุณกมลพร อัตตาหกุล 10. หลักสูตรพุุทธจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ นำโดย รศ.ดร.สิริวัฒน์ ศรีเครือดง พร้อมคณะลูกศิษย์มหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตทั้งที่ยังศึกษาอยู่และจบการศึกษาไปแล้ว

พระธรรมวัชรบัณฑิต กล่าวสัมโมทนียกถาความว่า “ เจริญพรสาธุชนญาติโยมทุกท่านทุกคณะ ที่ได้มีศรัทธามาร่วมบุญสร้างกุฎิกรรมฐานทั้ง 10 คณะ การพัฒนาศูนย์ปฎิบัติธรรมกรรมฐาน มหาจุฬาอาศรมเป็นงานสานต่อปณิธานของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ที่ได้เริ่มต้นเอาไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2511 ซื้อที่ไว้ 70 กว่าไร่ ราคา 3 แสนกว่าบาท โดยใช้เงินมูลนิธิ มจร และ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ก็เคยมาพักเขียนหนังสืออยู่ที่มหาจุฬาอาศรมแห่งนี้

“หลายท่านเคยบอกว่าท่านไปพักอยู่บนยอดเขาและไปทำอาณาเขตที่ระลึกไว้ให้ท่าน ตอนหลังท่านแวะเข้ามาที่มหาจุฬาอาศรมได้เขียนข้อความชี้แจงมาว่า “ที่เข้าใจว่าหลวงพ่อไปอยู่บนยอดเขานั้นไม่ถูก” ท่านชี้แจงว่าที่ถูกคือท่านอยู่ตรงน้ำตกตรงนี้ เป็นโรงไม้เก่าๆ ท่านก็อยู่ตรงโรงไม้เก่าๆนั้นเขียนหนังสือจบ 1 เล่มพร้อมกับถือโอกาสดูการก่อสร้าง ดูการพัฒนาสถานที่แห่งนี้ ทั้งดูเรื่องต้นไม้ ใบหญ้า กุฎิที่พักและอะไรต่างๆ และอย่างไรก็ยังมีส่วนที่ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ปีนี้จึงได้สร้างกุฎิกรรมฐานจำนวน 45 หลัง ซึ่งมีเจ้าภาพครบหมดแล้วและทยอยว่างศิลาฤกษ์ ทยอยการก่อสร้าง”

แต่เนื่องจากใช้ทุนอีกมากจึงอยากให้ใช้ระบบของมหาวิทยาลัยจึงช้าหน่อย และมีเจ้าภาพสร้าง 9 หลังช่วงแรก ที่เหลือจากนั้นก็ใช้ระบบของมหาวิทยาลัย วัสดุอะไรต่างๆก็จะช้าแม้จะมีเจ้าภาพหมดแล้ว ทางฝ่ายบ้านเมืองฝ่ายรัฐบาลก็ได้จัดสรรงบประมาณให้สร้างอาคารที่พักเพื่อให้เยาวชนได้มาพักเข้าค่ายด้วย เป็นอาคาร 3 ชั้น ซึ่งใช้งบประมาณของรัฐบาลในการสร้างควบคู่กันไป

เรื่องของการจัดสถานที่ปฎิบัติธรรมท่านให้ใช้ของหลักสัปปายะคือความสะดวก สบาย ให้เพียบพร้อม โดยบุคคลที่พักที่อาศัย เรื่องการสัญจรไป มา เรื่องสถานที่ ที่อยู่ ผู้คน ไม่ห่างไกลมาก เรื่องดินฟ้าอากาศเหมาะสม มหาจุฬาอาศรมมีความพร้อม ในทุกด้าน มีน้ำลำธารไหลผ่านมีต้นไม้ ยังเหลือแต่ อาคารที่พัก เพราะบางที่ผู้มาปฎิบัติเป็นสุภาพสตรี เป็นโยมผู้หญิงก็ไม่สะดวกที่จะไปกลางกลด ปักกลดเหมือนกับผู้ชายทั่วๆไป จึงจำเป็นมีห้องเป็นสัดส่วนเป็นสัปปายะ และมีความจำเป็นอย่างยิ่งในสังคมปัจจุบันคือการพัฒนาจิตใจ

เรื่องการสร้างเครื่องอำนวยความสะดวกสร้างที่พักอาศัยนั้น โดยเฉพาะที่พักอาสัยเพื่อการปฎิบัติธรรมและทำกิจกรรมเป็นบุญเป็นกุศลพิเศษที่งอกงามทั้งวันทั้งคืน การสร้างสวนหย่อม สวนดอกไม้ ประดับ การปลูกป่า การสร้างสะพาน การตั้งโรงน้ำดื่ม การสร้างบ่อน้ำ การสร้างที่พักอาศัย เป็นบุญพิเศษเพราะเป็นที่สาธารณะ

ขอให้พวกเราระลึกถึงและอนุโมทนาบุญอยู่เนืองๆ เมื่อสร้างเสร็จก็จะมีคนมาประโยชน์ใช้สอย การสร้างประโยชน์ให้ผู้คนก็จะร่วมกันอนุโมทนาบุญ บุญก็จะเกิดขึ้นทั้งวันทั้งคืน เป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ปฎิบัติธรรม เมื่อที่พักที่อาศัยสะดวกแล้ว จะมีหลักสูตรระยะสั้นของมจร.มาเรียนที่นี้ มาเรียนวันศุกร์ แล้วกลับวันอาทิตย์ เป็นหลักสูตรผู้นำเชิงพุทธ บัณฑิตวิทยาลัยก็จะมาทำหลักสูตรให้ นอกเหนือจากการจัดปฎิบัติธรรมประจำปีของนิสิต มจร ทุกระดับที่จะแวะเวียนกันมาปฎิบัติธรรม นอกจากนั้นก็ตอนรับลูกหลานชาวบ้านเยาวชน ที่มาเข้าค่ายอยู่เป็นประจำในโอกาสสำคัญก็มาปฎิบัติธรรม ค่อยฟังข้อมูลข่าวอนุโมทนาบุญทุกครั้งบุญก็จะเกิดขึ้นแก่เราทุกๆครั้งไป

“การพัฒนาจิตใจเป็นสิ่งที่จำเป็นควบคู่กันไปกับการพัฒนาความรู้ในเชิงวิชาการ วิชาชีพ พระพุทธเจ้าตรัสว่า การเรียนวิชาการ ข้อมูลในทางศาสนาจะเรียนข้อมูลทางวิชาการอย่างเดียวก็เปรียบเสมือน งูพิษที่จะแว้งกัดผู้เรียน เพราะฉนั้นเราต้องมีการปฎิบัติควบคู่กันไปด้วย ปฎิยัติ ปฎิบัติ ควบคู่กันไปเป็นการกล่อมเกลาจิตใจไว้ใช้ควบคุมตัวเองในการใช้ความรู้เชิงวิชาการทั้งหลายไม่ให้เกิดมานะฐิฑิมากเกินความจำเป็น นอกจากนั้นทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานเรื่องสัมมาทิฏฐิ จิตที่เป็นกุศลก็ได้จากการปฎิบัติกรรมฐาน เราก็หาโอกาสแวะเวียนมาฝึกฝนอบรมกล่อมเกลาตัวเองจะได้มีความเข้มแข็งในจิตใจในสังคมปัจจุบันนี้ ได้อย่างสันติสุข” อธิการบดี มจร กล่าว

Leave a Reply